อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตอนที่ ๘ เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม

วันที่ 24 กพ. พ.ศ.2548

อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ตอนที่ ๘ เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า “ข้าพระองค์รู้สึกไม่สบายใจเลย ที่ถวายทานไม่ประณีตแก่คณะสงฆ์” พอกราบทูลไปแล้วมีความกังวลนิดหน่อยว่า มันเหมาะหรือเปล่า ที่เราถวายทานไม่ประณีตกับพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ เป็นอายุพระศาสนา เป็นแหล่งแห่งความรู้ ก็คิดอยู่ในใจอย่างนั้น เพราะท่านเศรษฐีเคยถวายของแต่ประณีต พอถวายของไม่ประณีตจึงรู้สึกไม่ค่อยเป็นสุขใจ อุปนิสัยของยอดมหาอุปัฏฐาก ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อยากจะได้ถวายของที่ดีเลิศ ถ้าเราถวายทานอันเลิศในบุคคลผู้เลิศ เราย่อมได้วัตถุอันเลิศ ท่านฟังธรรมแล้วท่านก็รู้สึกอย่างนี้ ไม่ค่อยสบายใจ แต่ก็ไม่กล้าถาม ด้วยความเกรงใจพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ จะซักจะถามอะไรก็ไม่ค่อยกล้า แต่ว่าจะฟังในเวลาคนอื่นเขาถาม อุปนิสัยของท่านจะเกรงใจ คือ ไม่อยากรบกวนพระพุทธองค์ที่จะถามคำถามอะไรนานๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสังเกตเห็น นอกจากสังเกตเห็นแล้วยังอยู่ในข่ายพระญาณของพระองค์ท่านด้วย พระองค์ทรงทราบโดยตลอด


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า “ท่านเศรษฐี ท่านอย่าได้คิดว่า ทานที่ท่านถวายอยู่นี้ไม่ประณีตเลย บุคคลผู้มีใจผ่องใส ถวายทานแด่อริยสงฆ์ ชื่อว่าทานไม่ประณีตย่อมไม่มี ถ้าใจประณีต แล้วถวายแก่เนื้อนาบุญที่เป็นพระอริยบุคคล เป็นอริยสงฆ์จำนวนมาก ขึ้นชื่อว่าทานไม่ประณีต ไม่มี ล้วนประณีตทั้งสิ้น ใจทายกทายิกาใส ถวายแก่ปฏิคาหกที่ใจใสย่อมใส เพราะฉะนั้นที่ว่าไม่ประณีต ไม่มี ดังนั้น อย่าไปกังวลเลยว่า เราถวายทานไม่ประณีต เพราะความจริงเป็นอย่างนี้” ​


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

    จากนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัส เวลามสูตรว่า ด้วยการให้ทานที่มีผลมาก บุคคลผู้ให้ทานที่ประณีตหรือไม่ก็ตาม หากให้โดยไม่เคารพในทาน ไม่ทำความนอบน้อมในการให้ ไม่ได้ให้ด้วยมือตนเอง ฝากคนอื่นให้ และให้ทานโดยไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมและผลของการให้ทาน ทานนั้นๆ จะส่งผลให้เขา เมื่อไปเกิดที่ใดก็ตาม จิตผู้นั้นย่อมยินดีจะรับประทานอาหารอย่างดี ย่อมไม่ยินดีที่จะใช้ผ้าเนื้อดี ย่อมไม่ยินดีที่จะใช้ยวดยานพาหนะดีๆ ย่อมไม่ยินดีที่จะบำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา เช่น กามคุณ ๕ ไม่ยินดีอย่างนี้ ไม่ใช่แปลว่าจิตพรากจากกามคุณ จิตยังมีกามคุณอยู่ แต่ว่าไม่ยินดีในกามคุณอันประณีต แม้บริวารของผู้ให้ทาน คือ บุตร ภรรยา ทาส คนรับใช้ เป็นต้น ก็ไม่เชื่อฟัง


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

    ดูก่อนท่านเศรษฐี ส่วนบุคคลผู้ให้ทานที่ประณีตหรือไม่ก็ตาม ถ้าให้ทานโดยเคารพในปฏิคาหก ทำความนอบน้อมในการให้ ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ของที่ประณีตไม่เหลือเดน เรียกว่า ข้าวปากหม้อ หอมกรุ่นถวายพระก่อน แล้วคนอื่นค่อยว่ากันทีหลัง ให้ทานโดยเชื่อกรรมและผลของการให้ทานนั้นๆ จะส่งผลให้เขา เมื่อไปเกิดในที่ใดก็ตาม ในเมืองมนุษย์ก็ดี ในปรโลกก็ดี จิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อรับประทานอาหารอย่างดี คือ ใจชอบอาหารที่ประณีต ย่อมยินดีในการใช้ผ้าเนื้อดี ย่อมยินดีในการใช้พาหนะดีๆ ย่อมยินดีบำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา คือ กามคุณ ๕ อันประณีต แม้บริวารของผู้ให้ทาน บุตร ภรรยา สามี ทาส คนรับใช้ คนทำงาน เป็นต้น ย่อมเชื่อฟัง นี่อานิสงส์ของการให้ทานโดยความเคารพ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำชาดก เรื่องเวลาม-พราหมณ์ มาแสดง ดังนี้


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

    ในอดีตมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ เวลามพราหมณ์ เป็นผู้รักในการให้ทานมาก วันหนึ่งพราหมณ์ได้อธิษฐานว่า ถ้าบนโลกนี้ยังมีทักขิไณยบุคคลผู้เหมาะสมกับทานของเรา ขอน้ำที่อยู่ในเต้าจงไหลออกซึมลงแผ่นดิน แต่ถ้าไม่มี น้ำนี้จงอย่าได้ไหลออกมาเลย ปรากฎว่า น้ำในเต้าทองไม่ไหลออกมาเลย แม้เปิดฝาแล้วเทลงแต่เหมือนถูกอุดไว้ แสดงว่า ไม่มีทักขิไณยบุคคล

    เวลามพราหมณ์ เมื่อเห็นดังนั้นก็ไม่เดือดร้อนใจ ไม่มีบุคคลแม้เพียงคนเดียวบนโลกนี้เหมาะสมที่จะเป็นทักษิณาทานของเราเลย คือ ไม่เหมาะสมในการให้ แต่เมื่อท่านคิดว่า ถ้าทักษิณาทานของเราบริสุทธิ์แล้ว ขอน้ำนั้นจงไหลออกแล้วซึมลงแผ่นดินเถิด ท่านจึงหลั่งน้ำเป็นครั้งที่ ๒ ปรากฎว่า น้ำนั้นได้ไหลออกมาจากเต้าทองคำ ซึมลงแผ่นดินไปเลย เวลามพราหมณ์ปลื้มอกปลื้มใจ ทักษิณาทานดี แต่ปฏิคาหก คือ ทักขิไณยบุคคลไม่มี ท่านได้ไปที่โรงทานแล้วตั้งใจทำทานอย่างเต็มกำลัง


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

     ในโรงทานของเวลามพราหมณ์จะไม่ได้ยินว่า ของสิ่งนั้นไม่มี ของสิ่งนี้ไม่มี เมื่อผู้ที่มารับบริจาค บอกกับท่านเวลามพราหมณ์ว่า เราต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้นก็จะมีของให้กับทุกคน หลังจากนั้น ท่านเวลามพราหมณ์จึงคิดที่จะให้ทานยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเตรียมมหาทาน คือ


เวลามพราหมณ์ , น้ำเต้าทอง , อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เมื่อศรัทธาเต็มเปี่ยม , วัดพระเชตวัน , อินเดีย , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระไตรปิฏก

     ให้ถาดทองเต็มไปด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ถาดเงินอันเต็มไปด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ถาดสัมฤทธิ์อันเต็มไปด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔, ๐๐๐ เชือก อันประดับประดาด้วยทองคำมีธงทองและคลุมด้วยตาข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน อันตกแต่งด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง และผ้าขนสัตว์ต่างๆ มีเครื่องประดับทอง มีธงทองและคลุมด้วยตาข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว ทุกตัวจะประดับประดาไปด้วยเขาซึ่งสวมด้วยปลอกทองคำ พร้อมด้วยเครื่องประดับประดาคอเท้าด้วยทองคำ และโคทุกตัวมีน้ำนมสมบูรณ์ไม่ขาด พร้อมด้วยภาชนะเงินสำหรับรองรับน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ นาง ซึ่งทุกคนจะประดับไปด้วยต่างหูที่ทำจากแก้วมณี ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ( ผ้าขนสัตว์ที่ทำจากหนังแพะ) ลาดด้วยผ้าขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ แล้วมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดาน พร้อมทั้งมีหมอนข้างทั้งสองด้าน ให้ผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดอย่างละ ๘๔,๐๐๐ ผืน รวมไปถึงข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของอุปโภคบริโภคต่างๆ อีกมากมาย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001266884803772 Mins