สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลชีวิต

วันที่ 25 ตค. พ.ศ.2559

สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลชีวิต

สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลชีวิต , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , มงคลชีวิต

1.1 การพัฒนาตนเองตามหลักมงคลชีวิต

    มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาตราบกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต ต่างมีความปรารถนาให้ตนเองมีชีวิตที่ประสบความสุข และความสำเร็จ ทั้งด้านครอบครัว หน้าที่การงาน และได้รับการยอมรับนับถือในสังคมจึงพยายามขวนขวายฝึกฝนอบรมตน ให้มีพัฒนาการที่ดีมีความเจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากสภาวะปัจจุบันได้มีการเปิดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพ หลักสูตรการบริหารธุรกิจ และอีกหลากหลายหลักสูตรเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ มากมาย ตามสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐบาล เอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาตนเองของมนุษย์เหล่านี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติตามหลักสูตรพันาทั้งหลาย บางหลักสูตรผู้เข้ารับการอบรมบางท่าน เมื่อนำไปใช้ก็ได้ผลสำเร็จเป็นที่พอใจ แต่บางท่านก็ไม่ได้รับผลสำเร็จตามที่ปรารถนา ต้องขวนขวายหาวิธีการใหม่เพื่อให้ประสบผลตามที่ปรารถนาต่อไปสำหรับผู้ที่ประสบผลสำเร็จแล้วก็ยังต้องขวนขวาย เพื่อให้ตนเองประสบผลสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งก็ได้รับผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้บ้าง ไม่ได้บ้าง ยังต้องเสี่ยงทดสอบต่อไป

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้าใจเรื่องราวของชีวิตมนุษย์อย่างแท้จริง ว่ามนุษย์ทุกคนต่างมีความปรารถนาให้ชีวิตของตนประสบความสุข และความสำเร็จ ได้ทรงแสดงสูตรสำเร็จในการพันาชีวิตมนุษย์ให้มีความก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ทั้งโลกนี้และโลกหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุดตามหลักมงคลชีวิต 38 ประการ ซึ่งยังไม่มีหลักสูตรการพัฒนาใดๆ ในโลกเทียบได้ เพราะผู้ที่ปฏิบัติตามหลักสูตรที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางแบบแผนไว้ จะประสบผลสำเร็จทุกคน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่อยู่ในวัยชรา เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย มีเชื้อชาติ ศาสนาไหนๆ ก็ตาม เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพิสูจน์ตลอดเวลายาวนานกว่า 2600 ปีที่ผ่านมา รับประกันความสำเร็จอย่างแน่นอน และหลักมงคลชีวิต 38 ประการนี้ เป็นสูตรสำเร็จที่มนุษย์ทุกคนต้องรู้ ต้องศึกษา เพื่อชีวิตของตนเองจะได้รับการพัฒนาก้าวไปข้างหน้าฝ่ายเดียว จวบกระทั่งบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิต หมดกิเลสเข้าสู่นิพพาน


1.2 ความหมายของมงคลชีวิต

      มงคล คืออะไร มีผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า มงคล คือทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริญ

    สำหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546 ให้ความหมายไว้ว่า มงคล คือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ

   คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ 38 ประการด้วยกัน


1.3 ความสำคัญของมงคลชีวิต

    มงคล  เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า

    ความเจริญก้าวหน้าแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

   1. ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดี เป็นต้น

   2. ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

   3. การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุดการปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง 3 ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้าจนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

     แสดงว่ามงคลสูตรนี้ เหมาะ มแก่การศึกษาด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

    ประการที่ 1 สะดวกในการทำความเข้าใจ เพราะมงคลสูตรมีการจัดลำดับหมวดหมู่อย่างเป็นระบบจึงง่ายต่อการที่จะเข้าใจ

     ประการที่ 2   เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ เพราะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ผู้ศึกษามงคลสูตรนี้สามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นลำดับๆ เหมือนขึ้นบันไดที่ละขั้นจนถึงจุดสูงสุดได

เหตุที่ต้องเรียนมงคลสูตร

     มีสิ่งที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่งคือ การเกิดมาเป็นคน เพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูงๆ เพื่อให้มีสติปัญญาที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายโดยไม่ติดขัด เท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่แน่ว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในโลกทั่วไปเป็นความรู้เพื่อการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คือเลี้ยงส่วนที่เป็นกายเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นใจยังไม่มีอะไรไปเลี้ยง

      เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือกายและใจ ในเมื่อกายต้องการอาหารไปเลี้ยง เพื่อให้พ้นจากโรค คือความหิว และให้ร่างกายเกิดความเจริญเติบโตขึ้น ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหาร คือ ธรรมะมาหล่อเลี้ยง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง และเพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น จะได้พบกับความสุข ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพทำมาหากิน

    ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมาเรียนธรรมะโดยเฉพาะเรื่องมงคลสูตร เพราะไม่เพียงมีความสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติตามอีกด้วย


1.4 ที่มาของมงคลชีวิต

     ย้อนหลังไป 26 ศตวรรษ ประชาชนชาวชมพูทวีปสมัยนั้นกำลังตื่นตัวในการค้นคว้าปัญหาเกี่ยวกับชีวิตจิตใจ เช่น คนเราเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขในชีวิตทำอย่างไรจึงจะมีความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ มีการชุมนุมกันตามสวนสาธารณะบ้าง ประตูเมืองบ้างจัตุรัสต่างๆ บ้าง เพื่ออภิปรายในปัญหาเหล่านี้กันอย่างกว้างขวาง

   เมื่อมีผู้อภิปรายมากเข้า หลายคนก็หลายความคิด และต่างก็โฆษณาเผยแพร่ความคิดของตัวใครมีคนเชื่อตามมากก็กลายเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์ลูกหากันคนละมากๆ

    ขณะที่การชุมนุมสาธารณะกำลังเฟอง การอภิปรายกำลังเป็นไปอย่างครึกครื้น ปัญหาต่าง ๆ ได้ถูกฟาดฟันด้วยวาทะคมคายเรื่องแล้วเรื่องเล่า

      โดยไม่มีใครคาดฝัน ได้มีผู้เสนอญัตติสำคัญเข้าสู่วงอภิปรายว่า "อะไร คือมงคลชีวิต"

     ดูรูปปัญหาแล้วก็ไม่น่าจะหนักหนาอะไร แต่เมื่อมีผู้เสนอตัวขึ้นกล่าวแก้ กลับถูกผู้อื่นกล่าววาทะหักล้างอย่างไม่เป็นท่า "ท่านทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล"

    นักอภิปรายผู้หนึ่งนามว่า ทิฏฐมังคลิกะ เสนอตัวขึ้นในที่ชุมนุม "รูปที่ตาเห็นนี้แหละเป็นมงคล ลองสังเกตดูซิ เมื่อเราตื่นแต่เช้าตรู่ ได้เห็นนกบินเป็นฝูง ๆ ดวงอาทิตย์ขึ้น ต้นไม้เขียวๆ เด็กเล็กๆ น่ารักสิ่งที่เราเห็นนี่แหละเป็นมงคล"

   พอทิฏฐมังคลิกะกล่าวจบลง นักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อสุตมังคลิกะ ก็กล่าวหักล้างทันทีว่า "ช้าก่อนท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งเชื่อ ที่นายทิฏฐมังคลิกะกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าสิ่งที่ตาเห็นเป็นมงคลแล้ว เวลาที่เรามองเห็นอุจจาระ ปัสสาวะ คนเป็นโรคสิ่งเหล่านี้ก็ต้องเป็นมงคลด้วยซิ มันจะเป็นไปได้อย่างไร"

    "ต้องหูซิท่าน เสียงที่หูฟังนี่แหละเป็นมงคล ตื่นเช้าเราก็ได้ฟังเสียงนกร้องบ้าง เสียงเพลงบ้างเสียงแม่หยอกล้อเล่นกับลูกบ้าง เสียงพูดเพราะๆ บ้าง เสียงลมพัดยอดไม้บ้าง ฯลฯ เสียงที่หูได้ได้ฟังจึงเป็นมงคล"สุตมังคลิกะกล่าว

   ไม่ทันขาดคำ ก็มีนักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ มุตมังคลิกะ กล่าวแย้งทันทีว่า "เป็นไปไม่ได้หรอกถ้าเสียงที่หูได้ยินเป็นมงคล อย่างนั้นเวลาที่เราได้ยินคนด่ากัน คนขู่ตะคอก คนโกหกมดเท็จ เสียงเหล่านี้จะเป็นมงคลด้วยหรือ"

     "ต้องอารมณ์ที่ใจเราทราบซิท่านจึงจะเป็นมงคล พึงสังเกตว่า ตื่นเช้าเราได้กลิ่นดอกไม้หอมๆ จับต้องสวมใส่เสื้อผ้าสะอาดๆ รับประทานอาหารอร่อยๆ เป็นสอารมณ์ที่ใจเรารับรู้ รับทราบ นี่แหละจึงเป็นมงคล"

   ทันควันอีกเหมือนกัน นักอภิปรายอีกคนก็แย้งทันที่ว่า "เป็นไปไม่ได้ ถ้าอารมณ์ที่ใจเรารับรู้เป็นมงคลแล้ว อย่างนั้นเวลาที่เราได้กลิ่นเหม็นๆ จับของสกปรก คิดเรื่องชั่วร้าย อารมณ์ตอนนั้นจะเป็นมงคลไปด้วยหรือ"

    ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องมงคล ได้แผ่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั่วแคว้น ในบ้าน ในสภา ในสโมสร ในหมู่คนเดินทาง ฯลฯ ปัญหาเรื่องมงคลได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันอยู่ทั่วไป

    ไม่เฉพาะมนุษย์ แม้พวกเทวดาได้ยินมนุษย์ถกเถียงกันก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกันบ้าง ตั้งแต่เทวดารักษามนุษย์ ภุมเทวา อากาศเทวา ตลอดจนเทวดาบน สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น จนถึงพรหมโลกต่างก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกัน ปัญหามงคลนี้ได้กลายเป็นมงคลโกลาหล ร่ำลือกันกระฉ่อนไปหมดทั่วทั้งมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก แต่ก็ไม่มีใครชี้ขาดได้ว่าอะไรเป็นมงคลของชีวิต

   แต่มีพรหมอยู่พวกหนึ่ง คือพรหมชั้นสุทธาวา พรหมชั้นนี้เมื่อสมัยเป็นมนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมขั้นพระอนาคามี จึงทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ ได้แต่ป่าวประกาศ ให้เทวดาทั้งหลายทราบว่าอีก 12 ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลก ให้คอยถามปัญหามงคลนี้กับพระองค์

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่ง ทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด 38 ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง

    แม้หลักมงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วยเหตุผลอย่าง สมบูรณ์ ไม่มีใครสามารถหักล้างได้ แต่มิได้หมายความว่า คณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลายล้มเลิกความคิดเดิมหันมาเชื่อพระองค์ทุกคน เพราะล้วนแต่หนาแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และสานุศิษย์ของแต่ละสำนักยังทำการเผยแพร่อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับนิสัยของคนเรามีความขลาดประจำตัวอยู่แล้ว ชอบทำอะไรเผื่อเหนียวไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเกิดเป็นมงคล 2สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ

    1. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่างๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่างบางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลได้

   2. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ ยึดถือเอาอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

    มงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ จนหาข้อยุติไม่ได้ แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงแล้วก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลมาลบล้างได้ แม้พระองค์จะเปิดโอกาสให้คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา ดังความในบทสรรเสริญพระธรรมคุณที่ว่า "เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด"


1.5 ภาพรวมการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลชีวิต
     การศึกษาตามหลักมงคลชีวิตให้เข้าใจง่าย เราต้องมองภาพรวมของมงคลสูตรให้เข้าใจว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้จัดลำดับหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ เรียงลำดับจากง่ายไปหายากสามารถนำมาปฏิบัติได้ตามลำดับ มงคลเปรียบเสมือนการขึ้นบันไดที่ละขั้นจนถึงขั้นสูงสุด

     มงคลสูตรทั้ง 38 ข้อนั้น แบ่งได้เป็น 10 หมู่ 5 หมู่แรกเป็นข้อปฏิบัติในการพัฒนาชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องพบต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ที่ทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนาสามารถนำไปใช้ได้ผลเหมือนกันหมด หลักปฏิบัติทั้ง 18 มงคลเป็นเรื่องของการครองตน ครองชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม รวมถึงสามารถนำไปใช้ครอบคลุมถึงการพันา ปรับปรุงองค์กรด้านธุรกิจสังคม การเมืองการปกครอง ให้เจริญก้าวหน้าประสบผลสำเร็จ

    ส่วน 5 หมู่หลัง เป็นการฝึกใจโดยตรง เมื่อเราปฏิบัติตามหลักมงคลทั้ง 10 หมู่แล้ว เราก็สามารถพัฒนาตนเองจนบรรลุความเจริญก้าวหน้าทั้ง 3 ระดับ คือ ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ ในโลกหน้า และการบรรลุมรรคผลนิพพาน ดังนี้

มงคลหมู่ที่ 1 ฝึกให้เป็นคนดี
มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล
มงคลที่ 2 คบบัณฑิต
มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา

     การพัฒนาตนเองขั้นแรกคือ การพัฒนานิสัยเสียก่อน นิสัยของคนเราจะมาจากสิ่งแวดล้อม คนรอบตัว เราคบกับคนอย่างไร บูชายกย่องใคร เราก็จะค่อยๆ มีนิสัยไปตามเขา ใครคบคนขี้เหล้า เป็นเพื่อนสนิทไม่ช้าจะกลายเป็นไอ้ขี้เมาตามไป เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการจะเป็นคนดีจึงต้อง

    1. ไม่คบคนพาล เป็นการป้องกันไม่ให้นิสัยไม่ดี ความเห็นผิดๆ ทั้งหลายจากคนพาลมาติดต่อเราเข้าและป้องกันไม่ให้ถูกคนพาลกลั่นแกล้งทำร้ายเอาด้วย

       2. คบบัณฑิต เพื่อถ่ายทอดเอานิสัยดีๆ คุณธรรมต่างๆ มาสู่ตัวเรา

      3. บูชาบุคคลที่ควรบูชา เพื่อประคับประคองนิสัยที่ดีในตัวให้เจริญงอกงามขึ้น บุคคลที่ควรบูชาจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เราดูและปฏิบัติตาม เป็นหลักใจของเราได้


มงคลหมู่ที่ 2 สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง
มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ 5 มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ

    เมื่อเราพันานิสัยเบื้องต้นแล้ว ต่อมาเราต้องสร้างความพร้อมเพื่อใช้ในการฝึกตนเองลองพิจารณาว่า คนเราทำไมจึงมีความแตกต่างกัน คนอายุเท่ากันแท้ๆ แต่ทำไมฝีมือไม่เท่ากัน ทำไมบางคนมีความรู้สูง ประสบความสำเร็จในชีวิตใหญ่โต แต่บางคนทำไมชีวิตเขาล้มเหลว เป็นเพราะอะไร นั่นเป็นเพราะเขาฝึกตัวเองได้ไม่เท่ากัน เหตุที่ฝึกตัวเองได้ไม่เท่ากัน เป็นเพราะเขามีความพร้อม มีปัจจัยสนับสนุนในการฝึกตัวเองไม่เท่ากัน แล้วอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการฝึกตัวเอง

     คนที่จะฝึกตัวเองได้ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

   1. ต้องอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม รู้จักเลือกและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้พอเหมาะแก่ตน โบราณท่านเปรียบไว้ว่า ต้นโพธิ์ต้นไทร หากปลูกในกระถางก็กลายเป็นไม่แคระ แต่ถ้าเราไปปลูกในที่ดินดี ไม่นานจะโตเป็นไม้ใหญ่โอบไม่รอบทีเดียว

    คนเราเหมือนกัน ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยก็ยากจะเอาดีได้ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมดี ก็มีโอกาสเจริญก้าวหน้าได้มาก รอบๆ ตัวมีแต่คนดี เราก็มีโอกาสเป็นคนดี ถ่ายทอดคุณธรรมจากท่านได้สะดวก จะหาความรู้ฝึกฝีมือ ฝึกวินัย ฝึกพูด ก็หาคนสอนได้ง่าย บ้านช่องมีอยู่สะดวกสบาย อาหารการกินอุดมสมบูรณ์
ก็ฝึกตัวเองได้ง่าย

     2. ต้องมีบุญวาสนามาก่อน คือสร้างบุญมาดี ทั้งบุญเก่า บุญใหม่
บุญเก่าที่ทำมาในอดีตชาติ ก็ทำให้เป็นคนมีร่างกายแข็งแรง ติปัญญาเฉลียวฉลาด ไหวพริบปฏิภาณไว อารมณ์แจ่มใสเบิกบาน มีบุญคอยส่งอยู่ จะร่ำเรียนเขียนอ่าน ทำการงานอะไรก็ก้าวหน้าได้เร็วกว่าคนอื่น

     บุญใหม่ที่ทำในชาตินี้ การตั้งใจขยันหมั่นเพียร หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะคอยช่วยหนุนอีกชั้นหนึ่ง

    ใครที่บุญเก่ามี แต่บุญใหม่ไม่ยอมทำ ก็มีโอกาสพลาดได้เหมือนกัน ฉลาดนักแต่ขี้เกียจสอบตกก็มีให้เห็น ถ้าบุญเก่าน้อย แต่ขวนขวายสร้างบุญใหม่ก็ยังเอาตัวรอดก้าวหน้าได้ เช่น ปัญญาปานกลางแต่ขยัน ได้เกียรตินิยมก็มีตัวอย่างให้เห็น ยิ่งถ้าใครบุญเก่าก็ดี บุญใหม่ก็ขวนขวายทำ ยิ่งก้าวหน้าได้เร็วเป็นทวีคูณและยังทำให้ฝึกตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้น

     3. ต้องตั้งตนชอบ คือมีเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้อง เช่น จะเป็นครู เป็นแพทย์ เป็นวิศวกร เป็นนักธุรกิจ หรืออะไรก็ได้ แต่ต้องมีเป้าว่าจะตั้งฐานะให้ได้โดยอาชีพที่สุจริต ไม่เป็นคนโลเลปล่อยตัวเองไปตามดวงวันนี้อยากเป็นแพทย์ พรุ่งนี้เปลี่ยนใจเป็นวิศวกรดีกว่า มะรืนเปลี่ยนใจจะเป็นนักธุรกิจ อย่างนี้ล้มเหลวทั้งชาติ

    คนที่ตั้งตนชอบจะทำให้มีเป้าหมาย จะขวนขวายหาความรู้ ฝึกฝีมืออะไรก็ทำไปตามเป้าที่วางเอาไว้เมื่อมีเป้าอย่างนี้แล้วย่อมมีความกระตือรือร้นสามารถทุ่มเทพลังความสามารถของตน เพื่อฝึกตนเองให้บรรลุเป้านั้นได้อย่างเต็มที่ ไม่เปะปะ จะมีความพร้อมในการฝึกตัวเองสูง


มงคลหมู่ที่ 3 ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์
มงคลที่ 7 เป็นพหูสูต
มงคลที่ 8 มีศิลปะ
มงคลที่ 9 มีวินัย
มงคลที 10 มีวาจาสุภาษิต

    การพัฒนาตนเองขั้นต่อไป คือต้องฝึกตนเองให้เป็นคนมีประโยชน์สามารถดูแลตนเองได้พิจารณาจากสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกที่มีมากมายสุดจะนับจะประมาณ แต่มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐสุด เพราะสามารถฝึกตนให้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและสังคมได้เต็มที่

     คนมีประโยชน์ที่ใครๆ ต้องการนั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     1. ต้องไม่เป็นคนโง่ เราจึงต้องฝึกตัวเองให้เป็นพหูสูต รู้จักใฝ่หาความรู้ "ฉลาดรู้"

     2. ต้องไม่เป็นคนชนิดความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด มีแต่ความรู้แต่พอให้ทำอะไรก็ทำไม่ได้สักอย่างทำไม่เป็น เราจึงต้องฝึกตัวเองให้มีศิลปะ ทำได้ ทำเป็นสามารถนำเอาความรู้มาใช้งานได้จริงๆ "ฉลาดทำ"   

    3. ต้องไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง เราจึงต้องฝึกตัวเองให้เป็นคนมีวินัย เคารพต่อกฎระเบียบของหมู่คณะ และวินัยของตนเอง รู้จักควบคุมตนเองให้นำความรู้ความสามารถไปใช้ในทางที่ถูก "ฉลาดใช้"

    4. ต้องไม่เป็นคนปากเปราะเราะร้าย คนเราต่อให้มีฝีมือดีแค่ไหน มีความรู้ความสามารถสูงส่งแต่ถ้าพูดไม่เป็น เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น พูดจาไม่เข้าหูคนก็ไม่มีใครต้องการ เราจึงต้องฝึกตัวเอง ให้มีวาจาสุภาษิต รู้จักควบคุมวาจา พูดเป็น "ฉลาดพูด"

     มงคลทั้ง 3 หมู่ รวม 10 ข้อข้างต้นนี้ เป็นการพัฒนาเตรียมตัวของเราให้พร้อมจะทำงานเพื่อพัฒนาตัวของเราระดับกว้างออกไป ในมงคลอีก 2 หมู่ที่อยู่ถัดไป โดยเริ่มจากคนใกล้ตัวก่อน ดังนี้


มงคลหมู่ที่ 4 บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ 12 เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ 13 สงเคราะห์ภรรยา(สามี)
มงคลที่ 14 ทำงานไม่คั่งค้าง

      ผู้ที่พัฒนาตนเองจนมีความสามารถพร้อมแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีครอบครัวดีด้วย ต้องปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

      1. บำรุงบิดามารดา มีความกตัญูรู้คุณพ่อแม่ เลี้ยงดูปรนนิบัติท่านให้ได้รับความสุขสบาย

      2. เลี้ยงดูบุตร รู้จักวิธีเลี้ยงลูกให้ลูกเป็นคนดี เป็นลูกแก้วนำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่พ่อแม่ วงศ์ตระกูล

    3. สงเคราะห์ภรรยา (สามี)สามีภรรยาจะต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตัวต่อกันมีความเกรงอกเกรงใจ เคารพให้เกียรติกัน ไม่นอกใจกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้อบอุ่นแน่นแฟ้นครอบครัวจะมีแต่ความร่มเย็น เพียงย่างเท้าเข้าบ้านก็มีความสุขใจแล้ว เข้าบ้านเหมือนขึ้นสวรรค์

    4. ทำงานไม่คั่งค้าง ต้องทำงานไม่คั่งค้าง เพราะครอบครัวต้องมีค่าใช้จ่าย จะเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงลูก เลี้ยงภรรยา ก็ต้องใช้สตางค์ทั้งนั้น เราจึงมีหน้าที่ก่อร่างสร้างตัวด้วยการทำงานไม่คั่งค้าง ต้องทำให้เสร็จ ทำให้สำเร็จ จะได้สร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นแก่ตนเองและครอบครัว

      ใครปฏิบัติได้ครบ 4 ข้อนี้ ครอบครัวจะมั่นคงมีความสุข


มงคลหมู่ที่ 5 บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
มงคลที่ 15 บำเพ็ญทาน
มงคลที่ 16 ประพฤติธรรม
มงคลที่ 17 สงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ

    นอกจากการปรับปรุงครอบครัวของเราให้มีความสุข มีความอบอุ่น มีฐานะที่มั่นคงแล้ว เราทุกคนยังมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ช่วยเหลือส่วนรวมด้วย โดย

   1. บำเพ็ญทาน คือการให้ รู้จัก ละทรัพย์สิ่งของที่เหมาะสมของตนแก่ผู้ที่สมควรได้รับ เป็นการกำจัดความตระหนี่สั่งสมบุญกุศล ทำให้ใจของเราสูงขึ้น และเป็นการสร้างสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติ

   2. ประพฤติธรรม บางคนอาจนึกสงสัยว่า "เอ๊ะ! ทำไมประพฤติธรรมต้องมาอยู่ตรงหมู่นี้ด้วย ไม่เห็นเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ผิดลำดับหรือเปล่า" คำตอบก็คือ "เปล่า" พระองค์เรียงลำดับไว้ถูกต้องเหมาะสมทุกประการ งามพร้อมจริงๆ การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสังคมนี้ ถ้าขาดการประพฤติธรรมแล้ว ก็จะไม่สมบูรณ์ไปได้เลย รายละเอียดจะยกไว้กล่าวตอนท้าย

    3. สงเคราะห์ญาติ คือช่วยเหลือทั้งญาติสายโลหิตเดียวกัน ทั้งพี่ ป้า น้า อา ลุง หลาน ฯลฯ รวมทั้งผู้รู้จักคุ้นเคยกัน ญาติร่วมจังหวัด ญาติร่วมประเทศ ญาติร่วมโลก เป็นการสร้างเสริมความสามัคคีความเป็นปึกแผ่นของสังคมให้เกิดขึ้น

    4. ทำงานไม่มีโทษ ข้อนี้ชื่อก็บอกตรงตัวอยู่แล้ว ทำงานไม่มีโทษก็หมายถึงทำงานที่สุจริต ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร รวมทั้งงานที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น งานสาธารณกุศล งานสาธารณประโยชน์ และงานสังคม งเคราะห์ต่างๆ

     คราวนี้เรามาดูกันว่า การประพฤติธรรม ทำไมต้องมาอยู่ในมงคลหมู่นี้

     ประพฤติธรรม คือ การปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ฯลฯ

    คนเราทั่วไปปกติเราก็ว่าเราเป็นคนดี รักษาศีลได้ เป็นคนใจเย็นคนหนึ่ง แต่พอมาทำงานเพื่อสังคมเนื่องจากเป็นงานของส่วนรวม เพื่อส่วนรวม ดังนั้นก็มักจะมีผู้ร่วมงานมาก พอคนมากก็มักจะมีความเห็นแตกต่างกันบ้าง มีผู้ไม่หวังดีมาคอยขัดขวางงานบ้าง จากเดิมว่าเป็นคนใจเย็นละ มันก็ชักจะมีอารมณ์ขึ้นมา
ถ้าไม่ได้ประพฤติธรรมละก็ เดี๋ยวโกรธหนักเข้า เลยฆ่าทิ้งเสียเลย เราจึงจำเป็นต้องมีกุศลกรรมบทข้อ 1 คือไม่ฆ่าสัตว์ จะต้องแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่แก้ปัญหาด้วยการฆ่า

    หรืองานส่วนรวมผลประโยชน์มันก็มีมาก พอเป็นรัฐมนตรีเข้าเขาเอาเช็คมาให้ บอกท่านเซ็นชื่อแก็กเดียว เช็คเงิน ด 10 ล้านบาทเอาไปเลย เดิมก็ว่าเป็นคนรักษาศีลละ แต่ถ้าไม่ได้ประพฤติธรรมละก็มันก็ไม่แน่เหมือนกัน ของที่มันยั่วยวนใจมีอยู่มากมาย

    หรืออีกอย่างหนึ่ง งานเพื่อส่วนรวมก็ต้องทำกันหลายคนทั้งหญิงทั้งชายทำงานขลุกกัน ถ้าไม่ได้ประพฤติธรรมเดี๋ยวก็เผลอ ปล่อยใจไปยุ่งเกี่ยวกันเข้า มีเมียน้อยบ้าง มีชู้บ้าง บ้านแตก ครอบครัวระส่ำระสาย

      ในการทำงานเพื่อส่วนรวม มีสิ่งยั่วใจให้ทำผิดมากเหลือเกิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสั่งไว้ว่า ต้องประพฤติธรรม เราจะเห็นได้ว่าคำสอนของพระองค์สมบูรณ์จริง งามพร้อมบริบูรณ์ไม่มีที่ติ ไพเราะทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายจะหาคำสอนของใครในโลกได้อย่างพระองค์ ไม่มีอีกแล้ว

    และที่เกิดปัญหากันในปัจจุบัน เราคงเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างว่า บางคนเป็นนักสังคมสงเคราะห์แต่ลูกไปติดยาบ้า ไปติดเฮโรอีน กลายเป็นวัยรุ่นรถซิ่งบ้าง คนเกเรบ้างก็มี นั่นก็เพราะไม่ทำตามขั้นตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัวได้ไม่ดี ลูกตัวเองยังไม่รู้จักเลี้ยง ไม่รู้จักดูแล วันๆ วิ่งแต่ไปช่วยลูกคนอื่น บางทีก็เกิดผลเสียแก่ครอบครัวโดยไม่รู้ตัว

   หรือที่มีข่าวว่านักสังคมสงเคราะห์คนนั้นคนนี้ดี แต่กลับหย่ากับสามีหรือภรรยาเพราะไปมีชู้นี่ก็เพราะไม่ทำตามขั้นตอนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ประพฤติธรรมแล้วไปสงเคราะห์สังคม

       สำหรับมงคล 5 หมู่หลัง เป็นเรื่องของการฝึกใจโดยเฉพาะ จนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ ดังนี้


มงคลหมู่ที่ 6 ปรับเตรียม ภาพใจให้พร้อม
มงคลที่ 19 งดเว้นจากบาป
มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรม

    ในการปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม เพื่อฝึกใจให้มีคุณธรรมมากขึ้น มีกิเลสเบาบางลงตามลำดับขั้น เราต้องทำดังนี้

    1. งดเว้นจากบาป คนที่ยังทำบาปสารพัดอยู่ ไม่ยอมเลิก ไม่มีทางที่จะฝึกได้เลย เพราะบาปนั้นจะมาหุ้มใจ ทำให้ใจเสียคุณภาพ รองรับธรรมะไม่ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกใจ อะไรที่เป็นความชั่วที่ทำไปแล้ว ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง เสียคุณภาพอันดีไป ที่เคยทำอยู่ก็ต้องงดเสีย ที่ไม่เคยทำก็จะต้องละเว้น ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด

    2.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา เพราะของมึนเมาสิ่งเสพติดทั้งหลายจะทำให้เราขาด สติ และใจที่ขาดสตินั้น ก็ไม่สามารถฝึกได้ ใครไม่เชื่อก็ลองได้ ลองไปพูดธรรมะให้คนเมาเหล้าฟัง ดูซิว่าเขาจะรู้เรื่องไหม

    3. ไม่ประมาทในธรรม ผู้ที่ประมาทมักจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม คิดแต่ว่า "ไม่เป็นไร ไม่เป็นไรเรายังอายุน้อยอยู่ รอแก่ๆ ค่อยทำความดี" หรือ "ไม่เป็นไรหรอกน่า เรายังแข็งแรง ทำเมื่อไรก็ได้" หรือ "ไม่เป็นไรหรอกน่า เรายังมีชีวิตอีกนาน ทำเมื่อไรก็ได้" เขาเหล่านี้เมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความคิดว่ายังไม่ตาย จึงไม่ยอมทำความดี

     ส่วนผู้ที่ไม่ประมาทในธรรม จะคิดเสมอว่าเราอาจป่วย หรือตายเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้ มัจจุราชไม่มีเครื่องหมายนำหน้า ไม่มีการบอกก่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประมาท รีบขวนขวายสร้างบุญกุศลตั้งใจฝึกตนเอง ซึ่งใจของคนอย่างนี้จะมีความกระตือรือร้น พร้อมที่จะรับการฝึกกุศลธรรมทั้งหลายให้สามารถเจริญขึ้นได้โดยง่าย


มงคลหมู่ที่ 7 การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว
มงคลที่ 22 มีความเคารพ
มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
มงคลที่ 25 มีความกตัญู
มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

    เมื่อเราเตรียม ภาพใจของเราไว้พร้อมแล้ว จากมงคลหมู่ที่ 6 เมื่อถึงมงคลหมู่ที่ 7 เป็นการเริ่มลงมือแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว คราวนี้ผู้จะแสวงหาธรรมะใส่ตัวได้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

   1. ต้องมีความเคารพ คือ รู้และตระหนักถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของผู้อื่น ใครมีข้อดีอะไรก็รู้ ทำให้รู้ว่าจะเข้าไปหาคุณธรรมนั้นๆ ได้จากใคร

   ในทางตรงข้าม คนไม่มีความเคารพ จะเป็นคนที่มองใครก็ไม่เห็นมีอะไรดี เลวไปหมดก็เลยไม่สามารถหาธรรมะ ใส่ตัวได้ เพราะเมื่อมองไม่เห็นข้อดีของใครแล้วก็เลยไม่รู้จะไปเอาธรรมะจากใคร

     2. ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดื้อถือดี ไม่เบ่ง ไม่ยโ โอหัง รู้จักค่าของตนเองตรงตามความเป็นจริง พร้อมที่จะน้อมตัวลงรับเอาคุณความดีจากผู้อื่นมาใส่ตัวได้

     คนที่มีความเคารพ รู้ว่าคนอื่นมีดีอะไร ถ้าหากขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนเสียแล้ว ใจเขาจะพองขึ้นแข่งทันทีว่า ถึงใครจะแน่ แต่ฉันก็หนึ่งเหมือนกัน ใจจะคอยแต่เบ่ง คิดว่าตัวเก่งกว่าทุกที ก็เลยรับคุณธรรมของใครไม่ได้ เพราะคิดว่าตัวเก่งกว่าเสียแล้วนั่นเอง

    เราดูมหาสมุทรเป็นที่รวมของน้ำได้ ก็เพราะพื้นผิวอยู่ต่ำกว่าแม่น้ำลำธารทั้งหลาย ถ้าเมื่อใดมหาสมุทรยกตัวสูงขึ้น น้ำก็ไหลย้อนกลับรับน้ำไม่ได้อีกต่อไป คนเราก็เช่นกัน ถ้าขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนอวดเบ่ง ยกตัวเราสูงขึ้นกว่าแล้ว ก็จะรับเอาคุณธรรมจากใครไม่ได

    3. ต้องมีความสันโดษ เป็นคนรู้จักพอ รู้จักประมาณสุขใจพอใจกับของของตน ทำให้จิตใจ งบสามารถรองรับคุณธรรมจากผู้อื่นได้เต็มที่

    คนที่ขาดสันโดษ ใจของเขาจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวายกระหายอยากได้ มีสิบล้านก็ไม่พอ จะเอาร้อยล้าน มีร้อยล้านก็ไม่พอจะเอาพันล้าน หมื่นล้าน ไม่รู้จักอิ่ม ซึ่งใจของคนชนิดนี้ไม่สามารถจะรองรับคุณธรรมได้ ไปฟังพระเทศน์เท่าไรก็ไม่ซึมซับเข้าไปอยู่ในใจ ลืมตาหลับตาเขาก็มองเห็นแต่ตัวเลข คิดแต่ว่าอยากรวยๆ ธรรมะนึกไม่ออก

    4. ต้องมีความกตัญูใครเคยทำคุณอะไรไว้ให้ตัวก็ตระหนักซาบซึ้งถึงบุญคุณ พยายามหาทางตอบแทน ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่านับถือ ใครๆ ก็เมตตาอยากถ่ายทอดวิชาความรู้ คุณความดีต่างๆ ให้เพราะแม้เราจะมีความเคารพ รู้ข้อดีของคนอื่น มีจุดมุ่งหมายแล้วว่าจะไปถ่ายทอดเอาคุณธรรมนั้นๆ ได้จากใคร มีความถ่อมตน ใจเราก็พร้อมที่จะน้อมไปรับคุณธรรมนั้น และมีความสันโดษ คือใจก็สงบพอที่จะรับเอาธรรมะนั้นๆ มาไตร่ตรองให้เข้าใจได้ แต่ก็ยังไม่แน่นะว่าเขาจะยอม สอนเราหรือเปล่า เราต้องเป็นคนมีความกตัญูรู้คุณคนด้วย คนอื่นจึงจะเมตตาสอนให้เรา

    5. ฟังธรรมตามกาล เมื่อฝึกตัวเองมาครบ 4 ข้อข้างต้น ก็ไปฟังธรรมะจากผู้ทรงคุณธรรม ในทุกๆโอกาสที่อำนวยให้และอาศัยธรรมะที่ฟังนั้นๆ มาเป็นกระจกส่องใจเราให้เห็นว่า ตัวเรามีคุณธรรมมากน้อยเพียงใดมีข้อบกพร่องตรงไหน จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

มงคลหมู่ที่ 8 การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวให้เต็มที่
มงคลที่ 27 มีความอดทน
มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ 29 เห็นสมณะ
มงคลที่ 30 สนทนาธรรมตามกาล

    เมื่อเราฝึกใจจนได้คุณธรรมเบื้องต้นต่างๆ จากการฟังธรรมตามกาลแล้ว ก็ต้องฝึกหาคุณธรรมเบื้องสูงต่อไป โดย

    1. มีความอดทน ทั้งทนแดด ทนฝน ทนร้อน ทนหนาว ทนความปวดเมื่อยทางกาย ทนต่อความเจ็บใจ ทนต่ออำนาจของกิเลสทนสารพัดอย่างละ จะเอาธรรมะต้องทนได้

    2. เป็นคนว่าง่าย คือไม่ว่าจะสั่งสอนด้วยคำพูดอย่างไร ไพเราะหรือไม่ก็ตาม ไม่แสดงท่าทีอึดอัด ขัดใจ แต่น้อมรับฟังด้วยดี พูดง่ายๆ คือต้องสามารถอดทนต่อคำสั่งสอนได้นั่นเอง ท่านจะจ้ำจี้จ้ำไชอย่างไรต้องรับฟังและทำตามคำสั่งสอนด้วยดี

    3. เห็นสมณะ คือไปหาตัวอย่างที่ดีดูเป็นแบบอย่าง หาพระภิกษุผู้ทรงคุณธรรม สงบกาย สงบวาจา สงบใจ

    ธรรมะหลายๆ ข้อ ถ้าอธิบายธรรมดาๆ หลายคนก็เข้าใจยาก ไม่ค่อยจะยอมเชื่อ แต่พอเห็นสมณะเห็นตัวอย่างแล้วก็เชื่อโดยไม่ต้องอธิบายก็มีมาก เช่น การรักษาศีล พระสอนว่าศีลทำให้เกิดสุขอธิบายมากมายเขาก็ยังไม่ยอมเชื่อ เถียงคอเป็นเอ็นว่าจะสุขได้อย่างไร มีข้อจำกัดสารพัดสู้คนไม่มีศีลไม่ได้สุขกว่า จะกินเหล้าก็กิน จะลักขโมยก็ลัก จะบี้มดตบยุงตามสบายสุขกว่าเยอะ

     แต่พอเห็นสมณะเข้าเท่านั้นแหละ ได้คิด "เอ! ท่านรักษาศีลนะ แล้วดูซิ หน้าตาผิวพรรณท่านก็ผ่องใสอิ่มเอิบดูมีความสุขจริงๆ" เท่านี้แหละไม่ต้องอธิบาย เกิดความเข้าใจแล้ว

   4. สนทนาธรรมตามกาล คือเมื่อเห็นตัวอย่างจากสมณะแล้วเข้าใจธรรมะมากขึ้น แต่ถ้าหากยังมีข้อสงสัยอะไร ให้ไปสนทนาซักถามท่านจนเข้าใจกระจ่าง หาธรรมะเบื้องสูงทั้งหลายใส่ตัวให้เต็มที่

    เราจะเห็นว่าในมงคลหมู่ที่ 7 การหาธรรมเบื้องต้นใส่ตัวจากการฟังธรรมตามกาล เนื่องจากแค่ฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้เราเตรียมแค่การมีความเคารพ มีความถ่อมตน มีความสันโดษ และมีความกตัญูเท่านั้น

    พอมาถึงมงคลหมู่ที่ 8 นี้ จะหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวจากการสนทนาธรรมตามกาล พอต้องสนทนาเท่านั้นแหละ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้เราเตรียมตัวขึ้นมาอีก 2 ข้อสั่งว่าเจ้าจะต้องมีความอดทน เสียก่อนนะ ทั้งทนแดด ทนร้อน ทนหนาว ทนต่อการกระทบกระทั่ง ทนต่ออำนาจกิเลสรวมทั้งต้องเป็นคนว่าง่าย คือต้องพร้อมที่จะรับฟังและทำตามคำสั่งสอนให้ได้เสียก่อน จึงค่อยเข้าไปหาสมณะ แล้วสนทนาธรรมกับท่าน ไม่อย่างนั้นละก็ เดี๋ยวท่านสอนธรรมะลึกๆ อะไรให้ เผอิญมันขัดกับกิเลสในตัวของเรา ท่านจ้ำจี้จ้ำไชหนักเข้า เลยพาลโกรธปึงปังไป แล้วจะพลาด ถ้าฝึกความอดทน ความว่าง่ายมาไม่พอ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางตำแหน่งมงคลต่างๆ ได้เหมาะเจาะเหลือเกิน ยิ่งเราศึกษามากเพียงใดก็จะยิ่งซาบซึ้งในพระปัญญาธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์มากขึ้นเพียงนั้น


มงคลหมู่ที่ 9 การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป
มงคลที่ 31 บำเพ็ญตบะ
มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์
มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ
มงคลที่ 34 ทำพระนิพพานให้แจ้ง

    เมื่อจบมงคลหมู่ที่ 8 คือการแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวเต็มที่แล้ว มงคลหมู่ที่ 9 นี้ จะเป็นการลงมือปฏิบัติฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาตนเอง คือการกำจัดกิเลสให้หมดไป

    1. บำเพ็ญตบะ ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนทนอยู่ไม่ได้ ต้องเผ่นหนีไปจากใจของเราธุดงควัตรมีกี่ข้อๆ ตั้งใจ มาทานรักษาอย่างเต็มที่ทีเดียว

   2. ประพฤติพรหมจรรย์ คือเมื่อบำเพ็ญตบะจนกิเลสเบาบางลงไปแล้ว ก็ต้องตัดโลกียวิสัย ตัดเยื่อใยทุกอย่าง รีบปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ ลงในใจ ก่อนกิเลสจะฟูกลับขึ้นมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องยกใจออกจากกามอันเป็นที่มาของความเสื่อม และจะนำความทุกข์นำกิเลสมาสู่ใจของเราอีก

   3. เห็นอริยสัจ คือตั้งใจปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิต่อไปอีกอย่างยิ่งยวด จนเกิดปัญญาเห็นอริยสัจ คือเห็นความจริงเกี่ยวกับโลก และชีวิตด้วยธรรมจักษุ

   4. ทำนิพพานให้แจ้ง คือเมื่อเห็นอริยสัจในเบื้องต้นแล้ว ก็ตั้งใจเจริญภาวนาต่อไปประคองใจหยุดนิ่งไปเรื่อยๆ พิจารณาอริยสัจไปตามลำดับ ให้ใจละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นจนทำนิพพานให้แจ้งได้ กิเลสต่าง ๆ ก็ค่อยๆ ล่อนหลุดไปจากใจตามลำดับ จนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ในที่สุด


มงคลหมู่ที่ 10 ผลจากการปฏิบัติจนหมดกิเลส
มงคลที่ 35 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ 36 จิตไม่โศก
มงคลที่ 37 จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ 38 จิตเกษม

    เมื่อเราอาบน้ำชำระร่างกายเรียบร้อยแล้วก็จะมีผลตามมา ซึ่งเราอาจบรรยายได้หลายลักษณะ เช่น ไม่สกปรก ไม่เลอะเทอะ ไม่เหนียวเหนอะหนะสะอาด สดชื่น ผ่องใส

    ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราปฏิบัติฝึกฝนตนเองจนกิเล ต่างๆ ล่อนหลุดไปจากใจแล้ว ผลสำเร็จที่ได้ รับจากการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลชีวิต เราก็อาจบรรยาย สภาพจิตของเรา ในขณะนั้นได้หลายลักษณะ เช่น

     1. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือมีความหนักแน่นเหมือนขุนเขา ไม่ยินดียินร้ายในลาภ ยศสรรเสริญสุข หรือเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ อีกต่อไป

     2. จิตไม่โศก คือหลุดพ้นจากยางเหนียวแห่งบ่วงสิเน่หา ไม่ลุ่มหลงในความรักอีกต่อไป มีใจที่อิ่มเอิบ ไม่แห้งผาก ผ่องใสไม่เศร้าหมอง

     3. จิตปราศจากธุลี คือกิเลสต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียดล่อนหลุดไปจากใจหมด เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัวอย่างนั้น

      4. จิตเกษม คือมีความสุข ปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลาย อันเนื่องจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสังสารสามารถตัดโยคะ เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพทั้งสามได้ขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง จึงมีอิสระเสรีเต็มที่ มีใจที่สะอาด ผ่องใสบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เข้านิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งหลาย


 


หนังสือ GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039016584555308 Mins