บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร Dhammachakka in Pali verses and translation

วันที่ 21 ธค. พ.ศ.2559

 ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร - Dhammachakkapavattana Sutta,
or Dhammachakka (ธัมมจักฯ)

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พร้อมคำแปล , บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร , Dhammacakkappavaddana Sutta , 转法轮经 , ธัมมจักฯ ,

 

 

Dhammachakka in Pali verses and translation

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเนมิคะทาเย
Evam-me sutam, Ekam samayam Bhagavā, Bārānasiyam viharati isipatane migadāye 
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิ สิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
I heard that one time the Buddha was staying at Isipatana, near Varanasi

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ 
Tatra kho Bhagavā panca-vaggiye bhikkhū āmantesi: 
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี ้ว่า
At that time, the Blessed One expounded the supreme knowledge he had realized to the group of five ascetics: 

 

The two extreme practices

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด 2 อย่าง คือ)
Dveme bhikkhave antā pabbajitena na sevitabbā 
The two extremes that one has gone forth from worldly life (they are monk, recluse, ascetic, etc.) should not practice,

โย จายัง กาเมสุ กามะ สุขัลลิกานุโยโค (คือ การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา)
Yo cāyam kāmesu kāma-sukhallikānuyogo, - 1. Attachment to worldly sense pleasures,

หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต (เป็นธรรมอันเลว เป็นข้อประพฤติของชาวบ้าน เป็นของผู้มีกิเลสหนา ไม่ใช่ธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลสไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส) 
Hīno gammo pothujjaniko anariyo anattha-sanhito - Which is low, household life, vulgar, unworthy, useless

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค (คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก)
Yo cāyam atta-kilamathānuyogo, - 2. Devotion to self-mortification

ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต (ทำให้เป็นทุกข์ทรมาน ไม่ใช่ธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส)
Dukkho Anariyo Anattha-sanhito – Painful, unworthy, useless 

 

The Middle Path (ทางสายกลาง)

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น)
Ete te bhikkhave ubho ante anupagamma, Majjhimā patipadā – the Middle Path, the practice to avoid these 2 extremes: 

ตะถาคะเตนะ อภิสัมพุทธา (อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง)
Tathāgatena abhisambuddhā, - This knowledge is realized through penetrative insight by the Tathagata,

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้)
Cakkhu-karannī nāna-karanī – Produces vision and knowledge,

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ (ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ, เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อกิเลสดับไปจากจิต เข้าสู่พระนิพพาน ฯ) 
Upasamāya abhinnāya sambodhāya nibbānāya samvattati. – Leads to tranquility, to insight, to the extinction of defilements, to enlightenment, to Nibbana.

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้น เหล่าไหน)
Katamā ca sā bhikkhave majjhimā patipadā – What is the Middle Path,

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง)
Tathāgatena abhisambuddhā, - realized by the Tathagata,

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา คือกระทำญาณเครื่องรู้)
Cakkhu-karani nāna-karanī - produces vision and knowledge,

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ (ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อกิเลสดับไปจากจิต เข้าสู่พระนิพพาน ฯ) 
Upasamāya abhinnāya sambodhāya nibbānāya samvattati. - leads to tranquility, to insight, to the extinction of defilements, to enlightenment, to Nibbana.


The Noble Eightfold Path (มรรค 8)

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ เพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจ มี 8 อย่าง)
Ayameva ariyo atthangiko maggo, - the middle way to cease all defilements is the Noble Eightfold Path, 

เสยยะถีทัง (ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ)
Seyyathīdam, - Namely
1. สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ) – ปัญญา 
Sammā-ditthi - Right view - panna

2. สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน) - ปัญญา
Sammā-sankappo, - Right opinion - panna

3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ วจีสุจริต 4: ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล) - ศีล
Sammā-vācā - Right speech - sila

4. สัมมากัมมันโต (การงานชอบ เว้นจากการทุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) - ศีล
Sammā-kammanto - Right action - sila

5. สัมมาอาชีโว (ความเลี้ยงชีวิตชอบ หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี) - ศีล
Sammā-ājīvo, - Right livelihood - sila

6. สัมมาวายาโม (ความเพียรชอบ เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป) - สมาธิ
Sammā-vāyāmo - Right effort - Samadhi

7. สัมมาสะติ (ความระลึกชอบ ระลึกนึกถึง อนุสสติ 10 ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด) - สมาธิ
Sammā-sati - Right mindfulness - Samadhi

8. สัมมาสะมาธิ (ความตั้งจิตชอบ การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นใน ศีล สมาธิ ปัญญา) - สมาธิ
Sammā-samādhi. - Right concentration - Samadhi

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง)
Ayam kho sā bhikkhave majjhimā patipadā – This is the Middle Path, 

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง)
Tathāgatena abhisambuddhā, - realized by the Tathagata

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี (กระทำดวงตา คือกระทำญาณเครื่องรู้)
Cakkhu-karanī nāna-karanī - produces vision and knowledge

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ (ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อกิเลสดับไปจากจิต เข้าสู่พระนิพพาน ฯ) 
Upasamāya abhinnāya sambodhāya nibbānāya samvattati. - leads to tranquility, to insight, to the extinction of defilements, to enlightenment, to Nibbana

 

Dukkha (Suffering – ทุกข์)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลของจริงแห่งอริยบุคคล คือ ทุกข์)
Idam kho pana bhikkhave dukkham ariya-saccam, - the Noble Truth of Suffering - Dukkha
ชาติปิ ทุกขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์)
Jātipi dukkhā - Birth is suffering
ชราปิ ทุกขา (แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์)
Jarāpi dukkhā - Aging is suffering
มะระณัมปิ ทุกขัง (แม้ความตายก็เป็นทุกข์)
Maranampi dukkham - Death is suffering
โสกะ ปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัส สุปายาสาปิ ทุกขา (ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์)
Soka-parideva-dukkha-domanas supāyāsāpi dukkhā, - Sorrow, lamentation, physical/mental discomfort, pain, grief, distress, despair, and resentment are suffering
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข (การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์)
Appiyehi sampayogo dukkho – Association with those are unpleasant is suffering
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข (ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข ์)
Piyehi vippayogo dukkho – Separation from those are pleasant is suffering
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง (มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั้นก็เป็นทุกข์)
Yampiccham na labhati tampi dukkham, - Desire to get, to attain something but not getting it, not attaining it is suffering
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา (ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า – การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขา เป็นตัวทุกข์)
Sankhittena pancupādānakkhandhā dukkhā. – In brief, the Five Aggregates* (rupa and nama) of clinging (attachment) is suffering. 

*Five Aggregates (khandha – ขันธ์ทั้งห้า or เบญจขันธ์): five conditioned elements of existence forming a being or entity. Nama – mind phenomena.
1. Material form, appearance (รูป - rupa), 
2. (Pleasant/ unpleasant) feeling, sensation (เวทนา - vedana), 
3. Perception, recognition or remembrance (สัญญา - sanna), 
4. Mental formation, conditioning (สังขาร - sankhara), 
5. Consciousness (วิญญาณ - vinnana)

 

Dukkha-Samudaya (origin of suffering - ทุกขสมุทัย)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะ สัจจัง จายัง ตัณหา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) คือ ทะยานอยาก ความอยากไม่มีที่สิ้นสุดนี้ เรียกว่า ตัณหา)
Idam kho pana bhikkhave dukkha-samudayo ariya-saccam,Yāyam tanhā – the Noble Truth of Origin of Suffering - Tanha (craving) 
โปโนพภะวิกา (ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด)
Ponobbhavikā – Produces new round of becoming, rebirth, new existence
นันทิ ราคะ สะหะคะตา (เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยความเพลิดเพลิน)
Nandi-rāga-sahagatā, – Bounded with pleasures, passion
ตัตระ ตัตราภินันทินี (เพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำ หนัดรักใคร่นั้นๆ)
Tatra tatrābhinandinī, - Delight and indulge in every sensual objects, every existences: here, there, everywhere, - clinging, attachment
เสยยะถีทัง (ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ)
Seyyathīdam, - Namely
1. กามะตัณหา (ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่)
Kāma-tanhā – Craving for sensual pleasures*
2. ภวตันหา (ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่)
Vhava-tanhā – Craving for existence 
3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น อยากดับสูญ)
Vibhava-tanhā, - Craving for non-existence or self-annihilation (because of wrong views)

*phassa – ผัสสะ (sensorial impressions from contacting): sight (eyes), sound (ears), smell (nose), taste (tongue), touch (body), and think (mind).

 

Dukkha-Nirodha (cessation of suffering – ทุกขนิโรธ)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อริยะสัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง)
Idam kho pana bhikkhave dukkha-nirodho ariya-saccam, - the Noble Truth of Cessation of Suffering

โย ตัสสา เยวะ ตัณหายะ อะเสสะ วิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ 
Yo tassā yeva tanhāya asesa-virāga-nirodho cāgo patinissaggo mutti anālayo
การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง
The complete cessation of craving is giving up, relinquishing, liberating, and detaching from craving.

 

Dukkha-Nirodha-Gamini-Patipada (the Path, Magga – มรรค)

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะ นิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8)
Idam kho pana bhikkhave dukkha-nirodha-gāminī-patipadā ariya-saccam, - the Noble Truth of the Path leading to the Cessation of Suffering - Magga

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง เพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจ มี 8 อย่าง)
Ayameva ariyo atthangiko maggo, - the middle way to cease all defilements is the Noble Eightfold Path,
เสยยะถีทัง (ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ)
Seyyathīdam, - Namely
1. สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ) – ปัญญา
Sammā-ditthi - Right view - panna
2. สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน) - ปัญญา
Sammā-sankappo, - Right opinion - panna
3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ วจีสุจริต 4: ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล) - ศีล
Sammā-vācā - Right speech - sila
4. สัมมากัมมันโต (การงานชอบ เว้นจากการทุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) - ศีล
Sammā-kammanto - Right action - sila
5. สัมมาอาชีโว (ความเลี้ยงชีวิตชอบ หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี) - ศีล
Sammā-ājīvo, - Right livelihood - sila
6. สัมมาวายาโม (ความเพียรชอบ เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป) - สมาธิ
Sammā-vāyāmo - Right effort - Samadhi
7. สัมมาสะติ (ความระลึกชอบ ระลึกนึกถึง อนุสสติ 10 ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด) - สมาธิ
Sammā-sati - Right mindfulness - Samadhi
8. สัมมาสะมาธิ (ความตั้งจิตชอบ การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นใน ศีล สมาธิ ปัญญา) - สมาธิ
Sammā-samādhi. - Right concentration - Samadhi
Dhammachakka in Pali verses and translation (continued)

 

Three phases of Knowledge, twelve aspects

1. Sacca nana – สัจจญาณ (knowledge of truth) regarding dukkha

อิทัง ทุกขัง อะริยะ สัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Idam dukkham ariya-saccanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้คือ ทุกข์อริยสัจ
Vision (eyes of Dhamma) arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light (knowledge discerns all phenomena, light to get rid of darkness of ignorance) arose in me regarding those unheard before, This is the Noble Truth of Suffering.

 

2. Kicca nana – กิจจญาณ (knowledge of function) regarding dukkha

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะ สัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkham ariya-saccam parinneyyanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of Suffering should be rightly and fully comprehended.

 

3. Kata nana – กตญาณ (knowledge of function has been done) regarding dukkha

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะ สัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkham ariya-saccam parinnātanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เ คยฟังมาก่อน ว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of Suffering has been rightly and fully comprehended.

 

4. Sacca nana - สัจจญาณ (knowledge of truth) regarding dukkha-samudaya 

อิทัง ทุกขะ สะมุทะโย อะริยะ สัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Idam dukkha-samudayo ariya-saccanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่านี้คือ ทุกข์สมุทัยอริยสัจ
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, This is the Noble Truth of Origin of Suffering.

 

5. Kicca nana – กิจจญาณ (knowledge of function) regarding dukkha-samudaya

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะ สะมุทะโย อะริยะ สัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkha-samudayo ariya-saccam pahātabbanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่านี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละให้ขาด
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of Origin of Suffering should be eradicated.

 

6. Kata nana – กตญาณ (knowledge of function has been done) regarding dukkha-samudaya

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะ สะมุทะโย อะริยะ สัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkha-samudayo ariya-saccam pahīnanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่า นี่ ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of Origin of Suffering has been completely eradicated.

 

7. Sacca nana – สัจจญาณ (knowledge of truth) regarding dukkha-nirodha

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Idam dukkha-nirodho ariya-saccanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่านี้คือ ทุกขนิโรจอริยสัจ
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, This is the Noble Truth of the Cessation of Suffering.

 

8. Kicca nana – กิจจญาณ (knowledge of function) regarding dukkha-nirodha

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะ นิโรโธ อะริยะ สัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkha-nirodho ariya-saccam sacchikātabbanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่า ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of the Cessation of Suffering should be fully realized.

 

9. Kata nana – กตญาณ (knowledge of function has been done) regarding dukkha-nirodha

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะ นิโรโธ อะริยะ สัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkha-nirodho ariya-saccam sacchikatanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน ว่า ก็ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of the Cessation of Suffering has been fully realized.

 

10. Sacca nana – สัจจญาณ (knowledge of truth) regarding dukkha-nirodha-gamini-patipada or magga

อิทัง ทุกขะ นิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุจักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Idam dukkha-nirodha-gāminī-patipadā ariya-saccanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อนว่านี่ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this is the Noble Truth of the Path leading to the Cessation of Suffering.

 

11. Kicca nana – กิจจญาณ (knowledge of function) regarding dukkha-nirodha-gamini-patipada or magga

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะ นิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkha-nirodha-gāminī-patipadā ariya-saccam bhāvetabbanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of the Path leading to the Cessation of Suffering should be developed. 

 

12. Kata nana – กตญาณ (knowledge of function has been done) regarding dukkha-nirodha-gamini-patipada or magga

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะ นิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
Tam kho panidam dukkha-nirodha-gāminī-patipadā ariya-saccam bhāvitanti me bhikkhave, Pubbe ananussutesu dhammesu, Cakkhum udapādi nānam udapādi pannā udapādi vijjā udapādi āloko udapādi. 
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว
Vision arose, insight arose, wisdom arose, clear knowledge arose, light arose in me regarding those unheard before, this Noble Truth of the Path leading to the Cessation of Suffering has been developed. 

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะ สัจเจสุ เอวัน ติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะ ทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
Yāvakīvanca me bhikkhave imesu catūsu ariya-saccesu, Evan-ti-parivattam dvādasākāram yathābhūtam nāna-dassanam na suvisuddham ahosi, Neva tāvāham bhikkhave sadevake loke samārake sabrahmake, Sassamana-brāhmaniyā pajāya sadeva-manussāya, Anuttarma sammā-sambodhim abhisambuddho paccannāsim. 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันเห็นตามความจริง 4 อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ 3 รอบ (ญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) ทั้ง 4 อย่าง รวมเป็นอาการ 12 รอบ ยังไม่หมดจดแก่ตถาคต เราไม่กล้าประกาศยืนยันว่าเราได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมใน โลก ที่มีเทวดา มาร พรหม ในเหล่าสัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ 
As my knowledge of these Four Noble Truths in 3 phases, 12 aspects altogether was not clearly and completely understood to me (Tathagata). I did not declare to the worlds with deities, mara, brahma, and all beings that I had attained the incomparable perfect self-enlightenment.

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะ สัจเจสุ เอวัน ติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะ ทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
Yato ca kho me bhikkhave imesu catūsu ariya-saccesu, Evan-ti-parivattam dvādasākāram yathābhūtam nāna-dassanam suvisuddham ahosi, Athāham bhikkhave sadevake loke samārake sabrahmake, Sassamana-brāhmaniyā pajāya sadeva-manussāya, Anuttaram sammā-sambodhim abhisambuddho paccannāsim. 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง 4 อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ 3 รอบทั้ง 4 อย่าง รวมเป็นอาการ 12 รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ ได้รู้แจ้งหมดจดแก่ตถาคต เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยัน ว่าเราได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ) อันยอดเยี่ยมในโลก ที่มีเทวดา มาร พรหม ในหล่าสัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
As my knowledge of these Four Noble Truths in 3 phases, 12 aspects altogether was thoroughly purified and understood to me (Tathagata). I did declare to the worlds with deities, mara, brahma, and all beings that I had attained the incomparable perfect self-enlightenment.

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
Nānanca pana me dassanam udapādi, Akuppā me vimutti, Ayam-antimā jāti, Natthidāni punabbhavoti
ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ว่า กิเลสทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว
The wisdom arose in me, my supreme deliverance from all defilements is firm and indestructible, this is my last existence, there is no more renewed existence for me.

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ 
Idam-avoca Bhagavā, Attamanā panca-vaggiyā bhikkhū Bhagavato bhāsitam abhinandum 
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง 4 อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัส แล้วนั้น
The group of five ascetics was glad and greatly rejoiced in this profound knowledge of the Blessed One.

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
Imasminca pana veyyā-karanasmim bhannamāne, Āyasmato Kondannassa virajam vītamalam dhamma-cakkhum udapādi, Yankinci samudaya-dhammam sabban-tam nirodha-dhammanti
ก็เมื่อความจริงอันประเสริฐ 4 ประการนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระโกณทัญญะ ว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา "
After the discourse of these Noble Truths expounded by the Blessed One, dhammachakku (vision of Truth, perception of right and wrong, free from impurities/defilements) arose in Venerable Kondanna as ‘Whatever with the nature of arising has the nature of ceasing’.

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง 
Pavattite ca Bhagavatā dhamma-cakke, Bhummā devā saddamanussāvesum: 
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล เหล่าภูมเทวดา ก็ได้เปล่งเสียงสาธุการบันลือลั่นว่า
After the Blessed One had declared this great discourse: the Wheel of Dhamma, the earthbound deities (bhumadevas) did the proclamation of approval loudly that:

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"Etam-Bhagavatā Bārānasiyam isipatane migadāye anuttaram dhamma-cakkam pavattitam, Appativattiyam samanena vā brāhmanena vā devena vā mārena vā brahmunā vā kenaci vā lokasminti." 
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก จะเปลี่ยนแปลงคัดค้านไม่ได้"
This is the supreme Wheel of Dhamma that has been set in motion by the Blessed One at Isipatana, near Veranasi, and cannot be set or reversed by deva, mara, brahma, recluses or anyone in the world.

 

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Bhummānam devānam saddam sutvā, 

จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Cātummahārājikā devā saddamanussāvesum Cātummahārājikānam devānam saddam sutvā, 

ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Tāvatimsā devā saddamanussāvesum Tāvatimsānam devānam saddam sutvā, 

ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Yāmā devā saddamanussāvesum Yāmānam devānam saddam sutvā, 

ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Tusitā devā saddamanussāvesum Tusitānam devānam saddam sutvā,

นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
Nimmānaratī devā saddamanussāvesum Nimmānaratīnam devānam saddam sutvā,

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
Paranimmita-vasavattī devā saddamanussāvesum Paranimmita-vasavattīnam devānam saddam sutvā,

พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรัหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
Brahma-kāyikā devā saddamanussāvesum Brahma-kāyikānam devānam saddam sutvā,

พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Brahma-parisajja devā saddamanussāvesum Brahma- parisajjanam devānam saddam sutvā,

พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Brahma-parohita devā saddamanussāvesum Brahma-parohitanam devānam saddam sutvā,

มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Maha-brahma devā saddamanussāvesum Maha-brahmanam devānam saddam sutvā,

ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Parittabha devā saddamanussāvesum Parittabhanam devānam saddam sutvā,

อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
Appamanabha devā saddamanussāvesum Appamanabhanam devānam saddam sutvā,

อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Abhassara devā saddamanussāvesum Abhassaranam devānam saddam sutvā,

ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Parittasubha devā saddamanussāvesum Parittasubhanam devānam saddam sutvā,

อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Appamanasubha devā saddamanussāvesum Appamanasubhanam devānam saddam sutvā,

สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Subhakinhaka devā saddamanussāvesum Subhakinhakanam devānam saddam sutvā,

เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Vehapphala devā saddamanussāvesum Vehapphalanam devānam saddam sutvā,

อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Aviha devā saddamanussāvesum Avihanam devānam saddam sutvā,

อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Atappa devā saddamanussāvesum Atappanam devānam saddam sutvā,

สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา 
Sudassa devā saddamanussāvesum Sudassanam devānam saddam sutvā,

สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
Sudassi devā saddamanussāvesum Sudassi devānam saddam sutvā,

อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 
Akanitthaka devā saddamanussāvesum.

เหล่าเทพเจ้าชั้นจาตุมมหาราชิกา ครั้นได้ยินเสียงเหล่าเทพภุมเทวดาต่างก็ส่งเสียงสาธุ การ บันลือลั่นสืบต่อไปจนถึงเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนกระทั่งถึงชั้นพรหม ตั้งแต่พรหมปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหม ปริตตาภาพรหม อัปมาณาภาพรหม อาภัสสราพรหม ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม สุภกิณหกาพรหม เวหัปผลาพรหม อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม จนกระทั่งถึงอกนิฎฐกาพรหมเป็นที่สุด ก็ส่งเสียงสาธุการบันลือลั่น 
After hearing these agreeable words of Bhumadevas, the deities in the upper realms from Chatummharajika, then Tavatimsa to Yama to Tusita to Nimmanarati to Paranimmitavasavatti proclaimed……… and heard in the brahma realms, they proclaimed from Brahma-parisajja to Brahma-parohita to Maha-brahma to Parittabha to Appamanabha to Abhassara to Parittasubha to Appamanasubha to Subhakinhaka to Vehapphala to Aviha to Atappa to Sudassa to Sudassi to the highest realm* – Akanitthaka proclaimed that:

 

“เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"Etam-Bhagavatā Bārānasiyam isipatane migadāye anuttaram dhamma-cakkam pavattitam, Appativattiyam samanena vā brāhmanena vā devena vā mārena vā brahmunā vā kenaci vā lokasminti." 
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก จะเปลี่ยนแปลงคัดค้านไม่ได้"
This is the supreme Wheel of Dhamma that has been set in motion by the Blessed One at Isipatana, near Veranasi, and cannot be set or reversed by deva, mara, brahma, recluses or anyone in the world.

 

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ 
Itiha tena khanena tena muhuttena, Yāva brahma-lokā saddo abbhuggacchi 
และโดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ
Thus for that moment, the voices of this proclamation spread to the Brahma world

 

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ 
Ayanca dasa-sahassī loka-dhātu, Sankampi sampakampi sampavedhi, Appamāno ca olāro obhāso loke pāturahosi, Atikkammeva devānam devānubhāvam. 
ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าเทวา
All ten thousand worlds shaken and trembled in all directions, infinite sublime radiance appeared in the worlds, surpassing the effulgence and powers of all celestial beings. 

 

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
Atha kho Bhagavā udānam udānesi,"Annāsi vata bho Kondanno, Annāsi vata bho Kondannoti." Itihidam āyasmato Kondannassa, Anna-kondanno tveva nāmam, ahosīti
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
Then the Blessed One uttered “Kondanna has realized (the Noble Truth), Kondanna has understood” thus, the name Anna Kondanna was given.

 

 

ธรรมจักรซีรี่ส์ Part ที่ 1 - 12 ( แปลตั้งแต่แรกจนจบ )

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 1 ( เอวัมเม สุตัง ) ตอนที่ 1

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 2 ( ทะเวเม ภิกขะเว อันตา ) ตอนที่ 2

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 3 ( เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันตา ) ตอนที่ 3

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 4 ( กะตะมา จะ สา ภิกขะเว ) ตอนที่ 4

ธรรมจักรฯซี่รี่ส์ Partที่ 5 ( อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ) ตอนที่ 5

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 6 ( อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย ) ตอนที่ 6

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 8 ( ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย ) ตอนที่ 8

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 9 ( ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว ) ตอนที่ 9

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 10 ( ญานัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ) ตอนที่ 10

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 11 ( ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ) ตอนที่ 11

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 12 ตอนสุดท้าย ( อิติหะ เตนะ ขเณะ ) ตอนที่ 12 ( ตอนสุดท้าย )

 

ช่องทางรับฟัง เสียงสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ฉบับ วัดพระธรรมกาย

JOOX https://joox.page.link/X9PKb9

Spotify https://spoti.fi/38JZPlc

Vimeo https://vimeo.com/379638944

TikTok https://bit.ly/2rNCheo

Weibo https://bit.ly/2ss7IuJ

Apple podcast https://apple.co/2YMSJHW

Google podcast https://bit.ly/38Jf25J

SoundCloud https://bit.ly/38LbIr4

Radio public https://bit.ly/2LWntRy

Breaker https://bit.ly/34mm6SG

Pocket Casts https://bit.ly/2suaeAN

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018353247642517 Mins