ประเภทความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาท

วันที่ 20 สค. พ.ศ.2558

 

ประเภทความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาท

            ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายเกิด(ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์) เรียกว่า สมุทยวาร และสายดับ(ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล) เรียกว่า นิโรธวารมีพระบาลีพุทธภาษิตโดยย่อ ดังนี้

1.สายเกิด

อิมสฺมึ สติ อิทํ อุปฺปชฺชติ อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ15)

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

  • เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
  • เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
  • เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
  • เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
  • เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
  • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
  • เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
  • เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
  • เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
  • เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น พร้อมกองทุกข์ทั้งมวลจึงเกิดขึ้นประการฉะนี้

 

2.สายดับ

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

  • เพราะอวิชชาสำรอกดับไปโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
  • เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
  • เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
  • เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
  • เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
  • เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
  • เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
  • เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
  • เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
  • เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
  • เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ความโศก ความคร่ำครวญ รำพัน ทุกข์ โทมนัสความคับแค้นใจก็ดับ กองทุกข์ทั้งมวลก็ดับลงด้วยประการฉะนี้

 

------------------------------------------------------------

15) สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่มที่ 26 ข้อ 114 หน้า 203.
 

MD 408 สมาธิ 8: วิปัสสนากัมมัฏฐาน


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010179837544759 Mins