พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยา กรณภาษิตนี้แล้ว

วันที่ 22 กค. พ.ศ.2557

 

 

          พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยา กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

 
                   มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า

 
           อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา


           บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง


           มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย


           ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง


           มณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน


           คฤหัสถ์ในตระกูลผู้มีความสามารถ1 พึงไหว้ทิศเหล่านี้


           บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล


           เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ2


           มีความประพฤติเจียมตน


           ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศคนขยัน ไม่เกียจคร้านย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลายคนมีความประพฤติไม่ขาดตอน3มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศคนชอบสงเคราะห์ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก4ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนำชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนี้ ย่อมได้ยศอธิบายความ  การไหว้ทิศ 6 ของอริยสาวก คือ การปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ ประจำทิศ 6 ของแต่ละคนอย่างครบถ้วน ด้วยความจริงจังและจริงใจ


        ในระหว่างที่แต่ละคนกำลังพยายามปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ประจำทิศ 6 ให้ครบถ้วนนั้น ได้ทำให้เกิดกระบวนการในการปิดป้องทิศ 6 ให้พ้น จากบาปกรรม 14 ประการอยู่ 2 กระบวนการ คือ


         1 ผู้มีความสามารถ ในที่นี้หมายถึง ผู้มีความสามารถที่จะครองเรือน คือเลี้ยงดูบุตร และภรรยาให้เป็นสุขได้ 

        2 มีไหวพริบ ในที่นี้หมายถึง มีความเฉลียวฉลาดในการไหว้ทิศ คือ เข้าใจความหมาย ของการไหว้ทิศอย่างถูกต้อง

        3 ประพฤติไม่ขาดตอน ในที่นี้หมายถึง ประพฤติต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย 


        4 รู้เรื่องที่เขาบอก ในที่นี้หมายถึง เรื่องที่บุพการีสั่งไว้ แล้วปฏิบัติตามนั้น


         กระบวนการที่ 1 ได้แก่ ปลูกฝัง แก้ไข ปรับปรุง เพิ่มพูน พฤติกรรมของความเป็นมิตร แท้ทั้ง 4 ประเภท ให้แก่ตนเองและทิศ 6แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ


         ลักษณะที่ 1 การปลูกฝังพฤติกรรมแห่งความเป็นมิตรแท้ที่ยังไม่มี ให้มีขึ้นมา


         ลักษณะที่ 2 การแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมแห่งความเป็นมิตรแท้ในข้อที่ยังบกพร่องอยู่ ให้ดีขึ้นมา
         ลักษณะที่ 3 การเพิ่มพูนพฤติกรรมแห่งความเป็นมิตรแท้ในข้อที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป


         กระบวนการที่ 2 ได้แก่ การกำจัดพฤติกรรมของความเป็นมิตรเทียมทั้ง 4 ประเภทให้หมดสิ้นไปจากตนเองและทิศ 6

 

         เพราะฉะนั้น คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ประการที่ 4 คือ คนดีต้องมีสำนึกรับผิดชอบ ในการปิดป้องทิศ 6 ให้พ้นจากบาปกรรม 14 ประการคาถาประพันธ์มีต่อไปอีกว่า


          ทาน (การให้)


         เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่น่ารัก)


         อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้และ สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

 

         ในธรรมนั้นๆ ตามสมควรสังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลกเหมือนลิ่ม ลักเพลาคุมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้นถ้าไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้มารดาหรือบิดาก็ไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุเพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านี้จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็นผู้น่า สรรเสริญ

 

        อธิบายความ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบดีว่า การปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ที่เราพึงปฏิบัติต่อทิศ 6 ของเราก็ดี การปฏิบัติอริยวินัยตาม หน้าที่ของทิศ 6 แต่ละทิศที่พึงปฏิบัติต่อตัวเราก็ดี การที่จะปฏิบัติอริยวินัยเหล่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลถึงขั้นกำจัดบาปกรรม 14 ประการ ของแต่ละฝ่ายให้สิ้นไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงแสดงอริยวินัยไว้อีกหมวดหนึ่งสำหรับอบรมขัดเกลาแต่ละฝ่าย ให้มีศิลปะในการผูกสมัครรักใคร่ ห่วงใย จูงใจ และให้เอื้ออาทรต่อกันอยู่เสมอ ซึ่งจะมีผลให้แต่ละฝ่ายใส่ใจปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ อริยวินัยหมวดนั้นคือสังคหธรรม 4ประการ ซึ่งประกอบด้วย


         1. ทาน หมายถึง การให้สิ่งของที่เหมาะที่ควรแก่ผู้ขาดแคลน


         2. เปยยวัชชะ หมายถึง การพูดถ้อยคำน่ารัก ซาบซึ้งใจ ก่อให้เกิดกำลังใจในการทำความดี และบุญกุศลทุกรูปแบบ


        3. อัตถจริยา หมายถึงการช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นการช่วยเหลือทางด้านแรงกาย ด้าน สติปัญญา ความรู้ความสามารถ ที่พอเหมาะพอควรแก่ผู้ขาดแคลน


        4. มานัตตตา หมายถึง การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ต่อผู้คนที่อยู่รอบด้าน การวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ประจำทิศ 6 ด้วยสังคหธรรมทั้ง 4 เช่นนี้ ย่อมเป็นการอุ้มชูโลก เพราะว่า


       1. ทำให้ตนเอง และทุกคนในทิศ 6 ต่างสัมผั ได้ถึงความจริงใจ และความเป็นมิตรแท้ต่อกัน เพราะต่างฝ่ายต่างปิดป้องทิศ 6 ให้ปลอดภัยจากบาปกรรม 14 ประการให้แก่กันและกัน


        2. ทำให้ตนเอง และทุกคนในทิศ 6 ต่างเกิดความไว้วางใจ และเต็มใจที่จะคบหามาคมกัน


       3. ทำให้ตนเอง และทุกคนในทิศ 6 เกิดความจริงจังและจริงใจ ที่จะฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนดียิ่งๆ ขึ้นไป โดยเริ่มต้นจาก


       3.1) ตนเองและทุกคนในทิศ 6 มีความจริงจัง และจริงใจ ต่อการรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรี แห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง


       3.2) ตนเองและทุกคนในทิศ 6 มีความจริงจัง และจริงใจ ต่อการรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรี แห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นร่วมกัน


      3.3) ตนเองและทุกคนในทิศ 6 มีความจริงจัง และจริงใจ ต่อการรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน


      3.4) ตนเองและทุกคนในทิศ 6 มีความจริงจัง และจริงใจ ต่อการรับผิดชอบในการปิดป้องทิศ 6 ให้พ้นจากบาปกรรม 14 ประการ ร่วมกัน

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.044788432121277 Mins