ชีวประวัติพระมงคลเทพมุนี

วันที่ 21 กย. พ.ศ.2558

 

ชีวประวัติพระมงคลเทพมุนี


ชีวิตในปฐมวัย
            พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺท โร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านมีชื่อเดิมว่า สด เกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ณ หมู่บ้านเหนือ ฝังตรงข้าม วัดสองพี่น้อง ตำบล สองพี่น้อง อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมพ่อชื่อเงิน แซ่จิ๋ว โยมแม่ชื่อสุดใจ มีแก้วน้อย ครอบครัวของท่านเป็นคหบดี ทำการค้าในคลอง สองพี่น้อง และอำเภอใกล้เคียง ท่านมีพี่น้อง ร่วมบิดามารดา รวม 5 คน คือ
1. นางดา เจริญเรือง
2. พระมงคลเทพมุนี ( สด มีแก้วน้อย)
3. นายใสมีแก้วน้อย
4. เด็กชายผูก มีแก้วน้อย (เสียชีวิต เมื่ออายุ 1 ขวบ)
5. นายสำรวย มีแก้วน้อย


เมื่อแรกเกิดมีความอดทนเป็นเลิศ
หลวงปู่เล่าเรื่องในวัยเด็กของท่านว่า โยมแม่บอกว่าตอนเกิด ท่านไม่ร้องสักแอะ ไม่เหมือนกับ เด็กทั่วไป เมื่อแรกเกิดต้องร้องทุกคน บางคนเชื่อว่าเด็กเกิดมาไม่ร้อง ต้องเป็นใบ้แน่ๆ แต่เมื่อถึงกำหนด อายุที่จะพูด ท่านก็พูดได้เป็นปกติ การที่ท่านไม่ร้องเมื่อแรกเกิดไม่ได้แสดงว่าท่านจะเป็นใบ้ แต่แสดงถึง คุณลักษณะประการหนึ่งของผู้ที่จะเป็นครูบาอาจารย์ของชาวโลกในวันข้างหน้า คือ ความอดทน

            การเกิดนั้นเป็นทุกข์ เพราะเป็นสิ่งที่ยากที่ใครจะอดทนได้ เป็นความทุกข์ทรมานขนาดที่ทำให้
ทารกแรกเกิดลืมเหตุการณ์ในภพชาติก่อนๆ ของตนได้หมดสิ้นทีเดียว
ทารกเมื่อแรกปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น ต้องอยู่ในที่คับแคบมาก ใต้กระเพาะอาหาร เหนือลำไส้
ท่ามกลางหน้าท้องและกระดูกสันหลัง อยู่ในที่มืดสนิท จะขยับเคลื่อนไหวกาย คู้หรือเหยียดอวัยวะก็ทำ
ไม่ได้ ต้องนอนคุดคู้อยู่ในครรภ์มารดา ทนทุกข์ทรมานตลอด 10 เดือน1 แม้จะพบกับความทุกข์ถึง
ขนาดนั้น ท่านก็ยังมีขันติอดทน ทั้งนี้เพราะบุญบารมีที่ท่านได้สั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน


สอนตัวเองได้ตั้งแต่เล็ก
            สมัยที่หลวงปู่ยังเป็นเด็กเล็กๆ ช่วงที่ยังไม่อดนม ก่อนที่โยมแม่จะออกไปขายข้าวนอกบ้าน จะเอาท่านใส่เปลไว้ที่บ้าน แล้วเอาข้าวเย็นปันเป็นก้อนให้ท่านดูดเล่นแก้หิว ในขณะนั้นท่านรู้เรื่อง โดยตลอด และได้ สอนตัวเองว่า "ตอนนี้เราอย่าเพิ่งหิวเลยนะ อย่าเพิ่งไปกวนแม่เลย ดูดข้าวก้อนนี้ แทนข้าวเย็นไปก่อน" ท่าน สอนตัวเองได้ตั้งแต่ยังไม่อดนม การสอนตัวเองได้ ก็เป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นครูบา อาจารย์ คอยอบรมสั่งสอนผู้อื่นอีกประการหนึ่ง


ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์
            ในช่วงวัยเด็ก พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านเป็นเด็กน่ารัก ไปบ้านไหนมักจะมีคนมาขออุ้ม อุ้มแล้ว ก็หอมแก้มท่านเล่น เวลาถูกหอมแก้มทีไร ท่านสะดุ้งทุกที ท่านไม่ต้องการให้ผู้หญิงถูกเนื้อต้องตัวตั้งแต่ ยังเด็ก และคอยระวังอยู่เสมอ แสดงให้เห็นว่าท่านไม่มีความยินดีในเพศตรงข้ามตั้งแต่เยาว์วัย และมี อุปนิสัยยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์มาข้ามภพข้ามชาติ


มีใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง
            หลวงปู่เป็นผู้มีใจคอเด็ดเดี่ยวมั่นคง เมื่อตั้งใจทำอะไรแล้ว จะพยายามทำให้สำเร็จ ถ้ายังไม่สำเร็จ จะไม่ยอมเลิกเด็ดขาด ตั้งแต่ สมัยที่บ้านของท่านยังทำนาและค้าข้าว ท่านมักจะช่วยโยมพ่อโยมแม่เลี้ยงวัว เมื่อวัวพลัดหลงเข้าไปในฝูงวัวของคนอื่น ท่านจะไปตามวัวกลับมาจนได้ ไม่ว่าวัวจะหลงไปทางไหน หรือจะ ต้องตามจนมืดค่ำเพียงใด ถ้าไม่ได้วัวมา จะไม่ยอมกลับ

 

ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย
            ปกติท่านจะช่วยโยมพ่อพายเรือค้าข้าว วันหนึ่งพอผ่านไปถึงศาลเจ้าที่ใครๆ ก็ว่าเฮี้ยนมาก ใคร ผ่านไป จะต้องเอาของไปเซ่นไหว้ แต่หลวงปู่ท่านคิดว่า "นี่ไม่ใช่พระรัตนตรัย ทำไมต้องไหว้ เราไม่เซ่น เราไม่ไหว้" วันหนึ่งเมื่อเรือผ่านศาลเจ้า ท่านรู้สึกแน่นท้องขึ้นมาทันที แต่ท่านก็อดทนไม่ยอมแพ้ เพราะคิดว่า "มันของของเราแท้ๆ นี่ เรื่องอะไรจะต้องเอาไปเซ่น เอาไปไหว้ ทำแล้วก็ไม่ได้บุญ บีบได้บีบไป จุก ได้จุกไป เดี๋ยวมันก็หายจุก" ซึ่งครั้งนั้นท่านมีความคิดว่าสักวันหนึ่งถ้าเข้าถึงพระรัตนตรัย จะกลับไป ที่ศาลเจ้านั้น ทั้งๆ ที่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่าพระรัตนตรัยเข้าถึงได้อย่างไร แต่จิตใต้สำนึกของท่านบอกอย่างนี้


มีเมตตา
            โยมพี่สาว ของท่านเล่าว่า ตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก เมื่อออกไปไถนา ท่านจะคอยสังเกตดวงตะวัน ว่า ใกล้เวลาเพลแล้วหรือยัง เมื่อพี่สาวของท่านเห็น ก็จะตำหนิท่านว่า เกียจคร้าน คอยดูแต่ว่าเมื่อไรจะ ถึงเวลาเลิกงาน แต่ความจริงแล้วท่านถือคติของคนโบราณที่ว่า การไถนาจนถึงเวลาตีกลองเพล (11.00 น.) ซึ่งเรียกว่า "เพลคาบ่าวัว" ถือว่าบาปมาก ท่านจึงไม่อยากจะใช้แรงงานวัวจนเลยเพล นี่เป็นความเมตตา ของท่านที่มีต่อสัตว์ หลังจากเลิกไถนาแล้ว ท่านจะนำวัวไปอาบน้ำจนเย็นสบาย แล้วจึงปล่อยให้ไปกินหญ้าเป็นอิสระ ตามใจชอบ ถ้าได้ทำอย่างนี้ท่านจะรู้สึกสบายใจ และมักจะร้องเพลงไปด้วย เนื้อหาของเพลงมักจะวนเวียน อยู่กับพระนิพพานดังนี้ "เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำอะไร อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่ หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สาม เรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้" ใจกว้างเลี้ยงลูกน้อง ในช่วงที่หลวงปู่ยังมีอาชีพขายข้าวอยู่ วันหนึ่งมีเด็กผู้หญิงพายเรือมาขายขนม เมื่อพายเรือมาใกล้ ก็ร้องขอให้ท่านช่วยซื้อ ปรากฏว่าวันนั้นท่านเหมาซื้อขนมทั้งลำเรือเลย เพื่อเลี้ยงลูกน้อง ตั้งแต่นั้นมาหาก มีขนมเหลือจากการขาย เด็กผู้หญิงคนนั้นก็จะแวะมาขายขนมให้ท่านช่วยเหมาอยู่เป็นประจำ นี่นับเป็น
ความใจกว้างของท่านส่วนเด็กผู้หญิงคนนั้นก็คือ เด็กหญิงท้วม หุตานุกรม เมื่อโตขึ้นและเรียนจบ พยาบาลแล้วก็ออกบวชอยู่ธุดงค์ในป่า หลังจากนั้นได้มาเป็นแม่ชี2อยู่ในวัดปากน้ำ คอยดูแลเรื่องอาหารใน โรงครัวจนตลอดชีวิต

 

การศึกษาในวัยเด็ก
            ท่านช่วยโยมของท่านทำงานตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จนอายุได้ประมาณ 9 ปี โยมแม่ของท่านได้ส่งให้ ไปเรียนหนังสือกับน้าชาย1 ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัด สองพี่น้อง เริ่มต้นเรียนจากหนังสือ ปฐม ก กา ตามหลักสูตรการศึกษาใน สมัยนั้น ต่อมาไม่นานพระน้าชายได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดหัวโพธิ์ ตำบลหัวโพธิ์ อำเภอ สองพี่น้อง ท่านได้ตามไปเรียนหนังสือต่อที่นั่นด้วยประมาณ 78 เดือน จากนั้นพระน้าชายก็ย้ายไป จำพรรษาที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี แล้วจึงลาสิกขาส่วนท่านไปเรียนต่อที่วัดบางปลา2 อำเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม กับพระอาจารย์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ขณะนั้นท่านอายุได้ 11 ปี นอกจากท่านจะเขียนอักษรขอมได้แล้ว ยังสามารถอ่านหนังสือพระมาลัย3 ซึ่งเขียนเป็นอักษร ขอมได้คล่อง ท่านตั้งใจเรียนและมีผลการเรียนดี เพราะเป็นคนมีนิสัยทำอะไรทำจริงมาตั้งแต่เล็กๆ ท่านใช้ เวลาเรียนอยู่ที่นั่น 2 ปี จึงกลับไปช่วยโยมพ่อโยมแม่ค้าข้าวที่บ้านเกิดตามเดิม


ขยันประกอบสัมมาอาชีพ
            เมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ประมาณ 1 ปี (ขณะนั้นอายุ 14 ปี) โยมพ่อได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงดูแล การค้าแทน มีเรือบรรทุกข้าวข้างกระดานใหญ่ 2 ลำ และลูกเรืออีกหลายคน ล่องเรือค้าข้าวระหว่าง อำเภอ สองพี่น้องกับกรุงเทพฯ เดือนละ 23 ครั้ง โดยซื้อข้าวมาขายให้กับโรงสีที่กรุงเทพฯ บ้าง ที่อำเภอนครไชยศรีบ้าง ท่านเป็นคนมีฐานะดีเพราะขยันและซื่อสัตย์ในการค้าขาย จึงเป็นเหตุให้ได้รับความไว้วางใจมาก ตัวอย่างเช่น การซื้อข้าวไปขาย เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว ท่านก็สามารถขนข้าวลงเรือไปขายก่อน หลังจาก ขายข้าวได้เงินมาแล้ว จึงนำเงินมาจ่ายให้ทีหลัง


มีปัญญาเฉลียวฉลาด
            ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านล่องเรือไปค้าข้าวที่กรุงเทพฯ พร้อมกับลูกเรือ ขณะที่จอดเรืออยู่ในคลอง บางกอกน้อย ลูกจ้างของพี่เขยคนหนึ่งขโมยเงินและทองไป รวมมูลค่าประมาณ 1,000 บาทเศษ ( สมัยนั้น เงิน 50 ตางค์ ซื้อกล้วยได้ 100 หวี) ท่านจึงไปแจ้งความกับตำรวจ พอตกเย็นตำรวจ 4 นาย ได้นำ เรือกลไฟมารับ เพื่อไปบ้านของภรรยาคนร้ายที่คลอง 12 ท่านกับตำรวจได้ออกติดตามไปตลอดทั้งคืนไม่ได้หยุด โดยตั้งใจว่าหากยังจับคนร้ายไม่ได้ก็จะ ไม่ยอมกลับ พอรุ่งสางก็ถึงบ้านภรรยาคนร้าย ท่านเห็นคนร้ายโผล่มาทางหน้าต่างหลังบ้าน จึงบอกให้ตำรวจรู้ คนร้ายเมื่อเห็นเรือ จึงรีบกระโจนออกจากบ้านไป กว่าเรือจะชะลอฝีจักรกลับลำมาหยุดตรงหน้าบ้าน คนร้าย ก็หายไปแล้ว ท่านสังเกตเห็นฟองน้ำแตกเป็นทาง จึงบอกให้ตำรวจทั้ง 4 นาย ไปยืนคุมอยู่ที่มุมคันนา ส่วนท่านตามคนร้ายไปตามรอยนั้น เมื่อตามไปถึงกลางคันนา เห็นคนร้ายหลบอยู่ในซังข้าว พอเข้าไปใกล้ คนร้ายก็ดำน้ำหนี แต่หนี ไม่พ้น ถูกตำรวจช่วยกันจับไว้ทัน ตำรวจจึงใส่กุญแจมือไว้พาคนร้ายกลับมาที่บ้านภรรยา เพื่อให้บอก ที่ซ่อนเงินที่ขโมยมา ก็พบเงินซ่อนอยู่ในกระบุงข้าวเปลือกจำนวน 900 บาทเศษ เมื่อได้เงินคืนแล้ว
จึงล่องเรือกลับกรุงเทพฯ หลังจากให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเสร็จแล้ว ตำรวจจึงนำเรือมาส่งท่านที่เรือ ข้าวที่คลองบางกอกน้อย

