ความหมายของการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงบูรณาการ

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

 

 

ความหมายของการทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงบูรณาการ


           ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้มีความสมบูรณ์นั้น จะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และการ
ฝึกฝนตนเอง จนกลายเป็นทักษะที่ทำให้สามารถทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 แต่กระนั้นยังต้องมีการเรียนรู้และขวนขวายหาความรู้ จากหลายศาสตร์หลายแขนงที่เหมาะสมกับกาล

สมัยมาใช้ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรอีกด้วยซึ่งในที่นี้ก็คือการทำหน้าที่กัลยาณมิตรในเชิงบูรณาการ คำว่า "บูรณาการ" โดยความหมายโดยศัพท์หมายถึง การกระทำให้ สมบูรณ์ และโดยเชิงปฏิบัติคำว่า "บูรณาการ" หมายถึง การจะกระทำใดๆ ที่มีการนำสิ่งที่เกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงหรือสิ่งที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการต่างๆ ความรู้สาขาต่างๆ เป็นต้น มาประสานหรือร่วมกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้การกระทำนั้นๆ เกิดความ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จและเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พร้อมทั้งก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่กันและกันด้วย

             การทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น จำเป็นต้องอาศัยวิธีการแบบบูรณาการ กล่าวคือ ประสานเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนคุณธรรมในตัว พร้อมด้วยความเปียมไปด้วยความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ให้ปรากฏออกมาเป็นการกระทำที่เรียกว่า เป็นการทำหน้าที่กัลยาณมิตรที่มีความ มบูรณ์ยิ่งขึ้นขณะเดียวกันก็ทำให้บุคคลที่เราไปเป็นกัลยาณมิตรนั้น มีสิ่งที่ดีและสิ่งที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นในชีวิต หรือมีการพันาตนเองในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น

              โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการจะทำให้บุคคลที่เราไปเป็นกัลยาณมิตรให้นั้น มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อย่างน้อยจะต้องมีการพันาในการดำเนินชีวิต เช่น ชีวิตพบแต่ความสุขที่แท้จริง มีความรู้ที่ถูกต้องและมีจริยธรรมประจำใจ หรือมีการพันาในประเด็นต่างๆ ตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า เพื่อการพันาตนในหมวดธรรมที่ว่าด้วย ภาวนา 4 กล่าวคือ


           1. กายภาวนา คือการพัฒนาทางกาย ให้รู้จักติดต่อกับสิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและภายนอก รวมถึงอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี ปฏิบัติตนต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในทางที่เป็นคุณ ไม่เกิดโทษ และอกุศล ให้มหากุศลธรรมงอกงาม อกุศลธรรมให้สูญสิ้นไป

 

           2. ศีลภาวนา คือ การเจริญด้วยศีล พัฒนาความประพฤติให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อน เสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี มีความเกื้อกูลแก่กันและกันสังคมนั้นก็จะถูกพัฒนาให้ สมบูรณ์ขึ้นได้ในที่สุด


             3. จิตตภาวนา คือ พันาจิตใจ การฝึกอบรมจิตใจให้เข้มแข็งมั่งคง เจริญงอกงาม ด้วยคุณ
ธรรมทั้งหลาย มีสมาธิแน่วแน่ สดชื่นแจ่มใสจิตใจผ่องใสเป็นต้น


             4. ปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาปัญญา เป็นการฝึกอบรมให้รู้ เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความ
เป็นจริง ฝึกตนให้บริสุทธิ์จากกิเลส ปลอดพ้นจากความทุกข์
จากหลักธรรมดังกล่าว ถือว่าเป็นเป้าหมายหนึ่ง ที่ผู้จะไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรควรตระหนักไว้ในใจ ขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ออกมา ให้เป็นเชิงปฏิบัติแบบบูรณาการ คือ การผสมผสานองค์ความรู้และวิธีการต่างๆ ให้ปรากฏออกมาเป็นการกระทำที่ สมบูรณ์และเกิดผลดี

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017125328381856 Mins