โลกวิทู2

วันที่ 30 เมย. พ.ศ.2548

phramongkol1.jpg

.....ต่อจากตอนที่แล้ว

วิญญาณาหาร วิญญาณแปลว่าความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งเป็นอาหารชนิดหนึ่งเหมือนกัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้เป็นที่รับรองของวิญญาณ วิญญาณย่อมมีรสในอารมณ์ ๖ อย่าง ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณจึงเป็นอาหารประมวลให้เกิดนามรูปได้ในคำว่า วิญญาณปัจจยานามรูปัง ซึ่งแปลว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

สัตว์โลก ที่ว่าพระองค์ทรงรู้แจ้งซึ่งสัตว์โลกนั้น คือพระองค์ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมเป็นที่มาแห่งจิตของสัตว์ทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายมีอัชฌาสัย หรือความเห็นต่าง ๆ กัน เช่นจำพวกหนึ่งเห็นว่าโลกเที่ยง ไม่มียักเยื้องแปรผัน และเห็นว่าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อตายไปก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อย่างเดิม อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตายแล้วขาดสูญ หมดสิ้นกันเท่านั้น ไม่มีอะไรในผู้นั้นจะมาเกิดอีก ทำดี ทำชั่ว ก็สิ้นสุดเพียงวันตาย ไม่มีบุญ ไม่มีบาปจะตามไปสนองในภพหน้าที่ไหนอีก อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้ซึ่งความเป็นจริงของโลก ส่วนพระองค์ทรงรู้แจ้งซึ่งสัตว์โลกว่าไม่เป็นเช่นนั้น ที่จริงสัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามยถากรรม ทำดี ความดีย่อมติดตามไปสนองในภพหน้า ทำชั่ว ความชั่วย่อมติดตามไปสนองในภพหน้าเป็นเสมือนเงาตามตัว อันเรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จึงได้ชื่อว่าโลกวิทูนัยหนึ่ง

อนุสเย ชานาติ ทรงรู้แจ้งซึ่งอนุสัย ๗ ประการ คือ กามราคานุสัย ภวราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย

จริตํ ชานาติ ทรงรู้แจ้งจริตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ๖ ประการ คือ ราคะจริต โทสจริต โมหะจริต วิตักกจริต สัทธาจริต พุทธิจริต

อธิมุตฺตึ ชานาติ ทรงรู้แจ้งนิสสัยต่ำสูงและความเป็นผู้มีใจบุญ ความเป็นผู้มีใจบาปแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้แจ้งซึ่งความมีกิเลสหนาบางแห่งสัตว์ทั้งหลาย

ทรงรู้แจ้งในอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่าแก่อ่อนอย่างไร กล่าวคือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่าอินทรีย์ ๕ คือ ความเชื่อ ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา แล้วก็ทรงหาอุบายโปรดในเมื่อทรงเห็นว่าอินทรีย์แก่กล้าสมควรแล้ว ดังเช่นวักกลิพราหมณ์ เห็นพระองค์มีพระสิริโฉมอันงามชอบเนื้อชอบใจ จนถึงขอบวชเป็นภิกษุ บวชแล้วก็เฝ้ามองดูพระสิริโฉมของพระองค์เป็นเนืองนิจ พระองค์ก็ทรงรอไว้ ครั้นเมื่อเห็นว่าอินทรีย์แก่กล้าแล้วจึงทรงเริ่มหาอุบายโปรด โดยตรัสว่า วักกลิ ท่านจะมัยมามองดูร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ใย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นจึงจะเห็นเรา พระวักกลิน้อยใจที่พระองค์ตรัสห้ามเช่นนั้น จึงอำลาจากพระองค์จะไปโดดภูเขาตาย ในเมื่อใกล้โดดพระองค์ได้เปล่งรัศมีให้เห็น ประหนึ่งไปประทับอยู่เฉพาะหน้า พระวักกลิวิ่งโลดโผเข้าไปในรัศมีของพระองค์ด้วยความปีติเลื่อมใสอันแรงกล้า ก็ได้บรรลุมรรคผลในกาลบัดนั้น สมควรปรารถนาแล้วก็มาเฝ้าพระบรมศาสดาโดยทางอากาศ

อีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงรู้แจ้งว่า สัตว์จำพวกใดมีอาการดี มีอาการชั่ว แก้ไหวหรือไม่ไหว มีสัทธามีปัญญา หรือว่าหาสัทธา หาปัญญามิได้เลย

ทรงรู้ว่า สัตว์จำพวกใดทรงโปรดได้ จำพวกใดทรงโปรดได้ เช่น สัตว์พวกสัมมาทิฏฐิโปรดได้ จำพวกมิจฉาทิฏฐิโปรดไม่ได้

โอกาสโลก

สภาพที่รับรองซึ่งกันและกัน คือ อากาศรับรองธาตุไฟ ๆ รับรองธาตุน้ำ ๆ รับรองธาตุดิน ๆ รับรองภูเขาตรีกูฏ ๆ รับรองภูเขาสุเมรุราช ๆ รับรองชั้นจาตุมหาราช ๆ รับรองชั้นดาวดึงส์ ๆ รับรองชั้นยามา ๆ รับรองดุสิต ๆ รับรองนิมมานรดี ๆ รับรองปรนิมมิตวสวัตตี ๆ รับรองพรหมปริสัชชา ๆ รับรองพรหมปโรหิตา ๆ รับรองมหาพรหม ๆ รับรองปริตตาภา ๆ รับรองอัปปมาณาภา ๆ รับรองอาภัสสรา ๆ รับรองปริตตสุภา ๆ รับรองอัปปมาณสุภา ๆ รับรองสุภกิณหา ๆ รับรองเวหัปผลาและอสัญญสัตตา ๆ รับรองอวิหา ๆ รับรองอัตปปา ๆ รับรองสุทัสสา ๆ รับรองสุทัสสี ๆ รับรองอกนิฏฐา ๆ รับรองอากาสานัญจายตนะ ๆ รับรองวิญญาณณัญจายตะ ๆ รับรองอากิญจัญญายตนะ ๆ รับรองเนวสัญญานาสัญญายตนะ ส่วนสูง แต่มนุษย์โลกขึ้นไปถึงชั้นจาตุมหาราชิกาได้สี่หมื่นสองพันโยชน์ แต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปถึงดาวดึงส์ ได้สี่หมื่นสองพันโยชน์ แต่ดาวดึงส์ขึ้นไปถึงยามาได้สี่หมื่นสองพันโยชน์ แต่ยามาขึ้นไปถึงดุสิตได้สี่หมื่นสองพันโยชน์ แต่ดุสิตขึ้นไปถึงนิมมานรดีได้สี่หมื่นสองพันโยชน์ แต่นิมมานรดีขึ้นไปถึงปรนิมมิตวสวัตตีได้สี่หมื่นสองพันโยชน์ แต่ปรนิมมิตวสวัตตีขึ้นไปห้าล้านห้าแสนแปดพันโยชน์ ถึงพรหมปริสัชชาขึ้นไปอีกเท่านั้น พรหมปโรหิตาขึ้นไปเท่า ๆ กันดังนี้ จนถึงแนวสัญญานาสัญญายตนะ มีระยะสูงเท่า ๆ กันดังนี้

ธาตุ ๖– ขันธ์ ๕

ธาตส่วนหยาบที่มีอยู่ตามปกติ คือ

ดินหนา ๒๔๐, ๐๐๐ โยชน์

น้ำหนา ๔๘๐, ๐๐๐ โยชน์

ไฟหนา ๙๖๐, ๐๐๐ โยชน์

ลมหนา ๑, ๙๒๐, ๐๐๐ โยชน์

วิญญาณหนา ๓, ๘๔๐, ๐๐๐ โยชน์

อากาศหนาลงไปไม่มีที่สุด เช่น ภพ ๓ นี้อากาศที่อยู่รอบ ๆ ภพก็ไปจรดกับภพที่อยู่รอบ ๆ ออกไปข้างล่างจรดขอบบนของโลกันต์ ข้างบนจรดขอบล่างของนิพพาน ทุก ๆ ระหว่างของภพเหล่านี้มีพระพุทธเจ้ารักษาอยู่ทั้งนั้น

ธาตุเหล่านี้ ...

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014036985238393 Mins