 

ออกบวช
ปฏิญาณบวชตลอดชีวิต
            เมื่อผ่านเหตุการณ์ตามจับคนร้ายในครั้งนั้นแล้ว ท่านใช้ชีวิตอยู่กับการค้าข้าวเลี้ยงโยมแม่และ ครอบครัวเรื่อยมา จนกระทั่งอายุย่างเข้า 19 ปี ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ซึ่งเป็นจุดหักเหให้ท่านเลือกเส้นทางเดินชีวิตที่ต่างจากคนทั่วไป
วันหนึ่งหลังจากค้าข้าวเสร็จ ท่านและลูกน้องได้นำเรือเปล่ากลับบ้าน ในคืนนั้นล่องเรือไปด้วยความยากลำบาก เพราะน้ำในคลองไหลเชี่ยว แต่ก็พยายามถ่อเรือต่อไป จนมาถึงคลองเล็กๆสายหนึ่ง ซึ่งเป็นเส้นทางลัด ชาวบ้านเรียกคลองนี้ว่า "คลองบางอีแท่น" อยู่เหนือตลาดใหม่ แม่น้ำนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม คลองนี้เป็นคลองเปลี่ยว และมีโจรผู้ร้ายชุกชุมในขณะนั้นมีเรือเพียงลำเดียวเท่านั้นที่แล่นเข้าไปในคลอง เมื่อเรือแล่นเข้าไปได้เล็กน้อย ท่านก็กลัวว่าจะโดนโจรปล้นและทำร้าย ถ้าโจรปล้นจริงๆ ท่านจะโดนทำร้ายก่อน เพราะยืนอยู่ทางท้ายเรือจึงเกิดความคิดขึ้นว่า "อ้ายน้ำก็เชี่ยว อ้ายคลองก็เล็ก อ้ายโจรก็ร้าย ท้ายเรือเข้าก็ไล่เลี่ยกับฝัง ไม่ต่ำไม่สูงกว่ากันเท่าไรนัก น่าหวาดเสียวอันตราย เมื่อโจรมาก็ต้องยิง หรือทำร้ายคนท้ายก่อน ถ้าเขาทำเราเสียได้ก่อน ก็ไม่มีทางที่จะสู้เขา ถ้าเราเอาอาวุธปืนแปดนัดไว้ทางหัวเรือ แล้วเราไปถือเรือทางลูกจ้างเสีย เมื่อโจรมาทำร้าย เราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง" เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงหยิบปืนยาวบรรจุกระสุน 8 นัดไปอยู่หัวเรือ ขณะถ่อเรือแทนลูกจ้างอยู่นั้น พลันเกิดความคิดขึ้นมาว่า "คนพวกนี้ เราจ้างเขาคนหนึ่งๆ เพียง11 - 12 บาทเท่านั้นส่วนตัวเราเป็นเจ้าของทั้งทรัพย์ทั้งเรือ หากจะโยนความตายไปให้ลูกจ้างก่อน ก็ดูจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์มากเกินไป ทำอย่างนี้ไม่ถูกไม่ควร"เมื่อเกิดจิตเมตตาและนึกตำหนิตัวเองเช่นนี้ ท่านจึงตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า "ทรัพย์ก็ของเราเรือก็ของเรา เราควรตายก่อนดีกว่าส่วนลูกจ้างนั้น เมื่อมีภัยมาถึง เขาควรจะได้หนีเอาตัวรอด ไปทำมาหาเลี้ยงบุตรภรรยาของเขาได้อีก" เมื่อตกลงใจเช่นนั้น จึงเรียกลูกเรือให้มาถ่อเรือแทนส่วนตัวเองก็ถือปนคู่มือกลับมานั่งถือท้ายเรือตามเดิมเรือยังคงแล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างที่คิด เมื่อเรือแล่นมาใกล้จะออกจากคลอง จนเห็นปากทางออก ก็รู้ได้ว่าปลอดภัยแล้ว แต่ในใจของท่านยังคิดถึงความตายอยู่ตลอดเวลาและทันใดนั้น ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้นในใจของท่านว่า "การหาเงินหาทองนี้ลำบากจริงๆ เจียวหนา บิดาของเราก็หามาดังนี้ เราก็หาซ้ำรอยบิดา ตามบิดาบ้าง เงินแลทองที่หากันทั้งหมดด้วยกันนี้ ต่างคนก็ต่างหา ไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่เร่งรีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนต่ำและเลว ไม่มีใครนับถือแลคบหา เข้าหมู่เขาก็อายเขา เพราะเป็นคนจนกว่าเขา ไม่เทียมหน้าเทียมบ่าเทียมไหล่กับเขา ปุรพชนต้น กุลของเราก็ทำมาดังนี้ เหมือนๆ กันจนถึงบิดาของเรา แลตัวของเรา ก็บัดนี้ปุรพชนแลบิดาของเราไปทางไหนหมด ก็ปรากฏแก่ใจว่าตายหมดแล้ว แล้วตัวของเราเล่า ก็ต้องตายเหมือนกัน"เมื่อคิดถึงความตายขึ้นมาอย่างนี้ก็เริ่มกลัว และนึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเองต่อไปอีกว่า"เราต้องตายแน่ๆ บิดาเราก็มาล่องข้าว ขึ้นจากเรือข้าวก็เจ็บมาจากตามทางแล้ว ขึ้นจากเรือข้าวไม่ได้กี่วันก็ถึงแก่กรรม เมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เราที่ช่วยพยาบาลอยู่ ไม่ได้เห็นเลยที่จะเอาอะไรติดตัวไปผ้าที่นุ่งแลร่างกายของแก เราก็ดูแลอยู่ ไม่เห็นมีอะไรหายไป ทั้งตัวเราแลพี่น้องของเราที่เนื่องด้วยแก ตลอดถึงมารดาของเราก็อยู่ ไม่เห็นมีอะไรเลยที่ไปด้วยแก แกไปผู้เดียวแท้ๆ ก็ตัวเราเล่าต้องเป็นดังนี้ เคลื่อนความเป็นอย่างนี้ไปไม่ได้แน่"เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้ว ท่านก็นอนแผ่ลงไปที่ท้ายเรือ แกล้งทำเป็นตาย ลองดูว่าถ้าตายแล้วจะเป็นอย่างไร ท่านก็นอนคิดว่าตัวเองตายอย่างนั้นจนเผลอ สติไปสักครู่หนึ่ง เมื่อได้ สติรู้สึกตัวก็รีบลุกขึ้น
จุดธูปอธิษฐานจิตว่า "ขออย่าให้เราตายเสียก่อน ขอให้ได้บวชเสียก่อนเถิด ถ้าบวชแล้วไม่สึกตลอดชีวิต"

 

บวชแล้วขวนขวายศึกษาธรรมะ
            นับจากวันนั้น คำอธิษฐานยังคงฝังแน่นอยู่ในใจของหลวงปู่ตลอดมา ความคิดที่จะบวชตลอดชีวิตยังชัดเจนอยู่ในใจ แต่ด้วยภาระที่ต้องเลี้ยงโยมแม่ ทำให้ยังไม่สามารถบวชได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงตั้งใจทำมาหากิน และขยันเก็บเงินเก็บทองจนมีเงินเก็บได้มากพอสมควร ที่ทำให้โยมแม่และพี่น้อง มีเงินทองใช้จ่ายอย่างสะดวก สบายไม่ลำบากในอนาคต เมื่อหมดภาระเรื่องเงินทองแล้ว จึงตัดสินใจบวชทันทีในขณะนั้นอายุย่าง 22 ปี พอถึงเดือน 8 ข้างขึ้น หลังจากขนข้าวลงเรือจนเต็มลำแล้ว ก็ให้ลูกน้องนำข้าวไปขายให้โรง สีในกรุงเทพฯส่วนตัวท่านก็เข้าวัดเป็นนาค เพื่อเตรียมตัวบวชที่วัด โดยมีพระปลัดยังเจ้าอาวาสวัด สองพี่น้องในขณะนั้น เป็นผู้ สอนท่องคำขออุปสมบท ซักซ้อมพิธีอุปสมบทและ สอนพระวินัยให้เมื่อถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับฉายาว่า จนฺท โร โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่งอินทสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความทรงจำดี จึงสามารถท่องบทสวดมนต์และพระปาฏิโมกข์ได้หมดสำหรับการศึกษาในช่วงพรรษาแรก หลวงปู่ได้เรียนคันถธุระและวิปัสนาธุระควบคู่กันไป เมื่อเรียนด้านคันถธุระไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่ก็ สงสัยว่า คำว่า "อวิชฺชาปจฺจยา" แปลว่าอะไร ด้วยความ สงสัยที่ผุดขึ้นมาในใจเหมือนกับปริศนาที่ต้องตอบให้ได้ ท่านมีความรู้สึกว่า คำๆ นี้มีความสำคัญต่อตัวท่าน จึงไปถามพระภิกษุ
ที่อยู่ในวัด เมื่อถามใครก็ไม่มีใครรู้คำแปล มีพระรูปหนึ่งบอกว่า "เขาไม่แปลกันหรอกคุณ อยากรู้ก็ต้องไปเรียนที่บางกอก (กรุงเทพฯ)" เมื่อได้ฟังดังนั้น ทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะต้องการจะรู้คำแปลให้ได้


            เมื่อบวชได้ 7 เดือนเศษ จึงไปหาโยมแม่ และขอไปเรียนที่กรุงเทพฯ แม้ว่าโยมแม่จะไม่เต็มใจให้ไปแต่ก็จำยอม ท่านจึงขอปัจจัย 1 ชั่ง เพื่อเป็นค่าเดินทาง โดยตั้งใจว่าการขอครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อลาโยมแม่แล้ว จึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียน และได้พาน้องชายคนเล็ก มาอยู่ด้วย โดยให้มาอุปัฏฐากและให้เรียนมูลกัจจายน์ (คัมภีร์บาลีไวยากรณ์) ไปด้วยช่วงที่มาถึงวัดพระเชตุพนฯ ใหม่ๆ ในขณะนั้นท่านยังไม่มีหนังสือ ที่จะใช้เรียน จึงให้โยมพี่สาวซื้อถวายขณะเรียนหนังสืออยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ หลวงปู่ลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาตมาก บางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียง ส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ออกบิณฑบาตไม่ได้อะไรเลยวันต่อมาก็ไม่ได้อีก ท่านคิดว่า "เราเป็นผู้มีศีล จะอดตายหรือ ถ้าเป็นจริง ก็ยอมตาย บิณฑบาตไม่ได้ข้าว ก็ไม่ฉันของอื่น ยอมอด เพราะคิดว่า ถ้าเราตายลงไป ภิกษุหมดทั้งนคร ต้องมีอาหารบิณฑบาตพอหมดทุกๆ รูป เพราะคนลือ ก็จะพากัน สงสารพระภิกษุไปตามๆ กัน" จึงไม่ยอมดิ้นรนแสวงหาอาหารด้วยวิธีการอื่น


