ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

 

ชาดก 500 ชาติ

โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

 
       ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ณ ชนบทแคว้นโกศลมีหมู่บ้านชาวประมงประมาณ 1,000 ครอบครัว อาศัยอยู่ด้วยความผาสุกตลอดมา ครั้นต่อมาหญิงคนหนึ่งในหมู่บ้านได้ตั้งครรภ์ นับตั้งแต่นั้นมาทุกครอบครัวต่างก็ทำมาหากินฝืดเคืองลำบากมากขึ้นตามลำดับ ซ้ำยังมีภัยพิบัติเกิดขึ้นเนืองๆ เช่นถูกไฟไหม้บ้านถึง 7 ครั้ง   สตรีชาวชนบทแห่งแคว้นโกศลเธอได้ตั้งครรภ์ และทำให้หมู่บ้านเกิดภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง ถูกทางการปรับถึง 7 หน ชาวหประมงทั้งหลายจึงประชุมกันเพื่อหาทางแก้ไข

 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       ในที่สุดจึงเห็นพ้องต้องกันว่า คงจะต้องมีบุคคลที่เป็นกาลกิณีอยู่ในหมู่บ้านอย่างแน่นอน จึงช่วยกันค้นหาบุคคลที่เป็นกาลกิณีนั้น โดยแบ่งกันออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 500 คน กลุ่มครอบครัวที่หญิงมีครรภ์ผู้นี้ไปอยู่ทำมาหากินไม่ขึ้น
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       ส่วนกลุ่มหนึ่งที่แยกออกไปกลับเจริญขึ้น พวกที่แย่ลงก็แบ่งกันออกเป็น 2 กลุ่มอีกครั้ง แยกกันโดยทำนองนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือครอบครัวของหญิงมีครรภ์เพียงครอบครัวเดียว ชาวบ้านทั้งหลายจึงพากันขับไล่ครอบครัวของนางออกจากหมู่บ้านไป เพราะถือว่าเป็นกาลกิณี ครอบครัวของนางจึงมีความเป็นอยู่ยากแค้นแสนสาหัสขึ้นไปอีก
  

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       หญิงนั้นเมื่อคลอดบุตรแล้วก็พยายามอดทนเลี้ยงลูกจนเติบโตวิ่งเล่นได้ แต่ครอบครัวของนางต้องอยู่อย่างอดอยากยากแค้นยิ่งนัก ในที่สุดวันหนึ่งนางจึงพูดกับลูกชายว่า “ลูกเอ้ย..เจ้าจงไปหากินเอาเองเถอะนะ พ่อกับแม่เลี้ยงเจ้าต่อไปไม่ไหวแล้ว” พร้อมกันนั้นก็เอาชามดินเผาใบหนึ่งยัดใส่มือลูกแล้วหนีไปอยู่เสียที่อื่น

       ตั้งแต่นั้นมาเด็กคนนี้ก็ต้องร่อนเร่ไปเรื่อยๆ มีความอดอยากหิวโหยตลอดเวลา ไม่เคยได้กินอาหารเป็นมื้อสักครั้ง ได้แต่เก็บเศษอาหารที่เขาทำตกหล่นหรือสาดทิ้งมากิน ตกค่ำก็อาศัยนอนตามศาลาวัดบ้าง ชายคาบ้านหรือตามใต้สะพานบ้าง น้ำท่าไม่เคยได้อาบ ร่างกายซูบผอม สกปรก มีสภาพเหมือนปิศาจคลุกฝุ่น เป็นเช่นนั้นจนอายุประมาณได้ 7 ขวบ

 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       วันหนึ่งขณะที่พระสารีบุตรกำลังบิณฑบาตอยู่ในนครสาวัตถี ได้เห็นเด็กนั้นกำลังเก็บเมล็ดข้าวที่เขาสาดทิ้งจากการล้างหม้อ ล้างชาม มากินทีละเม็ด ท่านรู้สึกสงสารยิ่งนัก จึงเข้าไปสอบถามแล้วพามายังเชตะวันมหาวิหารให้บรรพชาเป็นสามเณรทำให้เด็กนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ครั้นอายุ 20 ปี บริบูรณ์ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้รัยฉายาว่า  โลสกะติสสะ
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       ถึงแม้ว่าจะบวชเป็นพระภิกษุแล้วก็ตาม แต่ท่านโลสกะติสสะไม่เคยได้ฉันอิ่มเลย ได้ฉันเพียงแค่พอประทังชีวิตไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น เพราะเมื่อใครใส่บาตรให้ท่านทัพพีดียว คนอื่นๆ ที่จะใส่ให้อีกก็จะเห็นเสมือนว่าบาตรนั้นมีอาหารเต็มจนล้นขอบบาตรแล้ว จึงใส่ให้องค์อื่นแทน แม้กระนั้นก็ตาม ท่านก็มีความเพียรในการปฏิบัติธรรมเป็นเลิศ

       ในที่สุดก็สามารถทำใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้เข้าถึงพระธรรมกายอรหันต์ หมดกิเสลเป็นพระอรหันต์ได้แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ยังคงมีลาภน้อย ไม่ได้ฉันอิ่มอยู่ตามเคยร่างกายจึงทรุดโทรมตลอดมา จนกระทั่งใกล้วันเข้านิพพาน วันหนึ่งพระสารีบุตรพระเถระทราบว่าใกล้เวลาที่พระโลสกะติสสะเถระจะเข้านิพพานแล้ว
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

        จึงคิดอนุเคราะห์ให้ท่านได้ฉันอาหารเต็มอิ่มสักมื้อหนึ่ง จึงพาท่านไปบิณฑบาตด้วย แต่ปรากฏว่าเมื่อท่านไปด้วย พระสารีบุตรกลับไม่ได้อะไรเลย แม้เพียงการยกมือไหว้จากชาวบ้าน ท่านเห็นเช่นนั้น จึงให้พระโลสกะติสสะเถระกลับไปรอที่หอฉันก่อนแล้วท่านก็ย้อนกลับไปบิณฑบาตใหม่ คราวนี้ชาวบ้านทั้งหลายต่างพากันนิมนต์ท่านให้นั่งในที่อันควรแล้วถวายภัตตาหารมากมาย

       พระสารีบุตรจึงให้คนนำอาหารไปถวายพระโลสกะติสสะ แต่คนนำอาหารไปนั้น กลับลืมไปว่าจะนำไปให้ใคร จึงกินเสียเอง เมื่อพระสารีบุตรกลับมาถึงวัด ทราบว่าท่านยังไม่ได้ฉันจึงสลดใจยิ่งนัก แต่เห็นว่ายังพอมีเวลาเหลืออยู่จึงเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งให้นำบาตรมา แต่ทรงเห็นว่าไม่ใช่เวลาถวายของคาว

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       จึงถวายของหวายให้ 4 อย่าง คือเนยใส เนยค้น น้ำผึ้ง และอ้อย พระสารีบุตรนำของหวานที่ได้กลับไปหอฉัน จึงเรียกพระโลสกะติสสะให้มาฉัน แต่พระโลสกะติสสะรู้สึกเกรงใจจะไม่ฉัน พระสารีบุตรจึงคะยั้นคะยอให้มาฉัน แล้วยืนถือบาตรไว้ เพราะเกรงว่าหากปล่อยบาตรออกจากมือเมื่อไหร่อาหารในบาตรก็จะหายไปหมด   มื้อนั้นพระโลสกะติสสะจึงนั่งฉันของหวานนั้น จนอิ่มเป็นครั้งแรกในชีวิต หลังจากนั้นท่านก็นิพพานในวันนั้นเอง

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งให้ปลงสรีระของท่านแล้วเก็บพระธาตุไว้ในเจดีย์ ต่อมาพระภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาถึงพระโลสะติสสะเถระว่า ท่านเป็นผู้มีลาภน้อย มีความเป็นอยู่อดๆ อยากๆ อย่างนั้นแต่ก็ยังบรรลุพระอริยธรรมได้ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังธรรมสภา ทรงทราบข้อสนทนานั้น แล้วจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโลสกะติสสะเถระผู้นี้มีลาภน้อย เพราะเคยประกอบกรรมทำลายลาภของผู้อื่น และการได้อภิญญาก็ด้วยผลบุญที่บำเพ็ญเพียรมาดีแล้วในอดีตชาตินั่นเอง จากนั้นพระพุทธองค์ทรงนำโลสกชาดกมาตรัสเล่าดังนี้
 ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       ในอดีตกาลนานมา ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า กุฎุมพีเศรษฐีผู้ใจบุญท่านหนึ่งได้นำพระอรหันต์ที่ผ่านทางมาพักยังวัดที่ตนเป็นผู้อุปัฏฐากอยู่ ซึ่งพระภิกษุเจ้าอาวาสก็ต้อนรับเป็นอันดี เศรษฐีได้กราบพระอรหันต์อาคันตุกะแล้ว ก็นั่งฟังธรรมจากท่านจนมืดค่ำ เมื่อจะกลับก็ได้อาราธนาทั้งพระภิกษุเจ้าอาวาสและพระอาคันตุกะให้ไปรับบิณฑบาตรในวันรุ่งขึ้น

       พระภิกษุเจ้าอาวาสเห็นกุฎุมพีเอาใจพระเถระอาคันตุกะมากจึงบังเกิดความริษยา “เนี่ย...ถ้าเรานิมนต์พระรูปนี้ไปพร้อมกันกุฎุมพีเศรษฐีก็จะไม่สนใจเรา ไม่ได้การแล้ว อย่างนี้ต้องหาทางกีดกัน ดังนั้นในตอนเช้าแทนที่จะตีระฆังเป็นสัญญาณเจ้าอาวาสก็ใช้หลังเล็บเคาะเอาพอเป็นพิธี “อ้า..กระผมเรียกแล้วนะ ...ท่านนะไม่ได้ยินเอง”

       เมื่อได้เวลาก็นำพระในวัดไปบ้านเศรษฐีตามที่รับนิมนต์ โดยไม่รู่ว่าพระอาคันตุกะได้ออกบิณฑบาตแยกไปอีกทางอย่างสงบก่อนแล้ว “ความริษยา ไม่ก่อประโยชน์ใดๆ เลย” “รีบๆ เดินไวๆ เข้านะเดี๋ยวจะสาย" พอได้เวลาฉันอาหาร มีโอกาสก็รีบให้ร้ายพระอาคันตุกะตามที่จิตคิดริษยา “อาตมาตีระฆังก็แล้ว เคาะประตูก็แล้ว ก็ยังไม่เห็นท่านตื่นเลย"
 ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

        "เมื่อวานนะ คงจะฉันอาหารเสียจนอิ่มเกินไป วันนี้เลยเอาแต่นอนลุกไม่ขึ้น พระขี้เกียจเช่นนี้ โยมเคารพนับถืออยู่ได้อย่างไรเนี่ย..” เมื่อถวายพรลา เศรษฐีผู้ใจบุญจึงนำบาตรมารมด้วยของหอมแล้วบรรจุข้าวปายาสลงไป ฝากไปถวายพระอาคันตุกะ แต่พระภิกษุเจ้าอาวาสกลับนำมาเททิ้ง “อ่ะ..กองไฟ คงมีใครสุมทิ้งไว้เป็นแน่ เนี่ยเข้าปายาสที่เศรษฐีให้มาเททิ้งซะเลย" "แล้วก็กลบด้วยเถ่าถ่าน เท่านี้ก็ไม่มีใครรู้ใครเห็นแล้ว...กลับวัดดีกว่า”

       ต่อมาพระภิกษุก็ได้สำนึกผิดบังเกิดความเสียใจอย่างใหญ่หลวง ในบาปกรรมที่ปิดบังทำลายลาภของผู้อื่น ทำให้ร่างกายรับอาหารใดๆ ไม่ได้ จนถึงแก่มรณะภาพในที่สุด และตกนรกหมกไหม้นับแสนปี เมื่อพ้นจาก นรกเศษกรรมได้นำไปเกิดเป็นยักษ์
 ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       แล้วมาเกิดเป็นสุนัขอีกราว 500 ชาติ แต่ละชาติก็ต้องหิวโซ อดอยากจนตายไม่เคยได้กินอิ่ม ชาติสุดท้ายของการเป็นสุนัข จึงได้โอกาสกินอิ่มเป็นครั้งแรกก่อนตาย โดยได้กินอาเจียนของมนุษย์เท่านั้น พ้นเวรจากภพชาติสุนัขจึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นบุตรคนยากจนในแคว้นกาสี มีชื่อว่า มิตตพินทุกะ

       ซึ่งทำให้พ่อแม่อยากจนซ้ำลงไปอีกมาก “โอ้ลูกพ่อ น่ารักน่าชังจริงๆ” “ดูลูกเราซิ หน้าเหมือนพ่อเลย” “แน่นอน ต้องหล่อเหมือนข้าอยู่แล้ว....เฮอะๆๆ” เกิดมา มิตตพินทุกะ ก็ไม่เคยได้กินอิ่มแม้แต่มื้อเดียวเช่นเดิม ซ้ำร้ายยังถูกขับไล่ไสส่งออกจากบ้าน “ไปขอเค้ากินเถอะลูก พ่อนะเลี้ยงเจ้าไม่ไหวแล้ว” “แม่ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเลี้ยงเจ้าได้อีกแล้ว...ลูกเอ้ย”
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       เด็กผู้เกิดมาใช้กรรมเร่ร่อนเข้าไปในพาราณสี ครั้งนั้นผู้ใจบุญได้จัดทุนการศึกษาให้เด็กยากจนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน มิตตพินทุกะจึงไดรับอุปการะให้เรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ด้วยความมีนิสัยแกะกะเกเร หยาบคาย ดื้อรั้นไม่ฟังใครจึงมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับศิษย์อื่นๆ เป็นประจำ

       วันหนึ่งมิตตพินทุกะ ก็มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับศิษย์อื่นๆ อีก จึงถูกอาจารย์ว่ากล่าวอย่างรุนแรง เขาไม่พอใจมากจึงหนีออกจากสำนัก เที่ยวระเหเร่ร่อนไป “ฮึ..ข้าไม่ผิดสักหน่อย ทำไมอาจารย์ต้องลงโทษข้าด้วย ข้าไม่อยู่กับอาจารย์แล้ว ไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า” เมื่อมิตตพินทุกะหนีออกจากสำนักทิศาปาโมกข์ไปแล้วชีวิตของเขาก็ตกระกำลำบาก ระเหเร่ร่อนไปจนถึงหมู่บ้านชายแดนแห่งหนึ่ง

       ต่อมาก็ได้หญิงยากจนหมู่บ้านนั้นเป็นภรรยา “เร็วๆ เข้า เจ้ารีบไปทำงานได้แล้ว ส่วนข้าจะไปขอข้าวชาวบ้านกิน โอ๊ย..หิว หิว หิว จนไส้จะกิ่วอยู่แล้วนี่” “พี่..ขอมาเผื่อข้าด้วยนะ ข้าก็หิวเหมือนกัน ตั้งแต่เช้าข้ายังไม่ได้กินอะไรเลย” แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่ง
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

       ขณะที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์จะลงไปยังแม่น้ำก็เห็นคนเลี้ยงแพะ กำลังทำร้ายและฉุดลากศิษย์ของท่านอยู่ “นี่แน่ะ..” “โอ๊ยๆ...อย่าทำอะไรข้าเลย” “นี่แน่ะ...” “โอ๊ย...”   “โอ้..ท่านทั้งหลายหยุดก่อนชายคนนี้เป็นศิษย์เรามอบให้เราไปอบรมสั่งสอนเถิด” คนเลี้ยงแพะเคารพอาจารย์ทิศาปาโมกข์ จึงยอมมอบมิตตพินทุกะให้ "ศิษย์ท่านนะขโมยแพะของพวกเรา บัดนี้ควรแก่โทษแล้ว ข้าจะยอมมอบให้ท่านก็ได้ แต่ขออีกสักทีเหอะ..นี่แน่ะ”

    “โอ๊ย ไม่ได้ยินที่อาจารย์ข้าขอหรือไง ปล่อยข้าไปได้แล้ว” “ข้าลงโทษจนหน่ำใจแล้ว ท่านอาจารย์โปรดนำกลับไปอบรมตามใจท่านเถิด พวกเราขอลาก่อน” “โอ๊ย..โดนตีซะน่วมเลยเรา” “เฮ้อ..เวรกรรมจริงๆ มิตตพินทุกะเอ้ย” มิตตพินทุกะถูกนำกลับมายังสำนักที่เคยให้วิชาความรู้ และเขาก็ได้เล่าเรื่องราวหลังจากนี้ไปให้อาจารย์ฟัง

      เมื่อศิษย์จากไปก็เร่ร่อนรับจ้างเขาไปทั่ว จนมีภรรยาคนหนึ่งและได้อาศัยบ้านเธอกินอยู่ แต่ก็เกิดเหตุร้ายไฟไหม้บ้านถึง 7 ครั้ง ศิษย์กับภรรยาต้องถูกขับไล่ไปหาที่อยู่ใหม่ แต่ไม่ว่าศิษย์จะอยู่ที่ไหนก็มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นที่นั้น ในที่สุดก็พรากจากภรรยาต้องหนีเอาตัวรอดไปตามลำพัง ศิษย์หนีมาถึงเมืองคัมภีละ ก็ได้สมัครเป็นกรรมกรบนเรือเดินทะเลลำหนึ่ง
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

    เรือก็ถูกพายุบ้าง หยุดแล่นโดยหาสาเหตุไม่ได้บ้าง ทุกคนบนเรือก็หาว่าศิษย์เป็นตัวกาลกิณี ถูกเขาขับไล่ลงโทษเอาลอยแพ เมื่อ มิตตพินทุกะ ถูกลูกเรือนำมาลอยแพ เขาอดอาหารทรมานถึง 7 วัน 7 คืน จนมาติดเกาะประหลาดในวันหนึ่ง “โอ๊ย..ทรมานเหลือเกิน ฮ้า...เราลอยมาติดเกาะแล้ว” อนิจจาเกาะนั้นไม่มีอะไรที่เป็นอาหารให้มิตตพินทุกะได้เลย
 

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

    “เกาะอะไรกันเนี่ย ผลไม้สักลูกก็ไม่มี แล้วนี่เราจะกินอะไรดีเนี่ย โอ๊ยหิว..โอ๊ย” วันที่สองบนเกาะมียักษ์ตนหนึ่งเดินตรงมายังมิตตพินทุกะที่หิวจนตาลาย ยักษ์ตนนั้นแปลงร่างเป็นแพะหวังลวงให้ตามไปยังที่อยู่ของตน “ฮ้า..แพะลาภปากแท้ๆ กำลังหิวอยู่พอดี มาเป็นอาหารให้ข้าซะดีๆ เจ้าแพะน้อยๆ” มิตตพินทุกะไล่จับฉุดรั้งกับยักษ์ที่เขาเห็นเป็นแพะอยู่นาน “โอ้ย...ทำไมแรงเยอะอย่างนี้นะ”

     จากนั้นมิตตพินทุกะก็รู้สึกเหมือนโดนแพะสะบัดและเตะอย่างแรง จนตัวเลยสูง สูงมากแล้วหมดสติไป ศิษย์ไม่รู้ตัวเลยว่าถูกแตะลอยมายังกำแพงหลวงที่นี่ได้อย่างไร พอลืมตาขึ้นก็ยังเห็นแพะอยู่ตรงหน้า ความหิวก็ยังอยู่ จึงจับขาแพะนั้นดึงไว้ แล้วเหตุการณ์ก็เป็นดังที่อาจารย์พบเห็นและได้ช่วยศิษย์ไว้นั่นแหละ
  

ชาดก 500 ชาติ โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา

    “มิตตพินทุกะเอ๋ย บุคคลใดเมื่อท่านหวังดีเอ็นดูเกื้อกูลสั่งสอน ก็มิได้กระทำตามที่ท่านสอน บุคคลนั่นก็ย่อมเศร้าโศกอยู่เป็นนิจเหมือนมิตตพินทุกะจับขาแพะแล้วโศกเศร้าลำบากอยู่ฉะนั้นแล"

 

ในสมัยพุทธกาล
มิตตพินทุกะ ได้มาเป็น พระโลสกติสสะ
อาจารย์ทิศาปาโมกข์  เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
พระคาถาประจำชาดก
โย อัตถากามัสสะ หิตานุกัมปิโน
โอวัชชะมาโน นะ กะโรติ สาสะนัง
อะชายะ ปาทัง มิตตะโก วิยะ โสจะติ
 
บุคคลใดเมื่อท่านผู้หวังดีเอ็นดูจะเกื้อกูลสั่งสอน
ก็มิได้กระทำตามที่ท่านสั่งสอน บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศกเป็นนิตย์
เหมือนมิตตพินทุกะจับขาแพะแล้วเศร้าโศกลำบากอยู่ ฉะนั้น

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล