ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

ชาดก 500 ชาติ
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภถึงพระเทวทัตเถระในข้อ อกตัญญูกล่าวร้ายไม่ยอมนับถือพระคุณที่พระพุทธองค์ทรงอบรมสั่งสอนในฐานะครูบาอาจารย์ ณ ธรรมสภาเชตวันครั้งนั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเทวทัตนี้ ครั้งหนึ่งก็เคยลบหลู่ไม่รู้พระคุณครูจนพินาศมาแล้ว หาใช่เคยแต่ประพฤติชาติภพนี้ไม่”

      พระพุทธศาสนาทรงดับทุกข์แห่งจิตอันหม่นหมองของภิกษุทั้งหลาย ณ เวลานั้น โดยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงตรัสอกตัญญูชาดกดังต่อไปนี้ พาราณสีมหานครอันอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นที่ชุมนุมค้าขายของมหาชนชั้นวรรณะและด้วยเหตุเหยียดหยามชนชั้นกันนี้เอง

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    วรรณะต่ำสุดจึงไม่ได้รับการยอมรับ สังคมในชมพูทวีปให้การยอมรับเฉพาะชนชั้น 4_วรรณะ นั่น ก็คือ พราหมณ์ ผู้เรียนพระเวทย์ถือเป็นผู้รู้ลำดับต้น “วิชาเรียกลมฝน ที่พี่สอนน้องวันนั้นน้องพอจะจำได้บ้างรึยังจ๊ะ” “ได้แล้วละจ๊ะพี่วิชานี้ดีจังเลยนะพี่ ฤดูไหนที่ฝนแล้งเราก็เรียกให้ฝนมาได้ ชาวไร่ชาวนาจะได้ไม่ลำบาก”

    วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นนักรบถือเป็นผู้ปกครองเป็นชนชั้นที่ยอมรับเป็นลำดับสองรองจากพราหมณ์ “ทหารทั้งหลายพวกเจ้าจงไปฝึกปรือฝีมือซ้อมรบไว้เถิด เมื่อไหร่ที่มีข้าศึกมาประชิดเราจะได้เตรียมรบไว้ทัน”

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    วรรณะแพทย์ ชนชั้นคฤหบดีพ่อค้าวาณิชย์ผู้บริจาคทรัพย์เป็นที่ยอมรับในวรรณะที่สาม “อื้อหือ ค้าขายงวดนี้กำไรงามจริงๆ หากขายดีอย่างนี้อีกสักสองสามเที่ยวก็ดีสินะ จะได้หยุดขายมาทำบุญกับเขาบ้าง ไม่ได้ทำบุญมาตั้งนานแล้ว”

    วรรณะสูตร  ชนชั้นแรงงานการช่าง ผู้รับใช้ถือไว้ในลำดับที่สี่เป็นลำดับสุดท้าย “ทำตัวดีๆ หน่อยนะพ่อเดี๋ยวจะหาหญ้าหาของกินให้อย่างดีเลย” ชนชั้นสุดท้ายคือคนจัณฑาล ซึ่งเกิดจากการผสมพันธ์ชนชั้นข้ามวรรณะระหว่างพ่อและแม่ ต้องถูกตราจัณฑาลนี้แต่แรกเกิดติดตัวไปชั่วชีวิตไม่มีผู้ใดคบค้าสมาคมเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    ในพาราณสีครั้งนั้นได้มีหนุ่มจัณฑาล วรรณะต่ำผู้หนึ่งรู้เวทมนต์เร่งผลไม้ให้เกิดและโตจากต้นทันตาเห็น “โอมด้วยอำนาจแห่งมนต์นี้จงดลบันดาลให้ต้นมะม่วงออกผลด้วยเถิด” มานพคนจัณฑาลนี้มักเสกเอาผลไม้นอกฤดูกาลที่หายากออกจากต้นอยู่เสมอ

    ชุมชนคนชั้นล่างก็ได้อาศัยเป็นอาหารและใช้จำหน่ายแลกเปลี่ยนสิ่งจำเป็นต่อชีวิตอย่างไม่ขัดสนตลอดมา “มะม่วงลูกสวยอย่างนี้ คงแลกข้าวมาได้บ้างละน่า ลูกโตน่ากินอย่างนี้คงมีใครอยากกินกันเยอะ” 

    นานครั้งหนุ่มจัณฑาลจึงจะนำผลไม้ที่ใช้เวทมนต์เร่งให้ออกผลออก ไปขายในเมืองหลวงและมีครั้งหนึ่งในฤดูแล้ง ซึ่งพาราณสีแทบจะไม่มีพืชผลบริโภค มะม่วงและส้มลูกโตของคนจัณฑาล นี้จึงได้กลายเป็นสิ่งยั่วตายวนใจแก่ผู้พบเห็นเป็นยิ่งนัก

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

     “แล้งๆ อย่างนี้ในเมืองหลวงคงไม่มีผลไม้ขายกันเป็นแน่คอยดูเถอะจะต้องมีแต่คนแห่กันออกมาซื้อผลไม้จากเราแน่ๆ” “ดูนั่นสิพี่มะม่วงลูกโตน่ากินมากเลย เห็นแล้วเปรี้ยวปากซื้อไปกินที่บ้านกันเถอะพี่”  “อุ้ย!! ไม่ได้หรอกมะม่วงพวกนี้เป็นของพวกจัณฑาล นะน้องรัก อย่ากินเลยไปซื้อที่อื่นกินดีกว่า...”

    “แล้งอย่างนี้ไม่มีผลไม้กินหรอกพี่ น้องดูแล้วไม่มีใครขายเลย ซื้อเถอะนะพี่นะ นะ...อยากกินซื้อเถอะ” “ก็ได้ ก็ได้..” ในขณะนั้นชาวเมืองโจษจัน ถึงผลไม้ที่ชาวจัณฑาลอยู่นั้น ก็มีพ่อค้าในพาราณสีคนหนึ่งรู้มาว่ามานพจัณฑาลผู้นี้ต้องมีมนต์ตราพิเศษเรียกผลไม้ได้

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    “มนต์เทวานี้มีอยู่จริงเราต้องตามไปถึงที่พักของเขา และขอเรียนวิชชามาให้ได้คราวนี้แหละรวยแน่” เมื่อนาวาณิชย์ติดตามมาจนถึงที่อยู่ก็เข้าไปตีสนิทเยินยอและก็ขอร่ำเรียนวิชาอย่างนอบน้อม “ได้โปรดเถอะ ถ้าพ่อสอนมนต์ให้ข้าจะได้นำไปให้ประชาชนให้ได้มีผลไม้กินทุกฤดู  บุญบารมีก็ตกแก่ท่านไม่ไปไหน”

    “เอาเถอะข้าจะสอนให้ก็ได้แต่ขอคำมั่นสัญญาข้อหนึ่งได้หรือไม่”  “ได้อยู่แล้วจ้า จะกี่ข้อข้าก็ยอม” “ท่านต้องสัญญาว่าเมื่อมีใครถามครูผู้ให้วิชชาท่านจะต้องตอบความจริงกับเขาว่าท่านเรียนวิชชามาจากเรา” “โอ้ย!! เรื่องแค่นี้สบายมาก” “วิทยเวทย์นี้ ตกทอดมาแต่บรรพกาล ขอท่านจงตั้งใจเล่าเรียนคัดลอกเอาคาถาสำคัญไปใช้โดยสุจริตเถิด แต่หากท่านอกตัญญูต่อครูผู้ให้วิชาย่อมเกิดความเสื่อมในมนต์ไม่อาจใช้เรียกผลพืชใดๆ ได้อีกเลย”

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

       เมื่อถึงวาระเริ่มท่องตำรา มานพชั้นจัณฑาลก็สาธยายมนต์อบรมแนะนำเคล็ดวิชาให้นายวาณิชย์ผู้เป็นศิษย์โดยไม่ปิดบัง นายวาณิชย์ก็จดจำและบันทึกจารึกไว้เป็นตำราของตน “ต้องจำ ต้องจำ ต้องจำ เพื่อเงินทองของเรา รวย รวย รวยๆ”

    เมื่อเจนจบครบหลักวิชามหาเวทย์ และทดสอบได้ผลจนน่าพอใจศิษย์ของมานพจัณฑาลก็ลิงโลดเป็นล้นพ้น “โอ้โฮ!! นี่ขนาดเพิ่งปักกิ่งไปแท้ๆ พอท่องมนต์ไม่กี่อึดใจดูสิมะม่วงก็ออกผลจนกินได้ทันตาเห็น โอ้โฮ!! มหัศจรรย์จริงๆ” เมื่อได้วิชชาจนสมอารมณ์หมายแล้วศิษย์ก็อำลาครูกลับเข้าเมือง “ขอบใจมากที่สอนมนต์ให้ข้าไปละ ต่อไปนี้รวยแน่เรา..”

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

     “อย่าลืมสัญญาที่ท่านให้ไว้ละ” “ไม่ลืมไม่ลืม สัญญานั่นนะเหรอจะสำคัญอะไร ก็ตอนนี้เรารู้มนต์แล้วนี่นา” หลังจากนั้นเขาก็ใช้มนต์วิเศษสะพังผลไม้จนมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะอัมพผล มะม่วงนั้นเสกเมื่อใดก็ออกผลจนได้กินได้ในอึดใจทุกครั้ง

    มหาชนต่างชื่นชมสรรเสริญว่าเป็นผู้วิเศษ ชื่อเสียงของนายวาณิชย์ก็กำจรกว้างไปทั้งนคร จนมีวาสนาได้เข้ารับราชกาลในกรมอุทยานหลวง “ในที่สุดก็เป็นอย่างที่เราคาดไว้ มีทั้งชื่อเสียงและเงินทองมนต์นี้วิเศษจริงๆ” “น่าอิจฉาจังเลยถ้าเรามีมนต์วิเศษแบบนี้ก็ดีสินะ”

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    “สมองน้อยๆ ของพี่จะจำมนต์วิเศษอย่างนี้ได้เหรอน้องว่าพี่ทำงานแบกหามอย่างเดิมดีแล้วแหละ” งานราชกาลที่พ่อค้าผู้นี้ต้องรับผิดชอบนั่นก็คือสะพังผลมะม่วงสุกจากต้น มะม่วงที่ไม่เคยออกผลในอุทยานนั่นให้พระราชา และพระราชวงศ์ทุกพระองค์เสวย

    นายวาณิชย์ใช้เคล็ดวิชชาและสวดสาธยายมนต์ที่ร่ำเรียนมาจากครูหนุ่มจัณฑาลอย่างตั้งใจสูงสุด จากต้นมะม่วงที่มีแต่ใบบัดนี้ด้วยผลของเวทย์มนต์ก็ปรากฏเป็นลูกมะม่วงผลโตเต็มต้น บางลูกก็สุกเปล่งปลั่งน่ากิน เมื่อพ่อค้าวาณิชย์ร่ายเวทย์มนต์จนมะม่วงสุกจนน่ารับประทาน มหาอำมาตย์ก็คัดสรรขึ้นถวายเป็นผลงานสำคัญได้ภายในวันเดียว

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    “มะม่วงนอกฤดูจากผู้ชำนาญวิชชาของราชอุทยานพระเจ้าค่ะ”  “ไม่น่าเชื่อเลยมะม่วงพวกนั่นไม่เคยออกผลเลยด้วยซ้ำ ดูสิน่ากินจังเลยลูกโต๊ โต เหลืองน่ากินเชียวละ" พระเจ้าพรหมทัตทรงยินดีในอำพผล  คือ มะม่วงวิเศษนี้เป็นอันมากตรัสเรียกหาคุรุทางเกษตรคือผู้ผลิตผลมะม่วงเข้าเฝ้าทันที

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    “ใครกันนะเก่งเหลือเกินวิชชานี้จะนำประเทศของเราเป็นครัวโลกได้จริงก็คราวนี้แหละ” พระเจ้าพรหมทัตทรงตรัสชมเชยนายวาณิชย์อีกทั้งยังจัดรางวัล เสื้อผ้า อัญมณีตอบแทนให้จำนวนหนึ่ง นายวาณิชย์ดีใจได้ไม่เท่าไหร่ก็แทบเป็นลมเมื่อพระเจ้าพรหมทัต ทรงรับสั่งถามถึงผู้เป็นอาจารย์ “ใครเป็นผู้สอนวิชานี้ให้แก่ท่านรึ”

    “เออ... คือ จะทำอย่างไรดีนะ...ถ้าบอกความจริงอายเขาแย่  ชื่อเสียงที่สร้างมาป่นปี้หมด มีครูเป็นจัณฑาลใครจะเชื่อถือ” “อ้าวว่าอย่างไรละ เราถามท่านว่าใครเป็นคนสอนวิชานี้ให้แก่ท่าน” “พระเจ้าค่ะ คือ ข้าพระองค์เรียนจากพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งอยู่ไกลมาก ข้าเป็นศิษย์พราหมณ์นั้นพระเจ้าค่ะ”

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    ทันทีที่นายวาณิชย์ผู้โป้ปด อันเป็นการอกตัญญูต่อครูอาจารย์ความจำในวิชชาก็หายไปในหมดสิ้น จากนั้นศิษย์อกตัญญูคนนี้ก็ไม่สามารถเสกคาถาเรียกมะม่วงหรือผลไม้ใดๆได้อีก “ตายแน่ๆ ๆ ทำไมเราจำมนต์นั้นไม่ได้เลยนะเสกอยู่ทุกวันลืมได้ยังไงกันเนี่ย ตาย ตาย ตาย อำมาตย์อ้วนนั้นเอาตายแน่ ใกล้ถึงเวลาที่จะมาเก็บมะม่วงแล้วสิ”

 

ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    เมื่อไม่อาจเสกมะม่วงถวายพระราชาได้อีกนายวาณิชย์ก็ถูกขับไล่ออกจากพระราชอุทยาน  “ในเมื่อเจ้าทำงานได้ไม่เหมือนเดิมก็ออกจากวังไป หนอยแน่ะนึกว่าจะมาได้เสวยสุขได้ฟรีๆ รึไง” “ขอบคุณท่านที่ไว้ชีวิต ข้าจะกลับไปฝึกวิชชากลับมาแก้ตัวใหม่วันหน้านะจ๊ะ ทำไมเราถึงลืมได้นะ”
 
    นายวาณิชย์กลับมาอ้อนวอนขอให้มานพจัณฑาล ถ่ายทอดวิทยเวทย์สอนมนต์ตราให้ใหม่ “ท่านมิได้หลงลืมเองหรอกนายวาณิชย์ แต่ท่านพูดปดมดเท็จ อกตัญญูต่อเรามนต์วิเศษจึงเสื่อมคลาย” “ชิ รู้ได้ไงเนี่ย โธ่ท่านอาจารย์ข้าผิดไปแล้วยกโทษให้ข้าเถอะ”

    “ไปซะจงไปให้พ้นจากชุมชนคนชั้นต่ำที่ท่านเหยียดหยามอับอายในการคบค้ายกย่องนี้”  “โธ่นี่ท่านอาจารย์ไม่ยกโทษให้จริงๆหรือ เวรกรรม” “คนอกตัญญูอย่างท่านเราคงยกโทษให้ไม่ได้หรอกไปซะเถอะ”


 ชาดก 500 ชาติ อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู

    อึดใจต่อมานายวาณิชย์ศิษย์อกตัญญุตาก็ถูกขับไล่ต้องรีบหนีจากไปอย่างเร็วจนพ้นนิคมคนจัณฑาล “ไป ไป ไป ไอ้หมาบ้านี่ไปให้พ้น” การกระทำของนายวาณิชย์ศิษย์ผู้ลืมคุณครูผู้ให้วิชชาถูกนินทาว่าร้ายจนทั่วพาราณสี รวดเร็วจนเขาต้องซัดเซพเนจรหลบหน้าผู้คนอยู่หลายวัน

    มีคนพบเห็นเขาครั้งสุดท้ายบนขอบเหวสูงชันก่อนชายผู้อกตัญญูจะทิ้งตัวลงไปไม่พบใครตลอดกาล “ชีวิตเรามันช่างเศร้านักไปที่ไหนมีแต่คนรังเกียจแผ่นดินกว้างใหญ่แต่ไม่มีที่ไหนเลยเป็นที่สำหรับเรา อยู่ไปก็ไร้ค่า”


 
ในพุทธกาลสมัย
นายวาณิชย์อกตัญญู กำเนิดเป็น พระเทวทัต
มาณพจัณฑาล เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล