วัยเด็ก
จะเริ่มจากวัยทารกจนกระทั่งจบการศึกษาและพร้อมที่จะออกไปประกอบอาชีพในวัยเด็กนี้ กิเลส ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเป็นอันดับแรก ก็คือ กิเลส ตระกูลโทสะ ซึ่งทารกแสดงออกอย่างรุนแรง ด้วยการส่งเสียงร้องแบบไม่คิดชีวิตครั้นเมื่อทารกเจริญวัยขึ้น รู้เดียงสาขึ้น ก็จะแสดงกิเลส ตระกูลโลภะ ออกมาให้เห็นเนืองๆ ด้วยการแย่งของเล่น แย่งขนมหรือแย่งของถูกใจที่ตนไม่มี จากเพื่อน จากคนอื่น ถ้าแย่งไม่ได้ก็จะร้องไห้อย่างบันดาลโทสะ หรือมิฉะนั้นก็เข้าทุบตีเพื่อน ถ้าทำได้ ขณะเดียวกันก็จะหวงแหนสิ่งของของตน โดยไม่ยอมหยิบยื่นแบ่งปันให้ใครๆ แม้แต่พ่อแม่หรือผู้ที่ให้สิ่งของนั้นๆ แก่ตน ดังที่ผู้ใหญ่มักจะพูดกันติดปากว่า เด็กคนนั้นเด็กคนนี้ "งก" ตั้งแต่เล็กๆ นี่คือพฤติกรรมของกิเล ตระกูลโลภะที่อยู่ในใจเด็กๆ นั่นเอง
ครั้นเมื่อเด็กเติบโตขึ้นอีก ก็จะแ สดงกิเลส ตระกูลโมหะออกมา ด้วยการรังแกเพื่อนเล่น รังแกสัตว์ต่างๆ ด้วยความ สนุก สนาน เช่น จับแมวหรือสุนัขตัวเล็กๆ โยน สระน้ำ ใช้ไม้เรียวตีหรือใช้แสหวดจิ้งจกตามผนังห้องให้ตาย หรือมิฉะนั้นก็จะตีจิ้งจกให้หางขาดแล้วปล่อยไป แล้วมองดูหางจิ้งจกส่วนที่ขาดออกมานั้นดิ้นกระแด่วๆ เหมือนยังมีชีวิตอยู่ด้วยความ สนุก สนาน ยิ่งมีหลายหางก็ยิ่ง สนุกมากขึ้น เป็นต้น
อะไรเป็นสิ่งผลักดันให้เด็กๆ แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักเหล่านั้นออกมา กิเลส 3 ตระกูลที่แอบแฝงอยู่ในใจของเด็กตั้งแต่ก่อนเกิดนั่นเองพฤติกรรมเสียหายของเด็กๆ ดังกล่าวแล้ว ผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เห็นเป็นเรื่องความซุกซนตามธรรมดาของเด็กๆ ที่อยู่ในวัยไร้เดียงสา และพากันคิดว่าเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะเลิกไปเอง จึงไม่ได้ให้ความ สนใจที่จะปฏิรูปพฤติกรรมของเด็กๆ อย่างจริงจัง ผู้ใหญ่ที่คิดเห็นเช่นนี้ นับว่าคิดผิดอย่างมากทีเดียว เพราะอะไรเพราะการที่เด็กประพฤติผิดศีล ผิดธรรม ผิดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม จนคุ้นเคยเป็นนิสัยมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยไม่รู้สึกผิด เพราะไม่มีผู้ใหญ่ห้ามปราม ตักเตือน หรือชี้แนะว่าผิด เด็กก็จะเกิดทรรศนะว่า พฤติกรรมผิดศีล ผิดธรรม ผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เขาเคยทำซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ใช่เรื่องผิด เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกคนทำได้ ถ้าต้องการทำ กว่าเด็กจะเติบโตมีความเข้าใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ เขาก็ทำบาปทำผิดไว้มากแล้ว ดังมีกรณีเยาวชน ที่ต้องเข้าไปรับการอบรมดัดสันดาน ตามสถานพินิจและคุ้มครองเยาวชนที่มีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ เป็นตัวอย่าง
ครั้นเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ คบค้าสมาคมกับผู้คนมากขึ้น มีปัญหาต่างๆ ในชีวิต สลับซับซ้อนมากขึ้น เขาก็จะประพฤติตนไปตามอำนาจกิเลส ที่นอนเนื่องอยู่ในใจรุนแรงขึ้น โดยไม่รู้จักหักห้ามใจเช่น ในวัยทารกเวลาโกรธ ก็เพียงแต่ร้องไห้เสียงดัง เมื่อโตขึ้นในวัยอนุบาลหรือประถม เวลาโกรธเพื่อน ก็เพียงแค่ด่าว่ากัน ขูดข่วนกัน ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ของกันและกัน แต่ครั้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เวลาโกรธจัดนอกจากจะตบตี ชกต่อยกันอย่างรุนแรงแล้ว ถ้ามีอาวุธก็อาจเอาชีวิตกันได้ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การที่จะคอยไว้ให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แสดงมิจฉาทิฏฐิออกมาอย่างชัดแจ้งแล้วจึงค่อยปฏิรูปกัน จึงเป็นเรื่องที่สายเกินไป และการปฏิรูปธรรมดาก็อาจจะไม่ได้ผล จำเป็นต้องส่งไปดัดสันดานกันในคุกตะราง ซึ่งนอกจากคนเราจะเสียผู้เสียคน กลายเป็นขี้คุกขี้ตะรางไปแล้ว ยังจะก่อปัญหายุ่งยากเดือดร้อนให้แก่สังคม ก่อปัญหาเรื่องงบประมาณให้แก่รัฐบาล สืบเนื่องกันไปอีกด้วย หรือมิฉะนั้น บางรายเป็นผู้มีอิทธิพลมากสามารถรอดพ้นจากการถูกลงโทษทัณฑ์ในโลกนี้ แต่เขาก็ไม่มีทางหนีพ้นโทษทัณฑ์ในมหานรกในโลกหน้าได้
ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปมนุษย์จึงจำเป็นต้องกระทำกันตั้งแต่คนเรายังอยู่ในวัยเด็ก โดยการปฏิรูปจะอยู่ในลักษณะปลูกฝังอบรมและแก้ไขนิสัย ให้เหมาะสมกับวัย และ สติปัญญาของเด็ก อย่างค่อยเป็นค่อยไปบุคคลที่มีหน้าที่และบทบาทสำคัญที่สุดในการปฏิรูปคนเราในวัยเด็ก ก็แน่นอนเหลือเกินว่า ต้องเป็น 2 ทิศเบื้องต้น คือทิศเบื้องหน้า เบื้องขวา และควรขอความร่วมมือจากทิศเบื้องบน โดยดำเนินตามหลักการและวิธีการในหัวข้อ "แบบแผนในการปลูกฝังคุณสมบัติของคนดี" ในบทที่ 4
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก