.....ธรรมอะไรที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้วน่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายเป็นลำดับไป จนกระทั่งถึงกายอรหัตต์นั่นแหละเป็นสวากขาตธรรมละ ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วกล่าวชอบแล้ว ถูกหลักถูกฐานที่เดียวไม่ใช่อื่นละ ไปตามร่องรอยนั้น ถ้าว่าปฏิบัติตามแนวนั้น คนทั้งหลายเหล่านั้นก็ย่อมถึงซึ่งฝั่ง ล่วงเสียซึ่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ ยากที่บุคคลจะล่วงได้ ล่วงซึ่งวัฏฏะนั่นมันอะไรล่ะ กัมมวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ไม่ข้องขัดเรื่อยไป ล่วงเสียได้แล้ว ยากที่บุคคลจะล่วงได้ ไม่ใช่เป็นของง่าย แต่ว่าต้องปฏิบัติตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้วจึงจะล่วงได้ ที่ล่วงได้ไปถึงนิพพานได้เป็นพระอรหัตต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน นั่นล่วงได้แล้ว พวกนี้ล่วงได้แล้วทั้งนั้น เมื่อล่วงได้ขนาดนี้ ตามวาระพระบาลีว่า ถ้าจะไปทางนี้ ผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาให้ ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น ดำไม่ให้มีเลย เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็ใสเป็นแก้ว หาหลักอื่นไม่ได้เลย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด ใสหนักขึ้นไป สว่างหนักขึ้นไป ดำไม่มีไปแผ้วพานเลย นี่ให้ละธรรมดำเสียอย่างนี้ ยังธรรมขาวให้สะอาด ให้บังเกิดปรากฏขึ้นอย่างนี้ ให้เกิดปรากฏจนกระทั่งถึงธรรมกายตลอดไป นั่นธรรมขาวทั้งนั้นพวกเหล่านี้
กณ ? หํ ธม? มํ วิป? ปหาย สุก? กํ ภาเวถ ปณ? ฑิโต โอกา อโนกมาคม? ม อาศัยซึ่งนิพพาน ไกลจากอาลัย อาศัยอาลัย ไม่มีอาลัย จากอาลัย เมื่อถึงพระอนาคาก็อาศัยนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตต์ละก็ไปนิพพานเลย ไปนิพพานทีเดียวไม่ไหนละ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัย จากอาลัย กามคุณาลัย อาลัยในรูป ในกลิ่น ในเสียง ในรส ในสัมผัส ไม่มีเลย ไปอยู่นิพพานเสียไม่มีอาลัยไปเจือปนระคนเลย มีธรรมกายไปได้ไปนิพพานได้ ไม่เกี่ยวด้วยอาลัยเสียเลยทีเดียว วิเวเก ยต? ถ ทูรมํ ยินดีได้ด้วยยากในนิพพานอันสงัดใด ถ้าว่าไม่มีธรรมกายแล้วไปยินดีไม่ได้ ถ้าไม่ถึงไม่รู้รสชาติของนิพพานทีเดียว ถ้ามีธรรมกายแล้วยินดีนิพพานได้ นิพพานเป็นที่สงัดเป็นที่สงบเป็นที่เงียบเป็นที่หยุดทุกสิ่ง ถึงนิพพานแล้ว สิ่งที่ดีจริงอยู่ที่นิพพานทั้งนั้น นิพพานนั้นเป็นของสำคัญนัก ลึกลับ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ มุ่งนิพพานทั้งนั้น
นิพพานนั้นเป็นของสำคัญนัก ลึกลับ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์มุ่งนิพพานทั้งนั้น เมื่อเป็นพระอรหัตต์มีจำนวนเท่าไรองค์ ก็มุ่งนิพพานทั้งนั้น ตั้งแต่อนาคาก็มุ่งนิพพาน ตั้งแต่มีกายธรรมก็ถ้าว่าไปนิพพานบ่อยๆ ละก็ชอบนัก ตั้งแต่อนาคาก็มุ่งนิพพาน ตั้งแต่มีกายธรรมก็ถ้าว่าไปนิพพานบ่อยๆ ละก็ชอบนัก อยากจะไปอยู่นิพพาน เป็นที่เบิกบานสำราญใจกว้างขวาง ทำให้อารมณ์กว้างขวาง ทำให้เยือกเย็นสนิท ปลอดโปร่งในใจ ทำให้สบายมากนัก นิพพานเหตุนั้น ปริโยทเปย ? ย อต? ตานํ จิต? ตเก? ลเสหิ ปณ? ฑิโต บัณฑิตผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาเรียกว่าคนฉลาด ชำระตนให้ผ่องแผ้ว ชำระตนให้สะอาด
เมื่อตนผ่องแผ้วสะอาดจากธรรมเครื่องเศร้าหมองของใจแล้ว เหลือแต่ธรรมกายใสสะอาดเป็นชั้นๆ ไป โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัตต์ นั่นเรียกว่าสะอาดละอย่างนั้น เรียกว่าสะอาดจากธรรมเครื่องเศร้าหมองของใจ ไม่มีแล้ว ผ่องแผ้วดีแล้ว จิตอันบัณฑิตเหล่าใดอบรมด้วยดีแล้ว โดยชอบในองค์เหตุของความตรัสรู้ทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมไม่ถือมั่น ยินดีในการละการถือมั่น ย่อมไม่ถือมั่นยินดีในการไม่ถือมั่น เมื่อปล่อยเสียได้หมดเสียเช่นนี้นั้น ขีณาสวา ชุติมนโต เต โลเก ปรินิพพุตาติ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ขีณาสวา ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ กามาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ไม่มี หลุดหมด ชุติมนโต ย่อมเป็นผู้โพลงรุ่งเรืองสว่าง ดับสนิทในโลกด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นผลสุดท้ายของพระสูตรนี้ ประสงค์พระอรหัตต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานทีเดียว นี่เป็นหลักเป็นประธานของพระพุทธศาสนา เป็นธรรมทางวิปัสสนา ธรรมนี้เป็นทางวิปัสสนาโดยแท้ กล่าวมานี้ แสดงมานี้ตามปริยัติเทศนา ถ้าว่าจักแสดงตามหลักปฏิบัติให้ลึกซึ้งลงไปกว่านี้ เป็นของที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก
เมื่อมีธรรมกายปรากฎเห็น อนิจจํ ทุกขํ อนตตา ในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เบญจขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นมนุษยก็ดี มนุษย์ละเอียดก็ดี กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็ดี กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็ดี กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็ดี เป็นกายสัตว์เดรัจฉานก็ดี เปรต อสุรกาย สัตว์นรกทั้งหมด ที่เรียกว่าประกอบด้วยเบญจขันธ์ ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นแหละเกิดจากธาตุจากธรรม ธาตุธรรมเป็นตัวยืนให้เกิดขึ้นเป็นเบญจขันธ์ เบญจขันธ์ทั้ง ๕ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ขันธ์มีเท่าใดกี่ภพกี่ชาติ เท่าใดย่อมเป็น อนิจจํ ทุกขํ ทั้งนั้น แล้วก็ไม่ใช่ตัวด้วย ธรรมที่ทำให้เป็นขันธ์เหล่านั้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นขันธ์เหล่านั้น ทุกขันธ์ไปทุกกายไปก็ไม่ใช่ตัวอีกเหมือนกัน ได้ชื่อว่า เป็นทุกข์แล้ว ไม่ใช่ตัวด้วย เมื่อรู้จักว่าไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวละก็ต้องปล่อยปละ ละดังนี้เป็นชั้นๆ ไป ดังแสดงแล้วก่อนๆ โน้น สละละกายเหล่านี้เสียทุกชั้นไป เมื่อวานก็แสดงละเป็นชั้นๆ ไป ละกายมนุษย์หยาบเข้าหากายมนุษย์ละเอียด ละกายมนุษย์ละเอียดเข้าหากายทิพย์ ละกายทิพย์เข้าหากายทิพย์ละเอียด อยู่กลางกันเรื่อย ละกายทิพย์ละเอียดเข้าหากายรูปพรหม อยู่กลางกายทิพย์ละเอียด ละกายรูปพรหมเข้าหากายรูปพรหมละเอียด อยู่กลางกายรูปพรหม อยู่กลางรูปพรหมละเอียด ละกายอรูปพรหมเข้าหากายอรูปพรหมละเอียด ละกายอรูปพรหมละเอียด เข้าหากายธรรม เป็นชั้นๆ ไปอย่างนี้ เมื่อถึงกายธรรมแล้วถึงขั้นวิปัสสนา
ี้