ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถามหาโพธิชาดก ว่าด้วยปฏิปทาของผู้นำ (ตอนจบ)

อรรถกถา มหาโพธิชาดก

ว่าด้วย ปฏิปทาของผู้นำ(ตอนจบ)

 

                 จากนั้นปริพาชก จึงกล่าวว่า “ดูก่อนท่านอำมาตย์ ท่านน่าจะรู้ถึงความผิดของคำพูดตัวเองนะ แล้วเหตุใดถึงพูดติเตียนเราเช่นนี้”
 

               "ท่านอิสรกรณวาที เข้ามาใกล้ข้าหน่อย" 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%870.png

 

                "มีอะไรหรือท่าน" "ถ้าพระเจ้าสร้างชีวิต สร้างฤทธิ์ สร้างความพินาศ สร้างกรรมดี และกรรมชั่วให้แก่ชาวโลกทั้งหมด คนที่ทำตามคำสั่ง ก็ย่อมทำบาปได้ พระเจ้าย่อมเปื้อนด้วยบาปนั้นเอง”  ถ้าเนื้อคำพูดของท่านเป็นธรรมจริง ถ้าเราฆ่าลิงก็แปรว่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ว่า วาทะของตนนั้นผิด จึงไม่ควรติเตียนเรา บรรยากาศรอบตัวเต็มไปด้วยความอึดอัด จนอิสรกรณะ ยอมแพ้ต่อนักบวช

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%871.png

 

                 หลังจากชนะท่านอำมาตย์คนแรกเรียบร้อยแล้ว นักบวชหันไปทางท่านอำมาตย์อีกคน "ท่านปุพเพกตวาที ถ้าสัตว์ย่อมเข้าถึงความสุขและความทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่กระทำไว้แล้วในปางก่อน บาปเก่าที่ได้ทำไว้แล้วนั้นในบัดนี้  แม้เราก็มีทางพ้นจากหนี้เก่านั้น ใครเล่าในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป เปรียบเหมือนเราเป็นลิง ซึ่งเป็นปริพาชกมาก่อนฆ่ากินเสีย ปริพาชกนั้นกลับมาเป็นลิงในอัตภาพนี้ จึงถูกเราผู้กลับมาเป็นปริพาชกฆ่ากินเสียเหมือนกัน"


                 "ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของท่าน เป็นอรรถเป็นธรรมและเป็นถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นความจริง ลิงก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิดของตน ไม่ควรพูดเช่นนี้กับเรา"


                 "เอ่อ....." อำมาตย์คนที่สองไม่เอ่ยอะไร "ท่านว่าข้าพูดถูกไหม" "ถูกขอรับ" "แล้วถ้าถูกแล้วทำไมถึงกล้าพูดกับเราเช่นนี้" 

              
                 "ท่านเที่ยวยกประโยคนี้ว่า แม้พ่อแม่ผู้มีพระคุณ สามารถฆ่าทิ้งได้หมด เมื่อเป็นประโยชน์แก่ตนงั้นหรอ แล้วถ้าข้าฆ่าลิงตัวนี้เป็นสิ่งที่ดีแล้วไม่ใช่หรือ ท่านช่วยตอบข้ามาหน่อยสิ" นักบวชจ้องหน้านิ่ง  "ถ้าเราต้องการเสบียง เราควรฆ่ามิตรทิ้งแล้วเอาอาหารนั้นมาหรือ ถึงแม้ว่าฆ่าวานรนี้แล้ว ประโยชน์ตกเป็นของเรา แปลว่าสิ่งที่เราทำเป็นเรื่องที่ถูกไม่ใช่หรือ"


               เมื่อพระโพธิสัตว์ไล่ต้อน อำมาตย์ทั้งห้าให้จนมุมได้แล้ว จึงหันมาทางพระราชา "พระองค์พามหาโจรติดตัวไปไหนมาไหน ทำไมช่างโง่เขลาอะไรเช่นนี้" "ฟู่" ก่อนจะถอนหายใจออกมาอย่างเอือมระอา

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png

               "ในปางก่อน มีนกยางตัวหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายแกะ ด้วยความใจดีจึงชวนนกตัวนั้นเข้าฝูง จากนั้นเจ้านกกระยางได้ทำเรื่องน่ารังเกลียจ ฆ่าแกะทั้งหมดแล้วก็บินหนีไป ก็เหมือนกับ อำมาตย์ทั้งห้าของท่านที่เป็นนกกระยาง เที่ยวหลอกลวงพูดอวดว่า เป็นพระอรหันต์"


                  "กษัตริย์ผู้ไม่ประพฤติธรรม เบียดเบียนบรรพชิต ผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมตกจากสวรรค์ อนึ่ง พระราชาผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม ฆ่าพระชายาผู้หวังดี ย่อมประสบบาปหนัก และผิดใจกับราชบุตรทั้งหลาย"


           "พระราชาประพฤติธรรม ไม่เบียดเบียนบรรพชิต ดูแลลูกเมียเป็นอย่างดี การกระทำเช่นนี้จะทำให้กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเช่นนั้น การเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองที่ดี ต้องไม่ทรงพิโรธ ไม่หวั่นไหว"


                 พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องทั้งหมดให้พระราชาฟัง จริงอยู่ นักบวชหวังจะข่มขี่พวกอำมาตย์และเปิดเผยเรื่องที่พระเทวีที่พึ่งจากไป จึงนำเรื่องต่างๆมาเปรียบเปรย เมื่อพระองค์ได้สดับรับฟัง ก็ทรงทราบถึงความผิดของพระองค์

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png


              "ดูก่อนพระองค์ ตั้งแต่วันนี้ไป อย่าได้ทรงเชื่อถ้อยคำของพวกคนชั่วพวกนี้อีก"

 

                "อสูร ย่อมทำพวกอสูรผู้เป็นข้าศึกของพระองค์ให้หวั่นไหว จากนั้น พระมหาสัตว์ ทูลเชิญพระกุมารทั้ง ๔ พระองค์มาสั่งสอน แล้วประกาศถึงกรรมที่ทรงกระทำแล้วแด่พระราชา"

 

                 ดูก่อนพระกุมารทั้งหลาย "พวกท่านก็อย่าได้ประทุษร้ายต่อพระราชาเลย"  พระราชาจึงตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า "ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าผิดในพวกพระโอรส และพระเทวี เพราะได้อาศัยอำมาตย์เหล่านี้ มัวแต่เชื่อฟังถ้อยคำของพวกมัน จึงได้กระทำบาปกรรมถึงเพียงนี้ ข้าพเจ้าจะฆ่าอำมาตย์ทั้ง ๕ คนเหล่านี้เสีย" พระมหาสัตว์ชี้แจงว่า "ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์อย่าได้กระทำถึงอย่างนั้นเลย" พระราชาตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะให้ตัดมือและเท้าของพวกมันเสีย" พระมหาสัตว์ทูลว่า "แม้กรรมอย่างนี้ ก็ไม่ควรกระทำอีก"


               พระราชาทรงรับว่า "ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ทรงรับสั่งให้ริบทรัพย์สมบัติทั้งหมด ให้ขับไล่ออกไปจากแว่นแคว้น"


               แม้พระโพธิสัตว์พักอยู่ในที่นั้นสองสามวันแล้ว ถวายโอวาทแด่พระราชาว่า "ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด" จากนั้นก็กลับไปยังหิมวันต์ตามเดิม ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว เจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชีวิต พอสิ้นชีพก็ได้เข้าถึงพรหมโลก


               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา ย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคำข่มขี่ของผู้อื่นเสียได้เหมือนกัน ดังนี้แล้ว


               ทรงประชุมชาดกว่าอำมาตย์เจ้าความเห็นทั้ง ๕ คน ในกาลนั้น ได้เป็นปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาละ ปกุธกัจจานะ อชิตเกสกัมพล และนิครนถ์นาฏบุตรในกาลนี้


               สุนัขสีเหลืองได้เป็น พระอานนท์
               ส่วนพระมหาโพธิปริพาชก ก็คือ เราตถาคต นั้นเองฉะนี้แล.

               จบอรรถกถามหาโพธิชาดกที่ ๓               
 

              

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล