ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถาโสณกชาดกว่าด้วย เรื่องพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร

อรรถกถา โสณกชาดก

ว่าด้วย เรื่องพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร

 

               ณ.พระเชตวันมหาวิหาร สถานที่ที่พระศาสดา ประทับอยู่ อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทรงพระเอ่ยถึงเนกขัมมบารมีว่า
              
               ในอดีตกาล ในช่วงสมัยพระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดเป็นพระโอรสมีนามว่า อรินทมกุมาร ซึ่งมีเหตุบังเอิญคือ บุตรของท่านปุโรหิต ได้เกิดวันเดียวกัน โดยมีนามว่า โสณกกุมาร ทั้งสองถูกเลี้ยงมาด้วยกัน จนกระทั่งเติบใหญ่
 ซึ่งเป็นชายผู้มีรูปร่างสง่างาม ทั้งสองเล่าเรียนศิลปศาสตร์จนจบ จากนั้นก็ออกเดินทางไปทั่ว เพื่อตั้งใจจะศึกษาให้รู้ถึงศิลปะทั้งหมด 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872.png

 

                  ทั้งสองพากันออกเดินทางจนกระทั่งมาถึงเมืองพาราณสี และพักอยู่ในพระราชอุทยาน ในวันรุ่งขึ้นทั้งคู่พากันเดินเข้าไปยังตัวเมืองพาราณสี  ซึ่งมีการจัดงานของพราหมณ์ขึ้น  ขณะพิธีกำลังดำเนินอยู่นั้น  มีคนเห็นกุมารทั้งสองกำลังเดินผ่าน จึงเชื้อเชิญให้เข้าไปในเรือน แล้วให้นั่งบนอาสนะที่ตระเตรียมไว้ ผืนสีขาวพระโพธิสัตว์เป็นผู้นั่ง ส่วนผ้าปูสีแดงเป็นของโสณกะ เมื่อลูกชายของปุโรหิต เห็นดังนั้นลางสังหรณ์ก็ปรากฎขึ้น เจ้าตัวรู้ได้ทันทีว่า เพื่อนรักของตนนั้นจะได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไปของเมืองพาราณสี


                และแล้วผ่านไปไม่นาน องค์กษัตริย์ที่ตอนนี้แก่ชรามากแล้ว ก็สวรรคตลง แต่เนื่องจากพระองค์ไม่มีรัชทายาทสืบต่อ เหล่าบรรดาอำมาตย์จึงประชุมกันว่า จะทำเช่นไรดี การประชุมครั้งนั้นได้ข้อสรุปว่า ให้ตามหาคนที่คู่ควรแก่บัลลังก์ มารับตำแหน่งพระราชาคนต่อไป เมื่อได้ข้อสรุปดังนั้น เหล่าข้าทาสบริวาร ต่างออกตามหาบุรุษไปทั่วเมืองจนกระทั่งมาเจอเข้ากับ อรินทมะ และสหายที่พักอาศัยอยู่ในอุทยาน

 


               เช้าวันต่อมา ขณะนั้นพระโพธิสัตว์ได้นอนหลับอยู่บนแผ่นหิน ซึ่งมีเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข โสณกกุมารนั่งอยู่ใกล้ๆ บังเอิญผู้เป็นเพื่อนนั้นได้ยินเสียงดนตรี จึงรู้ได้ว่าเหล่าคณะอำมาตย์กำลังเดินทางมาที่นี่ เพื่อมาขอให้เพื่อนสนิทของตนนั้นขึ้นครองราชย์ เจ้าตัวนั้นนั่งครุ่นคิดอยู่ชั่วครู่ ถ้าพระโพธิสัตว์ได้เป็นกษัตริย์ตำแหน่งปุโรหิตคงจะเป็นของตน แต่ด้วยใจจริงๆนั้น อยากออกบวช จึงตัดสินใจ เดินเข้าไปในป่าไม่ไกลเท่าไหร่นัก หาต้นไม้กำบัง แอบมองเพื่อนของตนที่ตอนนี้ไม่รู้เรื่องราวใดๆ กำลังนอนอยู่อย่างสบายใจ 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png

 


               ด้านปุโหิตและคณะ เดินตรงมายังพระโพธิสัตว์ พร้อมกับกราบทูล ขอให้ท่านขึ้นเป็นองค์กษัตริย์ของเมืองพาราณสีได้หรือไม่ ด้วยความสงสัยอรินทมะ จึงถามออกไปว่า "ทำไมละ" "เพราะพระราชาองค์ก่อนนั้นไม่รัชทายาทสืบต่อทางเราเลยต้องการหาคนที่เหมาะสม ซึ่งกระหม่อนก็เห็นว่าท่านนั้น เหมาะกับตำแหน่งนี้" เมื่อได้ยินดังนั้น พระโพธิสัตว์ทรงรับตำแหน่งขึ้นครองพาราณสีต่อไป
               
               โสณกะกุมารที่แอบอยู่หลังต้นไม้ เมื่อเห็นเพื่อนสนิทออกเดินทางเข้าสู่เมืองพาราณสีแล้ว  ขณะนั้นใบไม้สีเหลืองของต้นสาละ หลุดออกจากขั้วตกลงตรงหน้า  จึงตระหนักได้ว่า ใบไม้หล่นลงฉันใด ชีวิตของเราก็ไม่ต่างกัน จึงเริ่มตั้งวิปัสสนาในบัดดล แสงสว่างจ้าได้ถือกำเนิดขึ้น ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของกุมารก็อันตรธานหายไป เพศบรรพชิตปรากฏขึ้นแทนทันที พระปัจเจกพุทธเจ้า เปล่งอุทานว่า บัดนี้ "ภพใหม่ของเราไม่มีแล้ว"


               ๔๐ ปีต่อมา พระราชาเมืองพาราณสีทรงคะนึงหาถึงเพื่อนรักตลอดเวลา  "โสณกะสหายของเราไปไหนหนอ ไม่ได้ข่าวคราวเลย"  ประโยครำพึงรำพันนั้น ได้ยินถึงเหล่าข้าทาสบริวารอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งใจความว่า  "ผู้ใดเห็นโสณกะ  เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ผู้นั้น ถ้าผู้ใดพบเจอ เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้นั้น"  เมื่อพระองค์เอ่ยจบ พระโยคนี้ถูกแต่งออกไปเป็นบทเพลง แล้วถูกขับร้องออกไปเป็นบทเพลง ทั่วกรุงพาราณสี


                บทเพลงถูกร้องต่อกันเป็นทอดๆ จนเข้าใจกันว่าเป็นสิ่งที่พระราชาทรงโปรดปราน แม้แต่ชาวพระนครและชาวชนบทก็ได้พากันขับเพลงนั้นเช่นกัน


               ด้านพระปัจเจกพุทธเจ้า  เกิดอยากพบสหายเก่าอีกครั้ง ได้เหาะแล้วนั่งอยู่ในอุทยาน ในวันเดียวกันมีเด็กชายวัย ๗ ขวบถูกมารดาใช้ให้ไปหาฟืนในป่าใกล้อุทยาน ขณะที่เจ้าตัวกำลังเก็บฟืนอยู่นั้น ก็ร้องเพลงไปด้วย

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875.png

 


               เสียงเพลงล่องลอยไปตามลม จนกระทั้งดังไปถึง พระปัจเจกพุทธเจ้า "เจ้าหนูๆ" เสียงของนักบวชวัยกลางคนดังขึ้น เด็กน้อยที่ก้มหน้าก้มตา ถึงกับสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงเรียก ก่อนจะหันไปทางต้นเสียง ซึ่งพบว่ามีนักบวชนั่งอยู่บนหินก้อนใหญ่ แต่ยังไม่ทันที่เจ้าตัวจะเอ่ยอะไร "ดูก่อนกุมารเอ๋ย ทำไมเจ้าจึงไม่ขับเพลงอื่นบ้างเล่า ขับร้องแต่เพลงนี้เพลงเดียวเท่านั้น เจ้าจำเพลงอื่นไม่ได้บ้างหรือ"

 


              "จำได้ขอรับ แต่บทเพลงนี้เป็นเพลงที่โปรดปรานของพระราชาของพวกผม เพราะฉะนั้น ผมจึงขับร้องเพลงนั้นบ่อยๆ" "เจ้าเคยเห็นใครๆ ขับร้องตอบเพลงนี้บ้างหรือไม่" "ไม่เคยเห็นเลย ขอรับ" "ถ้าอย่างนั้นเราจะสอนให้เจ้าขับร้องตอบเพลงนั้นเอง แล้วช่วยไปเฝ้าพระราชาแล้วขับร้องเพลงตอบได้หรือไม่" "ได้ขอรับ"


               
               ลำดับนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้านั้น บอกเพลงขับตอบแก่กุมารนั้น "เจ้าจงขับร้องเพลงขับตอบนี้กับพระราชา พระราชาจะพระราชทานอิสริยยศใหญ่ให้แก่เจ้า"

 


              "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้จนกว่าผมจะพาพระราชามาเถิด" เด็กชายรีบไปหามารดากล่าวว่า "แม่ครับ ช่วยอาบน้ำ รีบแต่งตัวให้ผมเร็ว" ครั้นมารดาอาบน้ำแต่งตัวให้แล้ว จึงมายังประตูวังแล้วกล่าวว่า "นายประตูขอรับ จงกราบทูลแด่พระราชาว่า มีเด็กคนหนึ่งจะขับเพลงขับตอบกับพระองค์ ยืนคอยอยู่ที่ประตูวัง" จากนั้นนายประตูรีบไปกราบทูลแด่พระราชา

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876.png

 


               พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเด็กเข้ามา แล้วตรัสว่า "ดูก่อนเจ้าจะขับเพลงตอบกับเราอย่างนั้นหรือ" "พระพุทธเจ้าข้า" "ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงขับเถิด" "ขอเดชะ ข้าพระองค์ขับในที่นี้ไม่ได้ ขอให้พระองค์จงให้พวกราชบุรุษเที่ยวตีกลองป่าวประกาศในเมืองแล้ว ให้มหาชนประชุมกัน กระหม่อมจะขับในท่ามกลางชาวเมือง"

 


               พระราชาทำตามที่กุมารนั้นกล่าว เสด็จประทับนั่งในท่ามกลางราชบัลลังก์  สั่งให้พระราชทานอาสนะที่สมควรแก่เด็กคนนั้นแล้ว ตรัสว่า "บัดนี้ เจ้าจงขับเพลงขับของเจ้าได้แล้ว"

 


                "ขอเดชะ พระองค์จงขับก่อน ข้าพระองค์จักขับตอบในภายหลัง" "เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา ใครพบโสณกะ ผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น"
             

             
               " ข้าพระองค์พบเห็นโสณกะพระสหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว" จึงกราบทูลแด่พระองค์ "ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์ผู้พบเห็นโสณกะ"


                            
               พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า "โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้น หรือนิคมไหน ท่านได้พบเห็นโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด"

               
              "ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง มีสีเขียวเหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยาน ในแว่นแคว้นของพระองค์นั่นเอง พระโสณกะ เมื่อสัตวโลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็นผู้ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรังเหล่านั้น"



               ลำดับนั้น พระราชาตรัสสั่งให้ทำทางให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปในป่า ก็เสด็จถึงอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นพระโสณกะนั่งอยู่ 
              
          

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%877.png


             
                
              เมื่อทั้งพบกันครั้งแรก หลังจากที่หายหน้าหายตาไปนานหลายสิบปี ความคิดถึง ความสงสัย ประเดประดังประเข้าสู่สมองมากมาย จนผู้เป็นพระราชาอดที่จะเอ่ยถามขึ้นก่อนไม่ได้
  "ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้าเหลือง นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้" คำพูดเชิงประชดประชันได้ถูกเอ่ยขึ้น



                  พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า "ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้ถูกต้องธรรมด้วยนามกาย ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร้า ผู้ใดในโลกนี้ นำเสียซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนกำพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า"

 

          พระโสณกะนั้นติเตียนพระโพธิสัตว์ พระองค์ทรงทำเป็นเหมือนไม่รู้ ก่อนจะกล่าวว่า " พระคุณเจ้า การอยู่แบบข้านั้นย่อมมีสุขมากกว่าท่านอยู่แล้ว เหตุใดท่านถึงมาพูดอะไรอย่างนี้กันเล่า"



              " ขึ้นชื่อว่าการไม่มีความสุข นั้นไม่เคยเกิดขึ้นกับเราเลย" "ทำไมพระคุณเจ้าถึงเอ่ยเช่นนี้กับข้าพเจ้า ทั้งๆที่ ไม่ได้มีที่พักอาศัยที่งดงาม อาหารเลิศรส รวมถึงทรัพย์สมบัติที่ใช้ไม่หมดในชาตินี้" 

           
          "พระองค์ท่านทรงฟังที่อาตมาภาพจะเอ่ยต่อไปนี้นะ  เมื่อภิกษุบริโภคบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ กิเลสก็ย่อมไม่เบียดเบียน ไม่บีบคั้น  ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ "  "เพราะเหตุไร?" พระราชาเอ่ยถามอย่างสงสัย "เพราะว่า ในบรรดาการบริโภค ๔ อย่างเหล่านี้ คือ  ขโมยเขากิน บริโภคอย่างเป็นหนี้ บริโภคโดยได้รับมรดก  บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ"

 


               ฝ่ายพระราชาทรงละเลยซึ่งถ้อยคำของพระโสณกะนั้น เพราะทรงยินดียิ่งในกาม จึงตรัสว่า "ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วยความเจริญแห่งสมณะ"



               "ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญเป็นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้ายังกำหนัดในกามทั้งหลาย จะทำอย่างไร กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ เป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ"

          
               "ดูก่อนพระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมาถวาย ของพระองค์ทรงสดับรับฟังเถิด  มีกาตัวหนึ่งเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย ไม่มีความคิด เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ ในแม่น้ำคงคา จึงคิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็นอาหารจำนวนมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดทั้งคืนทั้งวัน"


               "เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่ย่อมบินไป แม่น้ำคงคามีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้นตัวประมาท ยินดีในซากศพช้างไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย"

 


               "กานั้นหมดอาหารแล้ว ตกลงในน้ำไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลงในท่ามกลางทะเล อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย  ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้ายที่เกิดในมหาสมุทร รุมกินกานั้น"

 

 
                "ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคก็ดี ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้นเป็นอยู่ด้วยปัญญาเสมอกับกา ฉันนั้นเหมือนกันแล"


                " อุปมาข้อนี้ แสดงอรรถอย่างชัดแจ้ง ถวายมหาบพิตรแล้ว พระองค์จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น"

               
               "อาตมภาพเป็นผู้มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล จึงได้ถวายโอวาทแด่พระองค์ ก็ถ้าพระองค์จักทรงทำตามโอวาทนั้นไซร้ พระองค์ก็จะทรงบังเกิดในเทวโลก หากพระองค์จักไม่ทรงทำตามโอวาทนั้น พระองค์จะจมอยู่ในเปือกตม คือกาม ในกาลที่สุดแห่งพระชนมชีพจักบังเกิดในนรก พระองค์เองจักทรงทราบสวรรค์หรือนรก ด้วยเหตุนั้นอย่างนี้ ส่วนอาตมภาพพ้นแล้วจากภพทั้งปวง ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป"

   

                 พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ แล้วสั่งสอนพระราชาว่า "ถ้าพระองค์จักทรงผนวช หรือไม่ทรงผนวชก็ตาม อาตมภาพก็ได้ถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด" จากนั้นจะเหาะไปสู่เขาที่มีชื่อว่านันทมูลกะ ตามเดิม


               
                 ฝ่ายพระโพธิสัตว์ประทับยืน ทอดพระเนตรดูพระปัจเจกพุทธเจ้าจนลับสายตา  จึงเกิดความสลด ดังนั้นจึงตัดสินใจได้ว่าตนนั้นจะออกบวช เมื่อพระองค์ถึงวังเรียบร้อบแล้ว ได้เอ่ยกับเหล่าปุโรหิตว่า ตนนั้นตัดสินใจที่จะ สละราชสมบัติแล้วออกบวช  ต่อมาพระองค์เรียกลูกชายของตนเพื่อมาพูดคุย 

 

                ในคืนนั้นเอง ลูกชายคนโตที่มีนามว่า ทีฆาวุกุมาร เดินเข้ามาหา บิดาของตน ด้วยความสงสัยเพราะเหตุใดกัน พ่อตนสละราชสมบัติเร็วเช่นนี้ ซึ่งก็ได้คำตอบว่า จะออกบวช ตอนแรก ผู้เป็นลูกชายก็มีท่าทีไม่ค่อยยินดี แต่ต่อมาเมื่อรับทราบเจตนาที่แน่วแน่ของพ่อ ก็ยอมรับแต่โดยดี และในที่สุด ทีฆาวุ ก็คือพระราชาองค์ต่อไป ของเมืองพาราณสี 

             

                ส่วนพระองค์นั้นก็เสด็จออกจากพระราชวัง เข้าไปป่าหิมพานต์ สร้างบรรณศาลาที่ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ แล้วทรงผนวชเป็นฤๅษี มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไป   

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8710.png



              
               พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำฌานและอภิญญา ให้บังเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแห่งพระชนมชีพก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก


               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์ แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เคยออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว


               จึงได้ทรงประชุมชาดกว่า
               พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้ว ในกาลนั้น
               ทีฆาวุกุมาร ในกาลนั้น ได้เป็น 
ราหุลกุมาร
               บริษัทที่เหลือ ในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท
               ส่วนพระเจ้าอรินทมะ ในกาลนั้น ก็คือ
 เราตถาคต แล.

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล