มิจฉาสมาธิ
มิจฉาสมาธิ โดยความหมายที่ตรงข้ามกับสัมมาสมาธินั้น ก็หมายถึงการตั้งมั่นใจที่ไม่ชอบ หรือการที่ใจตั้งมั่นในสิ่งที่ผิด ซึ่งในพระไตรปิฎก2 ได้อธิบายว่าที่ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ เพราะตั้งมั่นตามความไม่เป็นจริงดังนั้นมิจฉาสมาธิจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างจากสัมมาสมาธิ นั่นคือ มิจฉาสมาธิจะทำให้ใจซัดส่าย ฟุ้งซ่านเป็น ภาพใจที่ส่งออกนอกเพื่อไปมีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัส ซึ่งทำให้ใจระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม ดังนั้นมิจฉาสมาธิจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำให้กิเลส คือ โลภะ โทสะและโมหะ เบาบางลงได้ และไม่ใช่หนทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้อีกว่ามิจฉาสมาธิ มีใน มัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิตความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์สมาธิพละความตั้งใจผิด ใน มัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ มีใน มัยนั้น3ดังนั้น การฝึกสมาธิ จึงต้องยึดปฏิบัติตามหลักสัมมาสมาธิ ด้วยการไม่ส่งใจไปเกาะเกี่ยวกับกามคุณไม่ปล่อยใจให้ซัดส่ายเพลิดเพลินใน รูป รสกลิ่น เสียง และสัมผัส ทางกาย โดยในทางตรงข้าม จะต้องน้อมใจให้อยู่ภายในกาย ให้ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน หมั่นพิจารณา ภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริงพร้อมด้วยการละโทสะ โมหะ และโทสะ ที่เกิดขึ้นในใจของตน อันจะสามารถนำไปสู่ทางพ้นทุกข์ และจะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาได้
จากหนังสือ DOU
วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