การวางใจ

วันที่ 28 พค. พ.ศ.2557

 

ประเภทของสมาธิจำแนกตามการวางใจ

 


          สมาธิสามารถจำแนกได้ตามวิธีการกำหนดวางที่ตั้งของใจ หรือแบ่งตามที่ตั้งของใจในขณะที่เจริญสมาธิ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ คือ


           1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย


           2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย


           3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย

 

     1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย


            วิธีส่งจิตหรือใจออกข้างนอก เป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ในโลกนี้ได้ใช้ฝึกกัน คือเอาใจส่งออกไปข้างนอกกายเพราะเป็นวิธีการที่ง่าย เนื่องจากปกติคนส่วนใหญ่มักมีนิสัยชอบมองไปข้างนอก ดังนั้นการส่งใจออกไปข้างนอกจึง สบายง่าย และทำได้กันเกือบจะทุกคน แต่ข้อเสียก็มี คือจะมีภาพนิมิตลวงเกิดขึ้นมา เป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่ใช่ของจริงเกิดขึ้น บางนิมิตก็น่าเพลิดเพลิน บางนิมิตเห็นแล้วก็น่าสะดุ้งหวาดเสียว ถ้าหากว่าได้ครูที่ไม่ชำนาญ ไม่มีประสบการณ์เป็นผู้แนะนำ จะทำให้ใจออกไปข้างนอก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าการปฏิบัติธรรมฝึกจิตฝึกใจเป็นเหตุให้เป็นบ้า ซึ่งที่จริงเกิดจากการวางใจไว้ผิดที่ โดยเอาออกไปสู่ข้างนอก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจึงผิดมากกว่าถูก เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ในโลกนี้ฝึกใจด้วยวิธีการแบบนี้ ซึ่งไม่ใช่ทางสู่ความพ้นทุกข์ ไม่เข้าถึงสรณะ เข้าไม่ถึงที่พึ่งที่ระลึกภายในตัว และเป็นโอกาสให้หลงตัวเอง พลาดพลั้ง และเดินผิดทางได้

      2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

 

              ประเภทที่ 2 จะเป็นการเอาใจมาไว้ข้างในตัว หรือคือการเอาความรู้สึกอยู่ภายในแล้วก็หยุดนิ่งเฉยๆลอยๆ อยู่ภายในตัวของเราตามฐานต่างๆส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ที่บริเวณทรวงอก แล้วหยุดนิ่งสงบ มีความเย็นกายเย็นใจเกิดขึ้น มีสติ มีปัญญา มีความรู้รอบตัวเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งการปฏิบัติด้วยวิธีที่สองนี้มีอยู่น้อยในโลก วิธีอย่างนี้ยังถือว่าถูกมากกว่าผิด เช่น ถ้าฝึกฝนใจด้วยการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็ปล่อยให้สงบนิ่ง อยู่ภายในตัว จะทำให้รู้สึกมีความสุขอยู่ภายใน และการทำสมาธิแบบนี้จะทำให้มีความรู้สึกว่าเราไม่ติดอะไรเลย ไม่ยินดียินร้าย ปล่อยวาง สงบสว่างเย็น อยู่เฉยๆอยู่ภายใน จะไม่ค่อยมีนิมิตเลื่อนลอยเกิดขึ้น เพราะว่าปล่อยวางหมด เอาแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใสอย่างเดียวให้สงบเย็น ความรู้ต่างๆก็เกิดขึ้นกว้างขวางกว่าเดิมมาก แต่ก็ยังเข้าไปไม่ถึงการพิจารณากายในกายเวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จึงยังไม่ได้ชื่อว่าเข้าถึงไตร รณคมน์ หรือหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

         3. ประเภทวางใจไว้ภายในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย


              ประเภทที่ 3 เป็นการฝึกใจโดยการเอาใจมาหยุดนิ่งภายในกลางกาย หรืออยู่ที่ตรงฐานที่ 7 หยุดจนกระทั่งถูกส่วน แล้วเห็นปฐมมรรคเกิดขึ้นมาเป็นดวง ว่าง ดำเนินใจเข้าไปในทางนั้น กลางของกลางปรากฏการณ์นั้น เข้าไปเรื่อยๆ โดยเอามรรคมีองค์ 8 ประการขึ้นมาเป็นเครื่องปฏิบัติ
คำว่า มรรค แปลว่าหนทาง หมายถึง ทางเดินของใจ ทางเดินของใจที่จะเข้าไปสู่ภายใน จน
กระทั่งหลุดพ้นจากกิเล อา วะทั้งหลาย โดยอาศัยศีลสมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องกลั่นกรองใจ ให้สะอาด
ให้บริสุทธิ์ ให้ผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปถึงธรรมกายที่บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเล อา วะทั้งหลายตรงฐานที่ 7 ตรงนี้ที่เดียวจึงจะเห็นหนทาง แล้วก็ดำเนินใจเข้าไปตามลำดับจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายสิ่งนี้คือหลักในทางพระพุทธศา นา เป็นหลักของการสร้างความสุขให้กับชีวิตในโลก ใครอยากจะหลุดอยากจะพ้น ก็ต้องทำมรรคให้เกิดขึ้นมา แล้วก็ดำเนินใจเข้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย1 ได้แก่ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุ ติ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัฏฐาน 1 พรหมวิหาร 4 อรูปฌาน 4นอกจากนี้ถ้ากล่าวถึงวิธีการในการปฏิบัติสมาธิโดยละเอียดขึ้น จะพบวิธีที่ปรากฏอยู่ในตำราต่างๆเช่น วิสุทธิมรรค ถึง 40 วิธี1 ซึ่งแต่ละวิธีนั้น ต่างก็มีเป้าหมายอันเดียวกัน คือ การทำใจให้ถูกส่วนและเข้าถึงพระธรรมกายภายใน ถ้าหากว่าเรานำใจของเรามาตั้งไว้ตรงที่ฐานที่ 7 แล้วเริ่มต้นอย่างง่ายๆ ด้วยวิธีการ

 

                 ดังกล่าว จะเริ่มต้นจากกสิณ 10 อสุภะ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 อนุสติ 10 หรืออะไรก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่งถ้าใจหยุดถูกส่วนตรงฐานที่ 7 นี้แล้ว ดำเนินใจให้เข้าสู่ภายใน และเข้าไปตามลำดับ ไม่ช้าก็จะพบธรรมกายซึ่งมีอยู่แล้วในตัวของพวกเราทุกคน ไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนที่ปฏิบัติตามได้อย่างถูกวิธี

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015617648760478 Mins