พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

วันที่ 23 กพ. พ.ศ.2559

พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

            พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ทำในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตราย หรือใกล้จะเสียชีวิต เช่น กรณีเกิดโรคระบาด หรือกรณีเกิดสงคราม ซึ่งไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบลายลักษณ์อักษรได้อย่างทันท่วงทีผู้ทำพินัยกรรมจะเอ่ยวาจาว่า ต้องการจะมอบทรัพย์มรดกของตนเองให้กับผู้ใด โดยในกรณีนี้ต้องมีพยานรู้เห็นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป หลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลง พยานผู้รู้เห็นต้องแจ้งต่อนายอำเภอโดยเร็วที่สุเท่าที่จะทำได้


          ดังนั้น พินัยกรรมจะมีผลหลังจากพยานรู้เห็นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป เข้าแจ้งเรื่องกับนายอำเภอจากนั้นนายอำเภอจะจดถ้อยคำของพยานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แล้วลงวัน เดือน ปีของการทำพินัยกรรมนั้น หลังจากที่มีการทำลายลักษณ์อักษรจากนายอำเภอเรียบร้อยแล้ว นายอำเภอจะประทับตราประจำตำแหน่งและพินัยกรรมนี้จะมีผลต่อเมื่อผู้มอบทรัพย์มรดกเสียชีวิตลงแล้วเท่านั้น

 

พินัยกรรมที่ทำไว้แล้วมีการสิ้นผลได้ในกรณี ดังนี้
1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนารมย์ยกเลิกพินัยกรรมฉบับเดิม
2. ผู้ทำพินัยกรรมเขียนพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นมาแทนฉบับเดิม ฉบับเดิมเป็นอันโมฆะ
3. ผู้ทำพินัยกรรมได้โอนขายทรัพย์สินให้กับผู้อื่นไปแล้ว พินัยกรรมนั้นจึงไม่สามารถมอบให้กับผู้ที่รับมรดกต่อไปได้
4. ผู้ทำพินัยกรรมทำลายทรัพย์สินของตนเอง ทำให้ทรัพย์สินนั้นสูญหายไป ไม่สามารถมอบทรัพย์สินนั้นให้กับผู้รับมรดกได้
5. ผู้รับมอบพินัยกรรมเสียชีวิตก่อนผู้ทำพินัยกรรม
6. ผู้รับมอบพินัยกรรมสละไม่ขอรับมรดก

-----------------------------------------------------------------------------------------

" หนังสือ Secret of Love  รักลูกอย่างไรไม่ให้เสียน้ำตา "

โดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010459343592326 Mins