นิพพานเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง

วันที่ 23 มิย. พ.ศ.2560

นิพพานเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , นิพพานเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง

     บางสำนักกำลังถูกโจมตีว่า บิดเบือนพระไตรปิฎก เพราะ อนว่า นิพพานเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง แล้วบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ว่า "อายตนนิพพาน" ความจริงพระพุทธพจน์ที่ว่า "นิพพานมีอยู่จริง ในฐานะเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง" ก็มีปรากฏอยู่ชัดเจนในพระไตรปิฎก มีข้อความว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ฯลฯ แปลว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ แต่ในนั้น ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่โลกทั้ง อง ไม่ใช่พระอาทิตย์ และพระจันทร์ เราไม่กล่าวอายตนะนั้นเป็นการมา เป็นการไป เป็นสิ่งตั้งอยู่ เป็นการดับไป เป็นการเกิดขึ้น อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้ง ไม่หมุนไป ไม่มีอารมณ์ใด ๆ นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์"

     ในพระพุทธพจน์นี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกนิพพานว่า อายตนะ ซึ่งหมายถึงสิ่งรับรู้ก็ได้สิ่งที่ถูกรับรู้ก็ได้สิ่งรับรู้ท่านเรียกว่า อายตนะภายใน มี 6 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย  ใจ ส่วนสิ่งที่ถูกรับรู้ท่านเรียกว่า อายตนะภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และมโนภาพ

   เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อทรงยืนยันว่า อายตนะนั้นมีอยู่แล้วก็ทรงปฏิเสธว่า อายตนะนั้นไม่ใช่สิ่งนั้น ๆ ไม่ปรากฏว่า พระองค์พูดถึงอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยคล้ายกับจะทรงบอกว่า อายตนะนั้นไม่ใช่อายตนะภายในใด ๆ ไม่ใช่สิ่งที่รับรู้ แต่ทรงปฏิเสธว่าอายตนะนั้น ไม่ใช่ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก ต่อจากนั้น ยังนำเอาสิ่งที่เป็นอายตนะภายนอกอื่น ๆ มาปฏิเสธอีก เช่น โลกนี้โลกอื่นไม่ใช่ทั้งสอง ไม่ใช่พระอาทิตย์พระจันทร์ ตอนสุดท้ายทรงปฏิเสธกิริยาอาการทุกอย่างของอายตนะนั้น เช่น การมา การไป การตั้งอยู่ การดับ การเกิด แล้วทรงสรุปว่า อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้ง ไม่ดำเนินไปและไม่มีอารมณ์ จากการที่พระพุทธองค์ทรงเอ่ยถึงสิ่งที่ถูกรับรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงว่า อายตนะนั้น เป็นอายตนะภายนอก นิพพานเป็นอายตนะภายนอก เป็นสิ่งที่สามารถรับรู้ได้

    ในพระพุทธพจน์นั้น มีการปฏิเสธว่า อายตนะนั้น ไม่ใช่อรูปฌาน 4 ด้วย และอรูปฌาน 4 นั้น เป็นสมาธิขั้นสูง มีสิ่งไร้รูป เช่น ความว่าง (อากาศ) และวิญญาณ เป็นต้น เป็นอารมณ์เป็นสภาพจิตที่จิตสามารถรับรู้ได้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งละเอียดประณีตเพียงใดก็ตาม เมื่อเป็นสิ่งถูกรับรู้จึงเป็นอายตนะภายนอก

    สรุปแล้ว ในพระพุทธพจน์นั้น พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะยืนยันว่า นิพพานเป็นอายตนะภายนอกอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่อายตนะหยาบ ๆ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือแม้อายตนะที่ละเอียด เช่น รูปฌาน 4 แต่แม้จะเป็นอายตนะที่ละเอียดยิ่ง บุคคลก็สามารถรับรู้ได้ด้วยจิตที่บริสุทธิ์สะอาด ดังจะเห็นได้ว่า พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนา จนถึงขั้นได้โคตรภูญาณ จิตจะยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์ และก้าวจาก ขั้นปุถุชนไปสู่ภูมิของพระอริยบุคคล

   แม้สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช กลมหาสังฆปริณายก ก็ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่ปฏิเสธสิ่งที่ตั้งอยู่สิ่งที่มีอยู่สิ่งที่ดำรงอยู่ คือ วิสังขาร หรืออสังขตธรรม ว่า มีอยู่จริง ดำรงอยู่จริง และโดยเฉพาะภูมิธรรมที่บรรลุ ตลอดจนถึงนิพพานนี้พระพุทธเจ้ายังตรัสเรียกชื่อว่า เป็นอายตนะ ดังที่ตรัสไว้ในที่แห่งหนึ่งว่า "อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่" ที่เรียกว่า "อายตนะ" แปลว่า ที่ต่อ หมายความว่า บุคคลปฏิบัติให้บรรลุ ให้ถึงได้ ก็เป็นอันว่า จิตนี้ต่อเข้าไปได้ ดังที่มีตรัสไว้ในคาถาหนึ่งว่า "วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ" จิตถึงวิสังขาร คือ นิพพาน ปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งแล้ว ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว" ดังนี้

     ถ้าหากว่า ไม่เป็นอายตนะ ก็บรรลุไม่ได้ ถึงไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นอายตนะคือต่อได้บรรลุได้ ถึงได้ ก็คือวิสังขารธรรม แต่ว่า ไม่ให้ยึดถือว่า เป็นตัวเราของเรา เพราะถ้ามีความปรารถนาต้องการอยากได้อยากถึงอยู่ ก็ถึงไม่ได้ บรรลุไม่ได้ ต้องปล่อยวางทั้งหมด ปล่อยวางเมื่อใด ก็เป็นอันว่า บรรลุได้ ถึงได้ จิตเชื่อมเข้ากับวิสังขาร คือ อสังขตธรรมได้ เพราะฉะนั้นอัตตาในพระพุทธศาสนา พึงเข้าใจว่า หมายถึงมีสิ่งที่ยึดถือว่า เป็นตัวเราของเรานี้แหละ แต่ว่าสิ่งที่มีอยู่ ดำรงอยู่ ตั้งอยู่ ก็มีอยู่

 

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0047588507334391 Mins