ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถาตุณฑิลชาดกว่าด้วย ธรรมเหมือนน้ำบาปธรรมเหมือนเหงื่อไคล

อรรถกถา ตุณฑิลชาดก

ว่าด้วยธรรมเหมือนน้ำ บาปธรรมเหมือนเหงื่อไคล

 

                  มีชายหนุ่มเมืองสาวัตถีอยู่ผู้หนึ่งได้ออกบวช แต่กระนั้น เขายังมีความกลัว ต่อความตาย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ได้กลายเป็นหัวข้อในการ สนทนาของภิกษุกลุ่มหนึ่งเข้า ซึ่งขณะนั้นพระศาสดาทรงผ่านมาพอดี 

 

                  จึงตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรกัน ภิกษุทั้งหลายจึงเล่าเรื่องที่ตนกำลังสนทนาให้ฟัง "ดูก่อนภิกษุ เธอกลัวตายจริงหรือ?" เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า "ถูกแล้วพระเจ้าข้า"  ไม่เฉพาะในปัจจุบันนี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อน ภิกษุนี้ก็กลัวตายเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้


                   ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดขึ้นในท้องของแม่สุกร จนกระทั่งคลอดลูกออกมาสองตัว

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872.png
 

                  ในวันหนึ่ง แม่หมูพาลูกทั้งสองมานอนในหลุม ขณะนั้นได้มีหญิงชรา ที่กำลังกลับจากเก็บฝ้าย เดินผ่านมาพอดี เมื่อได้ยินเสียงฝีเท้าเข้า จึงเกิดความกลัวขึ้น ทิ้งลูกทั้งสองแล้ววิ่งหนีเข้าป่าไป 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png

                   

                  ด้านหญิงชรา เดินมาจนถึงหลุมที่มีลูกหมูสองตัวนอนอยู่พอดี "โอ๊ะ" เสียงร้องตกใจดังขึ้น "เกือบเหยียบแล้วไหมล่ะ เจ้ามาจากไหนกัน ทำไมมานอนอยู่กันสองตัวแบบนี้" หญิงชราเอ่ยขึ้น พร้อมกับใช้สายตากวาดมองหาผู้เป็นแม่ แต่ก็ไม่มีวี่แววแม้แต่น้อย "เจ้าสองตัวถูกแม่ทิ้งหรือเนี่ย งั้นมาอยู่ด้วยกันดีกว่า" จากนั้นหญิงชราได้อุ้มลูกหมูทั้งสองใส่ตระกร้า ที่เต็มไปด้วยฝ้าย แล้วเดินกลับไปยังบ้านของตน 

 

             เมื่อถึงบ้าน หญิงชราตั้งชื่อให้หมูทั้งสองว่า มหาตุณฑิละ(ผู้พี่) จุลตุณฑิละ(ผู้น้อง) ด้วยที่เจ้าตัวนั้นไม่มีลูกจึงเลี้ยงหมู ทั้งสองเหมือนลูกแท้ๆของตน

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png


 

                  ในเวลาต่อมาเมื่อทั้งคู่เติบใหญ่ มีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงเริ่มทาบทาม เรื่องขายหมูสองตัวให้กับพวกเขา แต่ด้วยความรัก นางจึงปฏิเสธเรื่อยมา 


                  จนกระทั่งคืนหนึ่งในวันมหรสพ มีพวกนักเลงสุรา กำลังครึกครื้น นั่งกินกับแกล้มกันเกลี้ยงจาน จนมีคนนึงในกลุ่มเอ่ยขึ้น "เฮ้ย ไปหาเนื้อมาอีกสิ" ด้านอีกคนตอบกลับว่า "จะไปหาที่ไหนได้ ก็ตอนนี้ที่มีมันหมดแล้ว" ด้วยความอยาก ทั้งหมดเลยช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรดี "ได้ยินว่าที่บ้านของหญิงชราที่อยู่ท้ายหมู่บ้าน แกเลี้ยงหมูไว้สองตัว อ้วนใหญ่กำลังดีเลยลูกพี่" "จริงหรือว้ะ" "ใช่ครับ" "ถ้าอย่างนั้นพวกเราไปที่บ้านยายกันเถิด" จากนั้นเหล่านักเลงสุราต่างพากันเดินตรงไปยังบ้านของหญิงชรานั้นทันที 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8705.png

 

                  ณ บ้านเป้าหมาย  "คุณยายครับพวกเราขอซื้อหมูตัวหนึ่งได้ไหม" ด้านหญิงชรายังคงปฏิเสธ "ขายไม่ได้หรอก หมูสองตัวนั้น ยายเลี้ยงมาตั้งแต่เล็ก รักเหมือนลูกเหมือนหลาน" 

 

                  แม้พวกนักเลงจะอ้อนวอนขนาดไหน ก็ไม่อาจทำให้ใจของหญิงชราอ่อนลงได้แม้แต่น้อย เมื่อไม่ได้ผล นักเลงเหล่านั้นจึงบังคับให้หญิงชราดื่มเหล้าที่ตนถือมา

 

                  เมื่อยายเมาแล้ว เหล่านักเลง ก็ถามกับแกอีกรอบว่า "ยายช่วยขายหมูให้ได้ไหม" ก่อนจะวางเงินไว้ในมือหญิงชรา


                  หญิงชรารับเงินเอาไว้ ก่อนเอ่ย "หลาน ยายไม่อาจจะให้สุกรชื่อมหาตุณฑิละได้ พวกแกจงพากันเอาจุลตุณฑิละไป" "แล้วหมูตัวที่ยายเอ่ย มันอยู่ที่ไหนละ?" "ที่กอไม้กอโน้น" หญิงชราตอบ "งั้นยายเรียกให้พวกผมหน่อย" "เจ้าพวกนั้นจะมาก็ต่อเมื่อมีอาหารในราง" ก่อนยายจะยื่นมือไปข้างหน้า "ค่าอาหารหมูพวกเธอต้องจ่ายมาด้วย" พวกนักเลงเองก็ยอมจ่ายแต่โดยดี  หญิงชรารับเอาค่าอาหารนั้น จัดซื้อข้าว เทให้เต็มรางที่วางไว้ใกล้ประตู แล้วได้ยืนอยู่ใกล้ๆ นักเลงที่ถือบ่วงในมือ 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876.png

 

                 จากนั้นหญิงชราได้เรียกลูกของตนว่า "ลูกจุลตุณฑิละมากินข้าวมา" มหาตุณฑิละได้ยินเสียงนั้นแล้วรู้ว่า จะต้องมีอะไรเกิดขึ้นแน่ ก่อนหน้านี้แม่ไม่เคยเรียกจุลตุณฑิก่อนตน

 

                 จากนั้นก็หันไปคุยกับน้องชาย "วันนี้คงจะเกิดเหตุไม่ดีกับพวกเราทั้งสองแน่" "อย่างนั้นน้องเดินออกไปแอบดูก่อนนะ ว่าข้างนอกเป็นยังไง" จากนั้นหมูผู้น้องก็เดินไปทางกอไผ่ แล้วแอบอยู่หลังต้นไม้ 


                 ภาพเบื้องหน้า มีเหล่านักเลงยืนถือบ่วงเชือกพร้อมกับแม่ ยืนอยู่ข้างๆ จุลตุณฑิละก็รู้ได้ทันทีว่า วันนี้เราตายแน่ จึงหันกลับ ตัวสั่นเทาไปหาพี่ชาย 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%877.png


                     มหาตุณฑิละเห็นเขาแล้วจึงถามว่า " ทำไมเจ้าสั่นแบบนี้ เห็นอะไรมา เล่าให้พี่ฟังได้ไหม" "วันนี้แม่ให้ข้าวสวย แล้วมีคนถือบ่วงยืนอยู่ข้างๆ เมื่อก่อนมักให้ข้าวต้มที่ปรุงด้วยรำข้าวหรือไม่ก็ข้าวตังแก่พวกเรา ตอนนี้รางอาหารเต็มไปด้วยข้าวสวยล้วนๆ"

                     หมูผู้พี่ได้ฟังดังนั้นแล้วก็พูดว่า "น้องจุลตุณฑิละเอ๋ย ธรรมดาแม่ของเรา เมื่อเลี้ยงสุกร ย่อมเลี้ยงเพื่อประโยชน์กันทั้งนั้น  น้องอย่าคิดมากเลย"  

                   จากนั้นมหาตุณฑิละ รำลึกถึงบารมีทั้งหลาย แล้วทำเมตตาบารมีให้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมยกบทแรกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง เสียงนั้นดังก้องไปทั่วพาราณสี ที่กว้างยาวทั้งสิ้น ๑๒ โยชน์ พระราชาเมืองพาราณสีและชาวเมือง ต่างพากันตามหาที่มาของเสียง  

 

                   ด้านนักเลงสุราก็พากันทิ้งบ่วง แล้วยืนฟังธรรม ด้านหญิงชราหายเมาเป็นปลิดทิ้ง มหาสัตว์ได้กล่าวปรารภเทศนาแก่จุลตุณฑิละท่ามกลางมหาชน

                     จุลตุณฑิละ หันไปถามพี่ชาย
  "ห้วงน้ำอะไรหนอที่ไม่มีโคลนตม? อะไรที่เรียกว่าเหงื่อไคล? อะไรที่เรียกว่าเครื่องลูบไล้?กลิ่นอะไรไม่ขาดหายมาแต่ไหนแต่ไร?"

                      พระมหาสัตว์ได้ยินคำตอบนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟังนะ "
ห้วงน้ำคือพระธรรมไม่มีโคลนตม บาปเรียกว่าเหงื่อไคลและศีลเรียกว่าเครื่องลูบไล้ แต่ไหนแต่ไรมา กลิ่นของศีลนั้นไม่ขาดหายไป
เหล่าชนผู้ไม่รู้ ผู้ฆ่าสัตว์กินเป็นปกติ จะเพลิดเพลินใจ ส่วนผู้รักษาชีวิตสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์เป็นปกติ จะไม่เพลิดเพลินใจ เมื่อวันเดือนเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวงแล้ว เหล่าชนผู้รื่นเริงใจอยู่เท่านั้น จึงจะสละชีพได้"

 


                       "บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลายเรียกบาปว่าเป็นเหงื่อไคล เพราะเป็นเช่นกับเหงื่อไคล ก็บาปนี้นั้นมีอย่างเดียวคือกิเลสเครื่องประทุษร้ายใจ"


                      "บาปมีมากอย่าง คือ อกุศลธรรมทั้งหลายที่ทรงจำแนก คือ ราคะ โทสะ โมหะ  ศีลไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๑๐  น้องเอ๋ย บัณฑิตทั้งหลายเรียกศีลนี้ว่าเป็นเสมือนเครื่องลูบไล้"


                       "กลิ่นของศีลนั้น ไม่ขาดหายแผ่ไปทั่วโลก หอมยิ่งเหล่าดอกไม้ทั้งหลาย" 

                        "คนผู้ไม่มีความรู้ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อฆ่าสัตว์จนเพลิดเพลิน  ประพฤติกรรมนี้ จะทำให้ไปเกิดในนรก และกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ถึงแม้จะเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมีอายุน้อย" 


                 "คนโง่ย่อมสำคัญบาปว่าเป็นเหมือนน้ำผึ้ง ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นคนโง่ก็จะเข้าถึงทุกข์"


                         "เธออย่าเศร้าโศก อย่าร้องไห้ ขึ้นชื่อว่าความตายไม่ใช่เฉพาะเราเท่านั้น แม้สัตว์ที่เหลือทั้งหลายก็มีความตาย"

 

                           มหาสัตว์แสดงด้วยเสียงอันไพเราะด้วยพุทธลีลาอย่างนี้แล้ว ชุมนุมชนมีการปรบมือและเสียงสาธุการดังก้องไปทั่วฟากฟ้า

 

                           พระเจ้าพาราณสีทรงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ ประทานยศแก่หญิงชรา ทรงรับเอาสุกรทั้ง ๒ ตัวไว้ ทรงให้อาบด้วยน้ำหอม ให้ห่มผ้า ประดับแก้วมณีที่คอ แล้วทรงนำเข้าไปสู่พระนคร สถาปนาไว้ในตำแหน่งราชบุตร ทรงประคับประคองด้วยบริวารมาก

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%878.png

                            พระโพธิสัตว์ได้ให้ศีล ๕ แก่ข้าราชบริพาร ชาวนครพาราณสีและชาวกาสิกรัฐพากันรักษาศีล ๕ ศีล ๑๐ ทุกคน ฝ่ายมหาสัตว์ได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นทุกวันปักษ์ นั่งในที่วินิจฉัยศาลพิจารณาคดี เมื่อมหาสัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่ ขึ้นชื่อว่าการโกง ไม่มีแล้ว


                            ในกาลต่อมาพระราชาสวรรคต ฝ่ายมหาสัตว์ให้ประชาชนถวายพระเพลิงพระสรีระพระองค์ แล้วให้จารึกคัมภีร์วินิจฉัยคดีไว้แล้วบอกว่า ท่านทั้งหลายต้องดูคัมภีร์นี้พิจารณาคดี แล้วแสดงธรรมแก่มหาชน

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%879.png

 

                           โอวาทด้วยความไม่ประมาทแล้วเข้าป่าไปพร้อมกับจุลตุณฑิละ ทั้งๆ ที่คนทั้งหมดพากันร้องไห้และคร่ำครวญอยู่นั่นเอง โอวาทของพระโพธิสัตว์ครั้งนั้น เป็นไปถึง ๖ หมื่นปี



พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจจธรรม ภิกษุผู้กลัวตายนั้นดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
พระราชาในครั้งนั้น ได้แก่ 
พระอานนท์ ในบัดนี้
จุลตุณฑิละได้แก่
ภิกษุผู้กลัวตาย
บริษัทได้แก่ พุทธบริษัท
ส่วนมหาตุณฑิละ คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล