ชาดก 500 ชาติ
อัมพชาดก-ชาดกว่าด้วยบัณฑิตควรพยายามร่ำไป
ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปักธงชัยพระพุทธศาสนาขึ้นแล้วนั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยงทรงเสด็จนำสงฆ์สาวกออกเผยแผ่พระพุทธธรรมไปทั่วอนุทวีป เสด็จไปประทับยังพระอารามสำคัญหลากหลายแว่นแคว้น มิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยากพระวรกาย พระอารามเชตวันในนครสาวัตถีก็เป็นศาสนสถานสำคัญแห่งปี มหาวิหารแห่งนี้ได้รับความเคารพสืบต่อมาไม่รู้สิ้น เหตุเพราะเป็นพระอารามที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นานที่สุดในพระชนชีพของพระองค์
บุตรชายหลายตระกูลหลายชนชั้นในมหานครสาวัตถีต่างได้รับการอุปสมบท โดยพระศาสดาและอยู่ปฏิบัติธรรมวินัยร่วมกันเป็นอันดี ครั้งนั้นมีกุลบุตรจากตระกูลพราหมณ์ผู้หนึ่งบวชเป็นภิกษุในพระเชตวันอารามนี้ได้ไม่นานนัก แต่กลายเป็นเหตุให้กล่าวขานกันไปทั่วพระวิหารและทั่วนครสาวัตถี ว่าท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรปฏิบัติดีเลิศ
ภิกษุหนุ่มกระทำอาจาริยวัตรดูแลช่วยเหลือภิกษุอาจารย์และอุปัชฌาย์อย่างดีดุจดูแลบิดา “ บุตรพราหมณ์ผู้นี้ตั้งแต่บวชในพระพุทธศาสนาก็มิได้ละเลยกิจของสงฆ์เลย น่านับถือจริง ๆ ” “ เสียดายนะพี่ที่เราไม่มีลูกชาย เฮ้อ ไม่งั้นคงได้ชื่นใจกับลูกตัวเองบ้างละ ”
นอกจากดูแลอุปัชฌาย์อาจารย์อย่างดีแล้ว ภิกษุท่านนี้ยังจัดการตั้งน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำใช้ไว้อย่างบริบูรณ์ ทั้งในโรงครัวและโรงอุปสมบท ทำให้ภิกษุอื่น ๆ ได้รับความสะดวกขึ้นเป็นอันมาก
“ อือ แค่นี้น่าจะพอใช้แล้วนะ ” แม้บริเวณโรงเรือนอุบาสกและทางไปสู่พระวิหารท่านก็ยังจัดตั้งน้ำดื่มอันใสเย็นไว้ให้ผู้มาฟังพระธรรมเทศนาได้ดื่มกิน “ อนุโมทนาในอุทกทานนี้เจ้าค่ะ ” “ เจริญพรโยมหญิง เจริญพร ” “ ชื่นใจจริง ๆ ” ครั้นมีเวลาเหลือจากวัตรปฏิบัติพระภิกษุอันควรเอาเยี่ยงอย่างท่านนี้ยังจัดการปัดกวาดทางเดินสู่พระวิหารจนสะอาดตาอยู่เป็นอาจิณ
การประพฤติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้จึงเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้คนทั่วไป ต่อมาจึงมักมีชาวนครสาวัตถีนำภัตตาหารอันโอชารสมาถวายอยู่เสมอ “ ภัตตาหารนี้ดิฉันนำมาถวายเจ้าค่ะ ” “ เจริญพรนะโยมหญิง ” “ วันพรุ่งนี้จะนำภัตตาหารอื่น ๆ มาถวายเพิ่มนะขอรับ ”
ยิ่งนานวันภัตตาหารที่ชาวบ้านนำมาถวายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น กลายมาเป็นนิตยภัต คือการถวายอาหารนี้เป็นประจำอย่างมากมาย และล้วนตั้งใจจัดมาอย่างประณีตบังเกิดความผาสุกอุดมสมบูรณ์ แก่พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา ภิกษุทั้งหลายในพระอารามเชตวันจึงพากันสรรเสริญพระสงฆ์ผู้ทำความดีอย่างกว้างขวาง
วันหนึ่งเมื่อมีการยกเรื่องนี้ขึ้นสนทนากันในธรรมศาลาว่า ความผาสุกนี้บังเกิดขึ้นเพราะได้ภิกษุใหม่องค์นั้นทำความดีไว้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงปรารภถึงภิกษุหนุ่มผู้ปฏิบัติดีนั้น ตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่เพียงบัดนี้ที่เขาเป็นถึงผู้ที่พร้อมด้วยวัตร แม้ชาติปางก่อนก็เคยเลี้ยงดูหมู่ฤาษีด้วยผลาผลแต่ผู้เดียวมาแล้ว ” แล้วพระบรมศาสดาก็ทรงนำเรื่องในอดีตที่เรียกว่าชาดกนั้น แสดงขึ้นไว้ ดังนี้
ในนครพาราณสียุคก่อนพุทธกาลนั้น ตระกูตอุทิศจพราหมณ์นับเป็นตระกูลใหญ่ กาลนั้นเมื่อพระโพธิสัตว์มาบังเกิดในตระกูล แล้ว เจริญวัยขึ้นแล้วออกบวชเป็นฤาษี พราหมณ์บริวารเกือบทั้งสิ้นทั้งนิคมนั้น ก็ออกบวชติดตามไปสู่เขตป่าเขา
ยึดเอาริมป่าหิมพานต์แยกย้ายกันไปทำศาลาหาเพิงพักเพื่อเจริญวิปัสสนาค้นหาสัจธรรมตามกำลังบุญ โดยมีอุทิศจบุตรเป็นพระดาบสหัวหน้า “ อืม วันนี้ช่างสงบเงียบดีจริง เหมาะแก่การนั่งวิปัสสนาดีแท้ ”
ในฤดูร้อนคราวหนึ่งป่าหิมพานต์ประสบภัยแล้งอย่างแรง อาหารและน้ำดื่มขาดแคลนเป็นทุรยุค พระดาบสผู้นำฤาษีจึงให้เจริญสติ อย่าละความเพียร “ โอ้ย ทำไมมันถึงแห้งแล้งได้ขนาดนี้นะ หิวน้ำจังเลย คอแห้งเป็นผงแล้ว ” “ ยามนี้เรามีภัย พวกเธออย่าขาดสติ จงรำลึกความเพียรไว้ให้มั่นเถิด
ผลาผลและน้ำดื่มจงประหยัดและก็แบ่งปันกันจะได้พ้นภัยไปพร้อม ๆ กันทั้งหมด อย่าดูดายละทิ้งกันละ ” ฤดูแล้งครั้งนั้นยาวนาน น้ำในลำธารแหล่งดื่มกินทั้งหมดก็เหือดแห้งลงสิ้น เหล่าสัตว์ป่าน้อยใหญ่ก็อดอยากทุรนทุรายน่าเวทนายิ่งนัก
“ หนีไปอยู่ที่อื่นกันเถอะพวกเรา อยู่ที่นี่ไม่ไหวแล้ว กันดารจริง ๆ น้ำสักหยดก็หากันยากเหลือเกิน ” “ อือ ใช่ ใช่ ไปอยู่ที่อื่นกว่า ” ในความทุกข์ยากครั้งนี้ยังมีพระฤาษีผู้หนึ่งมองเห็นความทุกข์ของเหล่าสัตว์ในปป่าหิมพานต์ แล้วเกิดเมตตาสงสาร
“ โธ่เอ้ยน่าเวทนาเสียจริง บ่อน้ำดื่มของเราก็อยู่ไกลพวกเจ้านัก อืม เห็นจะต้องทำอะไรสักอย่างแล้วละ ” ฤาษีวัยหนุ่มแม้มีตบะน้อยแต่ความเมตตา และสติปัญญาสูง จึงเลือกตัดไม้ต้นหนึ่งมาขุดทำรางใส่น้ำไว้ให้เหล่าสัตว์ป่าได้ดื่มกิน
“ รางกว้างยาวเท่านี้น่าจะพอดื่มกินได้ทีละหลายตัว ” เมื่อรางน้ำสำเร็จลงฝูงสัตว์น้อยใหญ่ก็ไม่ขาดแคลนน้ำดื่มกินอีกต่อไป “ เย้ เย้ เย้ เย้ มีน้ำเยอะแยะเลยพวกเรา มากินน้ำกันเร็ว ” “ โอ้ย เย็นชื่นใจจริง ๆ ” “ พวกเจ้าก็รีบดื่มสิ จะได้ถึงคิวข้าได้ดื่มบ้าง ” พวกสัตว์ป่าวนเวียนกันออกมาดื่มน้ำจนเพียงพอ
แล้วก็กลับเข้าป่าใหญ่ให้สัตว์ตัวอื่น ๆ ที่ยังหิวโหยต่อแถวเข้ามาใหม่ตลอดทั้งวัน “ มาเถอะลูก ปล่อยให้น้า ๆ อา ๆ ตัวอื่นเขาได้ดื่มน้ำกันบ้าง ” กุศลเจตนาในครั้งนี้ทำให้พระดาบสผู้ใจบุญต้องเหน็ดเหนื่อยตลอดวันเช่นกัน
“ หา หมดอีกแล้วเหรอ ดื่มกันเร็วจริง ๆ ตักมาเติมไม่ทันแล้วนะเนี่ย โธ่พวกเจ้าอดน้ำกันมามากมายขนาดนี้เชียวหรือนี้ เติมรอบนี้แล้วต้องพักสะหน่อยแล้ว ชักเมื่อยเหมือนกัน ” “ มาแล้ว ๆ น้ำใหม่มาแล้ว ถังใหม่มาแล้วนึกว่าจะอดกินสะแล้ว ” พระดาบสแม้ยังไม่แก่ชรานักแต่เมื่อตักน้ำเลี้ยงฝูงสัตว์ทั้งวันก็อ่อนล้า
ทั้งต้องมาอดอาหารทั้งวันเพราะไม่มีเวลาไปเสาะหาผลไม้ดั่งเคย เพียงสองสามวันท่านก็กลับเป็นฝ่ายน่าเวทนาเสียเอง “ เหนื่อยจัง ไม่มีแรงสะแล้วสิ ” “ อือ น่าสงสารท่านฤาษีจัง ” “ อือ นั้นนะสิ ดูท่านอ่อนล้าเหลือเกิน ดูสิ ซูบผอมไปตั้งเยอะ ” แต่ด้วยมานะและความตั้งใจปฏิบัติความดี เมื่อมีเรี่ยวแรงขึ้น พระดาบสก็ลงมือตักน้ำจากบ่อหลังอาศรมมาเติมไว้มิให้สัตว์ทั้งหลายต้องกระหายรอนาน “ ฮึบ ทำไมเที่ยวนี้หนักว่าทุกทีเลย โอ้ย ”
เมื่อพระดาบสตั้งใจทำดีเช่นนี้ เหล่าสัตว์ทั้งหลายมองเห็นความลำบากของท่านอยู่ ก็มิได้นิ่งดูดาย “ อืม สงสารท่านจริง ๆ เลย แต่จะไม่ดื่มน้ำก็ไม่ได้ ทำยังไงดีหนอ ” ทั้งสัตว์ใหญ่สัตว์น้อยในป่าพากันประชุมด้วยความกตัญญูกตเวทิตาต่อดาบส “ พระฤาษีอดอยากเพราะให้น้ำดื่มแก่พวกเรา เราควรช่วยเหลือท่านตอบแทนนะ ” “ใช่ ใช่ ใช่ ท่านต้องมาตักน้ำให้เราตลอดเวลา จะได้ทานอะไรบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ ” “ นึกออกแล้ว ต่อไปนี้ถ้าใครไปดื่มน้ำ ต้องนำผลไม้ไปถวายท่านด้วย ตามกำลังของตน อย่าให้ท่านลำบากเพราะเมตตาต่อเราเลย ” “ ดีเลย ข้าเห็นด้วยแต่เอ้ เราจะเอาอะไรไปถวายดีนะ เอามะม่วงนี้ดีกว่า ตอนนี้กำลังสุกน่ากินพอดีเลย ”
ตั้งแต่นั้นมาสัตว์ทุก ๆ ตัวก็คาบเอาผลไม้หลากหลายพันธ์ตามกำลังร่างกายตนออกจากป่าใหญ่มาสู่อาศรมที่พักของเหล่าฤาษี “ ข้าได้ฟักลูกโตมา พวกเจ้าเอาอะไรมาบ้าง ” “ ข้ามีมะม่วงมา ” “ โอ้ย เจ้าลิงนี่ขี้เลียนแบบจริง ๆ เอามะม่วงมาเหมือนข้าเชียวนะ คิดก่อนแท้ ๆ นะเนี่ย ”
“ ของข้าก็มีมาเหมือนกัน หว้าน หวาน เมื่อกี้แอบชิมมานิดหน่อย ” ครั้นพวกสัตว์พากันมาถึง ก็วางผลาผลรสดีต่าง ๆ กองไว้ข้างรางใส่น้ำทุก ๆ วัน เมื่อสัตว์ทุกตัวประพฤติดีตอบแทนคุณฤาษีดังนี้ กองผลไม้สำหรับดาบสฉันเพียงผู้เดียวจึงมากมายได้ประมาณ ๒ เกวียนครึ่งทุกวันไป “ โอ้ย ๆ ๆ คาบมาอย่างนี้ก็เมื่อยปากเหมือนกัน ท่านฤาษีตักน้ำมาให้เราก็คงทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยเหมือนกันแหละ ” “ เจี๊ยก ๆ ๆ ดีจัง ข้าไม่ต้องคาบมาเหมือนเจ้า เอามืออุ้มมาได้ แต่ก็เมื่อยเหมือนกันแหะ ”
เมื่อผลไม้ที่เหล่าสัตว์ป่านำมาถวายมากมาย พระดาบสทั้งหมดก็พลอยได้ฉันผลไม้นั้นกันถ้วนหน้า โดยไม่ต้องลำบากออกไปเสาะหาดั่งแต่ก่อน “ สัตว์พวกนี้ช่างมีน้ำใจจริง ๆ ” “ เราก็พลอยสบายไปด้วยเลย ผลไม้น่ากินทั้งนั้นเลยนะเนี่ย ” “ เราขอกล้วยหวีนั้นนะท่าน เหลืองสุกงอมน่ากินแท้ ”
อุทิศจดาบสเห็นดังนี้ก็ชมเชยวัตรปฏิบัติของดาบสผู้เมตตาให้น้ำสัตว์ต่อพระฤาษีทั้งมวลไว้ในกาลนั้นว่า “ บุรุษผู้เป็นบัณฑิตควรพยายามไม่เบื่อหน่ายจงดูผลแห่งความพยายาม คือผลมะม่วงทั้งหมดที่บริโภคอยู่นั้นก็มิใช่ของที่มีมาได้เองเลย ”
ในยุคพุทธกาลต่อมา
ปวงสัตว์ในป่าหิมพานต์ กำเนิดเป็นพุทธบริษัท
พระดาบสผู้ปฏิบัติดี กำเนิดเป็น ภิกษุผู้งามในวัตร