            ในวันที่สาม ท่านออกบิณฑบาตอยู่จนสาย ได้ข้าวเพียง 1 ทัพพี กับกล้วยน้ำว้า 1 ผล เมื่อกลับมาถึงกุฏิ ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะไม่ได้ฉันมา 2 วันแล้ว หลังจากพิจารณาปัจจเวกขณ์เสร็จแล้วจึงเริ่มฉัน เมื่อฉันเข้าไปได้หนึ่งคำ ก็เหลือบไปเห็นสุนัขตัวผอมเดินโซเซมา เพราะอดอาหารมาหลายวันแม้ท่านกำลังหิวจัด เพราะอดอาหารมาหลายวัน ก็ยังมีความเมตตา สงสารสุนัขตัวนั้น จึงปันข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งกับกล้วยอีกครึ่งผลให้สุนัขตัวนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานจิตว่า "ขึ้นชื่อว่าความอดอยากเช่นนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย" นับจากวันนั้น ด้วยอำนาจบุญที่ได้สร้างมหาทานบารมีในครั้งนั้น เมื่อไปบิณฑบาตที่ไหน ท่านก็ได้อาหารมากมายจนฉันไม่หมด และยังได้แบ่งถวายให้กับพระภิกษุรูปอื่นๆ ด้วยด้วยใจที่คิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ประกอบกับความลำบากในเรื่องอาหารขบฉันของหลวงปู่ในครั้งนั้นทำให้ท่านนึกถึงพระภิกษุรูปอื่นๆ กลัวว่าจะมีความลำบากในเรื่องอาหารเช่นเดียวกับท่าน จึงคิดว่า "ถ้าเรามีกำลังพอเมื่อใด จะจัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุสามเณร โดยไม่ต้องให้ลำบาก เป็นการเสียเวลาในการศึกษาเล่าเรียน"เมื่อบวชได้ 4 พรรษา หลวงปู่และน้องชายจึงย้ายไปอยู่ที่วัดชัยพฤกษ์มาลาชั่วคราว คืนหนึ่งหลวงปู่ฝันว่า มีชายคนหนึ่งเอาทรายมาถวาย 1 ปุ้งกี๋ จึงเอื้อมมือไปหยิบมาหน่อยหนึ่งส่วนน้องชายรับไว้ถึง 2 กำมือ หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านและน้องชายก็ป่วยเป็นไข้ทรพิษ ท่านมีอาการไม่มากส่วนน้องชายของท่านเป็นหนักมาก เมื่ออาการของท่านทุเลาลง จึงรีบพาน้องชายไปรักษาที่บ้าน สองพี่น้อง แต่อาการก็ไม่ทุเลา ต่อมาก็เสียชีวิต ขณะนั้นน้องชายของท่านอายุเพียง 18 ปี เมื่อจัดการเรื่องศพน้องชายเสร็จแล้วจึงกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม


การศึกษาด้านปริยัติ (คันถธุระ)
            หลวงปู่ทุ่มเทให้กับการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ เนื่องจากท่านมีความเฉลียวฉลาด มีความจำดีจึงสามารถเรียนมูลกัจจายน์ได้ถึง 3 จบ เรียนพระธรรมบท 8 ภาค มังคลัตถทีปนี และสารสังคหะ1จนชำนาญ และสามารถ อนผู้อื่นได้
ใน สมัยนั้น นักเรียนแต่ละท่านเรียนไม่เหมือนกัน ใครต้องการเรียนอะไรก็สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการของตัวเอง นักเรียนบางท่านเรียนธรรมบทเบื้องต้น บางท่านเรียนเบื้องปลาย
ด้วยความรักในการศึกษาของหลวงปู่ เมื่อท่านไปเรียน ท่านจะนำหนังสือเรียนวิชาที่นักเรียนท่านอื่นเรียนอยู่ไปด้วย เพื่อจะได้ฟังในเวลาที่อาจารย์ สอนวิชาอื่นๆ เพราะท่านต้องการมีความรู้มากๆ ดังนั้นหลวงปู่จึงต้องแบกหนังสือไปเรียนครั้งละหลายๆ ผูกจนไหล่ลู่หลวงปู่เดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ตามวัดต่างๆ ด้วยความลำบาก วันหนึ่งต้องเดินทางไปเรียนหลายแห่ง ซึ่งในแต่ละวันมีกิจวัตรดังนี้ ฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม โดยลงเรือที่ท่าประตูนกยูง ไปขึ้นที่ท่าวัดอรุณฯ กลับมาฉันเพลที่วัดพระเชตุพนฯ บ่ายไปเรียนที่วัดมหาธาตุฯ เย็นไปเรียนที่วัดสุทัศน์ฯ บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพนฯ แต่ท่านไม่ได้ไปเรียนต่อเนื่องกัน
ทุกวัน มีเว้นบ้าง สลับกันไป


            แม้หลวงปู่จะมีความลำบากในเรื่องการเรียนเพียงใดก็ตาม แต่ท่านก็พยายามไม่ขาดเรียน ท่านเรียนด้วยความลำบากอย่างนี้อยู่หลายปี จนมีแม่ค้าชื่อนวม บ้านอยู่ตลาดท่าเตียน เกิดความเลื่อมใสในความเพียรของท่าน ได้ปวารณาเรื่องภัตตาหารกับท่าน จัดอาหารปินโตถวายเพลเป็นประจำทุกวัน ต่อมาหลังจากที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญแล้ว ได้ทราบข่าวว่า แม่ค้านวมถึงแก่ทุพพลภาพเพราะความชรา ไม่มีใครดูแล หลวงปู่จึงรับอุปการะโดยนำไปอยู่ที่วัดปากน้ำ เมื่อสิ้นชีวิต ท่านได้จัดการฌาปนกิจให้ ท่านพูดว่า "เป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกา
นวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกัน จึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่ายๆ"ต่อมาข้าหลวงในวังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม (วังพระองค์เพ็ญ) เกิดความเลื่อมใสในหลวงปู่ได้จัดภัตตาหารมาถวายทุกวัน ท่านจึงมีกำลังสนับสนุนเรื่องอาหารอย่างเพียงพอ จึงตั้งโรงเรียน สอนบาลีขึ้นที่วัดพระเชตุพนฯ โดยใช้กุฏิของท่านเป็นโรงเรียน โรงเรียนนี้มีพระภิกษุสามเณรมาเรียน 10 กว่ารูป( สมัยนั้นโรงเรียนในวัดพระเชตุพนฯ มีหลายแห่ง ใครมีความสามารถก็ตั้งได้) โรงเรียนของหลวงปู่
ได้พระมหาปี วสุตตมะ เปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นครู สอน ท่านหานิตยภัตถวายเอง และท่านเองก็เรียนในโรงเรียนนี้ด้วย โดยเริ่มเรียนธรรมบทใหม่ เพื่อทบทวนความรู้เดิม ต่อมาการศึกษาทางบาลีเปลี่ยนแปลงไป คณะสงฆ์จัดหลักสูตรการศึกษาใหม่ โดยจัดให้มีการเรียนไวยากรณ์ ทางวัดจึงได้รวมการศึกษาเป็นกลุ่มเดียว โรงเรียนที่ท่านตั้งขึ้นจึงถูกยกเลิกไป

 

การศึกษาด้านปฏิบัติ (วิปัสนาธุระ)
            นอกจากการเรียนด้านคันถธุระแล้ว หลวงปู่ยัง นใจการเรียนด้านวิปัสนาเป็นชีวิตจิตใจอีกด้วยนับจากวันแรกที่บวช หลวงปู่เรียนวิปัสนากับพระอาจารย์โหน่ง ตลอดพรรษาแรก นอกจากนี้ท่านยังหาความรู้ในด้านวิปัสนาเพิ่มเติมจากตำรา โดยส่วนใหญ่อ่านจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ถ้าวันไหนหยุดเรียนคันถธุระ ท่านมักไปหาพระอาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสนา เพราะต้องการความรู้เพิ่มเติมพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่างๆ ที่หลวงปู่ได้ไปศึกษา มีรายชื่อตามลำดับดังนี้
1. พระอาจารย์โหน่ง อินทสุวัณโณ พระอนุสาวนาจารย์
2. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี
3. ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กรุงเทพฯ
4. ท่านพระครูญาณวิรัต (โป) วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ
5. พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ (หลังวัดระฆังโฆสิตาราม)


            นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์องค์อื่นอีก ที่ท่านได้ไปศึกษาด้านวิปัสนาด้วย ได้แก่ พระมงคลทิพมุนี(มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และพระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีเนื่องจากความเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริงของหลวงปู่ ครั้งเมื่อไปศึกษากับพระอาจารย์สิงห์วัดละครทำ หลวงปู่ปฏิบัติธรรมจนได้ดวงใสประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นที่ถูกใจของพระอาจารย์มาก จนรับรองว่าสามารถปฏิบัติได้ตามแบบของท่าน จึงขอให้อยู่ช่วย สอนคนอื่นต่อไป แต่หลวงปู่มีความรู้สึกว่า ธรรมที่ได้ยังน้อยเกินไป จะ สอนเขาได้อย่างไร ยังมีธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งกว่านี้ท่านจึงค้นคว้าหาต่อไป โดยยังไม่ยอม สอนใครนอกจากพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำแล้ว หลวงปู่ยังสามารถเรียนจนได้ผลการปฏิบัติเป็นที่พอใจของพระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง คือ พระครูญาณวิรัต (โป) วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งท่านก็ชวนหลวงปู่อยู่ช่วยเป็นอาจารย์ สอนผู้อื่นเช่นกัน แต่หลวงปู่ได้ปฏิเสธด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันหลังจากที่เรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากอาจารย์มาหลายท่าน และสามารถปฏิบัติจนได้ผลดีพอ สมควรแล้ว หลวงปู่จึงต้องการออกเดินธุดงค์ เพื่อปลีกวิเวกไปหาความ สงบตามต่างจังหวัดบ้าง โดยท่านจะใช้เวลาช่วงที่ว่างจากการเรียนคันถธุระ


            เมื่อคิดจะออกเดินธุดงค์ ท่านจึงให้โยมพี่สาวของท่านสร้างกลดถวาย แม้มีผู้อื่นจะสร้างถวายท่านก็ไม่รับ น่าจะเป็นเพราะท่านต้องการให้โยมพี่สาวได้บุญจากการเดินธุดงค์ เมื่อโยมพี่สาวถวายกลดแล้วท่านจึงออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ตามประวัติที่เคยมีการรวบรวมไว้ พบว่า ท่านออกเดินธุดงค์ 2 ครั้งครั้งแรกไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้ส่วนครั้งที่ สอง ท่านเดินธุดงค์ไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรีท่านได้พบเรื่องราวต่างๆ มากมายในระหว่างที่เดินธุดงค์ ได้พบพระภิกษุที่อยู่ในป่าหลายรูป
บางท่านมีฤทธิ์ บางท่านมีคุณวิเศษ เมื่อท่านเดินธุดงค์ไปถึงป่าในจังหวัดสุโขทัย ได้พบพระรูปหนึ่ง และสนทนากันเรื่องธรรมปฏิบัติ พระธุดงค์รูปนี้เล่าให้หลวงปู่ฟังว่า ท่านปฏิบัติโดยใช้คำภาวนาว่า "สัมมา อะระหัง"
ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ท่านได้ยินคำว่า "สัมมา อะระหัง"ในการเดินธุดงค์ครั้งที่ สอง ท่านเดินไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อไปถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจึงได้ปักกลดที่นั่น เพราะเห็นว่าเป็นที่ สงบ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก เป็นวัดกึ่งวัดร้าง บรรยากาศเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมมาก วันหนึ่งท่านเห็นเด็กต้อนวัวเข้าไปเลี้ยงในบริเวณนั้น จึงห้ามว่า "อย่าปล่อยให้วัวเดินเหยียบย่ำพระซึ่งอยู่ใต้แผ่นดิน จะมีบาปมาก" เด็กเลี้ยงวัวเหล่านั้นไม่เชื่อว่ามีพระพุทธรูปอยู่ใต้ดินท่านจึงให้ขุดดู ปรากฏว่าพบพระพุทธรูปหลายองค์ คนในบริเวณนั้นจึงศรัทธาและเลื่อมใสท่านหลวงปู่ต้องการจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปในวัด ซึ่งมี ภาพไม่ สมบูรณ์ เพราะถูกทุบทำลายบ้าง และเก่าตามกาลเวลาบ้าง ท่านจึงชักชวนประชาชนในบริเวณนั้นให้มาช่วยกันปฏิสังขรณ์ท่านรวมคนด้วยการ สอนการปฏิบัติธรรม มีคนมาเรียนธรรมปฏิบัติเป็นจำนวนมาก แล้วท่านก็อธิบายอานิสงส์ที่จะได้รับจากการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป ปรากฏว่ามีชาวบ้านมาช่วยกันปฏิสังขรณ์กันเป็นจำนวนมากด้วยความปลื้มปีติ แต่ยังปฏิสังขรณ์ไม่เสร็จ ก็ได้รับคำสั่งให้กลับวัดพระเชตุพนฯ เนื่องจากเจ้าเมืองสุพรรณบุรีและ มุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีเห็นว่า มีคนมาเรียนธรรมปฏิบัติกับหลวงปู่กันเป็นจำนวนมาก เกรงว่าจะมีการซ่องสุมกำลังพล ครั้นเมื่อ มุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีได้พบกับ
สมเด็จพระวันรัต (ติ ทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ ในเวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญจึงได้ปรึกษากันเรื่องที่หลวงปู่วัดปากน้ำไปปักกลดธุดงค์อยู่ที่นั่น และขอให้ทางคณะสงฆ์เรียกตัวท่านกลับด้วยความเคารพในการปกครอง หลวงปู่จึงเดินทางออกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปอยู่วัด สองพี่น้อง และจำพรรษาที่นั่น ในขณะที่อยู่ที่วัด สองพี่น้อง ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมและชักชวนกันตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาขึ้น หลังจากนั้นท่านจึงกลับมายังวัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งก่อนที่หลวงปู่จะเริ่มเรียนด้านคันถธุระในพรรษาแรก ท่านตั้งใจไว้ว่าจะต้องแปลหนังสือใบลานมหา ติปัฏฐานลานยาวผูกหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่วัด สองพี่น้องให้ได้ ถ้าแปลได้เมื่อไรก็จะหยุดเรียนคันถธุระ แต่ถ้ายังแปลไม่ได้ก็จะต้องเรียนต่อไป เมื่อถึงพรรษาที่ 11 ท่านมีความรู้มากพอที่จะแปลหนังสือใบลานผูกนั้นได้จึงหยุดเรียนด้านคันถธุระในพรรษาที่ 11 นี้เอง


            สมัยที่หลวงปู่เรียนอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อนก1 จึงไปเยี่ยมหลวงพ่อนกที่วัดโบสถ์บน หลวงพ่อนกมักให้ท่านไปเทศน์แทนอยู่เสมอ กิจวัตรที่หลวงปู่ท่านทำเป็นประจำเวลามาอยู่วัดโบสถ์บน คือ เวลาบ่าย 2 โมง ท่านจะเข้าปฏิบัติสมาธิในโบสถ์ บรรยากาศใน สมัยนั้น รอบโบสถ์มีต้นไม้มาก เป็นป่าล้อมรอบ มีความเงียบ สงัดไปทั่วบริเวณ หลวงปู่ท่านไปๆ มาๆ ที่วัดโบสถ์บนอยู่เป็นประจำเมื่อหลวงปู่หยุดเรียนด้านคันถธุระแล้ว ก็มุ่งปฏิบัติด้านวิปัสนาธุระอย่างจริงจัง ในขณะนั้นท่านต้องการจะไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง ในคลองบางกอกน้อย เพราะต้องการจะตอบแทนพระคุณของเจ้าอธิการชุ่ม เจ้าอาวาสวัดโบสถ์บน ซึ่งเคยถวายคัมภีร์มูลกัจจายน์ และคัมภีร์พระธรรมบทให้ท่านได้เรียนพระปริยัติธรรม ด้วยการช่วยแสดงธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาในวัดหลวงปู่จึงกราบลาเจ้าคุณ มเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ เดินทางไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์บนในพรรษาที่ 12 เมื่อถึงกลางพรรษา ก็มีความคิดว่า "ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวช จำเดิมอายุ 19 เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอก
ลามาถึง 15 พรรษาย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงของแท้ที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง"

 

การบรรลุธรรม
            ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 (ปี พ.ศ. 2460) เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้ว ท่านก็เข้าไปนั่งสมาธิเจริญภาวนาในพระอุโบสถ ขณะนั้นเวลาประมาณ 8 โมงเศษๆ ท่านก็เริ่มทำความเพียร โดยตั้งใจว่าหากยังไม่ได้ยินเสียงกลองเพล จะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจดังนั้นแล้ว ก็หลับตาภาวนา "สัมมา อะระหัง" ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งความปวดเมื่อย และอาการเหน็บชาค่อยๆ เพิ่มทีละน้อยๆ และมากขึ้นจนมีความรู้สึกว่ากระดูกทุกชิ้นแทบจะระเบิดหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ จนเกือบจะหมดความอดทน ความกระวนกระวายใจก็ตามมา"เอ...แต่ก่อนเราไม่เคยรู้สึกเช่นนี้เลย พอตั้งสัจจะลงไปว่า ถ้ากลองเพลไม่ดังจะไม่ลุกจากที่
เหตุใดมันจึงเพิ่มความกระวนกระวายใจมากมายอย่างนี้ ผิดกว่าครั้งก่อนๆ ที่นั่งภาวนา เมื่อไรหนอกลองเพลจึงจะดังสักทีิ" คิดไปจิตก็ยิ่งแกว่งและซัดส่ายมากขึ้น จนเกือบจะเลิกนั่งหลายครั้ง แต่เมื่อได้ตั้งสัจจะไปแล้วท่านก็ทนนั่งต่อไป ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อย แล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ในใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก ความปวดเมื่อยหายไปไหนไม่ทราบ ในเวลาเดียวกันนั้นเสียงกลองเพลก็ดังขึ้นวันนั้นท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสก็ยังเห็นติดอยู่ตรงศูนย์กลางกายตลอดเวลา ในช่วงเย็น หลังจากได้ร่วมลงฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนภิกษุ ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า "แม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต" เมื่อตั้งจิตอธิษฐานเสร็จจึงเริ่มนั่งและตั้งจิตอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า


           "ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์ไปจนตลอดชีวิต"เมื่อท่านตั้งความปรารถนาแล้ว ก็เริ่มนั่งขัดสมาธิเข้าที่ภาวนา พอดีนึกถึงมดขี้ที่อยู่ในระหว่างช่องแผ่นหินซึ่งกำลังไต่ไปมา จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าด เอานิ้วมือจุ่ม เพื่อจะเขียนวงให้รอบตัวกันมดรบกวนแต่พอจรดนิ้วที่พื้นหินยังไม่ถึงครึ่งวง ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า ชีวิต สละได้ แต่ทำไมยังกลัวมดขี้อยู่เล่านึกละอายตัวเอง จึงวางขวดน้ำมันลง แล้วนั่งเข้าที่ได้ประมาณครึ่งหรือค่อนคืน เมื่อใจหยุดเป็นจุดเดียวกันก็มองเห็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ซึ่งยังติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายจากเมื่อเพล ยิ่งมองยิ่งใสสว่างมากขึ้น และขยายใหญ่ขนาดเท่าดวงอาทิตย์ ดวงใสยังคง ว่างอยู่อย่างนั้น โดยที่ท่านก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะทุกสำนักที่ท่านได้ศึกษามาไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้มาก่อนขณะที่ใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น ก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาจากจุดกลางดวงนั้นว่า "มัชฌิมา ปฏิปทา"แต่ขณะที่เสียงนั้นดังแผ่วขึ้นมาในความรู้สึก ก็เห็นจุดเล็กๆ เรืองแสง สว่างวาบขึ้นมาจากกลางดวงนั้นเสมือนจุดศูนย์กลางของวงกลม ความ สว่างของจุดนั้น สว่างกว่าดวงกลมรอบๆ ท่านมองเรื่อยไป พลางคิดในใจว่า นี่กระมังทางสายกลาง จุดเล็กที่เราเพิ่งจะเห็นเดี๋ยวนี้อยู่กึ่งกลางพอดี ลองมองดูซิจะเกิดอะไรขึ้นจุดนั้นค่อยๆ ขยายขึ้นและโตเท่ากับดวงเดิม ดวงเก่าหายไป ท่านมองไปเรื่อยๆ ก็เห็นดวงใหม่ลอยขึ้นมาแทนที่ เหมือนน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาแทนที่กันนั่นแหละ ต่างแต่ใสยิ่งขึ้นกว่าดวงเดิม ในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาจนถึงธรรมกาย เป็นพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่าพระพุทธรูปบูชาองค์ใด เสียงพระธรรมกายกังวานขึ้นมาในความรู้สึกว่า "ถูกต้องแล้ว" เท่านั้นแหละความปีติสุขก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านถึงกับรำพึงออกมาเบาๆ ว่า"เออ...มันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงได้ไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด"การค้นพบวิชชาธรรมกายอันเป็นของจริงของแท้ เป็นทางบรรลุธรรมที่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงบรรลุมาแล้ว เป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ท่านจึงมาคำนึงว่า "คัมภีโรจายัง ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง
ที่จะเข้าถึงได้ ต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิดถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด นี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้แล้ว ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด"


            ท่านยังคงนั่งเจริญภาวนาทบทวนอย่างนี้ต่อไปอีกประมาณ 30 นาที ก็เกิดภาพในสมาธิเป็นภาพของวัดบางปลาปรากฏขึ้น ความรู้สึกขณะนั้นเหมือนตัวท่านอยู่ที่วัดนั้น ทำให้คิดว่าธรรมที่รู้เห็นได้ยากนั้น ที่วัดบางปลาจะต้องมีผู้ที่สามารถบรรลุธรรมได้แน่นอน ภาพของวัดบางปลาจึงปรากฏขึ้นในสมาธินับแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่เพื่อค้นคว้าหาที่สุดแห่งธรรม ยิ่งค้นก็ยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปทุกที ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้อีกประมาณเดือนเศษจนออกพรรษา เมื่อรับกฐินแล้ว ก็ลาเจ้าอาวาสไปพักอยู่ที่วัดบางปลา เพื่อไป สอนธรรมที่ท่านได้รู้ได้เห็นแล้วท่าน สอนอยู่ประมาณ 4 เดือน มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติธรรมตามอย่างท่านได้ 3 รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์
พระภิกษุแบน และพระภิกษุอ่วม รวมทั้งคฤหัสถ์อีก 4 คนจากนั้น พรรษาที่ 13 ท่านได้พาพระภิกษุสังวาลย์ไปจำพรรษาที่วัด สองพี่น้อง ที่วัดนี้มีพระภิกษุได้เห็นธรรมอีก 1 รูป คือ พระภิกษุหมก  หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางไปพักที่วัดประตูสาร จังหวัด
สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นวัดของพระอุปัชฌาย์ของท่าน (ขณะนั้นได้มรณภาพแล้ว) มีประชาชนมาขอให้ท่านแสดงธรรมหลายครั้ง ท่านขัดไม่ได้ จึงยอมแสดงพระธรรมเทศนา เนื่องจากท่านมีความสามารถในการเทศน์สอน ประชาชนจึงชอบใจมาก ต่อมามีผู้มาขอร้องท่านให้แสดงธรรมอีกเป็นครั้งที่ สองท่านรู้ว่าถ้าเทศน์อีกจะทำให้เจ้าอาวาส ไม่พอใจ แต่อยากจะ สงเคราะห์ญาติโยม จึงตัดสินใจแสดงธรรมเป็นครั้งที่ สอง เมื่อท่านแสดงธรรมรอบที่ สองจบ ท่านก็เข้าไปกราบลาเจ้าอาวาส แล้วเดินทางกลับทันทีเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน โดยท่านให้เหตุผลว่าจะพาพระไปอยู่กรุงเทพฯ หลวงปู่พักอยู่ที่วัดนี้
รวมเป็นระยะเวลา 4 เดือนเมื่อออกจากวัดประตูสาร ท่านได้ไปรับพระภิกษุหมก พระภิกษุปลด (พระพุทธิวงศาจารย์
วัดเบญจมบพิตรฯ) พระภิกษุพล (พระครูโ ภณราชวรวิหาร วัดเบญจมบพิตรฯ ภายหลังลาสิกขา) และพระภิกษุยั้ว วัดป่าพฤกษ์ ที่วัด สองพี่น้อง แล้วไปอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป


เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
            แม้ว่าหลวงปู่จะรักชีวิตสันโดษ ด้วยการออกธุดงค์หา สถานที่วิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม แต่ท่านก็ไม่เคยนิ่งดูดายต่อส่วนรวม ไม่ว่าท่านจะไปพักอยู่ที่ใด ท่านมักจะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นในที่แห่งนั้นเสมอกอปรกับท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในหลายๆ ด้าน จึงเป็นเหตุให้พระเถระผู้ใหญ่ในวงการคณะสงฆ์คือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (เผื่อน ติ ทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์ของท่าน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงคุณสมบัติที่ดีของหลวงปู่ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกเห็นว่าหลวงปู่สามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้อีกมาก จึงมอบหมายให้หลวงปู่ย้ายไปจำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อเป็นเจ้าอาวาส โดยในช่วงแรกให้รักษาการเจ้าอาวาส ไปก่อนเมื่อหลวงปู่ท่านรับคำแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระครู สมุห์ฐานานุกรมของพระศากยยุติยวงศ์เมื่อถึงวันกำหนด ท่านเดินทางจากวัดพระเชตุพนฯ โดยเรือยนต์หลวงที่กรมการศาสนาจัดถวายเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอารามหลวง มีพระเถรานุเถระจากวัพระเชตุพนฯ เดินทางมาส่ง และมีพระภิกษุติดตามท่านมาด้วย 4 รูป ทางด้านวัดปากน้ำ มีพระเถระผู้ใหญ่ในอำเภอนั้น พร้อมทั้งญาติโยมจำนวนมากมารอต้อนรับคณะของท่าน


            เมื่อมาถึงวัดปากน้ำ ท่านพบว่าวัดอยู่ใน สภาพกึ่งวัดร้าง ภายในวัดมี ภาพทรุดโทรม ใน สมัยนั้นที่นี่เป็น สวนพลู สวนหมาก สวนมะพร้าว สวนเงาะ มีศาลาที่เก่ามาก มีโรงครัวเล็กๆ กุฏิก็มีไม่กี่หลังเป็นกุฏิเล็กๆ ยกพื้น ปลูกด้วยไม้สัก พักได้รูปเดียว อยู่ตามร่อง สวน พระภิกษุที่อยู่ก่อนมีจำนวน 13 รูปมักย่อหย่อนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ท่านต้องพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนตั้งแต่วันแรกที่มาถึงแต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ท่านกลับมีความคิดที่จะฟื้นฟูวัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีกด้วยผลงานและคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาการค้นพบวิธีการเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไประยะหนึ่งแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลาย
ได้ค่อยๆ ลดจำนวนลง ผู้เข้าถึง "ธรรมกาย" ก็ลดน้อยลงด้วยเช่นกัน เป็นเหตุให้วิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยดำรงอยู่ในครั้งพุทธกาลและ สืบทอดมาอีกระยะหนึ่งนั้นเลือนหายไปในที่สุด ความรู้ที่มีเหลืออยู่ในคัมภีร์ไม่มากพอที่คนรุ่นหลังจะเข้าใจได้ ทำให้เกิดการตีความขึ้นในภายหลังว่า"ธรรมกาย"เป็นเพียงชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
จนกระทั่งพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺท โร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญในขณะที่เป็นพระภิกษุผู้มุ่งมั่นในการประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ได้ศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ต่างๆและปฏิบัติธรรมเจริญภาวนาควบคู่ไปด้วยมิได้ขาด เมื่อศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจนแตกฉานดีแล้วก็ทุ่มเทฝึกเจริญภาวนาศึกษาวิปัสนาธุระอย่างจริงจัง ด้วยการเจริญกรรมฐานทั้ง 40 วิธีที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และยังได้ฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับใน สมัยนั้นหลายต่อหลายรูป จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ ถึงกับจะให้อยู่ช่วยกันอบรม แนะนำศิษยานุศิษย์ในสำนักของท่านด้วยกันก็มีแต่หลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านเห็นว่า ที่ได้ศึกษามานั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งธรรมอันลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายหลังท่านก็ฝึกปฏิบัติด้วยตัวของท่านเองอย่างไม่ลดละโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในที่สุดก็บรรลุถึงพระธรรมกาย และค้นพบวิชชาธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากนั้นท่านได้นำความรู้ที่ท่านเข้าถึงและค้นพบมาเผยแผ่แก่ประชาชน ทำให้คำว่า "ธรรมกาย" เริ่มเป็น ที่รู้จักกันขึ้นมาอีกครั้ง


            หลวงปู่วัดปากน้ำได้อธิบายไว้ว่า ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม ที่มีอยู่แล้วในศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคน มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูป ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกตุเป็นรูปดอกบัวตูม ใสว่างเป็นแก้วตลอดทั้งองค์ และเมื่อท่านตรวจ อบความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติกับพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ ก็พบว่าไม่คลาดเคลื่อน (เช่น คำว่า "เห็น" ก็สามารถ "เห็น"ได้จริงๆ หรือพระรัตนตรัยที่แปลว่า แก้วสามประการ ก็สามารถเห็นได้ว่าใสเป็นแก้วจริงๆ ทั้งพระพุทธ
พระธรรม และพระสงฆ์ โดยไม่จำเป็นต้องตีความ)หลวงปู่วัดปากน้ำได้เผยแผ่ความรู้ที่ท่านค้นพบให้แก่ศิษย์ทั้งหลาย และมีผู้เข้าถึง "ธรรมกาย"เป็นจำนวนมาก เป็นประจักษ์พยานยืนยันได้ว่า "ธรรมกาย" นี้คือของจริง ท่านกล่าวว่า คำว่า "ธรรมกาย"
นั้น ท่านมิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง ในพระไตรปิฎกก็มีคำนี้ และในอดีตก็เคยมีการ อนวิธีปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย ปรากฏอยู่ใน "หนังสือพุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วย มถและวิปั นากัมมัฏฐาน 4 ยุค"หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติ มถะและวิปั นาแบบโบราณ 4 ยุค คือ ยุคกรุงศรีสัตตนาคณหุตฯ (เวียงจันทร์) กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีอยู่วิธีหนึ่งชื่อว่า "แบบขึ้นกัมมัฏฐานห้องพระพุทธคุณพระธรรมคุณ พระสังฆคุณ" ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากวัดประดู่โรงธรรม กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่าเป็นแบบที่สืบเนื่องมาจากท่านทิศาปาโมกขาจารย์ 56 องค์ แต่ครั้งโบราณฯ ได้ประชุมกันจารึกไว้ เมื่อประมาณพุทธ
ศักราช 572 วิธีปฏิบัติวิธีนี้ เป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่ยืนยันได้ว่า ครั้งหนึ่งเคยมีการกล่าวถึง "ธรรมกาย"ในวิธีการทำสมาธิ


            ส่วน "วิชชาธรรมกาย" ที่หลวงปู่วัดปากน้ำค้นพบนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่ท่านปฏิบัติธรรมจน เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว จากนั้นอาศัยธรรมจักขุของพระธรรมกายที่ท่านเข้าถึงศึกษาค้นคว้าความรู้ใน วิชชาธรรมกายต่อไป วิชชาธรรมกายอันเป็นแก่นแท้ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่าน ค้นพบนี้ ได้เลือนหายไปเมื่อประมาณ พ.ศ. 500 คือหายไปนานเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว ก่อนหน้าที่หลวงปู่วัดปากน้ำจะค้นพบวิชชาธรรมกาย เรื่องราวของธรรมกายที่ยังคงมีปรากฏอยู่
ในที่ต่างๆ นั้นยังไม่มีผู้ค้นพบ หรือที่พบแล้วก็ไม่เข้าใจว่า "ธรรมกาย" คืออะไร จะเข้าถึงได้หรือไม่ อย่างไร แต่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเชื่อมั่นและยืนยันว่าวิชชาธรรมกาย ที่ท่านค้นพบเป็นของจริงมาโดยตลอด อีกทั้งท่านยังได้ตรวจ สอบความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติธรรมของท่านกับพระไตรปิฎกไว้แล้ว การปฏิบัติธรรมจนเข้าถึง "ธรรมกาย" และการค้นพบวิชชาธรรมกายของหลวงปู่วัดปากน้ำถือ เป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นการรื้อฟื้นคำ สอนดั้งเดิมของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าในด้านการปฏิบัติให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและยังเป็นการจุดประกายให้พระพุทธศาสนา สว่างไสวโชติช่วงขึ้นอีกครั้งหนึ่งในช่วงกึ่งพุทธกาล


หลักฐานธรรมกาย
คำว่า "ธรรมกาย" (ธมฺมกาย) นี้มีปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ หลายแห่ง ทั้งในพระไตรปิฎก และใน คัมภีร์ต่างๆ ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก ปรากฏอยู่ในพระสูตร 4 แห่ง ดังนี้ แห่งแรก อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ความว่า ตถาคตสฺส เหต วาเสฏ อธิวจน ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ (ดูก่อน วาเสฏฐะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูติก็ดี พรหมภูติก็ดี นี้แหละเป็น ชื่อ ของเราตถาคต) แห่งที่ 2 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน โส ภิตวรรคที่ 14 ความว่า ธมฺมกายฺจ ทีเปนฺติ เกวล รตนากร วิโกเปต น กฺโกนฺติ โก ทิ สุวา นปฺป สิทติฯ (ชนทั้งหลายไม่สามารถกำจัดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงแสดงธรรมกายและผู้เป็น บ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่างเดียวได้ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส) แห่งที่ 3 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธวรรคที่ 1
ความว่า ภวนฺติ ปจฺเจกชินา ยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา (พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ ยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก) แห่งที่ 4 อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เอกุโป ถวรรคที่ 2 ความว่า วทฺธิโตยสุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม วทฺธิโต ตยาฯ (ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่พระธรรมกาย อันน่า รื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว) หลักฐานธรรมกายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อื่นๆ
 ในอรรถกถา มีปรากฏอยู่ 25 อรรถกถา  ในฎีกาพระวินัยที่ชื่อว่า "สารัตถทีปนี" กล่าวถึง "ธรรมกาย" ในฉบับภาษาบาลีอยู่ประมาณ 6 แห่ง  ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึง"ธรรมกาย" อยู่ 2 แห่ง  ในคัมภีร์มิลินทปัญหา กล่าวถึงธรรมกายอยู่ 1 แห่ง
 ในหนังสือ "ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3" กล่าวว่า ในศิลาจารึกหลักที่ 54 พ.ศ. 2092 ที่ จารึกไว้เป็นภาษาไทยและมคธ มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวของพระธรรมกายเอาไว้  ในหนังสือปฐม สมโพธิกถา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระอุปคุตต์เห็นพระธรรมกาย นั่นคือ พระธรรมกายนั้นสามารถเห็นได้ ข้อความนี้เป็นเครื่องยืนยันความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติธรรมของ
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีและศิษย์ของท่าน  ในจารึกลานทอง กล่าวถึง "ส่วนสูงของพระธรรมกาย" ไว้ด้วย หลักฐานนี้ยืนยันคำสอน ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีและศิษย์ เกี่ยวกับ "การวัดมิติของพระธรรมกาย" ว่าไม่ใช่สิ่งที่
นอกเหนือจากตำราแต่อย่างใดสำหรับต้นฉบับจารึกลานทองนี้ ปัจจุบันตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร


             นอกจากนี้ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมกายอยู่มากกว่าในคัมภีร์ฝ่าย เถรวาท และในคัมภีร์เหล่านั้นมีอยู่หลายตอนที่กล่าวตรงกันกับการค้นพบของหลวงปู่ เช่น ในคัมภีร์ ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตรตอนหนึ่งกล่าวว่า "ธรรมกายนั้นย่อมเที่ยงแท้แน่นอนที่สุด เป็นสุขล้วนๆ เป็นตัวตนคืออัตตาที่แท้จริง บริสุทธิ์ที่สุด ผู้ใดได้เห็นธรรมกายของตถาคตในลักษณะนี้แล้ว ย่อมถือว่า เห็นถูก" การค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สูญหายไป นับพันปีนี้ นับเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้กระทำไว้เป็นคุณูปการใน
พระพุทธศาสนา

 

การปกครอง
            เมื่อหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำใหม่ๆ ท่านกล่าวว่า "สร้างคนนั้นสร้างยากเรื่องเสนา สนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่สิ่งสำคัญต้องสร้างคนก่อน" ดังนั้นในเบื้องต้นท่านมุ่งไปที่ความประพฤติของพระภิกษุสามเณรในวัด ท่านต้องการให้ทุกรูปมีข้อวัตรปฏิบัติที่ดี ประพฤติตนตามพระธรรมวินัย จึงเรียกประชุมพระภิกษุสามเณรที่อยู่มาก่อนทั้งหมด และให้โอวาทว่า"เจ้าคณะอำเภอส่งมาเพื่อให้รักษาวัดและปกครองตักเตือนว่ากล่าวผู้อยู่วัดโดยพระธรรมวินัยอันจะทำให้วัดเจริญได้ต้องอาศัยความพร้อมเพรียง และเห็นอกเห็นใจกัน จึงจะทำความเจริญได้ถิ่นนี้ไม่คุ้นเคยกับใครเลย มาอยู่นี้เท่ากับถูกปล่อยเกาะ โดยไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร เพราะต่างไม่รู้จักกันแต่ก็มั่นใจว่า ธรรมที่พวกเราปฏิบัติตรงต่อพระพุทธโอวาท จะประกาศความราบรื่นและรุ่งเรืองให้แก่ผู้มีความประพฤติเป็นสัมมาปฏิบัติ ธรรมวินัยเหล่านั้นจะกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไป
พวกเราบวชกันมาคนละมากๆ ปี ปฏิบัติธรรมเข้าขั้นไหน มีพระปาฏิโมกข์เรียบร้อยอย่างไรทุกคนทราบความจริงของตนได้ ถ้าเป็นไปตามแนวพระธรรมวินัยก็น่า รรเสริญ ถ้าผิดพระธรรมวินัยก็น่าเศร้าใจ เพราะตนเองก็ติเตียนตนเองได้เคยพบมาบ้างแม้บวชตั้งนานนับเป็นสิบๆ ปี ก็ไม่มีภูมิจะ อนผู้อื่น จะเป็นที่พึ่งของศาสนาก็ไม่ได้ ได้แต่อาศัยศาสนาอย่างเดียว ไม่ทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนและเกิดแก่ท่าน ซ้ำร้ายยังทำให้พระศาสนาเศร้าหมองอีกด้วย บวชอยู่อย่างนี้เหมือนตัวเสฉวน จะได้ประโยชน์อะไรในการบวชในการอยู่วัดฉันมาอยู่วัดปากน้ำ จะพยายามตั้งใจประพฤติให้เป็นไปตามแนวพระธรรมวินัย พวกพระเก่าๆ
จะร่วมก็ได้ หรือว่าจะไม่ร่วมด้วยก็แล้วแต่อัธยาศัย ฉันจะไม่รบกวนด้วยอาการใดๆ เพราะถือว่าทุกคนรู้สึกผิดชอบด้วยตนเองดีแล้ว ถ้าไม่ร่วมใจก็ขออย่าได้ขัดขวาง ฉันก็จะไม่ขัดขวางผู้ไม่ร่วมมือเหมือนกันต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องช่วยกันรักษาระเบียบของวัด คนจะเข้าจะออกต้องบอกให้รู้ ที่แล้วมาไม่เกี่ยวข้องเพราะยังไม่อยู่ในหน้าที่ จะพยายามรักษาเมื่ออยู่ในหน้าที่"ต่อมาหลวงปู่ท่านต้องปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร อุบา ก อุบาสิกา และศิษย์วัดจำนวนถึง1,200 กว่าคน ซึ่งมิใช่เป็นของง่าย โดยเฉพาะจะปกครองให้ทุกคนมีความสุข พร้อมเพรียงกัน สมัคร สมานสามัคคีกัน แต่หลวงปู่ท่านเป็นนักบริหารอย่างแท้จริง ท่านได้แบ่งงานให้มีผู้รับผิดชอบเป็นส่วนๆ ได้แก่
1. ด้านการศึกษาปริยัติธรรม
2. ด้านพระภิกษุสามเณร และศิษย์วัด
3. ด้านแม่ชี
            งานที่สำคัญหลวงปู่จะดูแลด้วยตนเอง บางงานสามารถแต่งตั้งผู้เป็นหูเป็นตาแทนได้ ท่านก็ไว้วางใจให้มีผู้ดูแล และให้รายงานให้ท่านทราบ หลวงปู่ปกครองวัดแบบพ่อปกครองลูก ท่านยึดหลัก
"พรหมวิหาร 4" เป็นข้อปฏิบัติ เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ศิษยานุศิษย์ทุกคน


การศึกษาพระปริยัติธรรม
            หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่รักและเห็นความสำคัญของการศึกษา สมัยที่ท่านอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯท่านเคยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยใช้กุฏิของท่านเป็นที่ สอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณร ท่านพูดว่า"การศึกษานั้นสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดี จะได้อะไรก็ดีกว่าประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิกินใช้ไม่หมด"ใน สมัยที่หลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำใหม่ๆ มักจะมีเด็กๆ ลูกชาวบ้านเข้ามาก่อความเดือดร้อนในวัดปากน้ำเสมอ ด้วยเหตุที่เด็กเหล่านั้นไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน จึงมาเที่ยวเล่นเกเร ยิงนกตกปลาภายในบริเวณวัด หลวงปู่ท่านเป็นห่วงอนาคตของเด็กๆ มาก เกรงว่าถ้าไม่ได้รับการศึกษาแล้วจะกลายเป็นเด็กเกเรและเป็นอันธพาลในที่สุด ท่านจึงก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด เพื่อให้เด็กๆ ได้ศึกษาเล่าเรียนและเป็นที่อบรมสั่ง สอนให้เด็กมีความประพฤติที่ดีขึ้นโรงเรียนแห่งนี้หลวงปู่จัดหาทุนสร้างเองทั้งหมด ซึ่งปรากฏว่ามีผู้บริจาคทุนเพื่อสร้างโรงเรียนเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้สุจริตกุล) หลวงฤทธิ์ณรงค์รอญ ธนบดีในย่านคลองบางหลวงบ้านอยู่ข้างวัดสังกระจาย นายต่าง บุณยมานพ ธนบดีตลาดพลู พระภิรมย์ราชาวาจรงค์
บ้านอยู่ตรงข้ามหน้าวัด และผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ อีกหลายคน หลวงปู่ท่านไม่เก็บค่าเล่าเรียน ชาวบ้านรอบวัดจึงพาลูกหลานมา สมัครเข้าเรียน เริ่มแรกมีจำนวนนักเรียนเพียงหลักสิบ เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อย จนถึงสามร้อยกว่าคน เมื่อลูกหลานของเขามีการศึกษาและมีความประพฤติดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นเกิดความศรัทธาเลื่อมใสและซาบซึ้งในพระคุณของหลวงปู่ ความสัมพันธ์กับชาวบ้านรอบวัดจึงดีขึ้นตามลำดับต่อมาหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส วัดขุนจันทร์ ท่านจึงย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่นั่น และเมื่อรัฐบาลประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา มีการจัดตั้งโรงเรียนเพิ่มขึ้นและกระจายอย่างทั่วถึง หลวงปู่จึงมอบงานด้านนี้ให้ทางรัฐบาลดำเนินต่อไปท่านพยายามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม เพราะท่านมุ่งที่จะพัฒนาให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ ท่านไม่ยอมให้พระภิกษุสามเณรในวัดอยู่ว่างๆ ทุกรูปต้องศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และสั่งสอนญาติโยมได้สำหรับหลวงปู่แล้วนอกจากจะศึกษาพระปริยัติธรรม ยังไม่เพียงพอ พระภิกษุสามเณรทุกรูปต้องปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วย ดังคำที่ว่า "ปริยัติเป็นยาทา วิปัสนาเป็นยากิน"ในปี พ.ศ. 2490 วัดปากน้ำได้รับการยกฐานะให้เป็นสำนักเรียนด้านปริยัติ มีพระครูพิพัน์ธรรมคณี เป็นอาจารย์ใหญ่ มีการ สอนภาษาบาลี นักธรรมศึกษา และสามัญศึกษา แผนกภาษาบาลีนั้นทำการ สอนตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยคที่สูงกว่านี้ยังไม่สามารถเปิด สอนได้ เพราะขาดบุคลากร อาคารเรียนใน สมัยนั้นเป็นอาคารเรือนไม้ชั่วคราว และไม่เพียงพอต่อจำนวนพระภิกษุสามเณรที่
เข้าเรียน เพราะขณะนั้นวัดปากน้ำมีพระสงฆ์จำพรรษาถึง 600 รูปเศษ และยังมีพระภิกษุสามเณรจากวัดใกล้เคียงมาศึกษาด้วยต่อมาหลวงปู่มีดำริที่จะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขึ้นใหม่ ให้หลังใหญ่และทัน สมัยขึ้นเพียงพอที่จะรองรับพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาได้มากๆ โรงเรียนพระปริยัติธรรมที่หลวงปู่ดำริสร้างขึ้นนี้ ท่านตั้งใจจะสร้างให้เป็นอาคารถาวร โดยมีโครงสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ชั้น 1และ 2สำหรับเรียนพระปริยัติส่วนชั้น 3สำหรับนั่งเจริญภาวนา อาคารเรียนหลังนี้สามารถรองรับนักเรียนได้ถึง 1,000 รูป ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จสามารถรองรับพระภิกษุสามเณรที่มาเรียนได้ทั้งหมดอย่างแน่นอนหลวงปู่ได้เชิญ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูล สงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีใน สมัยนั้น และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูล สงคราม มาเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ในปี พ.ศ. 2493 และเริ่มก่อสร้างในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนสร้างเสร็จและเปิดทำการ สอนเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ได้ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่าโรงเรียนภาวนานุสนธิ์ ใน สมัยนั้นนับว่าเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ใหญ่ที่สุด และมีอุปกรณ์การศึกษาครบครันต่อมาท่านมีโครงการจะฉลองโรงเรียนในปี พ.ศ. 2500 โดยจะนิมนต์พระภิกษุ 2,500 รูป
มาเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร รวมทั้งเครื่อง มณบริขาร แต่เนื่องจากท่านอาพาธในปีพ.ศ. 2499 โครงการฉลองโรงเรียนจึงต้องระงับไปมีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในช่วงแรกๆ ที่หลวงปู่เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ศิษยานุศิษย์ของท่าน
ต่างพากันหนักใจแทน เพราะในขณะนั้นไม่มีทุนค่าก่อสร้างเลย วันหนึ่งพระครูวิเชียรธรรมโกวิท2 และพระครูปรีชายัติกิจ3 พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 8 รูป เข้าพบหลวงปู่เพื่อกราบเรียนเรื่องการหาเงินสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม เนื่องจากเห็นว่าท่านได้สั่งซื้อเสาเข็มเป็นจำนวนมาก เกรงว่าจะไม่มีเงินค่าก่อสร้าง ทุกรูปจึงเสนอแผนการหาทุนว่า จะออกไปแสดงพระธรรมเทศนาตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัดที่มีลูกศิษย์หลวงปู่อยู่มากๆ โดยจะจัดทำซองเป็นชุดๆ เพื่อใส่ปัจจัยที่ได้จากการทำบุญติดกัณฑ์เทศน์และจะนำซองเหล่านั้นมาให้ไวยาวัจกรเปิดนับเงินกันที่วัดปากน้ำหลวงปู่นั่งฟังโครงการของพระภิกษุเหล่านั้นจนจบโดยไม่คัดค้านอะไร แล้วก็กล่าวขอบใจ ในความมีน้ำใจของทุกรูป จากนั้นท่านบอกว่า "มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป ให้ตั้งใจเรียนให้ได้ประโยค 9 จะมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศทีเดียว" และยังเสริมอีกว่า "ข้าจะอยู่ในวัดเฉยๆ อย่างนี้แหละ แล้วจะ
หาเงินมาสร้างโรงเรียนเองสร้างได้สิน่า เลี้ยงพระยังเลี้ยงได้ แล้วสร้างโรงเรียนทำไมจะสร้างไม่ได้ เรื่องจะไปเทศน์หาเงินน่ะรึ เทศน์จนตายก็ยังไม่ได้เงินถึงล้านหรอก"แสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ท่านไม่ได้หนักใจในการก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังนี้เลย นอกจากท่านไม่ขวนขวายหาเงินแล้ว ท่านยังอยู่แต่ในวัดปฏิบัติกิจต่างๆ ตามปกติ แต่ท่านก็สามารถหาทุนจำนวนมหาศาลมาได้ด้วยความอัศจรรย์การศึกษาพระปริยัติธรรมของวัดปากน้ำเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ มีพระภิกษุสำเร็จการศึกษา
ขั้นสูงสุดของการคณะสงฆ์ คือ เปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสำนักเรียนวัดปากน้ำเป็นสำนักเรียนใหญ่แห่งหนึ่งของการคณะสงฆ์ สถิติของผู้เรียนและผู้ สอบผ่าน ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลีอยู่ในเกณฑ์ดีมาโดยตลอด ดังนั้นทางคณะสงฆ์จึงได้ยกย่องสำนักเรียนวัดปากน้ำ โดยมอบกิตติบัตร-พัดรอง ประกาศเกียรติคุณเป็นสำนักเรียนตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2526

 

การเผยแผ่
           หลวงปู่วัดปากน้ำท่านมีความคิดที่จะเผยแผ่ธรรมะตั้งแต่เพิ่งจะบรรลุธรรมใหม่ๆ เรื่อยมาจนท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดปากน้ำ ด้วยมหากรุณาที่มีอยู่ในใจของท่าน ที่เห็นชาวโลกยังมีความทุกข์อยู่แม้ว่าจะต้องพบอุปสรรคนานัปการ ท่านก็ยังเดินหน้าเรื่อยไป ชนิดที่เรียกว่า ถอยหลังเป็นไม่มี จะเห็นได้จากจริยาวัตรของท่าน คือ
1. คุมพระภิกษุสามเณรลงทำวัตรไหว้พระในพระอุโบสถ และให้โอวาทสั่งสอน ทุกวันๆ ละ 2 เวลา
คือ เช้าและเย็น
2. วันพระและวันอาทิตย์ลงแสดงธรรมในพระอุโบสถเองเป็นนิจ
3. ทำกิจภาวนาอยู่ใน สถานที่ซึ่งจัดไว้เฉพาะเป็นกิจวัตรประจำวัน และควบคุมพระภิกษุให้ไป
นั่งภาวนารวมอยู่กับท่าน ทั้งกลางวันและกลางคืนส่วนพวกอุบาสิกาก็ให้ทำกิจภาวนาเช่นกัน
4. ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 น. สอนการนั่งสมาธิแก่พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา
5. จัดให้มีครู สอนพระปริยัติธรรม


           หลวงปู่ท่านปักหลัก สอนธรรมะอยู่ในวัด ตั้งแต่หลังจากเริ่มทำวิชชาอย่างจริงจังแล้ว ท่านแทบจะไม่ได้ออกไปไหนเลย ผลแห่งการอบรม เผยแผ่ธรรมปฏิบัติวิชชาธรรมกายตั้งแต่ต้นมา ทำให้มีศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนกว่าแสนคน ในจำนวนนี้ ประมาณหมื่นกว่าคนที่ได้บรรลุธรรมกาย และหลวงปู่ท่านยังได้ส่งพระภิกษุและอุบาสิกา ซึ่งได้ธรรมกายแล้วนั้น ไปเผยแผ่เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทยพระภิกษุสามเณรที่หลวงปู่วัดปากน้ำส่งไปเผยแผ่วิชชาธรรมกายมีอยู่หลายรูป เช่น พระภาวนาโกศลเถร (พระวีระ) เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายธรรมกาย หลวงตาอิน พระมหาดร.ทวนชัย ใน สมัยที่เป็นสามเณรอยู่วัดปากน้ำ ก็เคยถูกส่งไป สอนวิชชาธรรมกายในต่างจังหวัด โดยเฉพาะที่สุพรรณบุรีพระภิกษุที่หลวงปู่ส่งออกไปเผยแผ่ใน สมัยนั้น หลายรูปสามารถทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยได้เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถสร้างวัดในพื้นที่นั้นๆ ได้หลายวัด และมีความเจริญรุ่งเรือง สืบมา เช่น วัดเขาพระ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี วัดเกษมจิตตาราม จังหวัดอุตรดิตถ์วัดปากน้ำเทพาราม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา เป็นต้นส่วนทางด้านแม่ชี หลวงปู่ท่านส่งแม่ชีทองสุกสำแดงปัน ไป อนธรรมะที่เชียงใหม่ และไปอีกหลายที่ แม่ชีเธียร ก็ไปสายเดียวกับแม่ชีทองสุก ต่อมาได้มาประจำฝังพระนคร แม่ชีญาณี อนธรรมะให้กับคนที่บ้านอยู่ใกล้ที่ทำวิชชา แม่ชีจินตนา หลวงปู่ส่งไปเป็นอาจารย์ สอนที่สุพรรณบุรี แม่ชีทวีพร ไป สอนที่ฉะเชิงเทรา เป็นต้นพระภิกษุสามเณร แม่ชีและอุบาสิกาที่ได้รับการยกย่องอยู่ในขั้นอาจารย์ อนวิปั นาภายใน
วัดปากน้ำ ท่านจะใช้ให้ช่วยค้นคว้าวิชชาธรรมกายอย่างคืบหน้าทุกวัน เป็นเวลายาวนานถึง 28 ปีเศษท่านให้ทำการค้นคว้าอยู่ตลอดเวลา ท่านเคยให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรในพระอุโบสถว่า "พวกเธอพยายามให้ได้ธรรมกายเสียก่อน แล้วฉันจะ สอนต่อไปให้อีก 20 ปีก็ยังไม่หมด"

 

การสาธารณูปการ
            แม้ว่างานสร้างคนและงานภาวนาจะเป็นงานหลักของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำแต่ท่านก็มิได้ละเลยงานก่อสร้างเสนา สนะและถาวรวัตถุไว้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศา นา จะนำมากล่าวโดยสังเขป ดังนี้
1. กุฏิ 2 แถว 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน
2. โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาวนานุ นธิ์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ยาว 59 เมตร
กว้าง 10 เมตรครึ่ง พร้อมอุปกรณ์การศึกษาเพื่อรองรับการศึกษาพระปริยัติธรรมสิ้นเงินค่าก่อสร้าง
2,598,110.39 บาท
3. ศาลาโรงฉัน รองรับพระภิกษุสามเณรได้ประมาณ 500 รูป เป็นโรงไม้มุงสังกะสีพื้นเท
ปูนซีเมนต์ ภายในอาคารมีอา นสงฆ์ยกพื้น มีช่องเดินได้ในระหว่าง รวมค่าก่อสร้างประมาณ 400,000 บาท
4. กุฏิ มงคลจันทสร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นฝ้าเพดานเป็นไม้สัก ทาสีและขัด
ชะแล็ก มีห้องน้ำ ห้อง ส้วม และไฟฟ้า เป็นกุฏิที่ทัน มัยในยุคนั้น ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 800,000 บาท
5. กุฏิ บวรเทพมุนี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก ราคาค่า
ก่อสร้าง 327,843.30 บาท
6. เสนา สนะหลังเล็กๆ ซึ่งเป็นที่สัปปายะต่อผู้ใคร่ศึกษาและปฏิบัติธรรม
7. เสนา สนะอื่นๆ ที่ยังปรากฏเป็นความเจริญรุ่งเรืองอยู่ ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนถึงปัจจุบัน

 

ตั้งโรงครัว
            ตั้งแต่หลวงปู่มาอยู่ที่วัดปากน้ำใหม่ๆ ท่านก็ตั้งโรงครัวขึ้น เนื่องจากมีพระภิกษุสามเณรมากขึ้น และท่านไม่ต้องการให้พระภิกษุสามเณรลำบาก หรือมีความกังวลในเรื่องภัตตาหาร เพื่อจะได้มีเวลาและกำลังในการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ ท่านบอกว่าให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหาร ท่านเริ่มเลี้ยงพระตั้งแต่มีจำนวน 20-30 รูป เรื่อยมาจนกระทั่งมีจำนวน 600 กว่ารูป ในช่วงแรกหลวงปู่ให้โยมพี่สาวนำข้าวสารมาจากบ้านที่ สองพี่น้องทุกๆ เดือน
ซึ่งต้องใช้ข้าวสารเดือนละ 15 ถังเศษ และต้องจ่ายค่าอาหารเดือนละมากกว่า 150 บาท ต่อมาก็มากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลวงปู่ท่านก็สามารถเลี้ยงได้ทุกวันไม่ได้ขาดจนท่านมรณภาพ (หากรวมแม่ชีและทุกคนในวัดแล้ว มีทั้งหมด 1,200 ชีวิต) เพราะมหาทานบารมีของท่านที่เคยให้ทานข้าวคำหนึ่งและกล้วยครึ่งผลแก่สุนัข รวมทั้งบุญที่ท่านเลี้ยงพระภิกษุสามเณร แม่ชี อุบาสิกา และลูกศิษย์ ทำให้มีญาติโยมมาเลี้ยงพระทุกวันจนต้องจองคิวเพื่อจะมาเลี้ยงพระปัจจุบันแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่วัดปากน้ำยังมีเจ้าภาพมาเลี้ยงพระทุกวัน เพราะท่านสั่งให้เอาร่างท่านเก็บไว้ จะเลี้ยงวัดปากน้ำได้ ทั้งที่ตอนท่านมรณภาพ วัดมีเงินเหลือ 700 บาท เพราะใช้เลี้ยงพระไปหมด ท่านเจ้าคุณราชโมลีขึ้นไปบอกที่หอของหลวงปู่ว่า หลวงปู่เงินหมดแล้วนะเหลืออยู่แค่ 700 บาทเท่านั้น พอลาจากหอไว้ศพ ก็มีรถบรรทุกข้าวสารมา 2 คัน ตั้งแต่นั้นก็มากขึ้นเรื่อยๆ ทวีมา
เรื่อยจนกระทั่งทุกวันนี้โรงครัวใน สมัยหลวงปู่วัดปากน้ำแต่เดิมเป็นเรือนไม้มุงจาก มีแม่ครัวที่เป็นแม่ชี 100 กว่าคนแม้จะมีการย้ายที่ตั้งของโรงครัวมาหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็ย้ายกลับมาอยู่ที่เดิม ไม่มีการเคลื่อนย้ายเพราะหลวงปู่เคยบอกไว้ว่า โรงครัวต้องอยู่ตรงนี้ส่วนในการจัดภัตตาหารนั้น หลวงปู่ได้วางระเบียบแบบแผนไว้ทั้งสิ้น เช่น วงฉันทุกวงจะจัดเตรียมไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งกระโถน แก้วน้ำ กาน้ำ เป็นต้นหลวงปู่ท่านเคยเรียกแม่ชีมาบอกว่า "โต๊ะตั้งตรงนี้นะ กระโถนตั้งตรงนี้ ตั้งเป็นระยะ ผ้าจะปูตรงกลางแล้วมีแก้วน้ำ กาน้ำ แก้วน้ำนี้ต้องตวงน้ำด้วย ท่านต้องทำให้สะอาดนะ ทำไปนะกุศลใหญ่ บุญใหญ่"
สมัยนั้นยังใช้น้ำกรองตักจากแท็งก์ใหญ่ เวลาพระฉันเสียงจะเบามาก ทั้งๆ ที่พระมีจำนวนมาก เพราะท่านไม่ให้คุยกันใน สมัยหลวงปู่ แม่ชีท้วม หุตานุกรม เป็นผู้ดูแลเรื่องในครัว เวลาไปซื้อกับข้าว จะใช้เรือสำปันแจวไปโดยให้แม่ชีจินตนา โอสถ ช่วยแจวเรือไปซื้อที่วัดกลาง (วัดจันทราราม) เลยตลาดพลูไปไม่ไกล ถ้าของมากๆก็ต้องไปซื้อถึงท่าเตียน หลังจากช่วงปี พ.ศ. 2505 ถนนเข้าถึงวัดปากน้ำ จึงเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไปซื้อ ซึ่งสะดวกกว่า

 

เกียรติคุณและ สมณศักดิ์
            วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในช่วงแรกอยู่ใน ภาพที่เสื่อมโทรม ทั้งในเรื่องความประพฤติของพระภิกษุสามเณรที่ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย และขาดการศึกษาเล่าเรียน รวมถึงเสนา สนะสิ่งปลูกสร้างที่รกร้างไปด้วยพงหญ้า และชำรุดทรุดโทรมอยู่เป็นส่วนมากเมื่อหลวงปู่ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส ก็ได้พลิกฟื้นให้วัดปากน้ำมี ภาพที่ดีงามทั้งในด้านวัตถุและบุคลากร กล่าวคือ พระภิกษุสามเณรมีการประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัย มีศีลาจารวัตรที่งดงาม ได้รับการศึกษาพระปริยัติธรรม รวมทั้งเสนา สนะสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรม ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมและจัดสร้างขึ้นใหม่ให้เป็น สถานที่สัปปายะ เป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะ สมสำหรับเป็นที่แสวงบุญและเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยผลงานที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่พระพุทธศาสนาและวัดปากน้ำมาโดยตลอด ทำให้ท่านได้รับการประกาศเกียรติคุณและ สมณศักดิ์ ดังนี้
พ.ศ. 2464 เป็นพระครูสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า พระครู สมณธรรม สมาทาน
พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีพระราชทินนามว่า
พระภาวนาโกศลเถร
พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ
พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช มีพระราชทินนามว่า
พระมงคลราชมุนี
พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ มีพระราชทินนามว่า
พระมงคลเทพมุนี


อุปสรรคและการต่อสู้
            เมื่อหลวงปู่มาอยู่ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญใหม่ๆ การปกครองเป็นไปด้วยความยากลำบาก ในเบื้องต้น ท่านได้เริ่มปราบปรามเหล่าพระภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติไม่ดีต่างๆ ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเจ้าคณะตำบลและพระภิกษุสามเณรที่เคยอยู่มาเก่าก่อน แม้แต่ชาวบ้านในถิ่นนั้นก็พากันเป็นศัตรูกับท่านด้วย ได้ช่วยกันแพร่ข่าวอันไม่เป็นมงคลทับถมท่านด้วยประการต่างๆ มีการดักทำร้ายถึงขั้นส่งคนมาดักยิงก็มีวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด วันนั้นมีการแสดงธรรม หลวงปู่ให้พระกมล ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ของท่านขึ้นเทศน์บนธรรมาสน์แทน เทศน์เรื่องพระกรรมฐาน ซึ่งหลวงปู่นั่งฟังอยู่ด้วย
เทศน์เสร็จเวลา 20.00 น. ขณะที่หลวงปู่กำลังจะกลับกุฏิ ท่านเดินออกมาถึงหน้าศาลาการเปรียญ ก็มีเสียงปืนดังขึ้น 2 นัด "ปัง ปัง" ลูกกระสุนปนวิ่งทะลุผ่านจีวรของท่านขาดเป็นรู 2 รู ไปโดนนายพร้อมอุปัฏฐากที่เดินตามหลัง ทะลุแก้มเป็นบาดแผลสาหัสแต่ไม่ตายส่วนท่านไม่เป็นอะไรเลย ด้วยอานุภาพของศีลที่ท่านรักษาอย่างบริสุทธิ์เสมอมา และด้วยอานุภาพวิชชาธรรมกายที่ท่านเข้าถึง นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของท่านแพร่สะพัดไปอีกโดยไม่ต้องโฆษณา ท่านยังถือว่าเป็นการเพิ่มพูนบุญบารมีให้ตัวท่านอีกด้วย ท่านมีคติประจำใจเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นว่า "พระเราต้องไม่สู้ ต้องไม่หนี ชนะทุกที"ต่อมาท่านยังเจอปัญหาอีก คือ ทางเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญเกิดความไม่เข้าใจในตัวท่าน เนื่องจากท่านเคยห้ามหลวงปู่ไม่ให้แสดงฤทธิ์ เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำเกินหน้าวัดอื่นในเขตเดียวกัน แต่หลวงปู่ไม่ได้ใส่ใจ ท่านพูดว่า "จะให้งอมืองอเท้านั้นไม่ได้ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ชีวิตเป็นหมัน" หลวงปู่ท่านพูดอย่างหนักแน่นมาก ท่านยังคงดำเนินตามปฏิปทารุดหน้าต่อไป คำว่าถอยหลังท่านไม่เคยใช้เกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย ในระยะแรกมีผู้ไม่รู้ได้คัดค้านท่าน กล่าวหาว่าท่านอุตริบัญญัติคำว่าธรรมกาย ขึ้นใช้เอง บางคนก็ว่าท่านอวดอุตริมนุสธรรม บ้างก็พูดเหยียดหยามว่า ใครอยากเป็นอสุรกายให้ไปเรียนธรรมกายที่วัดปากน้ำ เมื่อท่านได้ยินก็กลับยิ้มรับถ้อยคำเหล่านั้นด้วยอาการ สงบ ไม่แสดงปฏิกิริยาขุ่นเคืองใดๆ ท่านพูดว่า "น่าสงสาร พูดไปอย่างไร้ภูมิ ไม่มีที่มาเขาจะบัญญัติขึ้นได้อย่างไรเป็นถ้อยคำของคนเซอะ" ท่านว่าอย่างนั้นและยังพูดอีกว่า "เรื่องตื้นๆ ไม่น่าตกใจอะไร ธรรมกายเป็นของจริง ของจริงนี้จะส่งเสริมให้วัดปากน้ำเด่นขึ้น ไม่น้อยหน้าใคร พวกแกคอยดูไปเถิด"คราวหนึ่งหลวงปู่พูดกับ สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ เกี่ยวกับการถูกโจมตีเรื่องธรรมกาย
ว่า "คนเช่นเราใช่จะไร้เสียซึ่งปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเองเพราะความปรารถนาลามกทำไมที่เขาพูดว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า ธรรมกาย มีอยู่ที่ไหนหมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติชอบ เมื่อผู้ไม่รู้ติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะลบก็ลบได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเองการที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เราได้กระทำกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน เป็นสำนักที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม การพูดของเขาเท่ากับเอาสำนักไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดนั้นเป็นการกระทำของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร เมื่อพูดทางไม่ดีก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกันธรรมะจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่เดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นของจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณของพระพุทธศาสนา"หลวงปู่ท่านถือคติว่า "ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรมก็หอมเอง ใครจะห้ามไม่ได้ ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้" หมายความว่าสิ่งที่หลวงปู่ทำอยู่เป็นดังดอกไม้หอม กลิ่นหอมของการกระทำ คือ ชื่อเสียงที่ดีงามย่อมขจรขจายไปทุกสารทิศ ใครก็มาปิดกั้นไม่ได้ เมื่อเขารู้ข่าวและได้เข้ามาพิสูจน์ ผู้นั้นย่อมได้รับกลิ่นหอมจากการพิสูจน์กันทุกคนท่านได้อ้างพุทธภาษิตที่มีมาในบาลีพระธรรมบทว่า


โย โข วกฺกลิ ธมฺม ปสฺ สติ โสม ปสฺสติ
ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าแลเห็นเรา ตถาคต


            นอกจากนี้ ท่านได้อ้างเอาบาลีที่มีมาในอัคคัญญสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคที่พระพุทธองค์ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณรว่าตถาคตสฺส เหต วาเสฏา อธิวจน ธมฺมกาโย อิติปิฯดูก่อนวาเสฏฐสามเณร คำว่าธรรมกายนี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้เรื่องพระวักกลิดังที่ยกมากล่าวข้างต้นนั้น เมื่อประกอบกับความในอัคคัญญสูตร ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ก็หมายความว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเราคือตถาคตนั่นเอง หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือ ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้าทำไมจึงหมายความเช่นนั้น ก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิอยู่ใกล้ๆ กับพระองค์ หากจะแลดูด้วยตาเนื้อ ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลิตาพิการ เมื่อเป็นเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้นจึงตีความได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์คือ กายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เรา" (ตถาคต) และยังตรัสว่าเป็นกายที่เน่าเปอยอีกด้วย นั่นคือกายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งเป็น "กายภายนอก"คำว่า "เรา" ในที่นี้จึงหมายถึง "กายภายใน" ซึ่งไม่ใช่กายที่เปอยเน่า กายภายในคืออะไรเล่าก็คือ "ธรรมกาย"สามารถรู้เห็นได้เมื่อบำเพ็ญกิจถูกส่วนแล้ว และเห็นด้วย "ตาธรรมกาย" ไม่ใช"ตาธรรมดา" พระพุทธดำรัสข้างต้นนั้น เป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ ถ้ามิได้ปฏิบัติธรรมก็เข้าใจได้ยากเมื่อท่านปฏิบัติได้แล้ว จึงตอบปัญหาได้อย่างง่ายดาย

 

อาพาธและมรณภาพ
            นับจากวันที่หลวงปู่ได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นต้นมา ท่านรับภาระหนักมาโดยตลอด ท่านมีเวลาพักผ่อนน้อย เพราะเวลาส่วนใหญ่อุทิศให้กับเรื่องการทำภาวนาและการบริหารวัดทุกวันไม่ได้ขาด จนล่วงเข้าวัยชราสุขภาพของท่านก็เริ่มทรุดโทรม ท่านเริ่มอาพาธเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2499 ในช่วงแรกอาการของหลวงปู่ขึ้นๆ ลงๆมี พล.ร.จ.เรียง วิภัติภูมิประเทศ ร.น. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารเรือ เป็นแพทย์ประจำของหลวงปู่ได้มาเยี่ยมดูอาการทุกเช้าเย็น และให้การรักษาพยาบาลด้วยตัวเอง เมื่อตรวจพบอาการของโรคใดที่สงสัย ก็จะเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ มาตรวจรักษาหลวงปู่ตอนที่เริ่มอาพาธใหม่ๆ หลวงปู่ท่านนัดประชุมพระภิกษุสามเณร แม่ชี และลูกศิษย์วัดทั้งหมดที่ศาลาเก่า ท่านขอให้ทุกคนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระปีละ 1 วัน โดยให้ไปชักชวนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ให้ได้
ครบ 365 วัน ตอนนั้นพระครูปัญญาภิรัติคิดว่าหลวงปู่จะปลงสังขารแล้ว จึงได้อาราธนาให้ท่านอยู่นานๆเหตุนี้จึงนับเป็นการเริ่มโครงการเลี้ยงพระประจำวัน ซึ่งมีหลวงปู่เป็นผู้ริเริ่มหลวงปู่ได้รับ สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระมงคลเทพมุนี ในระหว่างอาพาธ ในขณะนั้นอาการมีแต่ทรงกับทรุด ถึงแม้ว่าอาการจะเป็นอย่างนี้ แต่กำลังใจของท่านยังแข็งแกร่ง ท่านยังเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรในพระบรมมหาราชวังได้ด้วยตัวเองหลวงปู่ได้นำโยมมารดาของท่านมาเลี้ยงดูอยู่ในวัดปากน้ำเป็นอย่างดีสร้างที่อยู่ให้อย่างสะดวก สบายจนตลอดชีวิต

 

             โยมแม่เสียชีวิตด้วยโรคงูบินในปี พ.ศ. 2484 เมื่ออายุ 82 ปี หลวงปู่ได้เก็บร่างของโยมแม่ไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 ท่านได้จัดการฌาปนกิจศพโยมมารดาของท่าน เพื่อเป็นการสนองพระคุณ แม้ว่าอาการของโรคจะกำเริบมากขึ้น แต่ท่านก็ยังไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลได้จนตลอดก่อนหน้านี้หลวงปู่เคยเข้ารับการผ่าตัดโรคไส้เลื่อนที่โรงพยาบาลศิริราชมาก่อน 1 ครั้ง และต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ 2 ครั้ง แม้ว่าท่านจะอาพาธแต่ก็ยัง สอนเจริญภาวนา และทำภาวนาตามปกติ ท่านจะให้พระภิกษุมานั่งสมาธิใกล้ๆ ท่านทุกวันไม่ได้ขาดหลวงปู่ท่านมีกำลังใจเข้มแข็งมาก เวลาท่านจะลุก นั่ง ยืน เดิน หรือ สรงน้ำ ท่านจะทำเอง ไม่ยอมให้ผู้อื่นช่วย ท่านไม่เคยบ่นหรือจู้จี้กับใคร ใครนำอาหารมาถวายอย่างไร ก็ฉันอย่างนั้น ถ้ามีผู้ห้ามไม่ให้ท่านฉันอาหารบางอย่างเพราะกลัวจะแสลงโรค ท่านก็เลิกฉันอาหารนั้นๆผู้ที่จัดการดูแลหลวงปู่ในระหว่างอาพาธ คือ ท่านเจ้าคุณราชโมลี ( มัยนั้นดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักเรียนและเลขาของหลวงปู่ด้วย) ท่านได้จัดพระภิกษุสามเณร เปลี่ยนเวรกัน ช่วงละ 2 ชั่วโมงตลอด 24 ชั่วโมง และให้จดบันทึกอาการของหลวงปู่โดยละเอียด เมื่อแพทย์มาตรวจรักษาจะได้รายงานอาการของหลวงปู่ได้ถูกต้องตามความเป็นจริง พระภิกษุสามเณรที่มาดูแลหลวงปู่มีหลายรูป ในระยะแรกผู้ที่ดูแล คือ หลวงพ่อเล็ก ครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่พระครู สมณธรรม สมาทาน พระครูอุปถัมภ์ธรรมกิจ( สมัยยังเป็นสามเณร) พระครูปลัดถนอม พระแพ พระมหาอินทร์ พระจ้าย พระโนรี พระครูโอภาสมาธิคุณ(พระสุภาพ) รุ่นต่อมามีพระมหามานิตย์ พระครูวินัยธรทรงเกียรติ และพระ นั่น นอกจากนี้ยังมีลูกพี่ลูกน้องและหลานๆ ของหลวงปู่มาช่วยดูแลอุปัฏฐากด้วย อาทิเช่น นายแกละ นายแบน นายยง นายละอองนายฉลอม มีแก้วน้อย และนายเจริญ เจริญเรืองตั้งแต่หลวงปู่อาพาธ สมเด็จป๋า จะมาเยี่ยมดูอาการอยู่บ่อยๆ บางวันมาเช้า บางวันมาบ่ายบางวันมาเย็น อีกทั้งมาคอยดูแลว่าพระภิกษุสามเณรที่พยาบาลหลวงปู่ ดูแลดีเพียงใด วันหนึ่ง สมเด็จป๋ามาเยี่ยม หลวงปู่ให้พระภิกษุสามเณรตั้งแถวต้อนรับ เมื่อ สมเด็จป๋าไปถึงที่พักของหลวงปู่ มีพระอุปัฏฐากออกมาแจ้งว่า หลวงปู่ออกมารออยู่นานแล้ว สมเด็จป๋าจึงพูดว่า "ฉันไม่เคยบอกแก่ใครว่าจะมา พวกคุณไปโกหกหลวงปู่ไว้หรือว่าฉันจะมา" พระอุปัฏฐากตอบว่า "ผมก็ไม่ทราบ แต่หลวงปู่สั่งให้จัดอาสนะไว้รับพระเดชพระคุณด้วยวาจาว่า จัดที่ไว้ ธรรมดิลกจะมา" ท่านสั่งไว้อย่างนี้ ไม่เคยผิดพลาดสักครั้งเดียว


            ช่วงไหนที่ สมเด็จป๋าหายไปนาน หลวงปู่ก็พูดขึ้นลอยๆ ว่า "ธรรมดิลกวัดโพธิ์ไม่อยู่"ท่านพูดถึงอาการอาพาธกับ สมเด็จป๋าว่า "เจ็บคราวนี้ไม่หาย ไม่มียารักษา เพราะยาที่ฉันอยู่นั้น มันไม่ถึงโรค" ท่านว่ากรรมมันบังไว้ อุปมาเหมือนมีแผ่นหินมารองรับกั้นไว้ ไม่ให้ยาซึมไปกำจัดโรคได้ โรคของท่านนั้นเป็นไข้เหนือหมอ ไม่มีใครรักษาหาย แต่เมื่อลูกศิษย์พาแพทย์ที่มีชื่อเสียงมารักษา ท่านก็ไม่ขัด เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้แสดงกตัญูกตเวทิตาในระหว่างที่อาพาธอยู่เมื่อท่านอาพาธหนัก ท่านได้เรียกหลวงพ่อเล็ก เข้าไปพบ เพื่อสั่งให้ดำเนินการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย และแจกพระของขวัญต่อไป อีกทั้งยังสั่งเรื่องสำคัญไว้ด้วยว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้วให้เก็บ สรีระของท่านไว้ไม่ต้องเผาก่อนที่หลวงปู่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้โอวาทกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนว่า ให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป ท่านได้สั่งลูกศิษย์ธรรมกายทุกคนของท่าน เสมือนพินัยกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ว่า แม้ท่านจะมรณภาพแล้ว ก็ขอให้ทุกคนช่วยกันสั่ง สอนวิชชาธรรมกายนี้ สืบไป ไม่ย่อท้อจนกว่าจะสิ้นชีวิต ไม่ให้ไปไหนให้อยู่ที่วัดปากน้ำ รอผู้ที่จะมา สืบทอดวิชชาธรรมกายในวันข้างหน้าต่อไปในเวลา 13.00 น. เศษ ของวันที่หลวงปู่จะมรณภาพนั้น ท่านมีอาการหอบ จึงได้ตามแพทย์ที่เคยมาดูแลประจำ แต่แพทย์ไม่อยู่ คุณหญิงชลขันธพินิจ ซึ่งมาคอยดูแลหลวงปู่ในที่นั้นด้วย จึงออกไปตามแพทย์ท่านอื่นมา เมื่อมาถึงก็ได้ตรวจอาการของหลวงปู่สักครู่แพทย์ได้แจ้งให้ทราบว่าหลวงปู่หมดความรู้สึกและเส้นโลหิตใน สมองแตกแล้ว หมดทางที่จะรักษา ในเวลานั้นพระภิกษุสามเณร อยู่กันเต็มห้อง ต่างมองดูหลวงปู่ด้วยใบหน้า สลดหลวงปู่ท่านมรณภาพอย่าง งบที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เวลา15.05 น.สิริรวมอายุได้ 74 ปี 3 เดือน 24 วัน 53 พรรษา ท่ามกลางความโศก ลดและเสียงสะอื้นของศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่มาแวดล้อมและที่ทราบข่าว เมื่อระฆังและกลองในวัดบันลือเสียงขึ้น ทุกคนน้ำตาคลอบ้างก้มลงกราบ บ้างยืนมองแล้วร้องไห้ บ้างเอามือปิดหน้าสะอึกสะอื้น ไม่มีเสียงพูดใดๆ ทั้งสิ้น

-------------------------------------------------------------------

GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์
กลุ่มวิชาเป้าหมายชีวิต

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.089142533143361 Mins