ชาดก 500 ชาติ
สุชาตกุมารชาดก-ชาดกว่าด้วยการพลัดพรากจากสิ่งเป็นทุกข์
อีกครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารภถึงหลักธรรมว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่รัก ย่อมเป็นทุกข์ เหตุเพราะกุฎุมพีเศรษฐีท่านหนึ่งต้องปริเวทนาการ ไม่อาจบรรเทาความโศกเศร้าจากความตายของบิดาอันเป็นที่รักลงได้ “ บัดนี้บิดาอันเป็นที่รักยิ่งจากเราไปเสียแล้ว โธ่ไม่น่าด่วนจากไปเช่นนี้เลย พระอรหันต์ของลูก ลูกนี้สุดแสนอาลัยยิ่งนัก ท่านพ่อของลูก ”
เมื่อเศรษฐีนั้นเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังพระเชตวันมหาวิหาร จึงปรารภเหตุนั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในครั้งโบราณกาลบัณฑิตก็เคยดับทุกข์โศกในเรื่องนี้มาแล้วเหมือนกันจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกอดีตชาติด้วยบุปเพนิวาสานุสติญาณ ตรัสสุชาตชาดกขึ้นดังนี้
ณ เมืองพาราณสีเมื่อกาลก่อน รุ่งเรืองด้วยชุมชนแห่งการค้าพาณิชย์ มีพ่อค้าหลายตระกูลประกอบสัมมาชีพแข่งขันกัน ต่างก็รุ่งเรืองสืบต่อกิจการค้าขายแก่ทายาทของตนไม่ขาดช่วงสุชาตกุมาร ก็เป็นหนึ่งในบุตรพ่อค้านายหนึ่งที่เป็นทายาทตระกูลเศรษฐีใหญ่ประจำพระนคร กุมารน้อยผู้นี้เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มก็ขยันขันแข็งช่วยบิดามารดาทำการค้าอย่างตั้งใจ
การปรนนิบัติเลยแม้แต่น้อย สุชาตกุมารจึงได้รับความรักและคำให้ศีลให้พรจากผู้ให้กำเนิดทุกวันมิได้ขาด “ เจริญรุ่งเรืองนะ ลูกรักของแม่ ขอให้ได้สิ่งดีงามจงบังเกิดแก่ตัวเจ้าตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้นะลูกรัก ” “ ขอบพระคุณขอรับท่านแม่ ” เศรษฐีเองก็รักใคร่เมตตาบุตรคนนี้ไม่น้อยไปกว่าที่มารดารัก
ในยามใดที่สุชาตกุมารเข้ามาดูแลเอาใจใส่ก็จะอบรมและมอบความรู้ทางการพาณิชย์ที่ตนมีให้อย่างไม่ปิดบัง “ ลูกเอ๋ย ตระกูลของเราทำการค้าขายสำคัญที่สุดก็คือ ความซื่อสัตย์สุจริตต่อลูกค้า เจ้าจงจำไว้ให้ดีนะ คุณธรรมข้อนี้จะทำให้เจ้าประสบความสำเร็จได้ ” “ ขอรับท่านพ่อ ลูกจะจำไว้ให้ขึ้นใจเลยขอรับ ” “ อืม เอาล่ะ พอแล้วละลูก ลูกกลับไปดูแลแม่ของเจ้าบ้างเถิด สุขภาพของนางก็ถดถอยลงไปมากแล้ว ”
วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปตามกาล สุชาตกุมารเติบโตพ้นวัยหนุ่มน้อยได้ไม่พ้นวสันต์ฤดู มารดาอันเป็นที่รักก็ล้มเจ็บและจากไป ยังความโศกเศร้ามาสู่ครอบครัวและหมู่ญาติไม่น้อย โดยเฉพาะท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดานั้นน่าเห็นใจกว่าใคร ๆ
เพราะเผาศพภรรยาเปาเถ้ากระดูกไปยังไม่ทันหายคิดถึง พระอรหันต์ในบ้านของท่าน คือบิดาอันเป็นที่รักที่เคารพสูงสุดก็มาสิ้นชีวิตจากไปอีกคน “ นี่เราทำบาปทำกรรมอันใดเอาไว้ถึงต้องมาทนทุกใจเช่นนี้ ภรรยาเพิ่งจากไปไม่ทันไร บิดาอันเป็นที่เคารพรักของเรา ก็ยังมาจากไปอีกคน ฮือ ฮือ ความเศร้าโศกนี้เรารับไม่ได้จริง ๆ ฮือ ท่านพ่อ ท่านพ่อ ไม่น่าเลย ต่อไปลูกจะอยู่อย่างไร ฮือ ๆ ท่านพ่อ ”
บิดาของชาตกุมารเสียใจในการจากไปครั้งนี้อย่างมากเกินประมาณ เสียงร้องไห้คร่ำครวญของพ่อค้าใหญ่แห่งพาราณสีดังติดต่อกันตั้งแต่วันเผาศพบิดาข้ามวันข้ามคืนจนถึงวันบรรจุเถ้ากระดูก แม้กระทั่งเถ้ากระดูกของบิดาถูกบรรจุเรียบร้อยแล้วท่านเศรษฐีก็ยังเศร้าโศกไม่เป็นอันค้าขายอยู่อย่างนั้น
“ ท่านพ่อ ท่านพ่อของลูก ท่านพ่อของลูกจากลูกไปแล้ว ฮือ ฮือ ” นอกจากดอกไม้ที่แต่งสถูปแล้ว ท่านเศรษฐียังนำอาหารคาวหวานไปเซ่นไหว้บิดาผู้วายชนม์มิได้ขาด “ วันนี้ลูกนำข้าวมธุปายาสมาให้ พร้อมน้ำผึ้งเดือนห้า หอมหวานอย่างที่ท่านพ่อชอบกิน แล้วลูกจะอยู่เป็นเพื่อนมิให้ท่านพ่อต้องเหงาเลย ”
เหตุปริเวทนาที่เศรษฐีกระทำนี้ เป็นทุกข์โศกใหญ่หลวงซึ่งหาประโยชน์ใด ๆ มิได้ นาน ๆ วันจึงร่ำลาสถูปของบิดากลับไปบ้านเรือนตนสักครั้ง แต่กระนั้นเมื่อฟ้าเริ่มสาง ก็จะรีบร้อนนำอาหารกลับมาเซ่นไหว้บิดาอีก โดยไม่สนใจทำการค้าหรือดูแลบุตรบริวารดังเช่นเคย “ เฮ้ย นี้ฟ้าสางแล้วหรือนี่ มะ ไม่ได้ เราต้องรีบนำอาหารไปให้ท่านพ่อที่สถูป ”
แม้ยามค่ำคืนก็จะจุดตะเกียงให้แสงสว่างแก่กระดูกของบิดาในสถูปดุจกันกับการปรนนิบัติในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ “ คอยลูกหน่อยนะขอรับท่านพ่อ อย่าเพิ่งกลัวความมืดเดี๋ยวลูกจะนำตะเกียงมาให้ท่านแล้ว ” ทุกความเป็นไปของเศรษฐีอยู่ในสายตาห่วงใยของสุชาตกุมารทั้งสิ้น
ยังความกลัดกลุ้มใจอยากให้บิดาของตนรำลึกกฎแห่งความจริงของชีวิตขึ้นมาเสียที แต่ยังคงคิดหาอุบายไม่ได้ “ เอ้ เราจะทำยังไงดีนะ ถึงจะช่วยท่านพ่อของเราให้คลายเศร้าโศกกลับมาเป้นท่านพ่อคนเดิมเสียที เฮ้อ ท่านพ่อลูกจะทำเช่นไรดี ” จนกระทั่งวันหนึ่งสุชาตกุมารได้บังเอิญไปพบว่ามีวัวถึกตัวหนึ่ง
นอนตายอยู่ในสระน้ำไม่ไกลจากสถูปของปู่เท่าใดนัก ความมีสติระลึกรู้ปัจจัยแห่งทุกข์ ทำให้สุชาตกุมารคิดอุบายช่วยบิดาได้ในตอนนั้นนั่นเอง “ วัวที่ไหนมานอนตายอยู่แถวนี้นะวัวตาย ห๊ะ คิดวิธีที่จะช่วยท่านพ่อได้แล้ว วัวตัวนี้ตายแล้วแต่ก็ยังมีซากร่างกายเห็น ๆ อยู่ เราจะทำอุบายเช่นเดียวกับบิดาดูแลปู่ ซึ่งเป็นเถ้าถ่านนั้น ”
เวลาถัดมาชาวพาราณสีก็พบว่าสุชาตกุมารกระทำพฤติกรรมประหลาดโจทย์จันกันอื้ออึง สุชาตกุมารก็แสร้งไม่สนใจ พูดคุยกับซากศพวัวตัวนั้นให้กินหญ้าต่อไป “ เราเอาหญ้าอ่อน ๆ มาให้เจ้ากิน ลูกขึ้นมากินสิ หญ้าอ่อน ๆ ของโปรดเจ้ามิใช่เหรอ ” เมื่อเวลาผ่านไปชั่วยามหนึ่ง
ญาติและบริวารของตระกูลก็นำเหตุผิดวิสัยของสุชาตกุมารไปแจ้งแก่ท่านเศรษฐีที่สถูป นับเป็นสิ่งที่น่าตกใจอย่างยิ่ง “ ท่านเศรษฐีขอรับ เกิดเรื่องใหญ่แล้วขอรับ นายน้อยสุชาตกุมารตอนนี้เสียสติเป็นบ้าไปแล้ว อยู่ ๆ ก็เอาหญ้าไปป้อนวัวที่นอนตายอยู่ริมน้ำในสระด้านโน้น รีบไปดูเถิดขอรับท่านเศรษฐี ”
“ นั่นนะสิ เจ้าอย่ามัวมานั่งเฝ้าสถูปอยู่เลย ลูกชายเจ้าเป็นบ้าไปแล้วไปดูสิ ” “ โน่นๆ ลูกของท่านอยู่ทางโน้น ” “ ลูกพ่อ เร็วเข้าเถิด รีบพาข้าไป ” แล้วภาพที่เศรษฐีพาราณสีเห็นประจักษ์แก่สายตาตัวเองก็คือ การปริเวทนา ร่ำพิไรของบุตรชายซึ่งคล้ายกันกับที่ตัวเขาเองได้กระทำแก่สถูปของบิดานั่นเอง
“ เดี๋ยวพรุ่งนี้ ฉันจะเอาหญ้าอ่อน ๆ สด ๆ ใหม่ ๆ แล้วก็ถั่วงา มาเพิ่มให้เจ้าอีกนะ เจ้าวัวเอ๋ย ” แม้เศรษฐีจะห้ามปรามเท่าไหร่ สุชาตกุมารก็มิใยดี ยังแสร้งห่วงใยพร่ำบ่นให้วัวกินหญ้าอยู่เช่นเดิม “ โธ่ ลูกเอ๋ย วัวมันตายไปแล้ว ไม่อาจจะกินหญ้ากินน้ำได้อีกแล้วนะลูก เจ้าจงคืนสติเสียเถอะนะลูกรักของพ่อ ”
“ ลุกมากินหญ้าสิ นี่หญ้าอ่อน ๆ ของโปรดเจ้ามิใช่หรือ ลุกสิเจ้าวัวเอ๋ย ” “ เจ้าก็นับเป็นบัณฑิต ผู้รู้ เป็นทายาทแห่งตรพกูลของเรา อย่าได้กระทำสิ่งอันเป็นไปไม่ได้เช่นนี้เลยลูกจะอับอายเขาไปทั้งเมืองนะ ลูกพ่อ ” สุชาตกุมารเห็นบิดาห่วงใย ให้ข้อคิดอย่างสมคะเน แล้วก็เร่งกล่าวให้สติบิดากลับไปตามอุบาย
“ ท่านพ่อ วัวตัวนี้หาได้มีชีวิตแล้ว เหมือนท่านปู่ของลูกเช่นกัน แต่ยังมีศีรษะ มีปาก มีร่างกาย หู หาง ครบถ้วนอยู่ ย่อมต้องกินหญ้าที่ลูกนำมาเซ่นได้สิขอรับ ” “ มันกินไม่ได้หรอกลูกเอ้ยมันตายไปแล้ว ” “ ลูกเข้าใจว่ามันต้องกินหญ้านี้ได้ เพราะขนาดท่านปู่มิได้มีร่างกายเหลืออยู่แล้ว เหลือเพียงเถ้ากระดูกมนสถูป แต่ท่านพ่อยังนำดอกไม้เครื่องหอมต่าง ๆ แล้วก็อาหารคาวหวานไปร้องบอกท่านปู่ให้กินอยู่เลยขอรับ ”
เศรษฐีได้ฟังบุตรชายพูด ก็คืนสติระลึกได้ว่าตนได้กระทำสิ่งผิดธรรมชาติไปแล้ว “ นี่เราเศร้าโศกจนทำให้ขาดสติได้ถึงเพียงนี้เลยหรือนี่ เช่นนี้พ่อรู้แล้ว ว่าสังขารทั้งปวงล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ ไม่จีรังยั่งยืนเป็นธรรมดาต่อแต่นี้ไป พ่อจะเลิกเศร้าโศกเวทนาดังนี้อีก เฮ้อไม่น่าเลยเรา บุตรของพ่อเอ๋ย ขอบใจเจ้านักที่ทำให้พ่อคืนสติ ขอให้เจ้าจำเริญ ๆ เถอะลูกรัก นำพาตระกูล เหล่าวงศาคณาญาติและก็บริวารของเรา ไปสู่ความสุขสมบูรณ์ต่อไปเถิด ” “ ขอรับท่านพ่อ ลูกดีใจแล้วก็มีความสุข ที่ท่านพ่อจะได้กลับมาเป็นท่านพ่อคนเดิมของลูกขอรับ ”
เมื่อสุชาตกุมารถอดถอนความทุกข์โศกให้บิดาแล้ว ก็เริ่มต้นทำการค้าตามรอยบรรพบุรุษ เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เป็นเศรษฐีแห่งพารารสีสืบต่อไปเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสุชาตชาดก จบแล้ว ก็ประชุมชาดกดังนี้
เศรษฐีผู้เป็นบิดา กำเนิดเป็น กุฎุมพีเศรษฐีแห่งสาวัตถี
สุชาตกุมาร เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า