ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: กาญจนักขันธชาดก ชาดกว่าด้วยธรรมะมีค่าดั่งทองคำ

ชาดก 500 ชาติ

กาญจนักขันธชาดก ชาดกว่าด้วยธรรมะมีค่าดั่งทองคำ

 

 
ชายชาวนาผู้ขยัน พักอยู่ ณ ชายแดนแคว้นกาสี
 
                  ในพุทธกาลสมัยนับตั้งแต่เจ้าชายเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ อุรุเวฬาเสนานิคม และออกสั่งสอน เวไนยสัตว์เผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างไกลออกไปจากมคธรัฐจนทั่วทั้งภารตะประเทศนั้น 
 
 
พุทธสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช
 
                   นับตั้งแต่นั้น ชมพูทวีปก็แตกตื่นขึ้นและยอมรับความจริงแห่งอริยสัจ จนมีกุลบุตรทุกวรรณะต่างพากันมาขอให้ทรงอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย มานพผู้หนึ่งสนใจศึกษาพระคัมภีร์และเป็นศิษย์นักบวชมาหลายศาสนา ดำรงตนอยู่ในพรหมจรรย์อย่างดีอยู่ช้านาน แต่ยังไม่อาจพบคำสอนใดให้เลื่อมใส 
 
 
กุลบุตรทุกวรรณะออกบวชในพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย
 
                    “เฮ้อ ยุบหนอ พองหนอ ใยเรายังมีกิเลสอยู่ได้หนอ เฮ้อ” “อุ๊ยตาย ดูซิขนาดเดินตามอาจารย์อยู่อย่างนั้น ยังอดเหลียวมองเราไม่ได้ เรานี่เสน่ห์แรงจริงๆ” “นี่แม่นาง ข้ามองอาหารในถาดท่านตากหากเล่า ข้าไม่ได้มองท่าน ข้าหิว”
 
 
มานพหนุ่มผู้สนใจศึกษาคัมภีร์และเป็นศิษย์นักบวชในหลายศาสนา
 
                     ครั้นเมื่อได้มีโอกาสร่วมฟังพระธรรมเทศนาจากพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโอกาสหนึ่งเข้า ก็บังเกิดจิตนิยมเลื่อมใสขึ้นทันที ความสงสัยในการเกิด การเป็นอยู่ การดับสูญ ก็กระจ่างสิ้น จนมีศรัทธาแรงกล้า ต้องการจะบรรพชาอุปสมบท  เมื่อผ่านการทดสอบแล้ว
 
 
มานพหนุ่มได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา
 
                   สมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงโปรดให้พระอุปัชฌาย์นั้นรับไปอบรมพระธรรม แล้วให้พระวินัยต่อไป ไม่ทันครบพรรษาดี ภิกษุใหม่ที่ตั้งใจบวชนั้น ก็หมดความร่าเริงใฝ่รู้ลง เหตุเพราะหัวข้อธรรมนั้น มีมากถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ เมื่อรวมกับพระวินัยอันเป็นศีลของภิกษุอีก 21,000 ข้อ
 
 
ภิกษุหนุ่มเริ่มท้อใจในหลักธรรมที่มากมายจนไม่สามารถจดจำได้หมด
 
                     ที่พระอาจารย์เคี่ยวเข็ญให้จดจำเพิ่มขึ้นอีก ความมุ่งมั่นจึงกลายเป็นความห่อเหี่ยว จนถึงขั้นสมเพศตัวเองไป “เฮ้อ อนิจจาๆ ศีลมากมายถึงขนาดนี้ เราคงจะจำ ไม่ได้หมดแน่ๆ เฮ้อ เรานี่ ช่างไม่เอาไหนจริงๆ ตัดใจเสียดีกว่ากระมัง” ในที่สุดก็ถึงขั้นขนเอาเครื่องบริขารรวมทั้งพระคัมภีร์เพื่อศึกษาธรรมะทั้งหมดมาคืน ให้พระอุปัชฌาย์จาร 
 
 
ภิกษุหนุ่มได้นำเครื่องบริขารไปคืนพระอุปัชฌาย์เพื่อต้องการลาสิกขา
  
                    เพื่อกราบขอลาสิกขากลับบ้านเดิม “เหตุใดท่านจึงตัดสินใจเช่นนี้เล่า ลองไตร่ตรองให้ดีก่อนสิ” “ไม่ล่ะ พระอาจารย์หัวของกระผมไม่ไปจริงๆ ผมมันช่างไม่เอาไหน ไม่คู่ควรที่จะบวชอีกต่อไปแล้ว ขอกระผมลากลับบ้านเถอะนะพระอาจารย์”  
 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบในความทุกข์ใจของภิกษุหนุ่มผู้ที่จะลาสิกขา
 
                    ทุกข์ตรมอันเกิดในจิตใจของภิกษุหนุ่มนั้น เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทราบสัมผัสรู้ได้ด้วยพระญาณที่ทรงโปรดเวไนยสัตว์เป็นปกติในรุ่งอรุณหนึ่ง จึงมีพระกรุณาธิคุณ ให้พระอุปัชฌาย์นำศิษย์ใหม่นั้นเข้าเฝ้า “ดูก่อนภิกษุ เหตุใดเธอจึงบอกศีลลูกศิษย์มากนักเล่า ภิกษุนี้อาจรักษาศีลได้เท่าใด ก็พึงให้เขารักษาเท่านั้นเถิด” 
 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาให้ภิกษุหนุ่มเข้าเฝ้า
 
                    พระบรมศาสดาทรงใช้วิจารณญาณต่อผู้หมดกำลังใจด้วยวิธีผ่อนปรนง่ายๆ “ภิกษุเอ๋ย ถ้ามีศีลเพียง 3 ข้อ เธอจะรักษาได้หรือไม่” “ได้พระเจ้าค่ะ” “ถ้าเช่นนั้น เธอจงอย่าสึกเลย จงรักษากาย วาจา ใจ ไม่กระทำชั่วทั้ง 3 ข้อนี้เถิด ขอเพียงแค่ 3 ข้อนี้เท่านั้น”
 
 
ภิกษุหนุ่มร่าเริงใจในการปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอริยมรรคเป็นอรหันต์
 
                  พุทธวาจานั้น ดุจดังแสงตะวันแหวกม่านเมฆอันดำมืดออกจากจิตใจภิกษุหนุ่ม และแล้ว ความร่าเริงในการปฏิบัติธรรมก็กลับมาอีกครั้ง ภิกษุนั้นกราบสมาทานศีล 3 ข้อ ไปปฏิบัติอย่างปลื้มปีตินับแต่นั้นมา “จากหลายหมื่นข้อ เหลือแค่ 3 ข้อ คราวนี้ไม่มีปัญหา ง่ายๆ แบบนี้เราต้องทำได้แน่ๆ ดีจังจะได้ไม่ต้องสึกด้วย”
 
 
ข่าวของภิกษุหนุ่มผู้สำเร็จอริยมรรคได้แพร่หลายไปทั่วเชตวันมหาวิหาร
 
                    ความเปลี่ยนแปลงของภิกษุใหม่ นำไปสู่ผลสำเร็จทางการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว จนสามารถประคับประคองจิตใจไปบังคับกาย ไม่ให้คิดชั่ว ทำชั่ว พูดชั่ว ได้โดยผ่องแผ้ว ไม่นานนักก็เข้าสู่มรรคผลแห่งพระอรหันต์ได้อีกรูปหนึ่ง 
 
 
สามีภรรยาคู่หนึ่งซึ่งอาศัยทำนาอยู่ในแคว้นกาสีด้วยความประหยัดและอดออม
 
                    ข่าวของภิกษุใหม่ผู้ร้อนรนจะสึก กลับสำเร็จอริยมรรคเป็นอรหันต์ด้วยพระปรีชาสามารถของพระพุทธองค์ได้แพร่หลายไปทั่วเชตวันมหาวิหารในเวลาต่อมา “พระพุทธองค์ทรงพระปรีชาจริงๆ ทำให้ภิกษุใหม่ท่านนั้นกลับมาศึกษาธรรม ได้ จนกลายเป็นอรหันต์จนได้” “ช่างน่ายินดียิ่งนัก”
 
 
ชายหนุ่มมีความขยันขันแข็งในการไถ่ที่ทำแปลงหม่อน
 
                       เสียงสาธุการพระกิตติคุณนี้ ดังต่อเนื่องไม่ขาดสาย พระบรมศาสดาปรารถนาให้สาวกทั้งหลายรู้ค่าแห่งพระธรรมมากขึ้น จึงทรงตรัสว่า “มิใช่แต่เฉพาะบัดนี้เท่านั้น ที่ภาระแม้จะมากมาย เราก็แบ่งโดยส่วนย่อยให้เป็นดุจของเบาๆ ได้ แม้ในกาลก่อน บัณฑิตได้ทองแท่งใหญ่มีค่าดุจธรรมะ หนาและหนักดังศีลของภิกษุนี้ ก็ยังแบ่งย่อยจนยกไปได้สำเร็จ”
 
 
ชายหนุ่มตกใจมากเมื่อผานไถไปกระทบกับของแข็งใต้พื้นดิน
 
                         จากนั้นจึงทรงระลึกชาติครั้งนั้นด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ตรัส กาญนักขันธชาดก ไว้ดังนี้ ณ ชายแดนแคว้นกาสี อันมีพารณสีเป็นมหานครนั้น กาลก่อนยังมีชายชาวนาผู้ขยันขันแข็ง หักร้างถางพงปลูกข้าวสาลี เลี้ยงตนและภรรยาอยู่อย่างประหยัดอดออม “ท่านพี่พักทานข้าวก่อนเถอะค่ะ น้องเตรียมอาหารมาให้แล้ว” “ได้จ๊ะน้องหญิง”
 
 
ชายหนุมขุดเจอทองคำแท่งใหญ่ภายใต้พื้นดิน
 
                     “อร่อยมั๊ยค่ะท่านพี่ ทานให้หมดเลยนะค่ะ” “จ้าๆ พี่จะกินให้หมดไม่เหลือข้าวสักเม็ดเลย” “โธ่ก็เราทำนาข้าวปลูกข้าวกันมาอย่างลำบากนี่จ๊ะ จะกินทิ้งกินขว้างได้อย่างไร” “เดี๋ยวท่านพี่ทานอิ่มแล้ว ไปไถที่แปลงหม่อนอีกนะค่ะ น้องมีน้ำผลไม้หวานๆ ชื่นใจ เป็นรางวัลให้ด้วยนะค่ะ” “จ้าๆ ปีนี่เราจะขยายที่นาไปทำในแปลงนั้นด้วยเลยดีมั๊ยจ๊ะ”
 
 
ชายหนุ่มคิดหาหนทางในการนำทองคำแท่งใหญ่ไปใช้
 
                      ที่ดินแปลงที่ว่านี้ แต่เดิมเป็นที่อยู่ของเศรษฐีผู้มั่งคั่งมาก่อน แต่ได้โยกย้ายหายไปนอกแคว้นนานมาแล้ว ชายชาวนาได้จัดการกับวัชพืชและสิ่งกีดขวางต่างๆ จนเรียบร้อย ก็เตรียมแอกและไถไว้พร้อม เพื่อไถพลิกหน้าดินครั้งแรกในวันต่อไป ชาวนาลงมือไถแต่เช้า จนกระทั่งบ่ายคล้อย ผานไถที่ขุดลงไปในดินก็กระแทกเข้ากับของแข็งบางอย่างในดิน
 
 
ชายหนุ่มแบ่งทองคำออกเป็น 4 ส่วน สำหรับนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ
 
                        “อุ๊ย แย่ละซิ ไปไถถูกอะไรเข้าละเนี่ย” ชายหนุ่มวางคันไถลงแล้วลงมือขุดคุ้ยดินตรงนั้นขึ้น ก็ปรากฏแสงสีเหลืองพร่างพรายขึ้นมาอย่างน่าตกตะลึง “นี่มันอะไรกันนี่ เราไปไถเจออะไรละเนี่ย น่าประหลาดใจจริงๆ ทำไม มันถึงได้มีสีเหลืองผ่องอำไพขนาดนี้เนี่ย” วัตถุแข็งนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นทองคำแท่งใหญ่ ที่เศรษฐีฝั่งทิ้งไว้นานมาแล้วนั่นเอง
 
 
ชายหนุ่มซื้อผ้าอย่างดีมาฝากภรรยาของตน
 
                        ชายชาวนาไม่อาจยกขึ้นมาแล้วนำกลับไปที่บ้านได้ทั้งหมด จึงเอาดินฝั่งกลบไว้อย่างเดิมก่อน “โอ๊ย หนักขนาดนี้ จะเอาไปหมดได้อย่างไร ขอคิดก่อนดีกว่า ว่าจะทำอย่างไรดี เอ้ เราคนเดียวก็คงแบกกลับบ้านไม่ไหวแน่ๆ” เขาใช้เวลาที่เหลือคิดตรึกตรองอย่างรอบคอบ และหาวิธีเก็บรักษาทองคำอย่างชาญฉลาดได้ที่สุด “อืม เอาไว้ใกล้ค่ำอีกหน่อย เราค่อยมาขุดทองแท่งนี้ขึ้นมาใหม่ก็แล้วกัน แล้วก็แบ่งเป็น 4 ส่วน สำหรับใช้ตามประสงค์ได้ 4 อย่าง
 
