นิทานอีสป รวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ ข้อคิดสอนใจ

นิทานอีสป นิทานอีสปทั้งหมด นิทานพร้อมภาพสวยๆ นิทานอีสปและคติสอนใจ อ่านนิทานอีสปพร้อมรูปภาพประกอบ
นิทานอีสปที่คัดแต่เรื่องดีๆ อ่านแล้วสนุกและให้สาระคติสอนใจได้เป็นอย่างดี รวบรวมไว้ที่นี่ให้คุณได้อ่านกันแบบจุใจ

นิทานอีสป : นิทานอีสป พร้อมคติสอนใจรวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

นิทานอีสป : ผึ้ง ตัวต่อ และแตน

นิทานอีสป เรื่อง ผึ้ง ตัวต่อ และแตน
ผู้แต่ง : อีสป
 

Aesop_631007_05.jpg


          ในโพรงไม้แห่งหนึ่งเป็นที่กักตุนน้ำผึ้ง ซึ่งตัวต่อประกาศว่าน้ำผึ้งทั้งหมดเป็นของพวกมัน ฝ่ายผึ้งก็มั่นใจว่าขุมทรัพย์เป็นของพวกมันต่างหาก การถกเถียงลุกลามใหญ่โตจนดูเหมือนว่าเรื่องราวไม่อาจยุติลงได้โดยปราศจากการสู้รบ ท้ายที่สุดด้วยความมีเหตุมีผลของทั้งสองฝ่าย พวกมันจึงตกลงว่าควรมีผู้พิพากษาที่จะมาตัดสินในเรื่องนี้พวกมันจึงนำความไปยื่นต่อแตน ซึ่งเป็นผู้คงความสันติในป่าแถบนั้น

          เมื่อผู้พิพากษาเบิกความ ก็มีพยานมากมายให้การว่าพวกมันเห็นสัตว์ที่มีปีกบินอยู่แถวๆ โพรงไม้ดังกล่าว ส่งเสียงหึ่งดังไปทั่ว พวกมันมีลำตัวเป็นแถบลายสีเหลืองและดำเหมือนผึ้ง

          ทนายฝ่ายตัวต่อรีบยืนกรานทันทีว่าคำอธิลายนี้ตรงกับลักษณะของลูกความมัน

          พยานหลักฐานที่ว่าไม่อาจช่วยให้ผู้พิพากษาแตนตัดสินความได้ มันจึงเลื่อนการพิจารณาของศาลออกไปอีกหกสัปดาห์เพื่อขอเวลาคิดให้รอบคอบ เมื่อถึงเวลาพิจารณาคดีอีกครั้ง ทั้งสองฝ่ายต่างมีพยานเพิ่มขึ้นอีกมากมาย มดตัวหนึ่งยืนขึ้นให้การเป็นตัวแรก และกำลังจะถูกซักค้าน เมื่อผึ้งชราผู้หลักแหลมแสดงตนต่อหน้าศาล

          "ข้าแต่ศาลที่เคารพ" มันเอ่ยขึ้น "คดีนี้ถูกเลื่อนมาหกสัปดาห์แล้ว หากเร็วๆ นี้ยังไม่มีการตัดสิน น้ำผึ้งก็คงจะเอาไปทำอะไรไม่ได้ ข้าจึงขอเสนอว่า จงมอบหมายให้ทั้งผึ้งและต่อสร้างรวงผึ้งขึ้นมา แล้วเราก็จะได้เห็นกันในไม่ช้าว่าน้ำผึ้งนี้เป็นของใครกันแน่"

          พวกตัวต่อประท้วงกันเสียงดัง ผู้พิพากษาแตนผู้ชาญฉลาดเข้าใจในพริบตาว่าทำไมพวกมันจึงประท้วงเช่นนั้น เป็นเพราะพวกมันรู้ดีว่าไม่อาจสร้างรวงผึ้งและใส่น้ำผึ้งเข้าไปในนั้นได้

          "ชัดเจนแล้วว่า ใครที่สร้างรวงผึ้งและใครไม่อาจทำได้ สรุปว่าน้ำผึ้งเป็นของพวกผึ้ง" ผู้พิพากษากล่าว

 

 

:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::
ความสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการกระทำ

 

:: พุทธภาษิต ::
อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ
สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส.
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ
จัดการงานเรียบร้อย. จึงควรอยู่ในราชการ.

( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๙.

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * นิทานอีสป แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล