วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน ?

หลวงพ่อตอบปัญหา
เรื่อง : หลวงพ่อทัตตชีโว

 

ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน?

  วารสาร , อยู่ในบุญธันวาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย ,  หลวงพ่อตอบปัญหา , พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว) , สังคมเปลี่ยนไป แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร

Answer คำตอบ

      เรื่องนี้ต้องเริ่มต้นที่ใจของเรา จับหลักคิดให้ได้ก่อนว่า ในการทำการงานสิ่งใด ๆ นั้นเรามีเป้าหมายเพื่ออะไร เมื่อเป้าหมายชัดจะมีกำลังใจทำการงานนั้นๆ

     การทำงานทุกอย่าง ความจริงแล้วไม่มีที่จะไม่เหนื่อย ก็เนื้อมนุษย์กายมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรที่ทำด้วยเหล็ก จะได้ไม่เหนื่อย แต่ว่าเหนื่อยเท่าใดก็ตาม มันเหนื่อยแค่กาย กายล้ำไปบ้าง กล้ามเนื้อล้าไปบ้าง ล้ามากๆร่างกายก็ต้องการพัก แต่พักแล้วก็หาย กลับมามีเรี่ยวแรงทำต่อไปได้

     กายเหนื่อยก็เหนื่อยไป แต่ไม่เหนื่อยใจ ไม่หน่ายที่จะทำต่อไป มีแต่จะกระตือรือร้นทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะได้หลักในการทำงานจับหลักคิดได้ว่า การงานทุกอย่างนั้นทำเพื่อตัวของเราเอง  เพื่อบุญบารมีของเราเอง เลยไม่เหนื่อยหน่ายในการที่จะสร้างบุญสร้างบารมีของตนเอง

 

     ตัวอย่างเช่น หอฉันของวัดพระธรรมกายคุณยายสร้างเอาไว้ให้ อาสนะที่นั่งของพระในหอฉันก็เป็นตามแบบที่คุณยายท่านสั่งให้ทำเอาไว้ 

        เมื่อเราจะสร้างหอฉัน ก็เข้าที่ประชุมกันว่า ในเวลาพระฉันภัตตาหาร จะให้ปูเสื่อฉันกันสบายๆหรือจะให้นั่งเก้าอี้ซึ่งสะดวกดี หรือจะให้มีอาสนะทำเป็นตั่งเป็นแท่นนั่งอย่างที่พระนั่งกันในหอฉันปัจจุบันนี้ ก็ถกเถียงกันไปว่าจะเลือกอย่างไรดี เถียงกันไปเถียงกันมา ถกกันไปถกกันมา คุณยายฟันธงเลยว่า หลวงปู่ วัดปากน้ำทำต้นแบบไว้ดีแล้ว คือยกเป็นแท่นเป็นอาสนะขึ้นมาอย่างนี้ ไม่เอานั่งเก้าอี้ และไม่เอานั่งกับพื้น

        ถ้านั่งกับพื้นก็เท่าๆกับญาติโยม เวลาจะเข้ามาประเคนก็ลำบาก แล้วก็ไม่เรียบร้อย ดูก็ไม่งาม ส่วนนั่งเก้าอี้ เวลาถวายสังฆทานเวลาถวายของ พระจะหันหน้าไปรูปละทางสองทาง จะมีพระหันหน้าให้โยมบ้าง หันหลังให้โยมบ้าง จะขาดความศักดิ์สิทธิ์ไป แม้จะได้ความสะดวกความสบาย แต่ขาดความศักดิ์สิทธิ์

      ดังนั้น ทำเป็นแท่นอย่างที่หลวงปู่ทำไว้เป็นต้นแบบอย่างนี้ถูกแล้ว แต่ว่าขนาดจะเป็นอย่างไร คุณยายให้หาขนาดเอาเอง ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับที่วัดปากน้ำ เพราะคนละสถานการณ์กัน ท่านให้ไปคำนวณเอาเองว่าความสูงควรเป็นเท่าไร ความกว้างความยาวควรจะเป็นเท่าไร แล้วหากมีความจำเป็นจะต้องย้าย มีความจำเป็นจะต้องจัดรูปแบบใหม่จะต้องยกเคลื่อนที่ ก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกัน คุณยายฟันธงเลือกแบบให้เรียบร้อย

 

   ดูวิธีมองงานของคุณยายนะ ว่าท่านมองอย่างไร ท่านมองถึงความสะดวกสบายของพระซึ่งเป็นผู้ขบผู้ฉัน มองถึงความสะดวกสบายของญาติโยมด้วย และสุดท้ายมองถึงความน่าเลื่อมใสน่าศรัทธาในตัวพระภิกษุและพระพุทธศาสนาการที่ท่านคิดไว้อย่างนี้ สั่งให้ทำอย่างนี้

     ท่านได้บุญไปแล้วเพื่อตัวท่าน ท่านก็เก็บเกี่ยวเอาบุญส่วนนั้นไป ผลพลอยได้เป็นของพวกเราคือพระก็มีที่ฉันที่ใช้กันอย่างสะดวกสบาย ญาติโยมก็มาถวายสะดวก ทำบุญก็ปลื้มใจได้ง่าย ตามระลึกถึงบุญได้ง่าย และมีศรัทธาเพิ่มพูนในพระพุทธศาสนา

     เมื่อเราต่างก็ได้ผลพลอยได้จากท่านมาแล้ว ก็จะได้อาศัยผลพลอยได้นี้ไปตั้งหลัก ที่จะไปทำอะไรที่เป็นผลหลักของเราจริงๆ ถ้าอย่างนี้ก็จะเป็นบุญต่อบุญกันเรื่อย ๆ ไม่รู้จบแล้วก็จะกลายเป็นอายุพระพุทธศาสนา อย่างที่เราทำกันอยู่นี้เวลาถวายสังฆทานไม่ว่าพระจะนั่งอยู่ตรงอาสนะไหน ก็รับหน้าญาติโยมได้ทุกทิศ ซึ่งเป็นความเรียบร้อยและน่าเลื่อมใสให้เราดูเอาไว้ก็แล้วกันว่า หลักการในการทำงานมีบุญของเราเป็นตัวตั้ง นอกนั้นเป็นผลพลอยได้ 

      เมื่อทำงานโดยเอาบุญเป็นตัวตั้งแล้ว จะไม่มีขัดกัน จะไปด้วยกันได้ทุกส่วน ตรงนี้เป็นความแปลก เอาบุญเป็นตัวตั้งเหมือนอย่างกับเอาดวงอาทิตย์เป็นตัวตั้ง เวลาเราเดินไปไหนเหมือนดวงอาทิตย์ตามไปด้วย แล้วก็ไม่มีใครบังใครทั้งนั้น เพราะว่าดวงอาทิตย์อยู่ข้างบนไม่ว่าองศาของดวงอาทิตย์จะเป็นอย่างไร ก็อยู่เหนือศีรษะมนุษย์หมด ไม่มีใครใหญ่กว่าใครไม่มีใครมาบังมาเบียดใคร เมื่อเอาบุญเป็นตัวตั้งอย่างจริงจังแล้ว จะไม่มีการบังการเบียดใคร จะมีแต่ได้ประโยชน์กับได้ประโยชน์กันทุกคนทุกฝ่ายเลย นี้แหละจะเป็นกำลังใจให้เรา
ทำงานนั้นอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๗๗ เดือนกันยายน ๒๕๖๐

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล