หน้าที่ของบุตรที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า

วันที่ 03 กค. พ.ศ.2557

 

หน้าที่ของบุตรที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า

 


           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของบุตร ที่ต้องปฏิบัติต่อมารดาบิดาเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อทิศเบื้องหน้าของตน ให้ดูเป็นตัวอย่าง 5 ประการ ดังนี้


           1) ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ


           2) ช่วยทำการงานของท่าน


           3) ดำรงวงศ์ตระกูล


           4) ประพฤติตนให้เป็นผู้สมควรรับมรดก


           5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

 

           1) ท่านเลี้ยงเรามาเราจักเลี้ยงท่านตอบ ในข้อนี้บุตรที่ได้รับการปลูกฝังเรื่องสัมมาทิฏฐิจน
เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร ย่อมมีความกตัญูรู้คุณ และจะสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อตอบแทนคุณ
บุพการีได้เป็นอย่างดี

 

            2) ช่วยทำการงานของท่าน บุตรจะทำหน้าที่ข้อนี้ได้สำเร็จด้วยดี ก็เพราะได้รับการฝึกอบรม
ให้รู้จักการทำงานของครอบครัวมาแต่เล็กแต่น้อย ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิมาแต่เยาว์วัย และได้รับการศึกษาศิลปวิทยา ซึ่ง สอดคล้องกับการงานของครอบครัวด้วย

 

            3) ดำรงวงศ์ตระกูล คือสามารถรักษาทรัพย์สมบัติที่มารดาบิดามอบให้ ตลอดจนสามารถตั้งตนอยู่ในความดี เพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติยศของวงศ์ตระกูลไว้ บุตรจะทำหน้าที่ในข้อนี้ได้สำเร็จ ก็ต่อเมื่อ มารดาบิดาได้ปฏิบัติหน้าที่ 3 ข้อแรกของตนได้สมบูรณ์

 

            4) ประพฤติตนให้เป็นผู้ มควรรับมรดก หมายถึงบุตรเป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เกี่ยวข้อง
กับอบายมุข 6 ประการ ที่สำคัญคือมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง บุตรประเภทนี้ย่อมรักษามรดกและดำรงวงศ์ตระกูลให้ สืบต่อไปนานๆ ได้

 

            5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน บุตรจะทำหน้าที่ข้อนี้ได้ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจเรื่องบุญกิริยาวัตถุ (วิธีทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนา) เป็นอย่างดี ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากพระภิกษุสงฆ์ และการเข้าวัดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอเพราะฉะนั้น ถ้าพ่อแม่พาลูกเข้าวัดปฏิบัติธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ขณะเดียวกันตนเองก็ปฏิบัติให้บุตรดูเป็นแบบอย่าง บุตรย่อมทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ เมื่อพ่อแม่ละโลกไปแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นแม้พ่อแม่จะอยู่ในปรโลกก็มีโอกาสั่งสมบุญอยู่เสมอ โดยรับบุญจากการอุทิศส่วนกุศลของบุตรธิดาสำหรับหน้าที่ 5 ประการของบุตรนี้ อาจกล่าวโดย รุปได้ว่า บุตรปฏิบัติหน้าที่ของเขาได้สมบูรณ์ไม่บกพร่อง ก็เพราะได้รับการปลูกฝังความรู้เรื่องสัมมาทิฏฐิ ตั้งแต่เยาว์วัยจนเติบใหญ่ จนเกิดเป็นนิสัยประจำใจของบุตรเอง


             นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่ง คือ การเลี้ยงดูบุตรในสังคมไทยสมัยใหม่ ที่
ตรีต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน มีข้อสังเกตว่า ตรีจำนวนหนึ่งมักจะยกหน้าที่การเลี้ยงดูบุตรวัย
ทารกของตน ให้เป็นภาระรับผิดชอบของพี่เลี้ยง ซึ่งอาจจะเป็นลูกจ้าง หรือคนใช้ในบ้านของตน เกือบตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แม้เวลากลางคืนซึ่งตนกลับมาอยู่บ้านแล้ว แต่ลูกน้อยก็ยังต้องนอนกับพี่เลี้ยง เหตุที่ทำเช่นนี้ก็เพราะมีความคิดว่า การดูแลลูกน้อยในเวลาค่ำคืน จะทำให้ตนไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคปัญหาในการทำงานของตนในวันรุ่งขึ้นบรรดา ตรีผู้มอบหมายการเลี้ยงดูบุตรวัยทารกของตน ให้เป็นภาระหน้าที่ของพี่เลี้ยงอย่างเด็ดขาดนั้น ได้ตระหนักบ้างหรือไม่ว่า บรรดาพี่เลี้ยงจะมีน้ำใจทุ่มเทแรงกายแรงใจทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรของท่าน เสมือนทารกนั้นเป็นสายโลหิตของเขาหรือไม่ เพราะขนาดผู้เป็นมารดาของทารกเอง ยังไม่ยอมทุ่มเวลาให้กับลูกของตนอย่างที่ควรจะทำเพราะฉะนั้น จึงใคร่ขอให้ข้อคิดแก่ ตรีผู้ที่จะเป็นมารดา หรือกำลังเป็นมารดาทั้งหลาย ต้องตระหนักให้มากว่าการเลี้ยงบุตรไม่ว่าวัยใดทั้งสิ้น มิใช่เพียงการดูแลให้บุตรได้กินอิ่ม นอนหลับ ไม่เจ็บไข้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน หรือ ถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ซึ่งละเอียดลึกซึ้งที่จะต้องทำมากกว่านี้อีกมาก บุตรของท่านจึงจะมีโอกาสเป็นคนดีที่โลกต้องการอย่างแท้จริง

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.023673649628957 Mins