 
ชายหนุ่มออกจากบ้านไปไถนาตามปกติในทุกๆ วัน
 
                       ส่วนที่ 1 เราก็เอาไปขาย เอาไว้เลี้ยงชีวิต ส่วนที่ 2 เราก็เก็บเอาไว้ทำทุน แล้วส่วนที่ 3 นำไปทำบุญให้ทานสร้างบารมี ส่วนที่ 4 เราก็ฝังไว้เอาไว้ใช้ยามขัดสนเจ็บไข้ดีกว่าอืม เอาตามนี้แล้วกัน” จากนั้นชายหนุ่มก็ได้ตัดทองคำแท่งใหญ่ให้ย่อยออกเป็น 4 ส่วน แล้วนำกลับไปใช้ที่ส่วนได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า ในแต่ละวันทองที่ฝังไว้จะสูญหาย ที่สำคัญคือเขาไม่เคยแพร่งพรายเรื่องนี้ให้กับใครได้รู้ แม้แต่กับภรรยาของตนเอง นานวันก็ค่อยนำไปจับจ่ายซื้อของและบำรุงครอบครัวให้อยู่ดีมีสุขขึ้นมาที่ละน้อยๆ
 
 
ชายหนุ่มไม่เคยแพร่งพรายให้ใครรู้ความลับเกี่ยวกับทองคำที่ตนเจอ
 
                      “ว้าว นี่มันผ้าบางพาราณสีนี่ท่านพี่ น้องอยากได้มาตั้งนานแล้ว ท่านพี่ซื้อมาให้น้องหรือค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะ สามีนี่น่ารักจริงๆ เลย” “ถือเป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จ๊ะน้องหญิง น้องหญิงดูแลพี่มาเป็นอย่างดี เอาไว้วันหลัง พี่จะซื้อของสวยๆ มาฝากน้องหญิงอีกนะจ๊ะ” “จริงหรอค่ะ ท่านพี่ ขอบคุณมากนะค่ะ” พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงฐานะ ชายหนุ่ม ก็ยังขยันขันแข็งทำงานไร่นาอยู่เป็นปกติ และความลับเรื่องทองคำสูงค่าที่ฝังอยู่นั้น ก็ยังไม่มีผู้ใดล่วงรู้
 
 
ครอบครัวของชาวนาแม้จะร่ำรวยก็หมั่นทำบุญทุกวันเป็นปกติ
 
                       “ที่เราทำอย่างนี้ ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องหวาดระแวงกลัวภัยจากโจรผู้ร้ายยังไงล่ะ ไปๆ กันเถอะพี่โค ไปออกแรงไถนากันเถอะ ถึงจะมีทองมากมาย แต่คนอย่างเราก็ไม่เคยลืมกำพืด ตัวเองอยู่แล้ว แหม พูดแล้ว ภูมิใจตัวเองจริงๆ ฮิๆ เท่มั๊ยพี่โค” หลายปีผ่านไป จากกระท่อมเก่าๆ ค่อยๆ กลายมาเป็นคฤหาสน์ที่มีเจ้าของใจบุญสุนทานและทำงานหาเลี้ยงชีพ อย่างสุจริต ด้วยวิธีดำเนินชีวิตที่มีแบบแผนน่าเจริญรอยตามอย่างยิ่ง “ถึงเราจะสุขสบายร่ำรวยเพียงใด แต่เรื่องทำบุญทำทานนี่ เราต้องประพฤติไม่ให้ขาดนะ น้องหญิง” “ทราบแล้วค่ะ ท่านพี่ ท่านพี่เนี่ย ทั้งหล่อทั้งขยัน แล้วก็ทั้งใจดีมีเมตตา น้องปลื้มๆ ปลื้มมากค่ะ สามีใครค่ะเนี่ย” “ท่านพ่อท่านแม่ มัวแต่คุยกันอยู่ได้ เดี๋ยวชิ้นแรก ลูกเป็นคนถวายเองนะครับ” การใช้ชีวิตและการจัดการกับปัญหาทั้งหลายนั้น ควรแบ่งย่อยเรื่องใหญ่ออก เพื่อแก้ไขเป็นส่วนๆ จะทำให้สำเร็จได้ง่าย ดุจชาวนาที่จัดการแบ่งทองคำแท่งใหญ่นี้
 
ในพุทธกาลสมัย ชาวนาหนุ่ม เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล