กัณฑ์ที่ ๑๗
โอวาทปาติโมกข์ (ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)
อเนกปริยสเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีสํ สมฺมทกฺขาตํ สามธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา |
กถญฺจ สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา |
เหฏฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมหกฺขาตํ ภควตา |
อุปริเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา |
กถญฺจ เหฏฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมหกฺขาตํ ภควตา |
อิธ อริยสาวโก ปณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ |
อนินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ |
กาเมสุ มิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ |
มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ |
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา ปฏิวิรโต โหติ |
เอวํ โข เหฏฐิมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมหกฺขาตํ ภควตา |
กถญฺจ อุปริมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา |
อธิ ภิกฺขํ สีถวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ |
อาจารโคจรสมฺปนฺโน อนฺมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ |
เอวํ โข อปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตาติ |
ณ บัดนี้ อาตภาพ จักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยธรรมที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา ที่พระศาสดาทรงวางพระพุทฑศาสนา และตั้งหลักเกณฑ์เป็นเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องรีบล้นขวนขวายให้มีศีลตั้งมั่นอยู่ในธรรมของตนทุกถ้วนหน้า เพราะการปฏิบัติพระพุทธศาสนา ไม่มีศีลแล้วจะปฏิบัติศาสนาให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์พุทธศาสนาไม่ได้ จำจะต้องให้มีศีล ศีลที่มีแล้วตัวก็ต้องรู้ด้วย ตัวเองมีศีลให้แน่นอนในใจทีเดียว จะชึ้แจงตามวาระพระบาลีว่า
อเนกปริยสเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้แล้วเห็นแล้ว เป็นองค์พระอรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ทรงรับสั่งแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย หรือโดยปริยายมิใช่อย่างเดียว แล้วทรงปุจฉาวิสัชนาด้วยพระองค์เป็นลำดับไปว่า
กถญฺจ สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วนั้นเป็นไฉน?
เหฏฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมหกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง
อุปริเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
กถญฺจ เหฏฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมหกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพรุภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉน?เล่า
อิธ อริยสาวโก พระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้
ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตคือ ฆ่าสัตว์ที่เป็นให้จำตาย
อนินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ดวยอาการแห่งขโมย
กาเมสุ มิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากเป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากคำเท็จไม่จริง
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากน้ำที่ทำให้บุคคลจากน้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมาคือ สุราและเมารัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท
เอวํ โข เหฏฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมหกฺขาตํ ภควตา อย่างนี้แหละ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยปริยายเบื้องต่ำ
กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉน?
อิธ ภิกขฺ สีลวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวฺโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ ภิกขุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สีลวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีศีล ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ ย่อมเป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาตอยู่ อาจารโคจร สมฺปนุโน ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโตยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย สามาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เอวํ โข อุปรเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา อย่างนี้แหละ ศีลที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง
กล่าวถึงศีล แต่ว่า สมาธิ ปัญญา ยังจะมีต่อไป ส่วนศีลนี้ให้เข้าเนี้อเข้าในเสียก่อน ผู้พุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ให้รู้จักบริสุทธิ์สนิท ศีลมีทั้งคฤหัสถ์บรรพชิด ไม่ใช่มีแต่คฤหัสถ์ บรรพชิดด้วย คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในศีลเบื้องต้น เพียงศีล ๕ ประการของคนครองเรือน ส่วนศีล ๘ ประการเป็นอติเรกศีลสูงขึ้นไปกว่าศีล ๕ แต่ว่าศีล ๕ ประการให้มั่นใจขันธสันตานเสียก่อน ต้องสละขาดจากใจนะว่าเราเป็นคนมีศีล แล้วก็เริ่มมีศีล ๕ ทีเดียว ศีล ๕ รู้จักกันพร้อมดีบริบูรณ์ดี ต้องหรู้จักแม่นยำแน่นอนว่า การฆ่าสัตว์น่ะ ต้องให้รู้จักสัตว์เสียก่อนว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าสัตว์คำที่เรียกว่าสัตว์น่ะ ผู้อขงอยู่ในภพ แปลว่าผู้ข้องอยู่ สกฺมตีติ แปลว่าข้องอยู่สัตว์ที่ข้องอยู่มีกำเนิดถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ นี่กำเนิด ๔
อัญฑชะ สัตว์ที่เกิดด้วยฟองไข่ สัตว์ชนิดอะไรไม่ว่าที่เกิดด้วฟองไข่ แล้วก็ฟักเป็นตัวอีกหนหนึ่งเรียกว่า อัณฑชะทั้งนั้น นี่เราก็ระวังยากนะ ไข่เป็ด ไข่ไก่ ระวังยากเหนมือนกัน ไข่มด ไข่เหา ไข่เรือด ไข่เล็น ไข่เหล่านี้ระวังยากทั้งนั้น มีไข่ทั้งนั้นสัตว์พวกนี้ นี่เรียกว่าอัณฑชะ ต้องเว้นกันจริงๆ
สังเสทชะ สัตว์ที่เกิดด้วยเหงื่อไคล เหา เล็น เรือด ไร ที่กัดเราอยู่ทุกวันนี้ อ้านนั่นสำคัญอีกเหมือนกัน ยุงไม่ได้เกิดด้วยเหงื่อไคล ถ้าว่าพวกสังเสทชะเกิดด้วยเหงื่อไคล เหา เล็น เรือด ไร เหล่านี้ทุกชนิด อาศัยเหมื่อไคลเป็นแดนเกิดละก็ เรียกว่าสังเสทชะทั้งนั้น
ชลาพุชะ สัตว์อาศัยน้ำบังเกิดขึ้น ถ้าไม่มาน้ำเกิดไม่ได้ ต้องมีน้ำจึงบังเกิด นั่นเรียกว่า ชลาพุชะ มนุษย์เป็นอันมากก็เรียกว่า ชลาพุชะทั้งนั้น แพะ แกะ วัว ความ ข้าง ม้า อาศัยน้ำเป็นแดนเกิดทั้งนั้น สัตว์เกิดในน้ำเป็นอเนกประการะ เกิดในน้ำก็อาศัยไข่บ้าง อาศัยเหงื่อไคลบ้าง มนุษย์ก็เกิดด้วยเหงื่อไคลได้ มนุษย์นี่แหละที่เรียกว่า ชลาพุชะ นี่มีเหงื่อไคลเป็นแดนเกิดได้เหมือนกันเหมือนพระปัจเจกโพธิ ๕๐๐ อาศัยคัพภมลทินของมารดาคลอดออกมาคนเดียว อาศัยคัพภพลทินเหงื่อไคลเหมือนกัน มนุษย์เรียกว่า สังเสทชะเหมือนกัน
อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เกิดขึ้นละอายุ ๑๔-๑๕ ทีเดียว นั่นเป็นสัตว์อีกพวกหนึ่ง เช่นนี้เราจะฆ่าเขาไม่ค่อยได้หรอก แต่ว่าได้เหมือนกัน เช่น นางอัมพปาสีเกิดในคาคบต้นมะม่วง แล้วอยู่ร่วมด้วยมนุษย์ราชกุมาร ๕๐๐ เป็นสามี ๕๐๐ ต้องผลัดกันอยู่ร่วม คนละ ๗ วันไป ๕๐๐ นี่ก็เต็มที่ไม่มีเวลา สร้างปราสาทขึ้นไว้ในสวนมะม่วงนั้นไม่ให้เป็นของใคร ถ้ามิฉะนั้นรากุมารจะเกิดทะเลาะกัน จะเกิดฆ่าฟันทะเลาะบาดหมางกันขึ้น นี่พราหมณ์ตัดสินให้เป็นไปดังนั้น นี่นางอัมพปาลีอาศัยค่าคบมะม่วงเกิดขึ้น นี่ ก็เป็นมนุษย์ เกิดเป็นอุปปาติกะแปลกไหมล่ะ? เป็นอุปปาติกะ กำเนิดทั้ง ๔ นี้ มนุษย์มีทั้งสิ้น พระเถระ ๒ รูป ลูกนางกุลตีกินกรไข่ออกมา ออกมาเป็นไข่ พอกะเทาะออกมาเป็นมนุษย์เป็นชาย ๒ คน เป็นชายด้วยกันทั้ง ๒ คนนั่นแหละนี้ก็เกิดด้วยฟองไข่ เกิดด้วยฟองไข่ก็มี เกิดด้วยเหงื่อไคลก็มี เกิดเป็นอุปปาติกะก็มี เกิดเป็นชลาพุชะก็มี กำเนิดทั้ง ๔ มนุษย์มีพร้อม
สัตว์ที่เป็นอยู่ปรากฏไปไหนไปได้ กระดุกกระดิกได้ หรือมีชีวิตเป็นอยู่กระดุกกระดิกไม่ได้ เช่น สัตว์เกิดในฟองไข่ยังไม่ออกตัว อยู่ในฟองไข่ดิ้นไม่ได้ ไม่มีตัวดิ้น นี่ก็เป็นกำเนิดของสัตว์เหมือนกัน ที่เรียกว่า ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เลย ฆ่าแล้วด้วยยเจตนาน่ะศีลขาดทีเดียว รู้ว่าสัตว์มีชีวิตเป็นอยู่ เมื่อรู้ว่ามีชีวิตเป็นอยู่แล้ว ก็จิตคิดจะฆ่าเสีย ถ้าทำความเพียงเพื่อจะฆ่า ฆ่าได้สมเจตนา สัตว์มีชีวิตเป็นอยู่เรียกว่า ปาโณ หรือว่าสัตว์มีชีวิตเป็นอยู่เรียกว่า ปาณสญฺญี จิตคิดจะฆ่าเรียกว่า วธกจิตฺตํ ถ้าทำความเพียรเพื่อจะฆ่าเรียกว่า อุปกโม เตน มรณํ สัวต์ตายด้วยความเพียรทีเดียว สัตว์ตายสมเจตนา ยกมือแพล็บเดียวก็พร้อมด้วยองค์ ๕ นิดเดียวเท่านั้นพร้อมด้วยองค์ ๕ จัดเป็นองค์ ๕ การฆ่าสัตว์ให้รู้จักชัด ๆ ว่าการฆ่าสัตว์น่ะเป็นอย่างนี้
ถ้าว่าผู้มีศีล ๕ นี้ต้องเว้นขาดจริง ๆ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ท่านยกเอาอริยบุคคล อริยสาวโก อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า ตั้งต้นแต่พระโสดาขึ้นไป ท่านยกเป็นตัวอย่าง พระโสดาเจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลยทีเดียว เจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลยทีเดียว ที่เรารักษาปาณาติบาตนี้ ต้องตัดเจตนาให้ขาด เจตนาไม่ฆ่าสัตว์ต้องขาดจากใจทีเดียว ไม่ฆ่าอย่างเด็ดขาดทีเดียว เจตนาของปุถุชนก็มีไม่คิดฆ่าสัตว์เลยทีเดียว นี่แหละเป็นศีลกันจริงๆ ทีเดียว ขึ้นถึงปาณาติบาตทีเดียว
ส่วนอทินาทานล่ะ วัดปากน้ำเราก็ยังใช้ไม่ใครได้นะ ดูข้าวของอะไรเล็กน้อย ๆ ก็เผลอกันไม่ใครได้กายกันเป็นควันไปทีเดียว ดู ๆ ก็เป็นช่องขโมยทีเดียว นี่ร้ายกาจนักทีเดียว จะมีศีลอย่างไรกัน ถ้าศีลแล้วของเหล่านี้ไม่ต้องเอื้อเฟื้อ ไม่ต้องห่วยใย ลักกันเป็นไม่มี ไม่ใช่แต่ลักฝ่ายเดียว ฉ้อโกงกันเป็นไม่มี อทินนาทานน่ะ ขาดจากใจทีเดียว ขึ้นชื่อว่าลักละก็ หรือเจ้าของเขาไม่ได้ให้ละก็เป็นไม่ถือเอาทีเดียวเองถืออย่างเด็ดขาด อย่างพระอริยบุคคล เจตนาจจะลักเขาก็ไม่มี ปรปิคฺคหิต วัถุมีเจ้าของหวงห้าม ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่วัตถุมีเจ้าของหวงห้าม เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะสักก็ไม่มี อุปกโม ความเพียรเพื่อจะมาก็ไม่มี เตน หรณํ นำไปด้วยความเพียรขโมยก็ไม่มี นี้ได้ชื่อว่ามีศีลละ มีศีลอทินนาทาน แต่ว่าศีลอทินนาทานนี้ต้องมั่นในขันธสันดานทีเดียว อย่าให้เคลื่อนคลาดได้ ถ้าเคลื่อนคลาดเป็นไข้ไม่ได้ทีเดียวยกว่าจอมปลอม พวกจอมปลอมนี่แหละทำศาสนาให้เสื่อม เข้ามาประพฤติปฏิบัติในศาสนาทำศาสนาให้เสื่อม ผู้ประพฤติปฏิบัติจริงทำศาสนาให้เจริญ อย่างพระอริยบุคคลนะ เป็นตัวทำศาสนาให้เจริญ ถ้าว่าปุถุชนประพฤติอย่างพระอริยบุคคล เจตนาจะลักก็ไม่มี อ้ายการลักน่ะ เงินทองเล็กน้อยพออดได้ ไม่พอใช้พอกินอะไรพออดได้ แต่ว่าอ้ายเพชรนิลจินดาราคามันมากขึ้นมาล่ะ? ราคาตั้งหมื่นยังไม่ลักเลยนี้ราคามันสูงกว่าหมื่นขึ้นไป ๒หมื่น ๓หมื่น ๔หมื่น ๕หมื่น ถึงแสนหนึ่ง ราคาถึงแสนหนึ่ง เอาแล้วทำใจมีศีลกระดุกกระดิกไปอีกแล้ว เอ๊ะนี่ยังไง ถ้าคว้าหมับเลี้ยงชีพได้ตลอดตายทีเดียวแสนหนึ่งให้เขากู้เอาอย่างละ ๒ บาท ก็เอาเดือนละ ๒ พันนั่นแน อ้ายนี่พอเลี้ยงชีพตลอดชาติเชียวนะ ลาศีลกันเสียทีเถอะน่ะ ใจกระดุกกระดิกอีกแล้ว อย่างนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เรียกว่ามีศีลไม่จริง มีศีลจอมปลอม ต้องไว้วางใจได้ด้วย จะมีค่าสักแสนหนึ่ง สักล้านหนึ่ง สักโกฏิหนึ่งก็ช่าง ถ้าว่าไม่ใช่ของตัวละก็จิตไม่แสบไม่ขยับไปด้วย ไม่ลักไม่ขโมย ไม่มีทีเดียวปกครองป้องกันรักษาไว้ให้เจ้าของทีเดียว ไปม่พลาดพลั้งอย่างหนึ่งอย่างใด อย่างนี้เรียกว่ามีศีลใช้ได้ มีศีลจริงๆ ละ อย่างพระอริยบุคคลในธรรมวินัยของพระศาสดาละ อย่างนี้ใช้ได้ปนฺนาทานา มีพอใช้ได้แล้ว ให้ความสุขแก่ตนได้แล้ว ให้ความสุขแก่คนอื่นได้ละ ถ้าไว้ใจยังไม่ได้ให้ความแก่ตัวก็ยังไม่ได้ ให้ความสุขแก่คนอื่นจะให้ได้อย่างไร ให้ไม่ได้ทีเดียว นี่ข้อที่สอง
ข้อที่สาม ประพฤติผิดล่วงกามทั้งหลาย การประพฤติผิดล่วงกามทั้งหลายน่ะ ทำมรรคต่อมรรคถึงกัน ยืนยันใกล้ๆ อย่างนี้ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน อาการที่ทำมรรคต่อมมรรคให้ถึงกันน่ะ เป็นอันผิดความทั้งหลาย ล่วงล้ำประเวณี ชั่วช้าลามก ปกติที่ลับต้องล่วงไม่ได้ ที่ลับลมบังลมอยู่ข้างใน ถ้าล่วงล้ำไปเช่นนั้นเท่าเส้นผมเดียวเท่านั้น ก็เป็นกาเมแล้ว ผิดในกามทั้งหลายแล้ว การประพฤติในกามทั้งหลาย ให้แก่ทุกข์แก่มนุษย์มากมายในโลก ถ้าโลกเว้นขาดหมดทั้งสากลโลก ทั้งหญิงทั้งชายประพฤติชื่อตรงในกามทั้งหลาย เมื่อถือสิทธิ์ร่วมสามีภรรยากันแล้ว ก็ร่วมแต่เท่านั้น นอกจากสามีภรรยาไม่ล่วงทีเดียวเด็ดขาด อย่างพระอริยบุคคลเจตนาที่ล่วงกามเช่นนั้นไม่มีเลย ไม่ได้คิดเลยไม่คิดเลยทีเดียวที่จะล่วงกาม นอกจากบุคคลที่มีศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ถ้ามีศีลสมบูรณ์บริบูรณ์แล้วก็ไม่คิดล่วงเหมือนกันในกามเช่นนั้น ไม่คิดล่วงทีเดียว ขาดจากใจทีเดียวที่มีศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ศีลอปปางทีเดียว อำพรางศีล หลบศีล หลอกศีล หลอกตัวเอง โกงตัวเองอยู่นั่น ถ้าว่าอ้ายที่ไม่พอใจก็พออดได้ ถ้าพอใจอยู่สิ้นกาลช้านาน พอใจอยู่ต้องแก่ พอใจอยู่หลายปี หลายสิบปี เมื่อมาสมเจตนาของตัวเข้าละก็กลัวจะทนทานไม่ไหว จะขยับเขยื้อนไปอีก จะล่วงกามนั้นๆ เข้าอีก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เรียกว่าศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ หรือขาดตกบกพร่อง ยังไม่แน่นอนในใจอยู่ ในกาเมสุมิจฉาจารนี่ก็สำคัญอยู่ ท่านจัดไว้มีประพฤติเป็น ๒๐ นั่นแน่ แต่ว่าเคยได้กล่าวมาแล้ว เรื่องการเมสุมิจฉาจารา
มุสาวาท มุสาวาทก็ให้เดือดร้อนอยู่ ถ้าว่ากล่าวจริงๆ กันเสีย ไม่พลั้งเผลอละก็ไม่เดือนร้อน ถ้าว่าอำพรางกันเสีย ต้องพูดกันหลายคำ ต้องทำสัญญา ถ้าเลิกมุสากันหมดทั้งประเทศเสีย คำเดียวเท่านั้นแหละสบายกันหมดทั้งประเทศทีเดียว อ้ายมุสานี่ร้ายกาจนักให้โทษมาก กล่าวคำเท็จไม่จริง ท่านกล่าวหลักไว้ อตถํ วตฺถ เรื่องไม่จริง วิสํวาทจิตฺตํ จิตคิดจะกล่าวให้คลาด ปชฺโช วายาโม ทำความเพียรเพื่อจะกล่าว ปรสฺส วิชานนํ บุคคลอื่นรู้ความที่ตนกล่าวนั้นๆ มันก็เริ่มเป็นปดขึ้น ถ้าไม่จริงก็เป็นปดทีเดียว เป็นมุสาทีเดียว ถ้ากล่าวตามจริงครบองค์อยู่เช่นนั้น เรื่องนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นถ้อยคำที่จริงไม่มีโทษ ถ้อยคำเหล่านี้แหละ ผู้มีศีลผู้ถือศีลในสิกขาบทมุสาวาทแล้ว ต้องเว้นขาดจากใจเหมือนพระอริยบุคคล ไม่มีกริกในใจทีเดียวที่จะปดน่ะไม่มีเลือกไม่มีเฟ้นต่อไป นี้ต้องแก้ไขตัวของตัวให้ดีนะ ถ้ายังมีเลอกเฟ้นว่าจะปดดีหรือไม่ปดดี ยังงี้ละก็ ศีลยังเหลวอยู่ ศีลมุสายังเหลวอยู่ต้องไว้ใจได้ว่า จะตัดหัวขั้วแห้งอย่างหนึ่งอย่างใด ตีรันฟันแทงสักเท่าหนึ่งเท่าใด จะตัดชีวิตจิตใจสักเท่าหนึ่งเท่าใด จะให้กล่าวคำเท็จน่ะกล่าวไม่ได้เสียแล้ว ขาดจากใจเสียแล้วว่าคำเท็จ เป็นอันไม่กล่าว กล่าวแต่คำจริงทั้งนั้น อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ยกตัวอย่างพระอริยบุคคลเป็นตัวหลัก รักศีลเหมือนอย่างกับพระอริยบุคคลดังนี้ ได้ชื่อว่ามีศีลมุสาวาท ละ
สุรา ทั้งสี่สิกขาบทนั่นแหละ ถ้าเว้นสุราไม่ได้ตัวเดียวหมด ละลายหมด สุราเป็นตัวสำคัญ สุราเป็นเจ้าโขลงทีเดียว เป็นเจ้าหมุ่ทีเดียว เจ้าหมู่เจ้าหมวดของศีลทั้ง ๕ นี่แหละ สุราเป็นเจ้าหมู่ทีเดียว ยกออกไปเสียยกสุราออกเป็นเจ้าหมู่เสีย เหลืออีกสี่ สุราบังคับได้ทุกข้อ ทุกสิกขาบท เหตุฉะนั้น ต้องงดสุราให้ขาด ถ้างดสุราไม่ขาดละก็หมด ไม่ได้เลยสักข้อหนึ่ง สุราน่ะ น้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมา คือสุราและเมรัย ดื่มเข้าไปแล้วก็เมา ส่วนพระอริยบุคคลจิตของท่านที่จะคิดดื่มสุราสักนิดนั่นก็ไม่มี เหมือนพวกเราบัดนี้ก็มีถมไป ที่ไม่คิดจะดื่มสุราแม้แต่นิดเหมือนพระอริยบุคคลทีเดียว ไม่คิดเลยที่จะดื่มสุรา นั่นแหละคนอย่างนั้นเขามีศีลสุรามั่นในขันธสันดานละ ถ้าว่ายังจะดื่มอยู่ละก็ไม่มั่นใจขันธสันดาน ยังคล่องแคล่งอยู่ ต้องตัดสินตัวเสียใหม่ น้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมาสุราและเมรัย จิตคิดจะดื่ม ทำความเพียรเพื่อจะดื่ม ดื่มให้ล่วงล้ำลำคอเข้าไป ก็ได้ชื่อว่าล่วงสิกขาบท คือศีลสุรานี้
ศีลสุราสิกขาบทนี้ ท่านวางหลักไว้เทียบด้วยคชสารช้างตัวหนึ่ง มีเท้า ๔ มีงวง ๑ และช้างนั่นมันเป็นอยู่ด้วยงวงมัน ถ้าว่าเมื่องวงมันมีอยู่ตราบใดละก็ งวงนั่นมันเลี้ยงชีพของมัน มันฉุดหญ้ามาเลี้ยงร่างกายมันใส่ปากมันได้ ถ้าไม่มีงวงละก็ ช้างมันมันจะก้มลงกินหญ้าอย่างกับโค อย่างกับกระบือ อย่างไรล่ะ มันสูง มันก้มไม่ถึงนี่ จะต้องนอนลงละซี ทำลำลากเหตุนี้งวงจึงเป็นตัวสำคัญ เป็นชีวิตของช้างทีเดียว ศีลทั้ง ๕ สิกขาบทสุราเป็นชีวิตทีเดียวหนา ถ้าเลิกสุราไม่ได้ละก็ มารักษาศีลมันลำบากนักละ เพราะว่าได้แต่๔ ๕ ไม่ได้นั่นก็พูอเอาตามชอบใจ ถ้าล่วงสุราเสียสิกขาบทเดียวเท่านั้นแหละ อีก๔ สิกขาบทรักษาอยู่ไม่ได้สลายหมด ล้มละลายหมด สุราสิกขาบทเดียว เขาจึงได้ตั้งว่า พระนคร ๆ หนึ่งมีประตู ๕ แห่ง ถ้าออกประตูหนึ่งจะต้องฆ่าสัตว์ ออกประตูที่สองจะต้องลักทร์พย์สมบัติ ออกประตูที่สามจะต้องล่วงกาย ออกประตูที่สี่จะต้องพูดปด ออกประตูที่ห้าจะต้องดื่มสุรา จะออกประตูไหน? ถ้าออกไปประตูที่หนึ่งต้องฆ่าสัตว์ ก็ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่สองจะต้องลักทรัพย์สมบัติ ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่สามจะต้องล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ก็ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่สี่จะต้องพูดปด ก็ล่วงสิกขาบทเดียว ของตามประตูนั้น ๆ ถ้าออกประตูที่ห้าจะต้องล่วงสุรา ดื่มสุราละก็หมดทั้งสี่สิกขาบท ห้าสิกขาบทล้มหมดทีเดียว ท่านวางหลักไว้อย่างนี้
เมื่อรู้จักดังนี้แล้วก็ศีลห้าสิกขาบทสุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะ เป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญ เพราะฉะนั้นสุรานี้เป็นตัวประมาททีเดียวธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฏกมากน้อยเท่าใด สรุปลงในความไม่ประมาททั้งนั้น ถ้าว่าประมาทแล้วออกนอกธรรมทีเดียว ไม่อยู่ในธรรมเสียแล้ว ถ้าประมาทละก็ออกนอกธรรม ไม่อยู่ในธรรมทีเดียว ถ้าว่าไม่ประมาทละก็อยู่ในธรรมที่เป็นกุศลทีเดียว ถ้าประมาทขึ้นแล้วอยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลทีเดียว ตรงกันข้ามเพราะฉะนั้น สุรานี่เป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าเลิกสุราเสียได้ก็เป็นเหตุของความไม่เป็นที่ตั้งของความประมาท ศีล ๔ สิกขาบทก็รวมอยู่ในสุรานั่น อยู่ในความประมาทนั่น นี่เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักหลักมั่นดังนี้ละก็เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ต้องมั่นอยู่ในศีลทั้งห้านี้ ได้ชื่อว่าพุทธศาสนิกชน หรือเรียกว่าชนภายในพระพุทธศาสนา ต้องให้มีศีล๕ นี้ให้มั่นอยู่ในขันธสันดานเสียตอนต้น นี้เรียกว่าศีลโดยปริยายเบื้องต่ำนะ แต่โดยปริยายเบื้องต่ำนี่แหละ ศีลของภิกษุก็มีเหมือนกัน ๕ สิกขาบทนี่ก็เป็นสิกขาบทของภิกษุเหมือนกันแต่ท่านจัดศีลของภิกษุโดยประยายเบื้องสูงขึ้นไปอีกว่า
อิธ ภิกฺขุ ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้
สีลวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีศีล ภิกษุมีศีลน่ะมีอย่างไร? ไม่ต้องสมาทาน เหมือนอุบาสก อบาสิกา อย่างนี้หรอก ภิกษุมีศีลน่ะ ศีลสำเร็จด้วยญัติจตุตถกรรมวาจา พระสงฆ์ในปัจจันตประเทศตั้งแต่๕ รูปขึ้นไปในมัชฌิมประเทศตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป มาประชุมพร้อมกัน ต้องมีอุปชฌาย์ มีพระกรรมวาจา พระอุปัชฌาย์ตรัสขึ้นในหมู่พระสงฆ์นั้น ให้สวดญัติจตุตถกรรมวาจา สมมุติกุลบุตรคนใดคนหนึ่งขึ้น ให้เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนา เหมือนเราที่เรียกว่าเราบวชนาคบวชพระกันอยู่ทุกวันนี้ ที่เป็นเจ้าภาพบวชให้ภิกษุสามเณรน่ะ บวชให้เป็นภิกษุทีเดียว หรือสามเณรก็ต้องมีศีล ๑๐ ขึ้นไป
ศีล ๕ เป็น เหฏฐิมศีล ศีล ๘ ที่เรารักษาวันนี้เป็นเหฏฐิมศีลไหมล่ะ ไม่เป็นเหฏฐิมศีล เป็นอติเรกศีล ศีลสุงกว่าศีล ๕ ขึ้นไป สำคัญอยู่ข้อไหนศีล ๘ น่ะ ที่ยกขึ้นเป็นอติเรกศีลขึ้นน่ะสำคัญในข้อ วิกาลโภช นัจจคีต อุจจา ชาตรูป คือ เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล การบริโภคอาหารเป็นอย่างไรหรือ การบริโภคอาหารนั้นเป็นรสตัณหา ถ้าว่าเว้นเสียละก็เว้นรสตัณหาทีเดียว บริโภคอาหารที่เป็นรสที่อร่อยมีรสมีชาติขึ้นสำคัญนัก อ้ายรสอันนั้นสำคัญนัจจคีต ฟ้อน รำ ขับร้อง เครื่องประโคนขับร้อง ดีดสีตีเป่าต่าง ๆ ฟ้อน รำ ขับร้อง ให้เกิดเป็นสัททตัณหา ฟ้อนรำ ขับร้องเหล่านี้ ดีดสีตีเป่าเหล่านี้เป็น สัททตัณหา เป็นสัททตัณหาขึ้น ตรึงใจสัตว์โลกให้หมุนเวียนอยู่ในภพ ออกจากภพไม่ได้ ทัดทรงประดับประดาด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องให้เกิดยั่วยวนต่างๆ เครื่องลูบไล้ลายทาต่างๆ นี่เป็นสัททตัณหาขึ้น นั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ ภายในมีปุนและสำสีให้เกิดเป็นโผฏฐัพพตัณหาขึ้น
รับเงินและทองเหล่านี้ เงินทองอันเดียวเป็นตัวสำคัญ ใน ๑๐ สิกขาบทนั่น เงินทองเป็นตัวสำคัญ ถ้าว่าเงินทอหยิบเข้าได้แล้ว อื่นหมด เสียหมด ใช้ไม่ได้แบบเดียวกับสุราสำคัญนัก ถ้าว่าศีล๘ ไม่ถึงเงินทองไม่ห้ามเงินและทองเพียงแค่ ๘ สิกขาบท ก็เพื่อตัดตัณหาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นอติเรกศีล เป็นอุดมศีลขึ้นไป ไม่ใช่ศีล ๕ ธรรมดา ศีล ๕ ธรรมดาเป็นเหฏฐิมศีล
ภิกษุเป็นผู้มีศีล ศลของภิกษุศีล๕ ก็รวมอยู่ด้วย ศีล ๘ ศีล ๑๐ รวมอยู่ด้วยทั้งนั้น เข้ามารวมอยู่ในศีลของภิกษุหมด แต่ภิกษุเป็นผู้มีศีลน่ะ เมื่อสำเร็จญัติจตุตถกรรมวาจาในท่ามกลางพระสงฆ์ สำเร็จญัติจตุตถกรรมในท่ามกลางของสงฆ์แล้ว ศีลสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ไม่ได้สมาทานเลย สมบูรณ์เมื่อจบญัติจตุตถกรรมวาจา เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนาขึ้น
ศีลของภิกษุเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ที่เดียว ศีลไม่มีที่สุด ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ ศีลมี ๓ ล้านกว่าสิกขาบท ศีลของภิกษุจบพระวินัยปิฏก เป็นศีลของภิกษุน่ะ มากมายนักเพราะเหตุนั้น ภิกษุสีลวา ภิกษุเป็นผู้มีศีลน่ะ มีจริงนะ มีทั้งหมดทีเดียว แต่นี้ท่านจำแนกแยกย่นลงไป
ปาติโมกขสํวรสํวุโต วิหรติ ผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามที่พระองค์ทรงอนุญาตอยู่นี้น้อยนิดเดียว ขึ้นสู่พระปาติโมกข์นี้น้อยนิดเดียว โดยสามัญทั่วไปละก็ ๒๒๗ สิกขาบทนิดเดียวศีลขึ้นสู่พระปาติโมกข์ แต่ว่าข้อสำคัญทั้งนั้นไม่ใช่ข้อเล็กน้อย เพราะฉะนั้นควรไหว้ควรบูชา ภิกษุประพฤติได้ในสิกขาบัญญัติน้อยใหญ่ของตัวได้ละก็ น่าไหว้ น่าบูชานัก เป็นของทำยาก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย
อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยอาจารมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและ โคจรมารยาท เครื่องมาประพฤติและโคจรของภิกษุน่ะ ภิกษุจะเดินไป หาตำหนิไม่ได้ตาก็ทอดลงมองชั่วแอกหนึ่ง เรียกว่า ตาตายไม่ใช่ตาเป็น ทอดลงแม้จะเบิกตาขึ้นก็เพียงว่าดูอันตรายเท่านั้น ที่จะแสดงหาวิสภาคารมณ์ ที่จะแสดงหารูปที่จะชอบก็ไม่มีเลย ไม่มีแก่ภิกษุเลย ภิกษุเดินไปก็ตั้งอยู่ในความสำรวม เรียกว่า อินทรีย์สังวร สำรวมทีเดียว สำรวมอินทรีย์คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย เวลาเห็นรูป ยินเสียง ดมกลิ่น สิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สำรวมระวังไม่ให้โทมนัสเล็ดลอดเข้าไปประทุษร้ายจิตได้ คอยระแวดระวังอยู่ทีเดียว นั่นภิกษุหน้าที่สำรวมละเรียกว่าอาจาระ นั่นแหละเรียกว่าอาจาระทั้งนั้น มารยาทของภิกษุด้วยกายหาติเตียนไม่ได้ ด้วยวาจาก็หาติเตียนไม่ได้ จะเปล่งวาจาใดๆ ไม่ครูดโสต ไม่กระทบโสตใครเลยสำรวมทางวาจาทีเดียว มารยาทของกายของวาจา ตลอดจนกระทั่งถึงใจ เป็นอัพโพหาริกลงไปในเจตนาของภิกษุก็ไม่ประทุษร้ายผู้หนึ่งผู้ใด เจตนาประกอบอยู่ด้วยเมตตา เป็นปุเรจาริกที่เดียว นั่นเรียกว่าอาจาระทั้งนั้นไม่ใช่โคจรสัมปันโณ เป็นอาจารสัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาทเครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ นี่ย่อลงไปได้ความดังนี้
โคจรสัมปันโน ภิกษุถึงพร้อมแล้วด้วยโคจร อโคจร ภิกษุไม่ไปในที่อโคจร ที่อโคจรมากนักกว้างขวางโคจรสัมปันโนถึงพร้อมแล้วด้วยโคจรน่ะ ไปในที่โคจรของตัว ท่านกล่าวที่อโคจรไว้ เวทีญาติเพเท ภิกษุไม่ไปหาในหญิงแพศยา หญิงสาวใหญ่ ภิกษุไม่ไปมาหาสู่ เมื่อเขาเชื้อเชิญนิมนต์ก็ไปตามหน้าที่ แต่ว่าเรื่องจะไปเรื่องกิจอื่นนอกจากเขานิมนต์ไปเช่นนั้น จะไปสนทนาปราศรัยอย่างสามัญชนธรรมดาไม่มีพระภิกษุไม่ไปในที่เช่นนั้น ในสกุลหญิงแพศยา หญิงสาวใหญ่ ภิกษุไม่ไปเรียกว่าเป็นอโคจรของภิกษุ หรือโรงสุรา โรงยาฝิ่น เหล่านี้ เป็นอโคจรของภิกษุ ภิกษุไม่เข้าไป ถ้าภิกษุสามเณรองค์หนึ่งองค์ใดเข้าไปในโรงสุรายาฝิ่นเป็นอย่างไร สองสามหนเท่านี้นแหละ ภิกษุอื่นก็นึกว่ามันกระไร ๆ เสียแล้วละ ภิกษุองค์นั้นน่ะ เห็นจะไปติดฝิ่นเสียก็ไม่รู้ หรือจะไปดื่มสุราก็ไม่รู้ แม้โรงดื่มที่เขาตั้งในถนนหนทางก็ไม่เข้าไปนั่งเข้าไปนั่งในที่นั้นกลัวเพื่อนหกพรหมจารีรังเกียจ จะไม่นั่งดื่มแต่กาแฟนซี จะกระซิบหรือใช้เลศนัยให้เจ้าของกาแฟส่งสุรามาให้นะซิ ไม่เข้าไปนั่งทีเดียวโรงดื่มเช่นนั้น ละอายแก่ใจไม่เข้าไป กลัวจะเสียชื่อ อโคจรของภิกษุยังมีอีกมาก โรงมหรสพต่าง ๆ เป็นอโคจรทั้งนั้น ที่ใดเขาประชุมกันในเรื่องพลเมือง เขาต้องการสนุกสนานกันในสถานที่ใดๆ เป็นอโคจรของภิกษุทั้งนั้น แม้เขากรีฑาทัพกันภิกษุเข้าไปดูไม่ได้ เป็นอโทจรของภิกษุ ที่ไปแล้วเขาติเตียนในสถานที่ใดๆ ในสถานที่นั้น ๆ เป็นอโคจรของภิกษุทั้งนั้น อโคจรของภิกษุมีมากอย่างนี้ เมื่อเป็นภิกษุเข้าแล้วมีศีลแล้ว มีในพระปาติโมกข์แล้ว อยู่ในมารยาที่ดีแล้ว อโคจรก็ไม่มีตั้งอยู่ในโคจรทีเดียว ไปในที่ๆ ที่ควรไปทีเดียว
อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย ขึ้นชื่อว่าโทษแล้วเท่าปลายผมปลายขน ไม่ให้กระเซ็นถูกทีเดียว อุปมาดุจดังว่าอุจจาระ ของที่เหม็นเท่ปลายผมปลายขน กระเซ็นถูกเข้ารู้สึกว่าเหม็นสกปรก ภิกษุระวังความบริสุทธิ์ของภิกษุไม่ให้กระทบ ไม่ให้เข้าไปใกล้ของโสโครกปฏิกูลทีเดียว สิ่งที่เป็นโทษแล้วมีประมาณน้อยเท่าปลายผมปลายขนก็ถอยใจออกห่าง เหมือนยังกับปีกไก่ใส่เข้าไปในไฟ ปีกไก่ไม่เข้า งอกลับเสีย ร่นตัวถอยเข้ามา ถอยเข้ามา ไม่ไปฉันใด ใจของภิกษุที่บวชในพระธรรมวินัยโดยชื่อตรงแล้ว ไม่เข้าไปในโทษแม้มีประมาณน้อย ใจถอยกลับไม่เข้าไปในโทษทีเดียว สิ่งทีเป็นโทษไม่เข้าไปทีเดียว สิ่งทีเป็นอาบัติสิ่งที่เป็นโทษไม่เอาใจสอดเข้าไปทีเดียว ไม่เจตนาทีเดียวถอยกลับทีเดียว นี้ได้ชื่อว่า เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย
สทาย สิกฺขาปเทสูติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ สิกขาบททั้งหลายมากน้อยเท่าใด สมบูรณ์บริบูรณ์เหมือนน้ำในมหาสมุทร น้ำจะไหลไปในทิศั้ง ๔ ทั้ง ๕ ในแม่น้ำน้อยใหญ่ ไหลเข้าไปในมหาสมุทรเท่าหนึ่งเท่าใด มหาสมุทรก็มีฝั่งรักษาน้ำไว้ได้ไม่ให้ล้นบ่าท่วมไปในประเทศที่ไม่มีน้ำ รักษาไว้จำเพาะที่มีน้ำเท่านั้น นี้ฉันใด ภิกษุเมื่อเป็นภิกษุในธรรมวินัยเข้าแล้ว อยู่ในศีลของตัว ไม่ล้นกรอบศีลของตัวไปฉันนั้นเหมือนกัน อยู่ในกรอบของพระวินัยไม่ล้นกรอบพระวินัยฉันนั้นเหมือนกัน อย่างนี้ได้ชื่อว่าภิกษุนั่นแหละตั้งอยู่ในศีลเบื้องบน ไม่ใช่ศีลเบื้องต่ำศีลเบื้องสูง เป็นศีลของภิกษุ ต้องรักษาปฏิบัติดังนี้ สามเณรก็อยู่ในหน้าที่ของสามเณร ศีลเพียง ๑๐ สิกขาบทก็หนักมืออยู่เหมือนกัน นั่นก็หนักเหมือนกัน ถ้าว่าสะเพร่าละก็รักษาได้ยาก ต้องละเอียดจึงจะรักษาได้ง่าย ฝ่ายภิกษุเล่าถ้าว่าสะเพราก็รักษาไม่ได้ เป็นของสูงของละเอียด ต้องละเอียดทีเดียวจึงรักษาได้
เหตุนี้ศีลที่แสดงมานี้ ในเหฏฐิมศีล และอุปริมศีลทั้ง ๒ ประการนี้เป็นเบื้องต้นของพุทธศาสนิกนทั้ง คฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาละโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลสนั่นเองเปลื้องตนพ้นกิเลสไม่ได้ เหตุนี้ต้องอคยระแวดระวัง ต้องตั้งตนให้อยู่ในศีลจริง เหมือนพระอริยบุคคล อิธ อริยสาวโก ให้ตั้งอยู่ในศีล๕ จริงๆ เหมือนพระอริยาบุคคลตั้งอยู่ในศีล๘ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๑๐ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคล ตั้งอยู่ในศีล ๒๒๗ เหมือนยังกับภิกษุในพุทธศาสนาที่เป็นผู้มีความประเพฤติดีงาม ตามพระธรรมวินัยของพระศาสดา
ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาแห่งศีลทั้งเหฏฐิมศีล และอุปริมศีลตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในศีลเบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้งสองประการนี้ พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาศโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลาสมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านั้น เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้