วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ขอให้ทาน จนกว่าจะถึงวันอวสานของชีวิต

บทความบุญ
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต  ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี  ป.ธ.๙

         โอกาสที่ดีที่สุด ของการสั่งสมบุญ คือตอนที่ยังมีชีวิต และแข็งแรงดีอยู่ หากหมดลมหายใจก็หมด โอกาส ผู้มีปัญญาจึงควร ฉวยโอกาสทองของชีวิตนี้ เพื่อสั่งสมบุญให้เต็มที่ ดุจนักสร้างบารมีในอดีตที่มีความเชื่อมั่นในบุญ แม้พบเจอกับอุปสรรคต่างๆ มา รุมเร้า เช่น สมบัติหายสาบสูญไปหรือใครจะมาห้าม ทำบุญ ท่านก็ไม่เคยละทิ้งการสร้างความดี ชีวิตจึงผ่านพ้นวิกฤตไปได้ด้วยอานุภาพบุญ และกลายเป็น มหาเศรษฐีรวยโคตรโคตรคูณสองรอบสอง ...เรื่องมี อยู่ว่า
            ในครั้งอดีต พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นเศรษฐี นามว่า วิสัยหะ ท่านมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ และมีศีลห้าเป็นปกติ นอกจากมีทรัพย์มหาศาลแล้ว ยังรักการให้ทานเป็นชีวิตจิตใจ โดยสร้างโรงทานไว้ถึง ๖ แห่ง คือ โรงทานประจำประตูเมืองทั้ง ๔ แห่ง โรงทานกลางพระนคร ๑ แห่ง และโรงทานที่บ้านของตนอีก ๑ แห่ง คิดเป็นทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ กหาปณะทุกๆ วัน
         นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ไม่ดูเบาในความประณีต ของทาน คือ จะให้ทานที่ประณีตแก่ทุกๆ คนเหมือน กับที่ตัวท่านเองบริโภค ไม่เคยให้ทานที่ไม่ประณีตเลย ทำให้ชาวเมืองมีความเป็นอยู่สบาย ชื่อเสียงของท่าน เลื่องลือไปถึงสวรรค์ ถึงขนาดทำให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะแข็งกระด้าง เมื่อท้าวสักกะ ตรวจดูสาเหตุก็ได้ทรงพบการบำเพ็ญ มหาทานบารมี อย่างอุกฤษฏ์ของวิสัยหะเศรษฐี แทนที่พระองค์จะทรงมีพระทัยอนุโมทนา กลับเห็นไปเป็นอีกอย่างว่า "การที่วิสัยหะเศรษฐีมาทำเช่นนี้ คงอยากจะแย่งตำแหน่งท้าวสักกะของเราแน่ อย่ากระนั้นเลย เราจะทดลองทำให ้เขาเป็นคนขัดสน จะได้ไม่ต้อง ทำทานอีก" จากนั้นจึงใช้เทวฤทธิ์บันดาลให้ทรัพย์สิน ทุกอย่างสูญหายไปหมดสิ้น
              เจ้าหน้าที่โรงทานเห็นเหตุการณ์ที่ไม่เคย คาดฝันมาก่อน จึงตกใจมาก รีบวิ่งกระหืดกระหอบ มาบอกท่านเศรษฐีว่า "ของทุกอย่างในโรงทานได้หาย ไปเองอย่างไม่น่าเชื่อ จะทำอย่างไรดี ท่านเศรษฐี" เศรษฐีเมื่อรับฟังแล้วก็มิได้หวั่นไหว กลับสั่งให้ภรรยา เอาสิ่งของในบ้านออกมาเพื่อให้ทานต่อ ฝ่ายภรรยา เศรษฐีรีบไปค้นหาทันที กลับพบแต่ความว่างเปล่า จึง รายงานสามีว่า "สิ่งของที่จะนำออกบริจาคทาน ไม่มี อะไรเหลืออยู่เลย ฉันไม่พบเห็นอะไรสักอย่าง ไม่รู้ว่า สมบัติของเราหายไปได้อย่างไร" ท่านเศรษฐีสั่งให้ไป เอาสมบัติในเรือนคลังอีก แต่ก็ไม่พบอะไรเลย
              เศรษฐีบอกกับภรรยาว่า "นางผู้เจริญ แม้เหตุการณ์จะ คับขันอย่างนี้หรือยิ่งกว่านี้ เราก็จะ ไม่หยุด หรือย่อหย่อน ในการให้ทาน เพราะทานเป็น สิ่งสำคัญและเป็นชีวิตจิตใจของเรา เธอลองไปตรวจ ดูให้ละเอียดอีกทีหนึ่งซิ เผื่อว่าจะพบอะไรบ้างแม้สักเล็กน้อยก็ยังดี" บังเอิญวันนั้นเอง คนหาบหญ้าของท่านเศรษฐีได้ทิ้งเคียวและไม้คานพร้อมกับเชือก มัดหญ้า ภรรยาเศรษฐีไปเห็นเข้าจึงหยิบมาให้เศรษฐี
                ธรรมดาใจของพระโพธิสัตว์นั้นยิ่งใหญ่เกินกว่า คนธรรมดามาก ความคิด คำพูด และการกระทำจึงเกินกว่าคนธรรมดา ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแทนที่ท่านจะ หยุดการให้ทาน ท่านกลับคิดว่า "ในชีวิตนี้ไม่เคยคิด เลยว่าจะต้องมาเกี่ยวหญ้าขาย แต่ว่าวันนี้ เราจะหา ทรัพย์ด้วยวิธีนี้เพื่อให้ทาน จะได้เป็นบุญติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ" เมื่อคิดได้อย่างนี้ ก็เดินออกไปนอกเมือง แล้วนำหญ้าที่เกี่ยวได้สองฟ่อนไปขายได้ราคา ๒ มาสก หนึ่งมาสกเอาไว้ให้ทาน อีกหนึ่งมาสกเก็บไว้ซื้ออาหารให้กับตนและภรรยา
               เมื่อได้นำทรัพย์ไปให้ทานแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ที่มา ขอทานเป็นจำนวนมาก เมื่อถูกรบเร้าบ่อยๆ ท่านเกิด สงสารพวกขอทาน จึงให้ทรัพย์ไปหมด โดยไม่รู้สึกเสียดายเลย วันนั้นสองสามีภรรยาเลยต้องอดอาหาร และเป็นอย่างนี้ถึง ๖ วัน จึงมีร่างกายซูบผอม ในวันที่ ๗ เนื่องจากร่างกายขาดอาหารมานานวัน จู่ๆ ก็รู้สึกวิงเวียน ตาพร่ามัวเพราะถูกแดดแผดเผา จึงเป็นลมล้มลงสลบไป
             ท้าวสักกะผู้เห็นผิดเป็นชอบมาปรากฏร่างให้เห็น และได้ตักเตือนว่า "ดูก่อนท่านวิสัยหะ เป็นเพราะการให้ทาน ของท่านนั่นเองจึงทำให้ทรัพย์หมด เกลี้ยง ต่อแต่นี้ไป ท่านจงหยุดให้ทานเถิด โภคทรัพย์ จะได้คงอยู่ตามเดิม แต่ท่านต้องสัญญากับเราก่อนว่าจะงดการให้ทาน แล้วเราจะให้สมบัติใหญ่แก่ท่าน" ท่านเศรษฐีเมื่อได้ฟังดังนั้นจึงเอ่ยปากถามว่า "ท่านเป็นใครกันถึงได้กล่าวเยี่ยงนี้" ท้าวสักกะจึงเปิดเผยตัวเองว่า ตนคือท้าวสักกเทวราช จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
         วิสัยหะเศรษฐีจึงพูดขึ้นว่า "ท่านเป็นเทพประเภทไหนกัน ธรรมดาท้าวสักกะเป็นผู้รักในการ ให้ทานมิใช่หรือ แต่ตัวท่านเองกลับทำในสิ่งที่ ตรงกันข้าม ห้ามการบำเพ็ญบุญของผู้อื่นเช่นนี้ มันจะเป็นบาปกรรมแก่ท่านเสียเปล่าๆ จะยากจน ข้นแค้นแค่ไหน ข้าพเจ้าก็จะให้ทานจนถึงที่สุด ทว่าแม้หากรวยล้นฟ้าแต่ไม่ทำบุญ สู้ไม่มีเสียเลยยังจะดีกว่า อันที่จริงทรัพย์ในโลกนี้ล้วนเป็นของชั่วคราว แต่บุญต่างหากที่ติดตามตัวไปทุกหนทุกแห่ง ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีลมหายใจ ก็จะให้ทานไปตราบเท่า ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะต้องยากจนอยู่อย่างนี้ ก็ยังจะต้องให้ เพราะข้าพเจ้าจะขาดการให้ทานไม่ได้ แม้ท่านจะบอกให้เลิกทำทาน ข้าพเจ้าก็จะไม่เลิกเด็ดขาด"
            ท้าวเธอได้ฟังถ้อยคำ ที่เด็ดเดี่ยวเช่นนั้น ก็ถึงกับนิ่งอึ้ง เมื่อไม่สามารถห้ามได้ จึงเอ่ยถามขึ้นว่า "ท่านทำทานไปทำไมกัน" เศรษฐีตอบว่า "ที่ข้าพเจ้า ให้ทานนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้ปรารถนาที่จะเป็นพรหมหรือ เป็นจอมเทพผู้ยิ่งใหญ่แต่อย่างใด แต่ข้าพเจ้าต้องการ ที่จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างหาก"
           เมื่อท้าวสักกะฟังแล้ว ค่อยรู้สึกสบายพระทัยขึ้นมาหน่อย เพราะนึกว่าจะมาแย่งความเป็นใหญ่ในเทวโลก ที่ไหนได้ ท่านเศรษฐีเป็นผู้มีปณิธานยิ่งใหญ่กว่าตนมากมาย ก่ายกองนัก จึงเอาพระหัตถ์ลูบหลังของเศรษฐี ทันใดนั้นเอง ร่างกายของเศรษฐีจากที่ซูบผอม ก็กลับมีน้ำมีนวลดังเดิม และตรัสทิ้งท้ายว่า "ต่อนี้ไปท่านจะสามารถบริจาคทรัพย์ได้เพิ่ม เป็น ๒ เท่าจากเดิมเลยทีเดียว" แล้วประทาน ทรัพย์เป็นอันมากประมาณมิได้ ทำให้เศรษฐีกลับมามีชีวิตสุขสบายกว่าเดิม รวยโคตรโคตรคูณสองรอบสอง ซ้ำยังได้สั่งสมทานบารมีได้มากกว่าเดิมเสียอีก ละโลกไปแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ที่พรั่งพร้อมไปด้วยทิพยสมบัติทุกอย่าง
          ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลาย... น้ำใจของ พระโพธิสัตว์นั้นกว้างใหญ่ดุจมหาสมุทร ดังนั้น เมื่อ คิดจะสร้างบารมีตามติด หลวงปู่เพื่อไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ใจจะคับแคบเหมือนห้วย หนอง คลอง บึง คงไม่ได้ อีกต่อไปแล้ว ต้องขยายใจให้กว้าง เหมือนมหาสมุทร และท้องฟ้าที่หาเส้นรอบวงไม่ได้ เมื่อเกิดวิกฤตก็ให้ นึกถึงหลักวิชา คือจะต้องอาศัยบุญใหม่ ไปเชื่อมให้ถึงบุญเก่า เพื่อไม่ให้บุญขาดสายในการส่งผล โดยต้องเริ่มต้นที่การรักษาใจให้ผ่องใส เพื่อรับมือกับภาวะ ที่ไม่น่าปรารถนา แล้วมุ่งหน้าทำความดีต่อไป ดุจต้นไม้ที่กำลังเจริญเติบโต จะต้องกล้าที่จะเจอลมฝนกระหน่ำ หรือไฟป่าที่ลุกโชน เมื่อเราไม่ทิ้งบุญ ...บุญก็จะไม่ทิ้งเรา เมื่อใจเราไม่หวั่นไหว ...บุญก็จะไม่หวั่นไหวในการส่งผล แล้ววันนั้นก็จะเป็นวันของเราที่ เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม บุญเก่าเดิมเสริมด้วยบุญใหม่ จะกลายเป็น มหาเศรษฐีรวยโคตรโคตรคูณสอง ที่ไม่มีวันอด ไม่มีวันหมด มีแต่หมดสิทธิ์จน จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งธรรม.



 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ 73 พฤศจิกายน ปี 2551

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล