วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ภารกิจมอบความสุขที่หายไปของวัดพระธรรมกายสิงคโปร์

รอบโลกสีน้ำเงิน
เรื่อง : มาตา

นำเสนอเรื่องราวการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดนตามรอยบาทพระบรมศาสดาและสืบสานมโนปณิธานพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ในการเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปสู่ชาวโลก

ภารกิจมอบความสุขที่หายไปของวัดพระธรรมกายสิงคโปร์

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    “สาธารณรัฐสิงคโปร์” เป็นประเทศอัศจรรย์ที่ใช้เวลาเพียงไม่ถึง ๑ ชั่วอายุคนทะยานขึ้นมาอยู่ในแนวหน้าของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และเทคโนโลยีรวมทั้งยังได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ดีที่สุดในโลก ที่ใช้เกณฑ์ “การศึกษา สุขภาพคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ พลังงาน และสภาพแวดล้อมทางการเมือง” เป็นตัวตัดสิน
 

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

     นับถึงปัจจุบัน สิงคโปร์แยกตัวออกมาจากประเทศมาเลเซียเป็นเวลาได้ ๕๑ ปี โดยมีอาณาเขตที่ครอบครองเป็นเกาะขนาดเล็กและขนาดกลาง ๖๓ เกาะเกาะสิงคโปร์ซงเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ หลังจากถมทะเลออกไปแลวก็ยังมีพื้นที่ประมาณ ๗๑๘ ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับเกาะภูเก็ตของเราประชากรก็มีอยู่แค่ประมาณ ๕.๕ ล้านคน ทรัพยากรทางธรรมชาติมีน้อยมากขนาดน้ำจืดยังต้องซื้อจากมาเลเซียมากินมาใช้* แต่ด้วยการบริหารจัดการที่เยี่ยมยอดทำให้สิงคโปร์กลายเป็นหนึ่งในผู้นำหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ--เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวอยู่ในแนวหน้าของโลก และเป็นศูนย์กลางการลงทุนของบริษัทดัง ๆ จากทั่วโลก ด้านการศึกษา--ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับ ๑๒ ของโลก และมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น MIT, Yale, INSEAD, NYU และ Chicago Booth มาก่อตั้ง
วิทยาเขตในสิงคโปร์ ทำให้มาตรฐานการศึกษาของสิงคโปร์รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยี--ความเร็วของอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ ๓ ของโลก

*ขณะนี้สิงคโปร์เปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืดได้แล้ว

      อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความสุขมวลรวมประชาชาติหรือ Gross National Happiness (GNH) ของสิงคโปร์พบว่า ความสุขของชาวสิงคโปร์อยู่ในระดับที่ต่ำ   จนน่าใจหาย ชาวสิงคโปร์ ๙ ใน ๑๐ คน เต็มไปด้วยความเครียดที่เกิดจากการเร่งรีบ การทำงานหนักการแบกรับค่าครองชีพที่สูงลิ่ว รวมทั้งการแข่งขันในด้านการศึกษา วัตถุ เงินทอง และอื่น ๆ

  สิ่งเหล่านี้ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์รวมของคนไร้สุขจำนวนมากจนกระทั่งครั้งหนึ่งถึงกับมีโครงการประกวดค้นหาบุคคลผู้มีความสุขมากที่สุดบนเกาะสิงคโปร์ เพื่อนำมาศึกษาแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
 

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    ในท่ามกลางมวลความเครียดที่แผ่ซ่านครอบคลุมเกาะสิงคโปร์นี้ ครูสอนโยคะคนหนึ่งชื่อ “ควินิน” เกิดความรู้สึกอยากทำสมาธิปฏิบัติธรรม ด้วยหวังว่าจะเป็นหนทางหลุดรอดไปจากความเครียด ซึ่งเธอก็โชคดีที่มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกาย ประเทศไทยเป็นเวลา ๒ ปี

   ต่อมา หลังจากที่ค้นพบว่า “ความสุขอยู่ที่ไหน” “จะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร” และผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรจากวัดพระธรรมกายแล้ว เธอจึงกลับไปยังสิงคโปร์เพื่อตอบโจทย์นี้แก่เพื่อนร่วมชาติผู้ห่างไกลความสุขเช่นเดียวกับตัวเธอในอดีต ซึ่งปรากฏว่า มีผู้สนใจที่จะมาทำกิจกรรมแสวงหาความสุขด้วยกันเป็นจำนวนไม่น้อย เธอและเพื่อน ๆ จึงร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์กัลยาณมิตรสิงคโปร์” ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และนิมนต์พระอาจารย์จากวัดพระธรรมกายไปอยู่ประจำศูนย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    ระยะแรกที่ก่อตั้งศูนย์ฯ นั้น กิจกรรมที่ทำร่วมกันก็คืองานบุญวันอาทิตย์ในช่วงเวลาธรรมกาย เน้นการหลับตาเจริญสมาธิภาวนาซึ่งมีผู้สนใจมาปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งต้องย้ายศูนย์ฯ เพราะสถานที่คับแคบไม่เพียงพอรองรับผู้คน และต่อมามีการย้ายศูนย์ฯ อีก ๓ ครั้ง เพื่อแก้ปัญหาเดียวกันนี้

  ในปัจจุบันพระอาจารย์ ทีมงาน และกัลยาณมิตร ร่วมแรงร่วมใจที่จะสถาปนาวัดพระธรรมกายสิงคโปร์เป็นอาคารที่ถาวรในเกาะสิงคโปร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมาเรียนรู้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเข้าถึงความสุขภายในได้ครั้งละมาก ๆ

     วัดพระธรรมกายสิงคโปร์แห่งใหม่อยู่ในเขต Sumang Walk, Punggol สร้างบนพื้นที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ตัวอาคารเป็นตึกที่ทันสมัยมี ๕ ชั้น มีห้องปฏิบัติธรรมที่รองรับสาธุชนได้ ๔๕๐ คน

     พิธีตอกเสาเข็มต้นแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และมีพิธีเทคอนกรีตฐานรากเมอื่ วนั ที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙คาดว่าการก่อสร้างอาคารจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
 

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    สำหรับภารกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย เพื่อนำพาความสุขที่แท้จริงไปสู่ชาวสิงคโปร์นั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยพระครูภาวนากิจวิเทศ (สมเกียรติ วรวํโส) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสิงคโปร์ (ขณะนั้นยังเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม) ดำริให้เปิดคอร์สสอนสมาธิเบื้องต้นด้วยภาษาจีนกลาง สัปดาห์ละ ๒ วัน คือ ช่วงค่ำวันอังคารและเย็นวันเสาร์แต่ละคอร์สใช้เวลา ๑๔-๑๕ สัปดาห์ และมีคอร์สต่อเนื่องอีก ๘ สัปดาห์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม รวมระยะเวลาการเรียนการสอน ๕ เดือน

     การเปิดคอร์สสอนสมาธิดังกล่าวจัดขึ้นปีละ ๒ คอร์ส และจัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวน ๓๒ รุ่นแล้ว เนื้อหาการสอนเน้นเรื่องการผ่อนคลาย การปรับร่างกายและจิตใจและที่ตั้งของศูนย์กลางกาย ซึ่งสาธุชนที่มาเรียนต่างได้รับความสบาย รู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ หลายท่านเข้าถึงองค์พระหรือดวงธรรมภายใน

    หลังจากจบหลักสูตรเบื้องต้นแล้วผู้เรียนสามารถสมัครเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม ๗ วัน ณ สวนพนาวัฒน์ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งจะทำให้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ดีขึ้น และเกิดความปรารถนาที่จะขยายความสุขอย่างที่ตนได้รับไปสู่บุคคลอื่นจึงพากันไปชักชวนเพื่อน ๆ และคนในครอบครัวให้มาเข้าคอร์สเรียนสมาธิ ทำให้แต่ละคอร์สมีผู้มาสมัครเรียนเป็นจำนวนมาก
 

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

   นอกจากคอร์สฝึกสมาธิแล้ว วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ยังจัดกิจกรรม “ค่ายคุณธรรม ๓ วันสำหรับเด็ก” เพื่อส่งเสริมศีลธรรมแก่เยาวชน และปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน คือ วินัย เคารพ อดทน ความกตัญญูกตเวที และมารยาทชาวพุทธ เช่น การกราบ การไหว้ การทักทาย การช่วยเหลืองานบ้าน รวมทั้งความดีสากล ๕ ประการ (สะอาด, ระเบียบ, สุภาพ, ตรงต่อเวลา, สมาธิ) ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นคนเก่งและดี สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างมีความสุข

   ผลการอบรมในโครงการนี้สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าลูกหลานของเขามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างคนในครอบครัว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยหากจะเห็นครอบครัวเหล่านี้พากันมาเติมความสุขที่วัดอย่างสม่ำเสมอ


วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

   ตลอดเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมา การเผยแผ่ของวัดพระธรรมกายสิงคโปร์มพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบันเป็นวัดสาขาแห่งหนึ่งของวัดพระธรรมกายที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังชาวท้องถิ่น คือมีสมาชิกผู้เข้าอบรมสมาธิเป็นชาวท้องถิ่น เจ้าหน้าที่อาสาสมัครซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่ผ่านการอบรมสมาธิมาก่อนก็เป็นชาวท้องถิ่น

วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    ปัจจัย (ภายนอก) ที่มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปสู่ชาวท้องถิ่นได้สำเร็จนั้น ที่เด่น ๆ ก็คือ

   ประการแรก ประชาชนในประเทศสิงคโปร์กว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นคนจีนที่มีพื้นฐานด้านศาสนาพุทธอยู่แล้วการเผยแผ่ไปสู่ชาวสิงคโปร์จึงเหมือนเป็นการต่อยอดให้เขา

    ประการที่สอง ชาวสิงคโปร์มีระดับความเครียดสูงมาก เมื่อมาพบกับวิธีพักผ่อนทางใจแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ที่ทำให้เกิด “ความสุขที่แท้จริง” ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขากำลังแสวงหาอยู่พอดี พวกเขาจึงเห็นคุณค่าและให้ความสนใจที่จะมาปฏิบัติธรรมกันอย่างต่อเนื่อง

      ปัจจัย ๒ ประการนี้ ถือว่ามีส่วนช่วยให้การเผยแผ่สะดวกมากขึ้น


วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

   อย่างไรก็ตาม “ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ เพียงเพราะโชคช่วย” นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว คณะพระภิกษุและทีมงานต่างทุ่มเททำงานหนักอย่างเสมอต้นเสมอปลาย อาทิ การต้อนรับปฏิสันถารเจ้าภาพที่มาถวายภัตตาหารในแต่ละวัน การดูแลอาคารสถานที่ให้สัปปายะอยู่เสมอ การประชาสัมพันธ์ และการทำภารกิจที่จำเป็นอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมหลักในแต่ละวันดังนี้

  วันอาทิตย์--ทำกิจกรรมเช่นเดียวกับวัดพระธรรมกาย ประเทศไทย, วันจันทร์--เตรียมการเทศน์สอน, วันอังคาร--เปิดคอร์สสอนสมาธิภาษาจีน (คอร์สปัจจุบันมีนักเรียน ๑๘๐ คน), วันพุธ--สอนภาษาบาลีแก่ผู้นำบุญชาวสิงคโปร์ วันพฤหัสบดี--แสดงธรรมและนำนั่งสมาธิแก่นักเรียนที่จบคอร์สสมาธิไปแล้ว, วันศุกร์--สอนภาษาไทย, วันเสาร์--เปิดคอร์สสอนสมาธิภาษาจีนอีกคอร์สหนึ่ง (คอร์สปัจจุบันมีนักเรียน ๑๙๐ คน)

   อีกประเด็นสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของงานก็คือ การนำคำสอนของครูบาอาจารย์มาปรับให้เข้ากับอุปนิสัยและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ และเรียนรู้กฎระเบียบข้อห้ามต่าง ๆที่เข้มงวดมากในประเทศนี้ ซึ่งมีผลให้การเผยแผ่เป็นไปด้วยความราบรื่น

   นอกจากนี้ คุณสมบัติเฉพาะตัวของคณะพระภิกษุและทีมงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จในการเผยแผ่ อาทิ ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและส่วนรวม, ความอดทน, ความมีไหวพริบปฏิภาณ, ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้, การเป็นต้นบุญและต้นแบบในการทำ   ความดี ฯลฯ รวมทั้งการมีทักษะในการใช้ภาษาจีนได้ดีราวกับเป็นชาวท้องถิ่น ซึ่งนอกจากได้ใจพวกเขาไปเต็ม ๆ แล้ว ปัญหาในการสื่อสารก็ไม่มีการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันก็ไม่ยาก


วัดพระธรรมกายสิงคโปร์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

  จากการทุ่มเทเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปสู่ใจชาวสิงคโปร์ ด้วยการสอนทำสมาธิเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการทำทานและรักษาศีล เกิดเป็นผลงานที่น่าปลาบปลื้มใจนานัปการ เช่น ทำให้พวกเขาคลายความเครียดมีความสุขมากขึ้น และมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมากขึ้น คือ มีความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม รู้จักการสร้างบุญสร้างบารมี ยินดีในการทำความดี ละเว้นความชั่ว กลั่นใจให้ผ่องใสอยู่เป็นนิจ และรู้จักทำหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนคนมาทำความดี อีกทั้งยังมีจิตสำนึกรักพระพุทธศาสนา มีความรู้สึกรักวัดเสมือนกับเป็นเจ้าของวัด ทำให้ร่วมแรงร่วมใจกันมาดูแลพัฒนาวัดให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น

     นอกจากนี้ หลายคนยังได้ไปบวชในโครงการ IDOP ที่วัดพระธรรมกาย ประเทศไทยลาสิกขาแล้วก็กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานำความสุขสงบไปสู่ใจเพื่อนร่วมชาติต่อไป


   ในพื้นที่ไม่กี่บรรทัดสุดท้ายนี้ ขอสรุปว่า สิงคโปร์มีหลายสิ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว ขาดเพียงสิ่งสำคัญก็คือ “ความสุขที่แท้จริง” ที่เกิดจากการทำสมาธิ ถ้าชาวสิงคโปร์พากันเติมความสุขที่แท้จริงลงในหัวใจแล้ว สิงคโปร์ก็จะเป็นประเทศที่อยู่ในแนวหน้าของโลกทั้งทางด้านวัตถุควบคู่กับจิตใจ และจะเป็นประเทศหนึ่งที่น่าอยู่ที่สุดในโลกอย่างแท้จริง

    ดังนั้น การไปเผยแผ่คำสั่งสอนของพระบรมศาสดาในสิงคโปร์ของวัดพระธรรมกายจึงถือเป็นความโชคดีมีบุญของชาวสิงคโปร์ที่จะได้เรียนรู้วิธีพลิกชีวิตเครียด ๆ ไปพบกับความสุขที่แท้จริง และยังเป็นบุญของทีมงานอีกด้วย ที่ได้มอบความสุขแก่ผู้คนในดินแดนที่หาความสุขได้ยากแห่งนี้ เปรียบเสมือนการมอบน้ำดื่มแก่คนหลงทางกลางทะเลทรายย่อมมีค่ามากมายกว่ามอบให้ใคร ๆ ที่เขายังไม่ต้องการ

--กราบอนุโมทนาบุญ--

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๖๘ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล