วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ธุดงค์ธรรมชัย ก้าวเดินด้วยศรัทธา

ทบทวนบุญ
เรื่อง : อุบลเขียว

 




 

ธุดงค์ธรรมชัย ก้าวเดินด้วยศรัทธา

          ทหารที่จะฝึกทำการรบ นอกจากจะต้องศึกษา ภาคทฤษฎีต่าง ๆ แล้ว จำเป็นต้องมีการฝึกภาคสนาม เป็นการลงมือฝึกปฏิบัติจริง เพื่อฝึกทักษะและความเชี่ยวชาญในการนำความรู้ไปใช้ จึงจะเป็น ทหารฝีมือดี สามารถรบกับข้าศึกศัตรูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉันใด
          ทหารแห่งกองทัพธรรม ดังเช่นเหล่าพุทธบุตร ทุกรูปก็ฉันนั้น เพื่อให้สามารถรบกับข้าศึก คือ กิเลสได้ นอกจากจะต้องเรียนรู้ด้านปริยัติแล้ว ยังจำเป็น ต้องฝึกธรรมะภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้น เพื่อปลูกฝังเป้าหมาย อุดมการณ์ชาวพุทธ พัฒนาคุณธรรมในตนให้หนักแน่นมั่นคง และเพื่อเป็นต้นบุญต้นแบบให้กับชาวโลก

 

 

          โครงการอุปสมบทหมูภาคฤดูร้อน ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมูบานทั่วไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ที่เพิ่ง ผ่านพ้นไป ยังคงสร้างภาพมหากุศลอันสว่างไสว และความปีติภาคภูมิใจไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินธุดงค์ธรรมชัยในช่วงสุดท้ายของการอบรม ซึ่งถือเป็นสัมฤทธิผลของโครงการ นับเป็นช่วงเวลาพิเศษสุดที่เหล่าสาธุชนทั้งหลายต่างตั้งตารอคอยภาพทิวแถวเหลืองอร่ามไกลลิบ ๆ ทอดยาวสุดสายตาของเหล่าพระธรรมทายาทภาคฤดูร้อนที่ออกเดินธุดงค์ธรรมชัย รวมระยะทางทั้งสิ้นหลาย สิบกิโลเมตร ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผา แต่พระธรรมทายาททุกรูปก็อดทนอดกลั้นด้วยจิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา ปรารถนาจะโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย พยายามรักษากาย วาจา ใจ ให้สงบสำรวม เป็นสมาธิ สายตาทอดลงต่ำ แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใด แต่ใบหน้าและผิวพรรณยังผ่องใส แฝงไว้ด้วยความเข้มแข็งร่าเริงอยู่ในที

 




 

          เราจะมาร่วมย้อนรำลึกภาพความประทับใจของการเดินธุดงค์ธรรมชัยในปีนี้อีกครั้ง กิจกรรมนี้สร้างกระแสตื่นตัวในการทำความดีไปทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศ และสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวัยคุณปู่คุณย่า ไปจน ถึงเด็กนักเรียนตัวเล็ก ๆ ต่างช่วยเก็บใบไม้ ทำความสะอาดเสนาสนะต่าง ๆ ในวัด คนละไมคนละมืออยางแข็งขันเป็นที่สนุกสนานเบิกบานในบุญกันถ้วนหน้า

 


 

          ยกตัวอย่างบรรยากาศการเดินธุดงค์ในแถบภาคอีสาน เรียกว่าเป็นธุดงค์ ๓ ฤดู ชุ่มฉ่ำไปด้วยบุญ เพราะช่วงแรกต้องเดินฝ่าเปลวแดดที่แผดจ้า แต่พอเดินมาได้ครึ่งทางเทานั้น สายฝนกระหน่ำเทลงมาอย่างไม่ยั้ง แต่สายฝนไม่ใช่อุปสรรค และไม สามารถขวางกั้นแรงศรัทธา เหล่าพระธรรมทายาทยังคงก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่ย่อท้อ จากจีวรเปียก จนจีวรแห้ง รู้สึกสุขใจในทุกย่างก้าว ครั้นพอเลยช่วงบ่ายย่างพลบค่ำ อากาศกลับเย็นลงมากราวกับฤดูหนาว แต่พระธรรมทายาททุกรูปต่างเดินธุดงค์ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและพร้อมเพรียงตลอดระยะทาง

 


 

          ทันทีที่คณะพระธุดงค์เดินเข้าสู่เขตหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ภาพที่สร้างความประทับใจให้กับเหล่าพระธรรมทายาททุกรูปเป็นอย่างมาก คือชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนตางพากันเอาเสื่อ ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดหน้า บางคนก็เอาเสื้อตัวเก่ง ออกมาปูลาดไปบนพื้นถนน เพื่อให้พระธุดงค์เดินผ่าน โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ปู่ย่า ตายาย ที่นั่งรอด้วยความอดทน พอพระธุดงค์เหยียบไปบนเสื่อ โยมลุง โยมน้า ก็เอา น้ำรดลงมาบนหลังเท้า ล้างเท้าและเช็ดเท้าให้พระ โยมป้า โยมยาย และเด็กผู้หญิงก็เอาดอกคูนซึ่งเป็น ดอกไม้พื้นบ้านมาโปรยตลอดบนทางเดิน พระธรรม- ทายาทรูปหนึ่งเล่าว่า

 



 

          ..ยังจำความรู้สึกตอนที่น้ำขันแรกรดลงบนหลังเท้าได้ รู้สึกขนลุกชูชันไปทั้งตัว ไม่คิดเลยว่า ญาติโยมจะให้ความสำคัญกับพระสงฆ์ถึงขนาดนี้ ตอนนั้นความเหนื่อยความร้อนหายไปจนหมด มีแต่ ความปลื้มใจ เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก แล้วญาติโยมไม่ได้มารอรับแค่ต้นทางเท่านั้น แต่พากันออกมาต้อนรับอย่างนี้เป็นแถวยาวเป็นระยะ ๆ ไปจนถึงทางเข้าวัด เลยไปจนถึงบันไดศาลาวัดกันเลย เสร็จแล้วชาวบ้านก็พร้อมใจกันขึ้นไปบนศาลา เพื่อรอสวดมนต์ทำวัตรเย็น แต่บังเอิญว่าคืนนั้นไฟดับ ถึงอย่างนั้นชาวบ้านก็ไม่ยอมกลับบ้าน พร้อมใจกันสวดมนต์นั่งสมาธิท่ามกลางแสงเทียน เป็นภาพที่ปลื้มมาก ๆ ชาวบ้านก็ปลื้ม พระธุดงค์ก็ปลื้ม ในใจ อาตมาก็คิดว่าจะต้องปฏิบัติตัวให้ดียิ่งขึ้น จะทำศีล ให้บริสุทธิ์ ให้สมกับศรัทธาของญาติโยม ซึ่งไม่ได้กราบไหว้ที่ตัวเรา แต่ไหว้ที่ความมีศีลและความดีของเรา

 



 

          วันที่สองของการปักกลดธุดงค์ เริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยการออกเดินบิณฑบาต ญาติโยมในหมู่บ้าน พากันตื่นแต่เช้ามืดเพื่อเตรียมหุงหาอาหาร ควันไฟหุงต้มลอยผ่านหลังคาจากไป ได้กลิ่นข้าวปากหม้อ ใหม่ ๆ อุ่น ๆ หอมจรุงมาแต่ไกล อากาศเย็นสบาย คุณตา คุณยาย จูงมือหลานตัวเล็ก ๆ ออกมานั่งรอใส่บาตรพระอยู่หน้าบ้าน ท่านกำนันบอกกับเราว่า วันนี้เป็นวันที่มีชาวบ้านมารอตักบาตรมากที่สุดตั้งแต่ เคยเห็นมา เรียกว่าเกือบทุกหลังคาเรือนก็ว่าได้ เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อนว่าจะมีพระธุดงค์มารับบาตรนับร้อยรูป

          พอเห็นพระธุดงค์เดินแถวมานับร้อยรูปตั้งแต่โค้งถนน ชาวบ้านต่างชี้ชวนกันดูด้วยความดีใจ บ้างตะโกนเรียกเพื่อนบ้านให้ออกมาดู ชวนให้มาใส่บาตร ด้วยกัน รอยยิ้มและแววตาเปี่ยมปีติของชาวบ้านนั้นยากจะลืมเลือน ท่านผู้เฒ่าหลายคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ คุณยายคนหนึ่งบอกว่าตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๘๐ แล้ว ยังไม่เคยเห็นพระธุดงค์มากขนาด นี้มาก่อนในชีวิต ต่อให้ตายก็นอนตายตาหลับ

          เช้านี้กำนันเชิญชวนว่า บ้านไหนมีรถกระบะให้มาช่วยกันขนอาหารบิณฑบาต ปรากฏว่าพระธรรมทายาทได้ภัตตาหารมากถึง ๓ คันรถ เพราะศรัทธาญาติโยมหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย พอใส่บาตร เสร็จชาวบ้านก็ตามไปอุปัฏฐากพระถึงที่วัด มาช่วย กันคัดแยกภัตตาหาร และช่วยกันประเคนภัตตาหาร ด้วยความอิ่มบุญ นับว่าการเดินธุดงค์ในครั้งนี้ ทำให้ญาติโยมรักพระพุทธศาสนามากขึ้น ทำให้ศรัทธาที่เริ่มจะซบเซา วัดวาอารามที่เริ่มจะร้าง กลับฟื้นคืน ความสว่างไสว มีกำลังใจสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรืองยาวนาน

 



 

 

          ช่วงบ่าย พระธรรมทายาทได้ชักชวนญาติโยม ทุกคนทั้งเด็กและผูใหญให้มาร่วมกันพัฒนาวัด ทำความสะอาดเสนาสนะต่าง ๆ พอมาเห็นสภาพวัดที่ขาดการพัฒนามายาวนาน พระธุดงค์ทุกรูปคิดเหมือนกันว่า รู้สึกหวงแหนวัด เป็นห่วงวัด เข้าใจว่าทำไมพระเดชพระคุณหลวงพ่อถึงอยากให้มาพัฒนาวัด พระธุดงค์ทุกรูปจึงช่วยกันพัฒนาอย่างแข็งขัน ตั้งแต่ทำความสะอาดศาลา จัดเก็บข้าวของ ให้เป็นระเบียบ ตัดหญ้า เก็บใบไม้ ทาสีห้องน้ำใหม่ ลุยกันเต็มที่ไม่ได้พักเลย

          ญาติโยมต่างพาลูกหลานมาช่วยกัน คุณครู ก็พาเด็กนักเรียนมาร่วมบุญด้วย ตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า ชาวพุทธเรา ถ้าได้เห็นพระเยอะ ๆ ก็ดีใจ เพราะจริง ๆ แล้ว พระสงฆ์เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน ศีลธรรมก็อยู่ที่พระ ความสามัคคีก็อยู่ที่พระ ยิ่งเห็นท่านมาพัฒนาวัดด้วยแล้ว ใคร ๆ ก็อยากมา ช่วยค่ะ ขอแค่ให้มีพระมาอยู่ มาทำให้วัดเจริญ ไม่เป็นวัดร้าง ไม่ว่าพระจะให้ทำอะไร ชาวบ้านทุกคน ก็พร้อมจะทำตาม นี่ก็พากันมาพัฒนาวัดทั้งบ้านเลย สนุกกันมาก ทำไปก็อิ่มใจ อิ่มบุญ มองไปทางไหนก็สบายใจ สุขใจมาก ๆ ค่ะ           

          วันสุดท้ายของการอยู่ธุดงค์ พระธรรมทายาท ทุกรูปต้องเดินทางกลับศูนย์อบรม ชาวบ้านพร้อมใจ กันมาส่งพระธรรมทายาทกันทั้งหมู่บ้านเลย หลายครอบครัวขอพักงานที่ไร่นาไว้ชั่วคราว เพื่อจะมาส่ง พระธุดงค์ ญาติโยมต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่อยากให้พระกลับไปเลย บางท่านถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ ไม่ไหว ขอนิมนต์พระธรรมทายาทให้อยู่จำพรรษาที่วัด ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่ามีพระธรรมทายาทสมัครใจ บวชต่อเพื่อพัฒนาวัดที่หมู่บ้านแห่งนี้ถึง ๓ รูป เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน โยมผู้ชายและเด็กนักเรียน ชายพร้อมใจกันถือย่าม แบกกลดให้พระธรรมทายาท แล้วเดินตามหลังขบวนพระธุดงค์ไปจนสุดถนน และ ยืนส่งท่านจนสุดสายตา นับเป็นความประทับใจที่ไม่มีวันลืม

          ภาพการเดินธุดงค์ธรรมชัยของเหล่าพุทธบุตร ทุกรูป กำลังเป็นที่กล่าวขานด้วยความชื่นชมปรีดาอนุโมทนาไปทั่วโลก แต่ละย่างก้าวของพระธุดงค์ที่เดินไปข้างหน้า ประหนึ่งรอยจารึกอันเป็นมงคลที่ปรากฏบนผืนแผ่นดินไทย เป็นก้าวเดินแห่งกองทัพธรรมที่เปี่ยมด้วยพลัง เป็นต้นบุญต้นแบบที่สง่างาม แก่อนุชนคนรุ่นหลัง

          อีกทั้งการเดินธุดงค์ธรรมชัยในครั้งนี้ ยังเป็น การเปิดโอกาสให้พระธรรมทายาททุกรูปได้ออกไปสัมผัสประสบการณ์จริง ไดรักษาศรัทธาของชาวพุทธ ในท้องถิ่นที่ห่างไกล นอกจากจะสามารถทำวัดร้างให้กลายเป็นวัดรุ่งในหลายพื้นที่แล้ว ธรรมะของพระบรมศาสดายังได้เข้าไปสร้างแสงสว่างในชุมชน ให้มีหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามตลอดนาน เท่านาน

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล