พระพุทธคุณ

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

พระพุทธคุณ

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธคุณ , พระรัตนตรัย

        "ผู้ใดมีความศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศีลบริสุทธิ์ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ที่มีชีวิตไม่เปล่าประโยชน์" (ทุสีลยสูตร)

        ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ เป็นทางมาแห่งมหากุศล ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสรับรองไว้ว่า จะส่งผลให้เราไม่พลัดตกไปในอบายภูมิ ไม่ว่าจะเป็นภูมิของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานซึ่งเป็นภพภูมิที่ตกต่ำเหล่านั้น ความเลื่อมใสนี้สามารถปิดประตูอบายภูมิให้กับตัวของเราเอง และยังทำให้เวียนวนอยู่ในสุคติภูมิอย่างเดียวเท่านั้น เพราะพระรัตนตรัยเป็นที่สุดของบรรดาที่พึ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ เหตุที่เรียกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่ารัตนะนั้น ท่านอธิบายไว้ในอรรถกถาว่า เป็นวัตถุที่ควรยำเกรง มีค่ามาก หาค่ามิได้ และเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด

       ผู้ที่ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงนับว่าเป็นชีวิตที่เต็มเปียมไปด้วยสาระ เพราะสาระของชีวิตอยู่ที่การดำรงชีวิตอยู่บนหนทางที่ถูกต้องดีงาม หนทางที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง

       ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้ที่สามารถปฏิบัติจนได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน จะได้ชื่อว่าเกิดมาชาตินี้ไม่เสียชาติเกิด ชีวิตไม่เป็นโมฆะ เป็นชีวิตที่ไม่ว่างเปล่าจากประโยชน์ทั้งหลาย เป็นผู้ยึดประโยชน์ทั้ง องอย่างไว้ได้ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ จะได้ดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและปลอดภัยประโยชน์ในโลกหน้า คือ เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว จะมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป

        ดังนั้น พระรัตนตรัยจึงมีคุณอนันต์ทั้งต่อตัวเรา และ รรพสัตว์ทั้งหลาย เราจึงควรตรึกระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ยิ่งเรานึกถึงบ่อย ๆ ทำความผูก มัครรักใคร่ส่งใจไปถึงพระรัตนตรัยเสมอ ๆ ใจของเราก็จะบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างน้อยในแต่ละวัน นักศึกษาควรเจริญพุทธานุสติด้วยการสวดสรรเสริญบทพุทธคุณว่า

        "อิติปิ โส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

       โดยหมั่นสวดสรรเสริญเข้าไว้ จะสวดทบไปทวนมา 100 ครั้ง 1,000 ครั้ง หรือมากเท่าไรยิ่งดี พระพุทธคุณจะได้เข้ามาซึมซาบอยู่ในตัวของเรา และถ้าจะให้ดีก็ควรหาอ่านคำแปลและความหมายของบท รรเสริญพุทธคุณนี้ เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว จะได้ปลื้มปีติ อีกทั้งเป็นการเพิ่มพลังศรัทธาในพุทธคุณอีกด้วย

       อัปปมาโณ พุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคุณไม่มีประมาณ ด้วยจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีคุณอันไม่มีประมาณ จะส่งผลดลบันดาลให้มีสุคติสวรรค์เป็นที่ไป


1.1 พระทศพลญาณ
        มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างเสาะแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เพียงเพื่อให้รู้วิธีการประกอบอาชีพ ที่จะนำมาซึ่งปัจจัยสี่สำหรับหล่อเลี้ยงร่างกาย ให้ดำรงอยู่ในโลกนี้อย่างสะดวก บายเท่านั้น แต่ยังมีความรู้ที่ยิ่งไปกว่านั้น คือ ความรู้ที่สามารถขจัดปัดเป่าทุกข์ทั้งหลายได้ เป็นความรู้ที่เกิดจากการทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายเพียงอย่างเดียว ยิ่งหยุดนิ่งมากเท่าไร ความรู้จากภายในก็จะพรั่งพรูออกมามากเท่านั้น เป็นความรู้ที่เกิดจากปัญญาอันบริสุทธิ์ ที่จะนำพาเราไปสู่ความสุข และความสำเร็จในชีวิตตลอดไป

         มีวาระพระบาลีในอรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส ว่า

        "โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด ย่อมเป็นไปในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้น นกทุกชนิดรวมทั้งครุฑเวนไตยโคตร ย่อมเป็นไปในขอบเขตของอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรเถระโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในขอบเขตแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น"

      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านทิศตะวันตก นอกกรุงเวสาลี สมัยนั้นสุนักขัตตลิจฉวีบุตรซึ่งได้ลาสิกขา เพราะไม่มีศรัทธาในธรรมวินัย ได้กล่าววาจาดูหมิ่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระ สมณโคดมทรงแสดงธรรมด้วยการตรึกเอาเอง ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตาม

       พระสารีบุตรได้ไปกราบทูลเรื่องนี้กับพระพุทธองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "สารีบุตรสุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นโมฆบุรุษ มักโกรธ และวาจาที่เธอกล่าวนั้น ก็เพราะความโกรธสุนักขัตตะคิดว่า จะพูดติเตียน แต่กลับกล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต แท้จริงข้อนี้เป็นคุณของพระตถาคต ที่บุคคลใดกล่าวเช่นนี้ว่า ธรรมอันพระตถาคตแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดธรรมนั้นย่อมดิ่งไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม

       สารีบุตร การที่สุนักขัตตะกล่าวเช่นนั้น เพราะไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

        สารีบุตร การที่สุนักขัตตะกล่าวเช่นนั้น เพราะไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวทำเป็นหลายคนได้ หลายคนเป็นคนเดียวได้ ทำให้ปรากฏหรือหายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง หรือภูเขาก็ได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่าง ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนดำลงไปในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทรงกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

       สารีบุตรสุนักขัตตะไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสดับเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโ สตของมนุษย์ ทรงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นหรือบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะจิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิจิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว"

      จากนั้นพระบรมศาสดาทรงแสดงทศพลญาณ 10 ประการ ซึ่งทศพลญาณนี้มีเฉพาะในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

       ประการที่ 1. ฐานาฐานญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะเรื่องเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างกัน

      ประการที่ 2. กรรมวิปากญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้ผลของกรรม คือสามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่าง ลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่วที่ต่างกรรมต่างวาระ ทรงมองเห็นรายละเอียด และความสัมพันธ์เกี่ยวโยง ในกระบวนการกิเล กรรมวิบากอย่างชัดเจน

     ประการที่ 3.สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้ข้อปฏิบัติ ที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือสุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาญาณหยั่งรู้ข้อปฏิบัติ ที่จะนำไปสู่ประโยชน์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์สัมปรายิกัตถประโยชน์ หรือปรมัตถประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงรู้ว่า เมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอย่างไรบ้าง จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร

       ประการที่ 4. นานาธาตุญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้ ภาวะของโลกที่ประกอบด้วยธาตุชนิดต่าง ๆ คือ รู้ ภาวะของธรรมชาติทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขาร และฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของชีวิตสภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของแต่ละอย่าง เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะและธาตุต่าง ๆ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน

      ประการที่ 5. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ที่เป็นไปต่าง ๆ กัน เมื่อทรงกำหนดเช่นนี้ จึงสามารถสอนเวไนยสัตว์ให้ถูกจริตอัธยาศัยได้

     ประการที่ 6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ ติสมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใดมีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน แก่เพียงไรสอนง่าย สอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ ทรงแทงตลอดหมดทั้งสิ้น

      ประการที่ 7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ทรงรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วของการเข้าและออกจากฌาน วิโมกข์สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย

        ประการที่ 8. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ระลึกชาติในอดีตได้นับภพนับชาติไม่ถ้วน

      ประการที่ 9. จุตูปปาตญาณ ปรีชาญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีหรือทราม ได้ดีหรือตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ทรงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ ละโลกไปแล้ว เขาต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฎฐิ
ละจากโลกนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

     ประการที่ 10. อาสวักขยญาณ ญาณที่สามารถกำจัดอาสวะให้หมดสิ้นไป พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ได้บรรลุอาสวักขยญาณตามพระองค์ไปได้ด้วย

     ทั้งหมดนี้เป็นอานุภาพอันไม่มีประมาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ทศพลญาณผู้ไม่รู้มักกล่าวตู่พระพุทธองค์ด้วยคำที่ไม่เป็นจริง ตู่ด้วยความไม่พอใจบ้าง เพราะมีอคติหรืออิจฉาบ้าง แต่คำลบหลู่เหล่านั้นไม่อาจทำให้อานุภาพของพระพุทธองค์ลดลง เหมือนแสงจากดวงตะวันที่พ้นจากหมู่เมฆ ย่อมสว่างไสวเจิดจ้าเป็นนิตย์ เพราะฉะนั้นเราควรเชื่อมั่นในพุทธานุภาพ และทำจิตให้เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพ อันเป็นอจินไตยไม่มีประมาณ เพราะจิตที่เลื่อมใสจะไปสวรรค์ได้ และจะให้ดี ต้องปฏิบัติให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในความสงสัยทั้งปวงจะได้หมดสิ้นไป มีเพียงความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลนในพระรัตนตรัยเท่านั้น


1.2 สัมมาสัมพุทโธ ผู้ตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง
        พระวังคี เถระได้กล่าวสรรเสริฐพุทธคุณไว้ในขุททกนิกาย อปทาน ว่า

"อนาถานํ ภวํ นาโถ      ภีตานํ อภยปฺปโท
วิสฺสาสํ  ภูมิสนฺตานํ      สรณํ สรเณสินํ ฯ

        พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของผู้ไร้ที่พึ่ง ทรงประทานความไม่มีภัยแก่เหล่าชนผู้มีความกลัว ทรงเป็นที่คุ้นเคยของผู้มีภูมิธรรมสงบ ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก"

      การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของสรรพสัตว์ทั้งปวงได้ เพราะพระองค์ทรงพระคุณเป็นเลิศ และมีอยู่ข้อหนึ่งคือ วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ในที่นี้หมายถึง ความรู้ที่กำจัดความมืดได้ ความมืด คือ อวิชชา ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ที่ครอบงำจิตใจมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะขจัดความมืดได้ จึงเรียกว่า วิชชา ความรู้แจ้ง แจ้งก็คือ ว่างนั่นเอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา หมายถึง วิชชา 8 ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ความเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ คือ พระองค์ทรงเห็นแจ้งใน ภาวธรรมตรงตามความ
เป็นจริง เช่น เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา การเห็นแจ้งนั้น ไม่ใช่จะมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ ต้องหลับตามนุษย์แล้วส่งใจไปจดจ่อที่ศูนย์กลางกาย วางใจถูก ส่วนจะพบดวงปฐมมรรค กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม และเข้าถึงธรรมกาย ธรรมกายโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และธรรมกายอรหัตตามลำดับ จนบรรลุวิปัสสนาญาณ พระองค์ทรงเห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย รู้ได้ด้วยญาณของธรรมกาย

        มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้

        อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เนรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคนได้

        ทิพพโสต มีหูทิพย์ มีญาณพิเศษที่จะฟังอะไรก็ได้ยินตามที่ปรารถนา

        เจโตปริยญาณ คือ รู้วาระจิตของผู้อื่น

        ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้ว่า ชาติไหนเกิดเป็นอะไร

      ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ พระองค์ทรงสามารถมองเห็นทุกสิ่งได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลอย่างไร และทรงระลึกชาติหนหลังของสัตว์อื่นได้

      อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้น ทรงขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปไม่มีเหลือในกมลสันดานของพระองค์แม้แต่นิดเดียว ดังที่ได้ตรัสกับ คารวมาณพว่า "เมื่อจิตเราเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง..... หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นไม่มี"

     ด้วยคุณวิเศษ 8 ประการนี่เองทำให้พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันยิ่งใหญ่ของสัตวโลกไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า ดังเช่นเรื่องราวของภิกษุหนุ่มช่างทอง

      มีลูกศิษย์รูปหนึ่งของพระสารีบุตร เป็นบุตรของนายช่างทองมาบวช พระสารีบุตรเห็นว่ายังหนุ่มก็ให้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน จะได้ตัดกามราคะ ภิกษุหนุ่มรูปนี้ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยความเพียรอย่าง ม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 3 เดือน แต่ก็ไม่ได้บรรลุธรรมไม่สามารถแม้แต่จะทำใจให้ งบนิ่งสักครู่หนึ่ง จึงกลับมาหาพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ให้ภิกษุหนุ่มปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกเป็นครั้งที่สอง แต่ก็ยังไม่ได้บรรลุคุณวิเศษเช่นเดิมพระสารีบุตรจึงพาท่านไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พลางกราบทูลเล่าเรื่องราวทั้งหมดแด่พระพุทธองค์

      พระบรมศาสดาทรงระลึกชาติหนหลังของพระภิกษุรูปนี้ด้วยจุตูปปาตญาณ ทรงรู้ว่าท่านเกิดเป็นช่างทองมาตลอด 500 ชาติ ได้หลอมทองคำมีสีสุกใสทำให้เป็นดอกกรรณิการ์บ้างดอกบัวบ้าง ได้ทำ ได้ดู ได้ชมแต่สิ่งที่สวยงามมาโดยตลอด จึงทรงเนรมิตดอกบัวทองด้วยฤทธานุภาพ เป็นดอกบัวที่สวยงาม ดชื่นมีหยาดน้ำหลั่งตั้งแต่กลีบดอกจนถึงก้าน แล้วประทานให้ภิกษุหนุ่มนำไปปักไว้ที่กองทรายท้ายวิหาร นั่งสมาธิและทำบริกรรมว่า โลหิตกํ โลหิตกํ แปลว่า สีแดง สีแดง

       เมื่อภิกษุรูปนี้รับดอกบัวจากพระบรมศาสดา ทันทีที่เห็นสิ่งที่สวยงาม จิตใจก็แช่มชื่นแจ่มใสขึ้นมา ท่านถือดอกบัวไปยังท้ายวิหาร พูนทรายขึ้นแล้วเสียบก้านดอกบัวที่กองทรายนั้นและนั่งสมาธิทำบริกรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ ใจก็หยุดนิ่งบรรลุปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานตามลำดับ

       พระพุทธองค์ทรงรู้ว่า ขณะนี้ภิกษุหนุ่มช่างทองกำลังเข้าฌานอยู่ แต่จะไม่อาจบรรลุธรรมด้วยตนเองได้ จึงทรงอธิษฐานให้ดอกบัวนั้นค่อย ๆ เหี่ยวแห้งจนกลายเป็นสีดำ ครั้นภิกษุช่างทองออกจากฌานแล้ว เห็นความเปลี่ยนแปลงของดอกบัวก็ ลดใจคิดได้ว่า ดอกบัวดอกนี้ เมื่อสักครู่ก็ดูงดงาม แต่เพียงชั่วประเดี๋ยวเดียวยังเหี่ยวแห้งไปถึงปานนี้ ร่างกายของเราก็คงเหมือนกันสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นแน่ คิดได้อย่างนี้ ใจก็เริ่มสงบหยุดนิ่ง ปล่อยวางจากความยึดมั่นในสังขารร่างกาย

       พระบรมศาสดาทรงรู้วาระจิตของท่าน ทรงเปล่งพระรัศมีไป และทรงเนรมิตพระองค์ประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ตรงหน้าภิกษุรูปนี้ พลางตรัสพระคาถาว่า "เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสียให้ขาด เหมือนคนถอนดอกบัวที่เกิดในฤดูสารทกาล และจงเจริญทางแห่งความสงบ คือ พระนิพพาน ที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว"

       เมื่อจบพระคาถา ภิกษุช่างทองสามารถประคองใจให้หยุดนิ่ง บรรลุธรรมกายที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงธรรมกายพระอรหัต หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น

       จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์เป็นผู้ทรงคุณวิเศษ ทรงโปรดสัตวโลกให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้เข้าถึงธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้อย่างไม่มีศาสดาใดเสมอเหมือน เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยวิชชา 8 ประการ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะ คือ ความประพฤติอันงดงาม 15 ประการ ได้แก่ ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ อินทรียสังวรความสำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โภชเนมัตตัญุตา ความรู้จักประมาณในการบริโภค ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นเสมอ เป็นต้นพระองค์จึงได้ชื่อว่า วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

      กว่าที่พระพุทธองค์จะทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะได้เช่นนี้ พระองค์จะต้องบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทรงยอม ละทรัพย์ อวัยวะ หรือแม้กระทั่งชีวิตโดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีเงื่อนไข และไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้บรรลุธรรมและนำพระสัทธรรมนั้นมาอบรมสั่งสอนสัตวโลกให้ได้รู้ ได้เห็นธรรม หลุดพ้นจากความทุกข์ตามพระองค์ไปด้วย ดังนั้นให้พวกเราหมั่นเจริญพุทธานุสติ ระลึกนึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ วัน บุญของเราจะได้เพิ่มทับทวีกันทุกคน


1.3 สุคโต พระผู้เสด็จไปดีแล้ว
        บ่อยครั้งเราจะได้ยินพระนามของพระพุทธองค์ว่า พระสุคต มาจากศัพท์บาลี คือสุคโต แปลว่า เสด็จไปดี เสด็จไปงาม คือ พระองค์ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่ อริยมรรค และได้เสด็จไปสู่ที่ดีงาม คือ พระนิพพาน โดยทรงดำเนินรุดหน้าไป ไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว

    สุคโต ไปสู่ที่ไหน ดีที่นั่น คือ ไปทำประโยชน์เกื้อกูลให้ความสุขแก่ที่นั่น ดังเมื่อครั้งกรุงเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอาหารตายกันเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกปล่อยทิ้งเกลื่อนกลาด กลิ่นก็ดึงดูดอมนุษย์มารังควาน มีคนตายมากขึ้นสิ่งปฏิกูลก็เพิ่มขึ้นเกิดอหิวาตกโรคระบาดไปทั่วเมือง จนชาวเมืองหวาดกลัวกันหมด กษัตริย์ลิจฉวีจึงกราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จมาขจัดทุกข์โศกโรคภัย พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าถ้าพระองค์เสด็จไปเมืองเวสาลีและแสดงรัตนสูตร ทั้งแสนโกฏิจักรวาลจะปลอดภัย รรพสัตว์จะมีดวงตาเห็นธรรม จึงทรงรับอาราธนา

     พระเจ้าพิมพิสารทรงเตรียมหนทางเสด็จสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าภิกษุ 500 รูป จากกรุงราชคฤห์ถึงฝังแม่น้ำคงคาประมาณ 5 โยชน์ มีการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอสร้างวิหารเป็นที่พักระหว่างทางทุก 1 โยชน์ ตั้งหม้อน้ำ ประดับธงชัย โปรยดอกไม้ 5 สี และตลอดระยะทางนั้นทรงให้กั้นเศวตฉัตร บูชาด้วยดอกไม้ และของหอมต่าง ๆ มากมาย เวลาล่วงไป 5 วัน พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงฝังแม่น้ำคงคา

       เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จลงประทับบนเรือ ข้ามฝังแม่น้ำคงคา พระเจ้าพิมพิสารได้ตามส่งเสด็จลงในแม่น้ำ จนถึงที่น้ำลึกประมาณแค่พระศอ ฝ่ายกษัตริย์ลิจฉวีก็รับเสด็จที่ริมฝังแม่น้ำคงคาเช่นกัน โดยจัดการต้อนรับเป็น 2 เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร

      ทันทีที่พระบรมศาสดาก้าวพระบาทประทับชายฝังแคว้นลิจฉวี ฝนโบกขรพรรษก็ตกลงมาใครต้องการให้เปียกก็เปียก ใครไม่ต้องการให้เปียกก็ไม่เปียก น้ำฝนไหลไปชะล้างแผ่นดิน พัดพาเอาซากศพทั้งหมดลงไปในแม่น้ำคงคา ผืนแผ่นดินเมืองเวสาลีก็สะอาดหมดจด ครั้นเสด็จถึงเมืองเวสาลี พระองค์ให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตร พระอานนท์เรียนแล้วก็เอาบาตรของพระพุทธองค์ตักน้ำทำน้ำพระพุทธมนต์ ประพรมทั่วเมือง ทำให้พวกอมนุษย์พากันหนีไปโรคภัยต่าง ๆ ก็สงบลง

       จากนั้นพระองค์ทรงแสดงรัตนสูตร ที่ใจกลางเมืองต่อเนื่องกันถึง 7 วัน เมื่อจบพระธรรมเทศนา เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างได้บรรลุธรรมถึงวันละ 84,000 ทุก ๆ วัน นี่คือสุคโต เสด็จไปที่ไหน ที่นั่นก็เจริญ

       พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเวสาลีเป็นเวลาครึ่งเดือน ก็เสด็จกลับกรุงราชคฤห์กษัตริย์ลิจฉวีได้นำส่งเสด็จไปยังฝังแม่น้ำคงคา พญานาคที่อยู่ในแม่น้ำคงคา ได้เนรมิตเรือที่สำเร็จด้วย ทอง เงิน และแก้วมณี มารับพระพุทธองค์และเหล่าภิกษุกลับไปยังกรุงราชคฤห์ ทั้งเหล่าเทวดาและพรหมทั้งหลายได้ทำการสักการบูชาอย่างเลิศ จนถึงภพของอกนิษฐพรหมแม้แต่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งรอการเสด็จกลับของพระพุทธองค์ ก็ได้ทรงทำสักการะเป็นทวีคูณเหนือกว่าที่กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายทรงกระทำ

    เมื่อภิกษุทั้งหลาย นทนากัน ถึงเรื่องที่พระพุทธองค์ได้รับการบูชาอย่างเลิศทั้งจากมนุษย์และเทวดา พระองค์ตรัสว่า

        "การบูชาอันวิเศษนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยพุทธานุภาพ หรือด้วยอานุภาพของนาค เทวดาหรือพรหม แต่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ได้ทำเพียงเล็กน้อยแต่ถูกเนื้อนาบุญ" ทรงเล่าความเป็นมาว่า

       ในอดีต พระองค์ทรงเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ มีลูกชายชื่อสุสิมะ เมื่อลูกชายอายุได้ 16 ปี ได้ไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองพาราณสี ปกติคนอื่น ๆ จะใช้เวลาเรียนนานถึง 12 ปี แต่สุสิมะเรียนเพียง 2-3 เดือน ก็สำเร็จการศึกษา แต่เห็นว่าศิลปวิทยานั้นยังไม่ใช่วิชาที่ดีที่สุด จึงลาอาจารย์ไปบวชกับพระปัจเจกพุทธเจ้า

       ครั้นบวชแล้ว ได้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตร ไม่นานก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าถึงความเป็นเลิศ ด้วยลาภ ยศ มีบริวารพรั่งพร้อม แต่ไม่นานก็ปรินิพพาน เพราะเคยทำกรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและมหาชนจึงได้ทำฌาปนกิจ และนำพระธาตุไปประดิษฐานไว้ในพระสถูปเจดีย์ที่ประตูเมือง

       ฝ่ายสังขพราหมณ์ซึ่งเป็นพ่อคิดว่า "ลูกชายของเราจากไปนานแล้ว ไม่เห็นส่งข่าวมาเลย" ด้วยความคิดถึงลูกจึงออกตามหา แต่เมื่อได้รู้ความจริงทั้งหมดก็เสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญถึงลูกชายพลางเดินไปยังลานเจดีย์ที่ประดิษฐานพระธาตุของพระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะ ได้ถอนหญ้าบริเวณนั้น และใช้ผ้าห่มขนทรายมาเกลี่ยลงบนลานเจดีย์ ประพรมด้วยน้ำจากคนโทนำดอกไม้ป่ามาประดับบูชา ใช้ผ้าห่มทำเป็นธงประดับไว้ ผูกร่มของตนไว้บน ถูป แล้วก็กราบบูชาพระเจดีย์

       พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล่าเรื่องในอดีต และทรงสรุปว่าสังขพราหมณ์ คือพระองค์นั่นเองด้วยอานิสงส์ที่พระองค์ได้ถอนหญ้าที่ลานเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้ถางทางให้พระองค์เสด็จ ด้วยอานิสงส์ที่ทรงเกลี่ยทรายปรับพื้นลานเจดีย์ มหาชนจึงได้เกลี่ยทรายปรับหนทางให้พระองค์ เพราะพระองค์ได้บูชาพระเจดีย์ด้วยดอกไม้ป่า มหาชนจึงปูทางพระดำเนินด้วยดอกไม้นานาพรรณทั้งบนบก และในน้ำ เพราะพระองค์ได้ประพรมน้ำรอบพระเจดีย์ จึงทำให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาในเมืองเวสาลี และการที่พระองค์ได้ทำธง และผูกร่มบูชาพระเจดีย์ มนุษย์และเทวดาทั้งหลายจึงได้ยกธง และซ้อนฉัตรบูชาพระองค์จนถึงอกนิษฐพรหมโลก การบูชาอันเลิศที่พระองค์ได้รับครั้งนี้ ก็เนื่องด้วยการบูชาเพียงเล็กน้อย ที่พระองค์กระทำในเนื้อนาบุญนั่นเอง จากนั้นพระองค์ได้ตรัสพระคาถาว่า

      "ถ้าบุคคลพึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะสละความสุขพอประมาณ นักปราชญ์เมื่อมองเห็นความสุขอันไพบูลย์ ก็พึงสละความสุขพอประมาณเสีย"

      จะเห็นได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ว่าจะเสด็จไปที่ใดก็ตาม ย่อมทำให้ที่นั้นสะอาดหมดจดมีแต่ความสุข ความเจริญ มนุษย์และเทวดาทั้งหลายต่างเข้าถึงธรรม มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด พระองค์จึงได้ชื่อว่าสุคโต คือ ไปสู่ที่ไหนดีที่นั่น

       ด้วยอานิสงส์ที่พระองค์ได้บูชาพระสถูปเจดีย์ ในภพชาติที่เกิดเป็นสังขพราหมณ์นั้นไม่ว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ใดก็ตาม จะได้รับการต้อนรับอย่างดีเลิศ


1.4 โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก
       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชื่อว่า เป็นโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกอย่างไรทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม คือ โอกาสโลก ขันธโลก และสัตวโลก โอกาสโลก คือ โลกซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ซึ่งมีสภาพรองรับกันและกัน ขันธโลก คือ ขันธ์ 5 หรือสังขารร่างกายเราที่มีอาหารเป็นปัจจัยปรุงแต่ง อาหารแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ กวลิงการาหาร หมายถึง อาหารที่เรารับประทานเข้าไปผัสสาหาร คือ การสัมผัส หรือการกระทบ ถ้ามีอารมณ์ดีมากระทบ ก็ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขใจ สบายใจ ถ้ากระทบกับอารมณ์ไม่ดี ก็ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ร้อนใจ ถ้ากระทบกับอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ เราก็จะรู้สึกเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย

       เหมือนในอดีตชาติของพระสารีบุตร ที่ท่านเกิดเป็นฤษีชื่อ สรทะ ท่านได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอโนมทัสสี ก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ได้ยืนกั้นร่มให้พระองค์ตลอดเวลาที่ทรงเข้านิโรธสมาบัติ 7 วัน 7 คืน ท่านยืนอยู่อย่างนั้น โดยไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้รับประทานอาหาร แต่ก็ไม่รู้สึกหิว เพราะมีปีติเป็นผัสสาหารนั้นเอง

        อีกประการหนึ่งคือ มโนสัญเจตนาหาร คือ ความคิดอ่าน หรือเจตนาทางใจ เป็นอาหารที่ทำให้เกิดการคิด การพูด และการกระทำ และประการสุดท้ายคือ วิญญาณาหาร คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารทั้ง 4 อย่างนี้

      พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตวโลก คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในภพ 3 ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ 4 มนุษย์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม พระองค์ทรงรู้แจ้งหมดว่าสัตว์จำพวกใดเป็นอย่างไร โปรดได้หรือโปรดไม่ได้ มีอินทรีย์แก่อ่อนอย่างไร ทรงรู้แจ้งถึงอนุสัย และจริตอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทรงรู้แจ้งถึงจริตอัธยาศัยของสัตวโลกทั้งหลายนี่เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเป็น อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ คือ ทรงเป็นผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึกได้อย่างดีเลิศหาใครมาเสมอเหมือนมิได้ พระองค์ทรงมีกุศโลบายในการสอน ที่พอเหมาะพอดีกับอัธยาศัยของแต่ละคน เหมือนครั้งที่ทรงสอนพระนันทเถระสมัยที่พระองค์เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระญาติ ในวันที่สาม ซึ่งเป็นวันวิวาห์ของเจ้าชายนันทะ กับนางชนบทกัลยาณี
ซึ่งเป็นหญิงที่งามที่สุดในเมืองนั้น พระองค์เสด็จเข้าไปบิณฑบาต แล้วประทานบาตรให้เจ้าชายนันทะถือไว้ จากนั้นก็เสด็จกลับโดยไม่ได้รับบาตรคืน

       ฝ่ายเจ้าชายนันทะ ด้วยความที่เคารพพระพุทธองค์มาก จึงไม่กล้ากราบทูลให้พระองค์ทรงรับบาตรคืน ได้แต่ถือบาตรตามเสด็จพระองค์ไปจนถึงวัดพระเชตวัน เมื่อไปถึง พระบรมศาสดาได้ตรัสถามว่า "นันทะ เธอจะบวชไหม" เจ้าชายนันทะนั้น ความจริงในใจนึกถึงแต่เจ้าสาวตลอดเวลา แต่ด้วยความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกราบทูลว่า "บวชพระเจ้าข้า"

      ครั้นบวชแล้ว เจ้าชายนันทะไม่ได้ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ ได้แต่อยู่ไปวันหนึ่ง ๆ วันหนึ่งท่านตัดสินใจบอกเพื่อน หธรรมิกว่า จะขอลาสิกขา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทราบจึงตรัสถามถึงสาเหตุที่ต้องลาสิกขา พระนันทะทูลตอบว่า "คิดถึงนางชนบทกัลยาณี"

      พระบรมศาสดาทรงใช้ฤทธานุภาพพาพระนันทะไปที่ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อชมความงามของนางเทพอัปสร พลางตรัสถามว่า "นันทะ ระหว่างนางชนบทกัลยาณีกับนางเทพอัปสรใครน่าดูน่าชมมากกว่ากัน" พระนันทะกราบทูลว่า "นางชนบทกัลยาณีงามสู้นางเทพอัปสรเหล่านี้ไม่ได้เลย" พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "นันทะ เธอจงยินดีในพรหมจรรย์เถิด เราขอรับรองว่า เธอจะได้นางเทพอัป รถึง 500 นาง" พระนันทะจึงกราบทูลว่า "ถ้าพระองค์ตรัสรับรองอย่างนั้น ข้าพระองค์ก็จะไม่ลาสิกขา"

      เหล่าภิกษุรู้ข่าวว่า พระนันทะประพฤติพรหมจรรย์ เพราะอยากจะได้นางเทพอัปสรต่างพากันมาล้อเลียนท่าน เมื่อถูกล้อเลียนบ่อย ๆ ท่านรู้สึกละอายใจ จึงหลีกเร้นออกไปบำเพ็ญเพียรรูปเดียว ไม่นานท่านก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดความต้องการในนางเทพอัปสรอีกต่อไป

      พระบรมศาสดาทรงรู้ถึงการบรรลุธรรมของท่าน จึงเปล่งอุทานว่า "ผู้ใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีกามอันเป็นประดุจหนามแหลมแล้ว ผู้นั้นย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งโมหะย่อมไม่หวั่นไหวในสุข และทุกข์" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อัธยาศัยของสัตวโลก ว่าใครจะต้องสอนอย่างไร ต้องฝึกอย่างไรจึงจะได้บรรลุธรรม หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงได้ชื่อว่า อนุตฺตโร ปุริสทฺมมสถิ คือ ทรงเป็นบรมครูผู้สอนได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่มีใครเทียบได้ เพราะพระองค์ทรงเข้าถึงแหล่งแห่งปัญญาอันบริสุทธิ์ ด้วยการดำเนินจิตเข้าไปในทางสายกลาง ทางเอกสายเดียว


พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธคุณ , พระรัตนตรัย

1.5 สัตถา เทวมนุสานัง ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดา
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้พระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ คือ ทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะตั้งแต่แรกที่ทรงสร้างบารมี พระองค์ทรงมีมหากรุณาธิคุณตั้งความปรารถนาที่จะนำพา รรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปสู่พระนิพพาน คำว่านำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้น หมายความว่า พระองค์ไม่ได้โปรดแต่มนุษย์เท่านั้น ทรงโปรดหมด ตั้งแต่เทวดา พรหม อรูปพรหมทุกชั้น มนุษย์ทั้งหลาย ไปจนถึงสัตว์เดียรัจฉาน ตามแต่กำลังบุญของใครจะรับได้

      เราจะเห็นได้จากพุทธกิจ คือ กิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุก ๆ วัน พุทธกิจที่พระองค์ทรงบำเพ็ญเป็นประจำ คือ ในเวลาย่ำรุ่งทรงสอดพระญาณตรวจดูสัตวโลก ว่า จะมีใครบ้างที่มีอินทรีย์แก่กล้า มีบุญบารมีพอที่จะได้บรรลุธรรม พระองค์ก็จะเสด็จไปโปรดครั้นรุ่งอรุณได้เสด็จออกบิณฑบาต โปรดสัตวโลกให้ได้บุญบารมีเพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตอนเย็นพระองค์จะทรงแสดงธรรมโปรดสาธุชนที่มาฟังธรรม หลังจากนั้น เวลาย่ำค่ำทรงให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ แก้ไขปัญหาพาไปสู่จุดหมาย คือ พระนิพพาน ครั้นถึงเที่ยงคืนทรงแสดงธรรมตอบปัญหาของเทวดาที่มาจากสวรรค์ชั้นต่าง ๆ

      พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดา ให้เข้าถึงธรรมเป็นจำนวนมาก ดังเช่นครั้งหนึ่งชาวเมืองศากยวงศ์ และโกลิยวงศ์เกิดทะเลาะวิวาทกัน เรื่องการแย่งน้ำเพื่อเพาะปลูก การทะเลาะเบาะแว้งได้ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกี่ยวโยงไปถึงราชตระกูลทั้งสอง ทำให้สองฝ่ายถึงกับยกกองทัพออกมาเพื่อจะทำสงครามกัน

     ในเวลาใกล้รุ่งของวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นกองทัพของทั้งสองตั้งประจันหน้ากัน จึงเปล่งฉัพพรรณรังสีและประทับนั่งอยู่กลางอากาศ เมื่อชาวเมืองกบิลพัสดุ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ต่างคิดว่า พระบรมศาสดาเป็นพระญาติผู้ประเสริฐของเราเสด็จมาโปรด พระองค์ไม่ทรงประสงค์ให้เราทะเลาะกันแน่นอน จึงพากันทิ้งอาวุธนั่งลงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ชาวเมืองโกลิยวงศ์ ต่างทิ้งอาวุธและพร้อมใจกันถวายบังคมเช่นกัน

       พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนว่า การทะเลาะวิวาทกันนั้น ไม่เคยนำความปลื้มปีติมาให้ผู้ใด พระองค์ได้ตรัสเล่าชาดกที่แสดงถึงโทษของการทะเลาะวิวาท และการผูกพยาบาทอีกทั้งแสดงคุณของความสามัคคีกัน เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระราชาทั้งสองเมืองเกิดความเลื่อมใสมาก จึงปรึกษากันว่า "ถ้าหากพระบรมศาสดาไม่เสด็จมาโปรดพวกเรา วันนี้เราคงเข่นฆ่ากันเอง จนแม่น้ำนี้นองไปด้วยเลือดอย่างแน่นอน"

      กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจึงได้ถวายพระกุมารฝ่ายละ 250 องค์ แด่พระผู้พระภาคเจ้า พระองค์ทรงให้การอุปสมบทแก่พระกุมารทั้งหมด เมื่อทุกรูปตั้งใจบำเพ็ญเพียร ในที่สุดต่างได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้ง 500 รูป และทยอยกันมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

       วันนั้น บรรยากาศในที่ประชุมสงฆ์สว่างไสวงดงามด้วยรัศมีแห่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา แวดล้อมด้วยพระขีณาสพอรหันต์ ล้วนมาจากตระกูลกษัตริย์ทั้งสิ้น เป็นผู้หมดจดปราศจากกิเล มีความสง่างาม สงบ สำรวม เปียมด้วยความสุข และความปีติในธรรม เทวดาผู้อาศัยอยู่ในป่าใหญ่นั้นได้ทัศนาภาพอันงดงามเช่นนั้นแล้ว ต่างพากันป่าวประกาศว่า "การได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า การฟังพระธรรมคำสอน การเห็นหมู่ภิกษุอรหันต์เป็นมงคล มาเถิดพวกเรา มานมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าพระขีณาสพ
อรหันต์กันเถิด"

      ทวยเทพในแสนโกฏิจักรวาลได้ยินเสียงป่าวประกาศนั้น ต่างรีบมาประชุมกันอย่างคับคั่งเทวดาที่อยู่ในทวีปทั้งสี่ เทวดาที่อยู่ในป่าหิมพานต์ เทวดาจาก 189,000 เมือง เทวดาที่อยู่ตามปากทาง 9,900,000 แห่ง เทวดาที่อยู่ตามท่า 96 แสนโกฏิ และเทวดาที่อาศัยอยู่ในทะเล 56 แห่ง ต่างมาประชุมกัน ทั่วทั้งจักรวาลขึ้นไปจนถึงพรหมโลก เนืองแน่นไปด้วยกายละเอียดจนหาที่ว่างไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงประกาศนามของเทวดา ตั้งแต่ยักษ์ ท้าวมหาราชทั้งสี่เทวนิกายทั้งหกสิบ ไปจนถึงพรหมทั้งหมด

       จากนั้น พระองค์ทรงแสดงมหาสมัยสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาสรรพสัตว์ผู้มีบุญต่างได้บรรลุธรรมกันมากมาย เทวดาจำนวน 100,000 โกฏิ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และเทวดาอีกจำนวนนับไม่ถ้วนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจอย่างนี้และสั่งสอนทั้งมนุษย์และเทวดาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงทรงได้พระนามว่า เป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

        พระองค์ได้เนมิตกนามว่า พุทโธ คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ผู้รู้ คือ ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง ทั้งรู้ทั้งเห็น นอกจากเห็นแล้วรู้แล้ว ยังขจัดกิเลสให้หมดได้โดยสิ้นเชิง ท่านรู้เรื่องราวชีวิตของมนุษย์ว่า มีความทุกข์เป็นพื้นฐานของชีวิต ความทุกข์นั้นเกิดจากอะไร จะดับด้วยวิธีการใด ดับแล้วไปไหน เป็นอยู่อย่างไร ท่านรู้เห็นตลอดหมด และยังมีพระมหากรุณาธิคุณนำความรู้ที่ท่านได้รู้ได้เห็นมาแนะนำสั่งสอน ซึ่งเป็นความรู้อันบริสุทธิ์ที่ออกมาจากแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ ผู้ที่รู้แล้วก็ทำให้บริสุทธิ์ตามพระองค์ไปด้วย มีความสุขล้วน ๆ ไม่มีทุกข์เจือปน

      ผู้ตื่น คือ ตื่นแล้วจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย มนุษย์ส่วนใหญ่ยังหลับอยู่ คนหลับก็เหมือนคนที่ตายไปชั่วขณะ หลับใหลเพราะกิเลสเข้าไปบังคับบัญชา พระองค์ทรงพ้นจากบ่าวจากทาสของกิเลสทรงรู้วิธีที่จะเอาชนะมัน ปราบกิเลสในตัวได้หมดสิ้น และทรงสอนผู้อื่นให้รู้เรื่องการดับทุกข์อย่างแท้จริง ทั้งทำได้และสอนได้ด้วย ครูทำได้อย่างไร ก็สอนให้ลูกศิษย์ทำได้อย่างนั้น ไม่มีศาสดาใดในโลกเสมอเหมือนท่านเลย

       พระองค์เป็นผู้เบิกบานแล้ว ทรงมีพระทัยผ่องแผ้วสะอาดบริสุทธิ์ ดุจดังดอกบัวที่เบ่งบานเต็มที่ ใจขยายกว้างออกไปเป็นอิสระ ออกไปจากเครื่องข้อง ออกไปจากพันธนาการของชีวิตไม่คับแคบ ไม่อึดอัด พระองค์ทรงมีพระทัยเบิกบาน ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเป็นผู้รู้แจ้งในธรรมะอันบริสุทธิ์ ทรงตื่นแล้วพ้นแล้วจากอาสวกิเลสทั้งหลาย

     พระพุทธองค์ทรงได้พระนามว่า ภควา ซึ่งแปลได้ 2 นัย คือ แปลว่าหักก็ได้ แจกก็ได้ที่ว่าหักนั้น คือ พระองค์ทรงหักสังสารจักรที่ประกอบไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมอันเป็นเสมือนตัวล้อรถที่หมุนให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ไม่ให้ออกจากภพ 3 คือ กามภพ รูปภพและอรูปภพ พระองค์ทรงหักกงล้อแห่งวัฏสงสารได้แล้ว จึงพ้นจากภพ 3 เสด็จไปสู่พระนิพพานที่ว่าแจกนั้น คือ เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเป็นสัพพัญู รู้แจ้งธาตุธรรมทั้งปวง และพระองค์ได้ทรงจำแนกธรรมให้พระสาวกได้รู้ ได้เห็น และได้บรรลุมรรคผลนิพพานกันมากมาย

      พระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์เป็นสิ่งที่เราชาวพุทธทุกคนจะต้องตระหนัก และระลึกนึกถึงเสมอ หมั่นตรึกระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เจริญพุทธานุสติเป็นประจำ ปฏิบัติบูชาแด่พระองค์ด้วยการทำใจหยุดใจนิ่ง น้อมใจไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ วัน การทำอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเคารพเลื่อมใสท่านอย่างแท้จริง และสิ่งนี้จะทำให้เราสมปรารถนา ได้เข้าถึงความสุข เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในกันทุก ๆ คน

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014192815621694 Mins