บทสรุป คู่มือพุทธมามกะ

วันที่ 23 มิย. พ.ศ.2560

บทสรุป

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    พุทธมามกะ หมายถึง ผู้นับถือพระรัตนตรัยด้วยใจจริงและต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้สักแต่ว่านับถือ แต่ไม่ได้ปฏิบัติตนในฐานะเป็นชาวพุทธ

    ธรรมของพุทธมามกะมีอยู่ 5 ประการ คือ มีศรัทธา มีศีล ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกพระพุทธศาสนา และสนับสนุนพระพุทธศาสนา

      พระรัตนตรัย หมายถึง แก้ว 3 ประการ ได้แก่ พุทธรัตนะ :  แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ : แก้วคือพระธรรม และสังฆรัตนะ : แก้วคือพระสงฆ์ โดยพระรัตนตรัยนั้นมี 2 ประเภท คือ พระรัตนตรัยภายใน และพระรัตนตรัยภายนอก

     พระรัตนตรัยภายใน หมายถึง แก้ว 3 ประการที่อยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของมนุษย์ทุกคน โดยพุทธรัตนะ คือ ธรรมกายหยาบ ธรรมรัตนะคือดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายหยาบ อยู่ ณ ศูนย์กลางของธรรมกายหยาบ และสังฆรัตนะคือธรรมกายละเอียด อยู่ ณ ศูนย์กลางของธรรมรัตนะ พระรัตนตรัยภายในเข้าถึงได้ด้วยการทำสมาธิ ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7

   พระรัตนตรัยภายนอก หมายถึง เนมิตกนามคือชื่อที่เกิดขึ้นเพราะการได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนของพระองค์ และพระสงฆ์สาวกของพระองค์

    หลักธรรมต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกเป็นหลักปฏิบัติเพื่อไปสู่นิพพาน เป็นหลักธรรมที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทุกหมวด ไม่ขัดแย้งกัน ย่อและขยายได้ หากย่อจนถึงที่สุดก็จะเหลือข้อเดียวคือ "ความไม่ประมาท" หากขยายความแล้วจะได้ "84,000 ข้อ หรือพระธรรมขันธ์" แบ่งเป็นพระวินัย 21,000 ข้อ พระสูตร 21,000 ข้อ และพระอภิธรรม 42,000 ข้อ

     มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับทุกข์นานัปการ ได้แก่ ความร้อน ความหนาว ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เป็นต้น มนุษย์โดยส่วนใหญ่ไม่รู้สาเหตุว่าทุกข์เหล่านี้มาจากไหน และจะกำจัดทุกข์ให้หมดสิ้นไปอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือบุคคลที่ค้นพบสาเหตุแห่งทุกข์และสามารถกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้นโดยการปฏิบัติหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ดังนั้นบุคคลใดที่ต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ ก็ต้องปฏิบัติตามหลักคำ อนดังกล่าว ซึ่งทางลัดที่สุดของการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 คือ การทำสมาธินำใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั่นเอง

     นิพพานมี 2 ประเภท คือ อุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน อุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพานคือ นิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่สิ้นชีพแล้ว

    เมื่อสิ้นชีพหรือปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะไปอยู่ในอายตนนิพพานอันเป็น ถานที่ที่มีอยู่จริง ดังพุทธดำรัสว่า "ไม่ว่าจะมีภิกษุปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุมากเพียงใด ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ ดุจมหาสมุทรที่ไม่ปรากฏความพร่องหรือความเต็ม ไม่ว่าจะมีน้ำและฝนตกลงไปมากเพียงใดก็ตาม"

     ความรู้พื้นฐานที่พุทธมามกะควรจะต้องทราบก่อนไปวัด ได้แก่ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพระ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น การเตรียมตัวก่อนไปวัด เช่น การเตรียมใจ การแต่งกาย การจัดเตรียมปัจจัยไทยธรรม เป็นต้น และเรื่องประเพณีของชาวพุทธต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย การสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ การยืน เดิน นั่ง ในบริเวณและ ถานที่ปฏิบัติธรรม เป็นต้น

   เมื่อนักศึกษาอ่านและทำแบบฝึกปฏิบัติวิชาคู่มือพุทธมามกะมาจนถึงบทสรุปแล้ว อันดับต่อไปจะให้นักศึกษาปฏิบัติใน 3 ข้อดังต่อไปนี้

1) พิจารณาตนเองว่าเป็นพุทธมามกะที่แท้จริงหรือยัง
     ให้นักศึกษาพิจารณาตนเองว่า ที่ผ่านมานั้นตนได้ปฏิบัติตน มกับเป็นพุทธมามกะที่แท้จริงหรือยัง กล่าวถือ นับถือพระรัตนตรัยด้วยใจจริงหรือไม่ ได้ดำรงตนอยู่ในธรรมของพุทธมามกะ 5 ประการหรือไม่ และได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่

     เหตุที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้ ก็เพราะปัจจุบันมีชาวพุทธจำนวนมาก เป็นชาวพุทธแต่เพียงในนาม ไม่ได้ตั้งใจศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับถือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย เช่น คนทรง ภูตผี เทวดา หรือแม้แต่สัตว์แปลก ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นสรณะอันเกษม ไม่อาจช่วยให้พ้นทุกข์ได้

2) พัฒนาตนเองให้เป็นพุทธมามกะที่แท้จริง
     ใครที่ยังไม่ได้เป็นพุทธมามกะที่แท้จริงก็ให้ปฏิบัติตนเสียใหม่ ตั้งใจศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง หากทำได้เช่นนี้นักศึกษาจะพบว่า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นดีจริงไม่มีคำสอนใด ๆ เทียบได้ จากที่กล่าวแล้วว่า ปัจจุบันชาวต่างชาติต่างศาสนาได้หันมานับถือพระพุทธศาสนากันมาก เพราะเขาเห็นคุณค่าเห็นประโยชน์จากพุทธธรรมนั่นเองส่วนคนที่เป็นชาวพุทธมาตั้งแต่เกิดจำนวนไม่น้อยกลับทำตัวเหมือนไก่ได้พลอย

3) ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้แก่คนรอบตัวเรา
     เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติแล้ว จากนั้นก็ควรทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้แก่คนรอบตัวเรา ใครก็ตามที่ยังไม่เห็นคุณค่าของพุทธธรรมก็แนะนำเขา ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่สามี ภรรยา บุตรธิดา มิตร หาย ลูกน้องพนักงาน ครูบาอาจารย์ คนบ้านใกล้เรือนเคียง เป็นต้น

       ถามว่าทำไมต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตร ใครจะเชื่ออย่างไรจะนับถืออะไรก็แล้วแต่เขาไม่ดีหรือ เหตุที่ต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตรก็เพราะว่า การที่เราจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขนั้นสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเราโดยเฉพาะคนนั้นจะต้องมีศรัทธา ศีล และทิฏฐิหรือความเห็นเหมือนกันไม่เช่นนั้นแล้วจะทะเลาะกัน จะฆ่ากัน ทำร้ายเบียดเบียนกันเหมือนดังเช่นในปัจจุบัน

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.11085963646571 Mins