ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: มตกภัตตชาดก  ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์

ชาดก 500 ชาติ

มตกภัตตชาดก  ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์

 

 
ชาวบ้านฆ่าแพะเพื่อทำมตกภัตอุทิศให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 
                           ณ พระเชตวันมหาวิหารในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงปรารภมตกภัต อันเนื่องมาจากด้วยในกาลนั้นมนุษย์ทั้งหลายได้ฆ่าแพะและสัตว์ชนิดอื่นเป็นอันมาก เพื่อเป็นมตกภัต อุทิศให้ญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว เหล่าภิกษุทั้งหลายจึงนำเหตุดังกล่าวมากราบทูลถามพระศาสดา
 
 
แพะถูกนำมาประดับตกแต่งให้สวยงามก่อนที่นำไปฆ่าเพื่อเป็นมตกภัต
 
                         “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้มนุษย์ทั้งหลาย ทำร้ายสัตว์มีชีวิตเป็นอันมาก ให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วให้ชื่อว่า มตกภัต ความเจริญในการให้มตกภัตนี้ มีอยู่หรือพระเจ้าค่ะ”  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความเจริญใดๆ ในปานาติบาต แม้ที่เขากระทำด้วยคิดว่า เป็นการให้มตกภัตดังนี้ ย่อมไม่มี
 
 
ภิกษุทั้งหลายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฆ่าสัตว์เป็นมตกภัตของชาวบ้าน
 
                           แม้ในการก่อนบัณฑิตทั้งหลายนั่งอากาศแสดงธรรมกล่าวโทษในการทำปานาติบาตนี้ให้ชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ละกรรมนั้น แต่บัดนี้กรรมนั้น ก็กลับปรากฏขึ้นอีก เพราะสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้อยู่ในสังเขปแห่งภพนั้นเอง”
 
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่า มตกภัตตชาดก ให้แก่เหล่าภิกษุสงฆ์ได้ฟัง ณ พระเชตวันมหาวิหาร
 
                            พระศาสดาจึงทรงนำเรื่องอดีตชาดกมาสาธกอธิบายให้ฟังดังนี้ ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี มีอาจารย์สำนักทิศาปาโมกข์ผู้สำเร็จไตรเพศคนหนึ่ง คิดว่าจักให้มตกภัต จึงให้จับแพะมาตัวหนึ่ง แล้วกล่าวกับศิษย์ในสำนักของตนว่า
 
 
นครพาราณสีในสมัยพระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชสมบัติ
 
                        “ศิษย์ทั้งหลายพวกท่านจงนำแพะตัวนี้ไปยังแม่น้ำ เอามาลัยดอกไม้อันงามสวมคอ เจิมประดับประดาให้งดงามแล้วนำกลับมายังที่นี่เถิด” เหล่าลูกศิษย์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ปฏิบัติตามคำสั่งอาจารย์ โดยนำแพะนั้นไปยังแม่น้ำ จนอาบน้ำสะอาดสะอ้าน
 
 
อาจารย์ทิสาปาโมกข์สั่งให้ศิษย์ของตนจับแพะไปทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาทำมตกภัต
 
                        จากนั้นจึงนำขึ้นมาประดับด้วยดอกไม้พวกมาลัยจนสวยงาม แล้วจึงนำมาพักไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นเอง ฝ่ายแพะนั้น พลันได้เกิดญาณระลึกชาติ ทำให้เห็น กรรมเก่าของตนในอดีต อีกทั้งได้ทราบถึงสิ่งที่เหล่าพราหมณ์กำลังจะกระทำกับตนในกาลนี้
 
 
แพะถูกนำตัวมาทำความสะอาด ณ ริมแม่น้ำ
 
                           จึงเปล่งเสียงหัวเราะลั่นก่อนจะเปลี่ยนเป็นร้องไห้ ด้วยเสียงอันดังในครู่ต่อมา ทำให้เหล่าพราหมณ์ผู้เป็นศิษย์อาจารย์ทิสาปาโมกข์ต่างพิศวงยิ่งนัก  “เอ๊ะ แพะตัวนี้เป็นอะไรไปเนี่ย ทำไมมันถึงทำท่าทางอย่างนั้นล่ะ” “เออ นั้นสิ กลัวจนเป็นบ้าไปแล้วหรือเปล่าเนี่ย”
 
 
แพะถูกนำตัวมาประดับตกแต่งด้วยพวงมาลัยดอกไม้อย่างสวยงาม
  
                          “นี่ เจ้าแพะ เหตุใดเจ้าถึงหัวเราะเสียงดังลั่น แล้วก็กลับเปลี่ยนเป็นร้องไห้เช่นนี้ ช่วยเล่าต้นเหตุให้พวกข้าฟังด้วยเถิด” “ฮ้า ฮ่าๆ พวกท่านทั้งหลาย เมื่อพิศวงถึงเหตุแห่งอาการของข้า ก็โปรดพาข้ากลับไปยังสำนักอาจารย์ของท่าน แล้วจงฟังคำตอบพร้อมกัน
 
 
แพะได้เปล่งเสียงหัวเราะหลังจากนั้นก็ร้องไห้
 
                            ณ สำนักอาจารย์ของท่านด้วยเถิด ฮ่าๆ” เหล่าศิษย์ทิศาปาโมกข์เมื่อได้ฟังความดังกล่าว จึงรีบนำแพะนั้นกลับไปยังสำนักของอาจารย์ตน แล้วเล่า เรื่องราวดังกล่าวให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ได้ฟังคำของมานพผู้เป็นศิษย์โดยถี่ถ้วนแล้ว จึงถามแพะผู้มีอาการประหลาดตัวนี้ว่า
 
 
ศิษย์ของอาจารย์ทิสาปาโมกข์ได้เข้าไปสอบถามอาการที่หัวเราะแล้วก็ร้องไห้ของแพะ
 
                        “แพะเอ๋ย เพราะเหตุใดท่านจึงหัวเราะ และเพราะเหตุใดท่านจึงร้องไห้ในคราวเดียวกันเช่นนี้” “ดูก่อนท่านพราหมณ์ บัดนี้ เราพลันระลึกถึงอดีตได้ด้วยญาณ อันเป็นเครื่องระลึกชาติ และได้รู้ว่า เมื่อก่อนเราก็เป็นพราหมณ์ ผู้สาธยายมนต์เหมือนกับท่านนั้นแหละ
 
 
ศิษย์ของอาจารย์ทิสาปาโมกข์นำแพะไปหาอาจารย์ของเขาตามที่แพะร้องขอ
  
                          และกาลนั้นเราก็จัดคิดให้มตกภัต อุทิศแก่ผู้ล่วงลับเช่นเดียวกับท่าน จึงได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้วให้มตกภัต แล้วด้วยเหตุที่เราได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งนั่นเอง เราจึงนึกถึง การถูกตัดศีรษะใน 499 ภพชาติที่ผ่านมา และกาลนี้เป็นภพชาติที่ 500 ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดในกรรมนั้นของเรา
 
 
แพะได้เล่าถึงวิบากกรรมของตนให้กับอาจารย์ทิสาปาโมกข์และศิษย์ได้ฟัง
 
                           เราจึงเกิดความโสมนัสว่า วันนี้แล้วที่เราจะหลุดพ้นสิ้นความทุกข์ ด้วยเหตุนี้เราจึงหัวเราะ ด้วยเหตุนี้ แต่เมื่อเราได้รู้ในกรรมที่พวกท่านกำลังจะกระทำ เราจึงได้เศร้าสะเทือนใจยิ่งด้วยคิดว่าการที่เราฆ่าแพะตัวนั้น ทำให้เราถึงซึ่งความทุกข์ คือถูกตัดศีรษะถึง 500 ชาติ
 
 
อาจารย์ทิสาปาโมกข์ได้ตัดสินใจที่จะไม่ฆ่าแพะและยกเลิกการทำมตกภัต
  
                         ส่วนพราหมณ์ผู้ได้ฆ่าแพะ คือเราในวันนี้ ท่านเองก็จะทนทุกข์ คือถูกตัดศีรษะถึง 500 ชาติเช่นเดียวกับเรา พราหมณ์เอ๋ย ที่เราร้องไห้ก็ด้วยความกรุณาท่านดังนี้” “ดูก่อนแพะ ท่านอย่าได้กลัวไปเลย เราจักไม่ฆ่าท่านแล้ว”
 
 
แพะรู้ในชะตาชีวิตของตนว่าถึงอย่างไรก็ต้องตายอย่างแน่นอน
 
                         “พราหมณ์เอ๋ย ท่านพูดอะไร ท่านจะฆ่าหรือไม่ฆ่าเราก็ดี ถึงอย่างไรวันนี้เราก็ไม่อาจพ้นจากความตายไปได้” “แพะเอ๋ย ครั้งนี้เป็นท่านเตือนสติเรา ดังนั้นเราจักแทนคุณด้วยการอารักขาท่านไม่ให้ได้รับอันตรายเลย”
 
 
อาจารย์ทิสาปาโมกข์ตั้งใจที่จะดูแลแพะให้ปลอดภัยจากความตาย
 
                         “พราหมณ์เอ๋ย เราขอขอบคุณท่านจริงๆ แต่กำลังการอารักขาของท่านนั้นมีผลน้อยนัก เมื่อเทียบกับบาปที่เรากระทำไว้ ซึ่งมีกำลังมากเหลือเกิน” “ถึงอย่างไร เราก็จะไม่ให้ใครฆ่าหรือทำอันตรายท่านได้ เราจักไปกับท่านด้วย พวกเจ้าที่เป็นศิษย์เรา ใครจะออกติดตามคุ้มครองแพะตัวนี้กับเราบ้าง”
 
 
อาจารย์ทิสาปาโมกข์ให้ศิษย์นำแพะไปปล่อย
  
                        “ข้าขอไปกับท่านด้วย” “ข้าก็ขอไปด้วย” “ข้าขอขอบคุณพวกท่านมาก เอาเถอะ ถ้าพวกท่านยืนยันเช่นนั้น ก็สุดแล้วแต่ท่านเถอะ” ดังนั้นอาจารย์ทิสาปาโมกข์ จึงให้ลูกศิษย์ปล่อยแพะให้เป็นอิสระ แต่ทันทีที่แพะเชือกถูกปลดออกไปจากคอของแพะ
 
 
หลังจากถูกปล่อยแพะก็เล็มกินใบไม้ตามปกติ
 
                          และอาจารย์ทิศาปาโมกข์กับเหล่าลูกศิษย์กำลังเตรียมตัวจะออกเดินทางนั่นเอง แพะตัวนั้นก็ออกเดินไปชะเง้อคอกินใบไม้ที่พุ่มไม้ด้านหลังแผ่นหินขนาดใหญ่ ที่อยู่ไม่ไกลจากที่นั่น และทันใดนั้นก็เกิดอสนีบาตฝาดลงมาที่ด้านหลังแผ่นหินนั้นโดยพลัน สะเก็ดหินขนาดใหญ่อันมีปลายคมกริบชิ้นหนึ่งได้แตกออกมา
 
 
เกิดฟ้าผ่าลงบนแผ่นหินใกล้บริเวณที่แพะกินใบไม้อยู่
 
                          และกระเด็นพุ่งเข้าเชือนคอแพะผู้มีกรรม ซึ่งกำลังอยู่ในท่าชะเง้อคอกินใบไม่อยู่ จนศีรษะแพะนั้นขาดจากกายในบัดดล “โอ๊ยๆๆๆ” “อะไรกันนี่ ลมฝนรึก็ไม่มี ทำไมอยู่ดีๆ ฟ้าก็ผ่าลงที่แผ่นหินนั้นล่ะ” “ท่านอาจารย์ ข้าได้ยินเสียงเจ้าแพะร้อง เราไปดูกันเถอะ” “อืม จริงด้วย ไปดูกันเถอะ ไปๆ ไปๆ”
 
 
แผ่นหินอันคมกริบซึ่งเกิดจากฟ้าผ่าได้กระเด็นเชือนคอแพะจนล้มลงและขาดใจตายในที่สุด
 
                          ภาพที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์และเหล่าลูกศิษย์ได้เห็นก็คือ แพะที่พวกเขาปลดปล่อยอิสระตัวนั้น นอนแน่นิ่งอยู่ มันตายสนิทในสภาพที่ศีรษะถูกตัดขาดกระเด็น “โธ่เอ๋ย เจ้าแพะที่น่าสงสาร เจ้าหนีไม่พ้นเวรกรรมนั้นจริงๆ ด้วย โชคดีเหลือเกินที่พวกเราไม่ได้ผูกเวรกับท่านเอาไว้
 
 
อาจารย์ทิสาปาโมกข์สั่งให้ศิษย์ออกไปดูแพะหลังจากที่ได้ยินเสียงร้อง
 
                             ด้วยการประหารท่านเสียเอง นับว่าท่านได้ช่วยพวกเราไม่ต้องทำบาปทำกรรม จงไปดีเถิดเจ้าแพะสหายแห่งเรา” “น่าเวทนาแท้ๆ แต่บาปของเจ้าน่ะ ก็ได้สิ้นสุดแล้วนะ” ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวาอยู่ในที่นั้น ได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตลอด
 
 
อาจารย์ทิสาปาโมกข์และเหล่าศิษย์ต่างเศร้าสลดใจในภาพที่เห็น
 
                             จึงปรากฎร่างอันผ่องใสให้เหล่าพราหมณ์ทั้งหมดอยู่ ณ ที่นั้นได้เห็นด้วยเทวานุภาพ พระโพธิสัตว์ในร่างของรุกขเทวาจึงได้กล่าวแสดงธรรมด้วยพระสุรเสียง อันกังวานไพเราะว่า “เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้
 
 
รุกขเทวาได้ปรากฎกายให้อาจารย์และศิษย์ทิสาปาโมกข์ได้เห็น
 
                           สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า
 
 
 
รุกขเทวาได้กล่าวแสดงธรรมแก่อาจารย์และศิษย์ทิสาปาโมกข์
 
                          แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาตไม่ควรฆ่าสัตว์ ด้วยเหตุผลดังนี้” ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงแสดงธรรม โดยยกเรื่องทุกข์ภัยในอเวจีมากล่าวสาทกดังนั้น เหล่าพราหมณ์ตลอดจนมนุษย์ทั้งหลายในกาลนั้น เมื่อได้รับฟัง และรับทราบในอรรถาธิบายแห่งพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็บังเกิดความหวาดกลัวในภัยแห่งนรก ต่างงดเว้นจากปานาติบาตโดยทั่วกัน พระบรมศาสดาเมื่อทรงแสดง พระธรรมเทศนาแล้ว จึงทรงสืบต่อ อนุสนธิ และได้ทรงตรัสประชุมชาดกว่า
 
ภิกษุทั้งหลาย รุกขเทวดาในครั้งนั้น คือเราตถาคต นี้แล
 
 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล