ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถานฬินิกาชาดก ว่าด้วย ราชธิดาทำลายตบะของดาบส

อรรถกถา นฬินิกาชาดก

ว่าด้วย ราชธิดาทำลายตบะของดาบส

 

                  ณ วิหารวัดเชตวัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง พร้อมถามขึ้นว่า “เธอถูกใครทำให้ท้อแท้และเบื่อหน่ายหรือ?”พระภิกษุทูลตอบด้วยความเศร้าหมอง “ภรรยาเก่าของข้าพระองค์เอง ”

 

                   พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบด้วยความเมตตา “ดูเถิดภิกษุ หญิงคนนี้เคยทำลายเจ้าแล้วหลายครั้งในอดีต แม้ครั้งนี้ก็เช่นกัน เหมือนในชาติที่แล้ว ที่เธอเคยทำให้เจ้าเสื่อมจากฌาน ครานั้นข้าจะเล่าให้ฟัง”   

         

                 ในสมัยก่อน เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดมาในครอบครัวพราหมณ์ผู้ร่ำรวย ชื่อว่า อุทิจจะ เมื่อโตพอควรแล้วก็ได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ จนจบ พอสำเร็จแล้วก็เข้าบวชเป็นฤาษี ฝึกฝนจนเกิดฌานและอภิญญาขั้นสูง จึงไปพำนักอยู่ในป่าหิมพานต์ ด้วยเหตุนี้ เหมือนที่เคยกล่าวไว้ใน "อุททาลกชาดก" นางเนื้อที่อยู่ในป่าก็ได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกออกมา ซึ่งเขาได้ชื่อว่า "อิสิสิงโค"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%871.png

 

                 เมื่ออิสิสิงโคเติบโตขึ้น พ่อของเขาก็พาไปบวช ศึกษาการทำสมาธิและฝึกวิชากสิณ ไม่นานนักเขาก็ทำให้เกิดฌานและอภิญญาได้ เขาจึงดำเนินชีวิตอย่างสุขสงบในป่า มีตบะอันแข็งแกร่งและสามารถควบคุมประสาทสัมผัสได้ยอดเยี่ยม

 

                  ความตั้งมั่นในศีลของเขานี้ทำให้สวรรค์สั่นสะเทือน ถึงกับทำให้ท้าวสักกะ ต้องพิจารณาดูเหตุการณ์ เมื่อเห็นว่าอิสิสิงโคมีตบะที่ทรงอำนาจมาก ท้าวสักกะจึงคิดแผนขึ้นมาเพื่อทำลายศีล โดยสั่งไม่ให้ฝนตกในแคว้นกาสิกรัฐเป็นเวลาสามปี แคว้นนั้นจึงร้อนระอุเหมือนโดนไฟเผา มนุษย์ต้องเผชิญกับความอดอยากอย่างรุนแรง

 

                  ในเวลาเดียวกัน ที่กรุงพาราณสี ประชาชนทนทุกข์ยากจากภัยแล้งที่ยาวนาน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลมานาน ท้องนาทั้งหลายกลายเป็นผืนดินแห้งแล้ง ผู้คนและสัตว์ต่างล้มตายจากความหิวโหย จนชาวบ้านทนไม่ไหว พากันมุ่งหน้าไปยังพระราชวังเพื่อร้องทุกข์

 

            “ขอถวายบังคมพระองค์! พวกเราลำบากเหลือเกิน ฝนไม่ตก พืชพันธุ์แห้งตาย สัตว์เลี้ยงล้มตายด้วยความกระหาย พวกเราแทบไม่มีอะไรเหลือจะกินแล้ว พระองค์โปรดช่วยเราด้วย!”

 

                   พระเจ้าพรหมทัตได้ฟังแล้วก็ทอดถอนใจ “ข้าเองก็จนปัญญา ข้าพยายามทุกวิธี ทั้งบวงสรวง อธิษฐาน แต่ก็ไม่สำเร็จเลย” แต่พระราชาก็ปลอบประชาชนและให้คำมั่นว่าจะหาทางทำให้ฝนตกจงได้

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872.png

 

                  ในคืนนั้นเอง ท้าวสักกะเสด็จลงมาปรากฏพระองค์ในห้องบรรทมของพระราชา แสงสว่างส่องประกายทั่วห้อง พระราชาตื่นจากบรรทมเห็นแสงสว่างจึงถามว่า "ท่านเป็นใคร?" ข้าคือท้าวสักกะ ฝนในแคว้นของพระองค์ตกบ้างหรือไม่?” พระราชาทูลตอบว่า “ไม่เลย ฝนไม่ตกมานานถึงสามปีแล้ว” “เหตุที่ฝนไม่ตกนั้นเป็นเพราะฤๅษีอิสิสิงบำเพ็ญตบะอย่างแรงกล้า ณ ป่าหิมพานต์ ถ้าพระองค์ต้องการให้ฝนตก ก็ต้องทำลายตบะของเขา” พระราชาตกใจ “แล้วข้าควรจะทำอย่างไร?” ท้าวสักกะยิ้มอย่างเจ้าเล่ห์ “พระราชธิดาของท่านไง นางเป็นกุญแจสำคัญ”

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png

 

              เช้าวันรุ่งขึ้น พระราชาจึงเรียกพระราชธิดามาพบ และขอให้นางใช้ความงามของตนล่อลวงฤๅษีอิสิสิงให้ตบะแตก แม้พระธิดาจะลังเลและรู้สึกไม่สบายใจ แต่สุดท้ายก็ยอมตกลง พระราชาจัดขบวนใหญ่ส่งพระราชธิดาไปยังป่าหิมพานต์ พร้อมด้วยเครื่องประดับเลิศหรูและบริวารมากมาย 

 

                   ในตอนนั้นเอง อิสิสิงคะดาบสไม่อยู่ที่อาศรม เพราะเขาเข้าไปหาอาหารในป่า เหล่าพรานจึงแสดงอาศรมให้เจ้าหญิงดู พลางกล่าวว่า “นั่นไงอาศรมของดาบสอิสิสิงคะ ท่ามกลางป่าที่ล้อมรอบด้วยต้นไม้สูงใหญ่"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875.png

 

                   อำมาตย์จัดการให้เจ้าหญิงนุ่งห่มผ้าใยไม้อย่างบาง สวมเครื่องประดับวิจิตร ก่อนที่จะให้เธอถือของเล่นลูกข่าง และเดินเข้าไปในอาศรม ขณะที่พวกเขายืนรออยู่ด้านนอก

 

                  เมื่อเจ้าหญิงนฬินิกาเล่นลูกข่างเข้าใกล้ประตูอาศรม อิสิสิงคะดาบสก็ปรากฏตัว เขาเห็นเจ้าหญิงที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ตกใจ ลุกขึ้นและถอยเข้าไปในบรรณศาลา เจ้าหญิงยังคงเล่นลูกข่างอยู่หน้าประตู ไม่หวั่นไหว

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876-1re.png

 

                  ดาบสกล่าวถามอย่างสงสัย “ท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นอย่างไรถึงกับขว้างไปแล้วก็กลับมาหาท่านเช่นนี้?” เจ้าหญิงนฬินิกาตอบพร้อมแสร้งเล่าเรื่องอันแสนพิศวงว่า “ที่ภูเขาคันธมาทน์ อาศรมของข้ามีต้นไม้ที่ออกผลเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าขว้างไปแล้ว มันก็กลับมาหาข้าเสมอ ไม่เคยห่างไกลจากข้าเลย”

 

                 ดาบสเชื่อคำของนาง และเชิญนางเข้ามาในอาศรม พร้อมเสนอน้ำมัน อาหาร และที่นั่ง ก่อนที่เรื่องราวจะดำเนินไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมของเจ้าหญิง ที่ค่อยๆ หลอกล่อให้ดาบสหลงในเสน่ห์ของนาง จุดจบแห่งการหลงไหล เมื่อฤๅษีอิสิสิงถูกล่อลวงจนตบะแตก ฝนก็เริ่มโปรยปรายลงมาอย่างหนัก ชาวกรุงพาราณสีกลับมามีความสุขอีกครั้ง แต่ฤๅษีหนุ่มกลับสูญเสียความบริสุทธิ์ในจิตใจ 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%877.png

                   อิสิสิงคดาบสนั้นจิตใจร้อนรุ่ม กระวนกระวาย  จึงเข้าไปยังบรรณศาลา เอาผ้าคลุมร่าง นอนเศร้าโศก ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์ เดินเข้าไปหาบุตรชายของตน พร้อมกับนั่งข้างๆ ใช้มือลูบไปที่ตัวลูกชาย "เป็นอะไร ลูก ทำไมมานอนอย่างนี้ ทุกข์ใจเรื่องอะไรหรือ"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%879.png


                 ดาบสนั้นฟังคำของบิดาแล้ว เมื่อจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้ทราบ  "มีชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ รูปร่างน่าดู น่าชม เอวเล็กบางพอดี ไม่สูงเกินไป และไม่เตี้ยจนเกินไป รัศมีของเขาสวยงาม ผมดำเป็นเงางาม ไม่มีหนวด เขาบวชมาไม่นานและมีเครื่องประดับเรียบง่ายที่คอ มีปุ่มสองปุ่มที่งดงามดังก้อนทองคำเกิดขึ้นบนหน้าอก ใบหน้าของชฎิลนั้นงดงาม มีเครื่องประดับที่หูทั้งสองข้าง แวววาวยามต้องแสง"

 

                  "เมื่อชฎิลเดินไปมา สายพันชฎาที่เขาสวมใส่งดงามยิ่งนัก เครื่องประดับอื่น ๆ ที่มีสีเขียว เหลือง แดง และขาว ส่งเสียงดังกริ่งกร่างขณะเคลื่อนไหว ทำให้นึกถึงเสียงนกร้องในฤดูฝน ชฎิลไม่ได้สวมเครื่องรัดเอวที่ทำจากหญ้าเหมือนคนทั่วไป แต่สวมผ้าเรียบง่าย พัดพลิ้วในสายลมอย่างงดงาม"

 

                 "ผิวพรรณของชฎิลน่าดูยิ่งนัก เขามีกลิ่นหอมที่ลอยมาพร้อมกับสายลม ราวกับกลิ่นดอกไม้ที่บานในฤดูร้อน ชฎิลมีผลไม้ที่ยังไม่สุกติดอยู่ที่สะเอว ไม่มีขั้ว และไม่กระทบกันเมื่อเคลื่อนไหว อวัยวะต่าง ๆ ของเขาเรียบร้อยและสะอาด ไม่มีการระคายเคือง ฟันของชฎิลนั้นขาวสะอาด เรียบเสมอดั่งสังข์ที่ถูกขัดอย่างดี เมื่อเขาเปิดปากพูด เสียงของเขาไพเราะ อ่อนหวาน และตรงไปตรงมา ราวกับเสียงนกการเวกที่ขับขาน เสียงนั้นทำให้หัวใจของผู้ฟังรู้สึกเบิกบานและสงบสุข"

 

                 " คำพูดของชฎิลไม่หยาบคาย ไม่มีความคลอนแคลน เสียงที่เขากล่าวเป็นเสียงที่ฟังแล้วจับใจ ไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่ประกอบด้วยเสียงพึมพำ ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้พบชฎิลอีก เพราะเขาเป็นมิตรที่ดีในอดีต และเป็นเพื่อนที่คุ้นเคย แม้แขนทั้งสองของชฎิลจะอ่อนนุ่มและมีขนละเอียดเหมือนขนดอกอัญชัน มือของเขาก็เรียวสวย และนิ้วมือของเขาก็อ่อนโยน ชฎิลนั้นมีความสง่างามในทุกอวัยวะ ไม่หยาบกร้าน เล็บยาวเรียวและสะอาด เปล่งปลั่งดังแก้วใส"

 

           "ท่านพ่อ ชฎิลเป็นผู้ที่มีความงดงามทั้งกายและใจ เมื่อเขาสัมผัสด้วยความอ่อนโยน ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่นอย่างลึกล้ำ ชฎิลนั้นไม่ทำงานหนัก ไม่มีร่องรอยความเหน็ดเหนื่อยในกาย เพราะเขามักมุ่งมั่นในการประพฤติธรรม"

 

                 " ชฎิลขอให้ข้าพเจ้าช่วยทำให้เขารู้สึกผ่อนคลาย ข้าพเจ้าจึงช่วยเขาด้วยความจริงใจ และเราต่างก็รู้สึกสบายใจ ข้าพเจ้าจำได้ว่าเราร่วมกันพักผ่อนใต้ร่มไม้และอาศัยความสงบจากธรรมชาติ เราทั้งสองเคยเหน็ดเหนื่อยจากการทำสมาธิและรื่นรมย์กันในน้ำ ก่อนที่จะกลับเข้าสู่กระท่อมที่ปกคลุมด้วยใบไม้"

 

                "วันนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถปฏิบัติมนต์หรือบูชาไฟได้อย่างตั้งใจเหมือนเคย เพราะจิตใจของข้าพเจ้ามุ่งหวังที่จะได้พบชฎิลอีกครั้ง ข้าแต่ท่านพ่อ หากข้าพเจ้าไม่ได้พบเขา ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น"

 

                  "ท่านพ่อ ท่านย่อมรู้แน่ว่า ชฎิลผู้นั้นอยู่ทิศใด ขอท่านช่วยนำข้าพเจ้าไปให้ถึงที่นั้นเถิด ข้าพเจ้าอยากจะเห็นเขาอีกครั้ง และข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะตายในอาศรมแห่งนี้"

 

                 "ข้าแต่ท่านพ่อ! วันนี้มนต์ใด ๆ ก็มิได้ให้ความแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ารู้สึกไม่ชอบใจในการบูชาไฟใด ๆ แม้แต่ยัญศักดิ์สิทธิ์ ข้าพเจ้าก็ไม่ปรารถนา ตราบเท่าที่ข้าพเจ้ายังมิได้พบกับชฎิลผู้ทรงพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจะไม่แตะต้องผลไม้หรือมูลผลาหารของท่านพ่อเลย"

 

                 เมื่อดาบสนั้นกำลังพร่ำเพ้ออยู่นั่นเอง พระมหาโพธิสัตว์ได้ฟังคำพร่ำเพ้อนั้นแล้ว ก็ทราบว่า ศีลของดาบสนี้ คงถูกผู้หญิงทำลายให้ขาดเสียแล้วเป็นแน่ "ลูกรักพวกยักษ์เหล่านี้ เที่ยวไปในมนุษยโลก ปกปิดรูปแปลกๆ ก็เพื่อกินพวกคนที่ตกไปสู่อำนาจของตน นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบหาพวกภูตคือยักษ์เหล่านั้น"


space1.gif       ดาบสได้ฟังถ้อยคำของบิดาแล้ว เกิดความกลัวขึ้นว่า  หญิงคนนั้นคือนางยักษิณี จึงกลับใจแล้ว ขอขมาคุณพ่อแล้วก็ทำอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้อีก

                  พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ อุกกัณฐิตภิกษุ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
space1.gifพระราชธิดานฬินิกา ในกาลนั้น ได้เป็น
ปุราณทุติยิกา.
space1.gifอิสิสิงคดาบส ได้เป็น อุกกัณฐิตภิกษุ
space1.gifส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา ก็คือ เรา นั่นเอง.

               

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล