กาละทานะสุตตะคาถา
กาเล ทะทันติ สะปัญญา | วะทัญญู วีตะมัจฉะรา |
กาเลนะ ทินนัง อะริเยสุ | อุชุภูเตสุ ตาทิสุ |
วิปปะสันนะมะนา ตัสสะ | วิปุลา โหติ ทักขิณา |
เยตัตถะ อะนุโมทันติ | เวยยาวัจจัง กะโรนติ วา |
นะ เตนะ ทักขิณา โอนา | เตปิ ปุญญัสสะ ภาคิโน |
ตัสมา ทะเท อัปปะฏวานะจิตโต | ยัตถะ ทินนัง มะหัปผะลัง |
ปุญญานิ ปะระโลกัสมิง | ปะติฏฐา โหนติ ปาณินันติ ฯ |
คำแปล ความหมาย กาลทานสุตตคาถา
ชนผู้เป็นทายกผู้ให้ทานทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีปัญญา มีจิตโอบอ้อมอารี เจรจาไพเราะ ปราศจากความตระหนี่, มีจิตเลื่อมใสแล้ว ในพระอริยเจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ตรงคงที่ไม่หวั่นไหว ได้บริจาคทานตามกาลสมัยนิยม ทานที่ชนเหล่านั้นถวายแล้วแก่พระอริยเจ้า ผู้ตรงคงที่ไม่หวั่นไหวนั้น ย่อมเป็นสมบัติอันมีผลเต็มเปี่ยม, อนึ่ง ชนทั้งหลายเหล่าใด ผู้อนุโมทนายินดี และขวนขวายช่วยในการให้ทานนั้น ๆ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญนั้น ๆ ด้วย และไม่เป็นเหตุให้ผลทานที่เขาถวายแล้วนั้นบกพร่องลงเลย, เพราะเหตุนั้น ชนผู้เป็นทายกผู้ให้ทานทั้งหลาย ไม่ควรมีจิตท้อถอยให้ทานในที่ใดมีผลมาก ก็ควรให้ทานในที่นั้น, บุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้เกิดความสุขในโลกหน้า ฉะนี้แล ฯ
** อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
* ขออนุโมทนาบุญกับเสียงสวดมนต์จาก youtube "ธรรมะ"