ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

ชาดก 500 ชาติ

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

           ณ พระวิหารเชตวัน นครสาวัตถี เศรษฐีเจ้าสำอางผู้รักความสบาย เมื่อได้ฟังพระพุทธโอวาทก็เกิดความเลื่อมใสในสัจธรรม ปรารถนาจะมาบวชในพระพุทธศาสนา  “เอ้า! พวกเจ้าเร่งสร้างกุฏิหลังใหญ่ให้ข้าเร็วเข้า แล้วอย่าลืมสร้างโรงไฟและโรงครัวด้วยหละ ข้าจะเอาไว้เก็บตุนอาหาร”

       เศรษฐีเจ้าสำอาง เมื่อบวชแล้วก็ยังไม่ละกิเลส มีข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่มต่างๆ ไว้ใช้จนล้นกุฏิ “ท่านบวชแล้วไยจึงสรรหาความสบาย เหมือนเป็นฆราวาสเล่า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเราเถิด ท่านจะได้เข้าใจหนทางละทิ้งกิเลสเสียที” “เราไม่เห็นว่า ตัวเราจะทำผิดประการใด พวกท่านนั่นแหละที่คิดมากไปเอง”

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

          “ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก  “ถ้าอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะนุ่งแต่เพียงผ้าสบงผืนเดียวอย่างนี้เท่านั้น” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ฟังก็มิได้ทรงถือโทษ กลับทรงพระกรุณาระลึกชาติหนหลัง ด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้วตรัสเตือนสติพระภิกษุหนุ่มรูปนี้ “ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติปางก่อน ท่านเคยเกิดเป็นผีเสื้อน้ำ  ต้องทนลำบากยากแค้นถึง 12 ปี จึงค้นพบเทวธรรม แต่มาบัดนี้ท่านกลับทิ้งเทวธรรมนั้นอย่างน่าเสียดาย” แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงเล่าเรื่องการแสวงหาเทวธรรม ในอดีตชาติของพระภิกษุรูปนี้หรือเทวธรรมชาดกให้ภิกษุทุกรูปที่มาเฝ้าได้ฟังกัน   

      ในอดีตกาล สมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์สมบัติ ณ กรุงพาราณสี พระอัครมเหสีทรงมีพระราชโอรสอยู่ 2 พระองค์ พระองค์แรกนาม มหิสสาสกุมาร พระองค์รองนาม จันทกุมาร ต่อมาพระนางก็ได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่พระราชโอรสยังทรงพระเยาว์

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

               พระเจ้าพรหมทัต ทรงมีมเหสีใหม่ และทรงโปรดปรานมาก “ท่านพี่... ดูโอรสของเราสิคะ น่ารัก น่าเอ็นดู๊ น่าเอ็นดู” “ฮ่าๆ ใช่น่าเอ็นดูจริงๆ มเหสี หากเจ้าปรารถนาสิ่งใดแก่สุริยะกุมาร ก็ขอมาเถิด ข้าจะให้เจ้าตามประสงค์ทุกประการ” 

               “ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอราชสมบัติ กรุงพาราณสี ให้สุริยะกุมารโอรสของเรา นะเพคะ”

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

           พระเจ้าพรหมทัตถึงจะทรงโปรดปรานพระมเหสีเพียงใด แต่ก็มิได้ทรงหลงลืมความเที่ยงธรรม พระองค์ทรงเรียกพระโอรสมหิสสาสกุมาร และ จันทกุมาร เพื่อบอกแผนการที่วางไว้ “เจ้าสองคน จงเข้าป่าไปแสวงหาพระอาจารย์ แล้วศึกษาหาความรู้วิทยาอาคมให้เชี่ยวชาญเถิด เมื่อกลับมาแล้ว เจ้าจะได้มาทวงราชสมบัติคืน” พระเจ้าพรหมทัต ทรงรู้ดีว่า หากพระองค์อ้างความถูกต้องตามจารีตไม่ยอมทำตามคำขอของพระมเหสี โอรสทั้งสองก็จะเป็นอันตราย แผนที่พระองค์วางไว้ย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุดแล้ว

             สุริยะกุมาร เมื่อเห็นเสด็จพี่ทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องรัดกุมก็เข้าไปไต่ถาม 

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

          “ท่านแม่ ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้องเลย ข้าน่ะ ขอไปอยู่ป่ากับท่านพี่สองคนนะ ข้าไม่อยากทำผิดตามท่านแม่” 

          แล้วพระโอรสทั้งสามพระองค์ ก็ออกเดินทางด้วยกัน “สุริยะกุมาร เจ้ายังเล็กนัก ไปหาน้ำมาดื่มเถอะ เดี๋ยวพวกพี่จะช่วยสร้างที่พักเอง”

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

          “ว้าว! เจอสระน้ำแล้ว ดีใจจัง เดินมาแป๊บเดียวก็เจอเลย อุ้ย! น้ำใส๊ ใส อ้า! เย็นชื่นใจจริง ๆ” ด้วยความไร้เดียงสา สุริยะกุมารหารู้ไม่ว่า ในสระน้ำแห่งนี้มีผีเสื้อน้ำตนหนึ่ง ที่ดำรงชีวิตด้วยการกินเนื้อสัตว์และเนื้อคนอาศัยอยู่ 

         ท้าวเวสสุวรรณ ทรงมีพระกรุณาให้ผีเสื้อน้ำตนนี้สำนึกบาป จึงมีเทวบัญชาบังคับ ผีเสื้อน้ำตนนี้ ไม่ให้ไปออกจับสัตว์และคนกินนอกบริเวณสระน้ำนี้เป็นอันขาด และหากคนที่ลงมาในสระนี้ ถ้าเป็นผู้รู้เทวธรรม ก็ห้ามทำอันตราย ให้ตั้งใจศึกษาเทวธรรมจากผู้นั้น แล้วจึงจะพ้นเวร

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

             “เจ้าเด็กน้อย เจ้ารู้หรือไม่ว่า เทวธรรมคืออะไร” “เทวธรรม ก็คือ พระจันทร์กับพระอาทิตย์ไง” “ฮ่า ๆ เจ้าเด็กน้อย อย่ามาโม้เลย ถึงข้าจะไม่รู้ว่า  เทวธรรม คืออะไร แต่คำตอบของเจ้า ข้าก็รู้ว่าผิดแน่ๆ ข้าจะขังเจ้าอยู่ในนี้ ไปเป็นอาหารของข้า ฮ่าๆๆๆๆ” 

          “เจ้าอย่าทำอะไรเรานะ ปล่อยไป อึ้ย! ช่วยด้วยๆๆ” “ข้าช่วยเจ้าไม่ได้หรอก เจ้าเด็กน้อย เจ้าต้องเป็นอาหารของข้า ฮ่าๆๆๆ” “ปล่อยข้า ปล่อยเดี๋ยวนี้ ปล่อยเราไป โอ่ย!” 

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

          “สุริยะกุมารเจ้าอยู่ไหนเนี่ย ท่านพี่มหิสสาสกุมารเรียกหาแล้วนะ  อุ้ย! สระน้ำ ขอแวะดื่มน้ำก่อนล่ะกัน เดี๋ยวค่อยตามหาสุริยะกุมารต่อ” “หยุดก่อน เจ้าเด็กน้อย ตอบข้ามาสิว่า เทวธรรมคืออะไร” “เทวธรรมคืออะไรว้า? ไม่เห็นเคยได้ยินเลย ตอบๆ มันไปก่อนแล้วกัน” “เทวธรรม ก็คือ ทิศทั้ง 4 ไง เจ้าไม่รู้หรอกหรอ?” “ทิศทั้ง 4 หรอ เอ! แล้วท้าวเวสสุวรรณเนี่ย จะให้เราตามหาทิศทั้ง ทำไมวะ ต้องไม่ใช่แน่ๆ ข้าไม่เชื่อเจ้าหรอก ข้าจะจับเจ้าไว้เป็นอาหารอีกคน ฮ่าๆๆๆ อิ่มแน่ๆ มื้อนี้ ฮ่าๆๆๆ”

           “ไม่นะ ปล่อยเรา เจ้าผีเสื้อน้ำน่าเกลียดน่ากลัว ปล่อยเราเดี๋ยวนี้นะ” “ขัดขืนไปก็ไร้ประโยชน์ ยังไงเจ้าก็ไม่รอดหรอก ฮ่าๆๆๆ” “ช่วยด้วยๆๆๆ ใครก็ได้ช่วยข้าด้วย”

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

           สุริยะกุมาร กับ จันทกุมารหายไปไหนกันเนี่ย เอ๊ะ! รอยเท้าเด็ก ต้องเป็นน้องทั้งสองของเราแน่ แต่ทำไมรอยเท้า จึงมีแค่รอยที่ลงไปในสระน้ำล่ะ สระน้ำนี้ต้องมีอันตรายแน่ๆ” “พ่อหนุ่ม เจ้าเดินทางมาไกล ไม่ไปดื่มน้ำ อาบน้ำในสระให้สบายก่อนเล่า” “เจ้าเป็นใคร เจ้าจับน้องทั้งสองของเราไปใช่ไหม?”

      “ใช่! ข้าจับน้องของเจ้าไปเอง ข้าเป็นผีเสื้อน้ำ จับคนกินได้ทุกคน เว้นเสียแต่คนผู้นั้นจะรู้ว่าเทวธรรมคืออะไร?” “ถ้าท่านอยากรู้ เทวธรรม เราจะอธิบายให้ฟัง แต่ต้องให้เราชำระร่างกายให้สะอาดซะก่อน จัดที่นั่งเราให้สูงกว่าพื้น แล้วเจ้าต้องพนมมือฟังด้วยความเคารพ”  “ได้! ได้เลย โอ้ว! รอมานาน วันเนี้ย ข้าจะได้รู้ว่า เทวธรรม คืออะไร”

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

       “เทวธรรม คือ ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันผ่องแผ้ว ประกอบด้วย หิริโอตตัปปะ หิริ คือ ความละอายต่อบาป ละลายในการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว โดยตัวเองเป็นเหตุ โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป เช่น กลัวตกนรก กลัวโดนติฉินนินทา ซึ่งผู้อื่นเป็นเหตุ” “โอ้ว! ข้าเข้าใจแล้ว ข้าจะยึดหลักเทวธรรม เอาไปปฏิบัติ เอาล่ะข้าอนุญาตให้ท่านดื่ม และใช้น้ำในสระนี้ได้ตามใจชอบ แต่น้องชายของท่านน่ะ ข้าขอคืนให้คนเดียวเท่านั้น เพราะข้าทนหิวมานาน คราวนี้จะขอกินอิ่มๆ อีกสักมื้อ”

          “ถ้าเช่นนั้น ข้าขอสุริยะกุมารน้องคนเล็กของข้าคืนเถิด” “ฮ่าๆ ท่านบัณฑิต ท่านรู้จักเทวธรรม แต่ทำไมท่านไม่ปฏิบัติตามหลักเทวธรรม ท่านปล่อยให้น้องชายคนเล็ก แล้วน้องคนโตของท่าน ที่มีอายุมากกว่า ซึ่งถือว่ามีคุณธรรมสูงกว่า ท่านไม่ให้เกียรติต่อคุณธรรมนี้หรอกรึ?” “นี่แหละ คือเทวธรรม น้องคนเล็กไม่ได้เกิดร่วมมารดา เดียวกับเรา ถ้าเราไม่ได้ตัวเขากลับไป ย่อมมีคนครหา ว่าเราสองพี่น้อง รวมหัวกันฆ่าน้องคนเล็กเพื่อหวังในราชสมบัติ” 

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

              “น่าสรรเสริญท่านจริง ๆ ท่านเป็นผู้รู้ และผู้ปฏิบัติเทวธรรมโดยแท้ เราจะคืนน้องให้ท่านทั้งสองคน”  “ข้าขอบใจท่านมาก ที่ปล่อยน้องข้า แต่ดูก่อนเถิด ตัวท่านเกิดมากินเลือดกินเนื้อของผู้อื่น ก็เพราะบาปที่สร้างไว้แต่ชาติปางก่อน ชาตินี้ท่านจงเลิกทำบาปเสียเถิด” 

         จากนั้นทั้งสามกุมารก็อาศัยอยู่ในป่ากับผีเสื้อน้ำตนนั้น จนวันหนึ่ง มหิสสาสกุมาร สังเกตเห็นดาวนักขัตฤกษ์มัวหมอง ก็ทราบว่าพระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้ว

 

เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา

 

        มหิสสาสกุมารพาน้องทั้งสองกลับเมือง พร้อมกับพาผีเสื้อน้ำไปด้วย “เจ้าผีเสื้อน้ำ เราไม่ควรจัดที่อยู่และหาอาหารให้เจ้ากินแล้ว จากนี้ไป เจ้าจงใช้ชีวิตเยี่ยงมนุษย์ และบำเพ็ญ ศีล ภาวนาเถิด เจ้าจะได้พ้นบาปกรรมสักที” 

           เมื่อมหิสสาสกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ก็พระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชให้แก่จันทกุมาร และทรงแต่ตั้งสุริยะกุมารเป็นเสนาบดี

 

ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ต่อมาเป็น พระภิกษุเจ้าสำอาง
ส่วนสุริยะกุมาร ต่อมาเป็น พระอานนท์
จันทกุมาร ต่อมาเป็น พระสารีบุตร
มหิสสาสกุมาร คือ อดีตชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า

 

พระคาถาประจำชาดก
-------------------------
คนดีผู้อดกลั้นไว้ซึ่งความชั่ว ประกอบด้วย หิริและโอตตัปปะ 
ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันผ่องแผ้ว ท่านเรียกว่า  ผู้มีธรรมของเทวดาในโลก

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล