กัณฑ์ที่ ๒๑
อริยธนคาถา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต |
อจลา สุปติฏฺฐิตา |
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ |
อริยกนฺตํ ปสํสิตํ |
สงฺเฆ ปสาโท |
อุชุ ภูตญฺจ ทสฺสนํ |
อทลิทฺโทติ ตํ อาหู |
อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ |
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ |
ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ |
อนุยุญฺเชถ เมธาวี |
สรํ พุทฺธาน สาสนมฺติ ฯ |
ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักได้แสดงธรรมิกถาในวันกลางเดือน ๔ นี้ แสดงในเรื่อง อริยธนคาถา แปลว่าทรัพย์ของพระอริยเจ้า หรือแปลว่าทรัพย์อันประเสริฐ จะแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านพุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิด บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฐิตา
ความเชื่อไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยศีลแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
ศีลที่ดีงามอันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีอยู่แก่บุคคลใด
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ
ความเสื่อมใสในพระสงฆ์ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติทางมีอยู่แก่บุคคลใด
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลนั้นเป็นคนไม่จน เป็นคนมั่งมี
อโมฆนุตสฺส ชีวิตํ
ความเป็นอยู่ของคนนั้นไม่เปล่าจากประโยชน์
ตสุมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมูมทสฺสนํ
อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทธาน สาสนํ
เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญา เมื่อมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ความประกอบความเชื่อและประกอบศีล ประกอบความเสื่อมใส ประกอบความเห็นธรรมไว้ในในเนือง ๆ เถิด ประเสริฐนัก
นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ ต่อแต่นี้จะอรรถธิบายขยายความเป็นลำดับไป เพราะเราท่านทั้งหลายเป็นคนไม่มีทรัพย์ในโลกนี้เป็นเครื่องอุ่นใจ ให้นึกถึงเงินที่รัฐบาลใช้สอยก็มีไม่พอใช้ หรือจะนึกถึงสมบัติอันใดไม่พอใช้ทั้งนั้น ที่เป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เมื่อมาระลึกเช่นนี้แล้ว เราควรจะตั้งใจให้ผ่องแผ้ว เรามาประสบพบพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทานอริยทรัพย์ไว้ เป็นอเนกอนันต์สุดที่จะพรรณนา
บัดนี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาไว้เป็นลำดับไป ความเชื่ออันนี้แหละให้รักษาไว้ให้มั่นในขันธสันดาน ชื่ออจลา ไม่กลับกลอก ความเชื่อที่ไม่กลับกลอกตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้ามีอยู่แก่บุคคลใด ความเชื่ออันนี้ควรสำทับให้แน่นอนไว้ในใจ ความเชื่อนี้เป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติศาสนา ถ้าความเชื่อนี้ไม่แน่นอนง่อนแง่นคลอนแคลนแล้ว จะเอาตัวรอดไม่ได้ ถ้าความเชื่อไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแน่นอนแล้วจะเอาตัวรอดได้ ความเชื่อที่ง่อนแง่นคลอนแคลนไม่มั่นคงนั้นเป็นไฉน? ตั้งใจตรงลงไปว่า จะปฏิบัติในพุทธศาสนาเหมือนภิกษุสามเณร ทอดตัวลงไปแล้วว่าเป็นพระจริงๆ เป็นเณรจริง ๆ คอยรักษาความจริงอันนั้นไว้ อย่าให้กลับกลอกได้ อุบาสกอุบาสิกาก็เหมือนกัน ทอดตัวลงไปแล้วว่าต้องเป็นอุบาสกอุบาสิกาจริง ๆ แล้วรักษาความจริงอันนั้นไว้อย่าให้กลับกลอกง่อนแง่นคลอนแคลนได้ นี้รักษาความจริงไว้ได้ ได้ชื่อว่าความเชื่ออันนั้นไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า
ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือธรรมกาย เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อธรรมกาย ให้เห็นธรรมกาย ให้เป็นธรรมกาย ถ้าเห็นธรรมกายเป็นธรรมกายแล้ว แก้ไขธรรมกายนั่นให้สะอาดให้ผ่องใสหนักขึ้น อย่าให้ยุ่งอย่าให้มัวหมอง ถ้าเห็นบ้างไม่เห็นบ้างอย่างนั้นยังง่อนแง่นยังใช้ไม่ได้ ถ้าเห็นเสียแจ่มใสบริสุทธิ์ไม่มีราคีเหมือนกระจกส่องเงาหน้าเจ้าของเห็นเวลาไรแล้วยิ้มจ้าเวลานั้น ไม่ได้ซูบซีดเศร้าเหมองเลย ผ่องใสอย่างนี้ เชื่อลงไปขนาดนี้นี่เป็นที่พึ่งของเราจริง สิ่งอื่นไม่มี ให้แน่นอนลงไปเสียอย่างนี้ เมื่อแน่นอนลงไปเช่นนี้แล้ว ก็เห็นธรรมกายนั่นเองเป็นใหญ่ สิ่งอื่นเป็นใหญ่กว่านี้ไม่มี หมดทั้งสากลโลก หมดในธาตุในธรรม ที่จะเป็นใหญ่กว่าธรรมกายนี้ไม่มี ให้แน่นอนเสียในใจอย่างนี้ มั่นคงไปอย่างนี้ ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลนจริงลงไปอย่างนั้นแล้วใจต้องนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายทีเดียว ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยงคืนไม่ลุก ลืมตาก็แจ่มอยู่กับธรรมกายนั่น เมื่อนอนหลับเข้าก็แล้วไป เข้าที่ไปจนกระทั่งหลับอยู่กับธรรมกาย ตื่นขึ้นก็ติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นแจ่มจ้าอยู่เสมอ นิ่งแหละเจอแล้วซึ่งพระตถาคตเจ้า นั่นตัวพระตถาคตเจ้าทีเดียว เมื่อเชื่อลงไปเช่นนี้เรียกว่า ไม่กลับกลอก ถ้าไม่กลับกลอกต้องทำสูงหนักขึ้นไป ไม่กลับกลอกแต่ตอนต้น แต่ว่ายังเป็นโคตรภูบุคคลยังกลับกลอกอยู่ ให้เข้าถึงพระโสดาเสียจึงจะไม่กลับกลอก เข้าถึงพระโสดาก็ใกล้กับโคตรภู เข้าถึงพระสกทาคาเสียนั่นจึงจะแน่นแฟ้นขึ้น ถึงพระสกทาคาแล้วก็ยังมีกามราคะพยาบาทอย่างละเอียดอยู่ ให้ถึงพระอนาคาเสีย กามราคะ พยาบาทอย่างละเอียดหมดไป แต่ว่ายังไม่ถึงวิราคธาตุ-วิราคธรรมได้ ให้อุส่าห์พยายามทำให้สูงขึ้นไปกว่านั้น ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจนะ อวิชชาให้ได้ ให้เข้าถึงพระอรหัตเสียทีเดียว เข้าถึงพระอรหัตแล้ว อินฺทขิลูปโม ดุจดังว่าเสาเขื่อนปักเขื่อนไว้ลมพัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ไม่เขยื้อน ตั้งมั่นทีเดียว อจลสทฺธา ไม่กลับกลอกแน่นอนทีเดียว
ถ้าแม้ว่าปุถุชนหญิงก็ดี ชายก็ดี ทำใจแน่ได้ขนาดนั้นละก็ แปลว่านับถือศาสนาเป็นเบอร์ ๑ ไม่มีเองมาเทียมละ แน่นขนาดนั้น แน่นแคไหน? แน่นไปจริง ๆ เชื่อกันจริงลงไปอย่างนี้ อย่างนี้ได้ชื่อว่า ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า นี้เป็นข้อต้น
ข้อที่ ๒ รองลำดับไป สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าทั้งหลายยินดี อันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ศีลดีงามนั้นศีลอะไร? ศีลอยู่เป็นอย่างไร? ศีลบริสุทธิ์ นั่นแหละเรียก กัลป์ยาณศีล บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา ไม่มีร่องรอยเสียเลย บริสุทธิ์เจตนาซึ้งเข้าไปกว่ากายวาจาอีก บริสุทธิ์เจตนา หมายความว่า เจตนาความคิดอ่านทางใจก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีราคี ความคิดอ่านทางใจเห็นศีลจริงๆ อย่างนี้เรียกว่า กัลยาณศีล ที่พระอริยเจ้าชอบใจ อันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ศีลที่ทำหรับเป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายที่เรียกว่าเป็นกัลยาณศีลนั้น ศีลเป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นศีลดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมทีทำให้เป็นกายมนุษย์
ดวงธรรมที่ให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ของใหญ่อยู่ในของเล็กอย่างไร? ขันกับพานไม่รับกันได้ กระจกชักรูปของใหญ่เข้าไปอยู่เท่าไรก็ได้ ศีลที่บริสุทธิ์สะอาดเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์ดุจกระจกส่องเงาหน้า กลมรอบตัว
ศีล นั่นแหละ ปสํสิตํ พระอริยเจ้าชอบใจนัก พระอริยาเจ้าสรรเสริญนัก ศีลอย่างนี้ทางที่จะไปเป็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ต้องไปกลางดวงศีลนี้เท่านั้น ทางอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด นี้แหละช่องนี้แหละ ดวงนี้แหละจบวินัยปิฏก เป็นยอกรวมยอดของวินัยปิฏกทีเดียว แล้วก็ต้องไปทางนี้แหละ จะไปสักกี่กาย ๆ ก็มีศีลดวงนี้เป็นต้นเรื่อยไปดังนี้แหละ ศีลดวงนี้เป็นศีลสำคัญ ศีลทางมรรคผลทีเดียว นี่แหละตัวอธิศีลทีเดียวไม่ใช่ปกติศีล
เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ต้องเข้าให้ถึงศีลดวงนี้ ถ้าปฏิบัติพระพุทธศาสนาเข้าถึงศีลดวงนี้ไม่ได้ละก็ ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ให้รู้ชัดอย่างนี้ทีเดียว เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ละก็ ที่เข้าถึงแล้ว ก็อุตสาห์พยายามเสื่อมใสในธรรมต่อไป ที่เข้ายังไม่ถึงก็อุตส่าห์พยายามเข้าให้ถึง ให้เป็นหนึ่งแน่ลงไป ไม่ให้เสียทีที่มาประสบพบพระพุทธศาสนา ถ้าว่ามีศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ ที่พระอริยาเจ้าชอบในเช่นนี้มีอยู่แก่บุคคลใด ก็ได้ชื่อว่าบุคคลนั้นมีภูมิใจอยู่เอิบอิ่มใจอยู่ นี่เป็นข้อแก้ศีล
ความเลื่อมใสข้อ ๓ ต่อไป สงฺเฆ ปสาโท ยฺสสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใดข้อต้นเรากล่าวว่า พุทโธถึงพระพุทธเจ้า ข้อที่สองนั้นเป็นศีลไป ข้อที่สามนี้มาเป็นพระสงฆ์ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นเลื่อมใสอย่างไร? พระสงฆ์นี้ท่านประพฤตินาเลื่อมใส ท่านประพฤติดี เป็นภิกษุสามเณรประพฤติดีละก็อาจจะเป็นอายุพระพุทธศาสนาได้ดีเหมือนพรเจ้าศรีธรรมาโศกราชเห็นนิโครธสามเณรเข้า เห็นมายยาทเรียบร้อย สำรวม กาย วาจา ดีไม่มีทีติ ใช้ให้ราชบุรุษไปตามนิมนต์คนหนึ่งไป พอลับตัวก็ใช้อีกคนหนึ่งไป ใช้ติดกันเรื่อยไปเลยทีเดียว กลัวจะไม่ได้พอสามเณรมา ได้สามเณรมาสมความปรารถนาแล้วให้นั่งบนที่นั่งของพระองค์ ใต้เศวตฉัตร ๙ ชั้น อาราธนาให้แสดงธรรม พ่อสามเณรก็แสดงเป็นเรื่องไป นิโครธสามเณรน่ะฉลาดเฉลียวนักประพฤติดี พระเจ้าศีรธรรมาโศกราชเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บำรุงพระศาสนา เพราะนิโครธสามเณรองค์นั้นแหละเป็นตัวสำคัญ ภิกษุสามเณรในยุดคนี้ ถ้าประพฤติตัวดีถึงขนาดนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชุมชนทั้งหลาย ควรเอาเป็นตำรับตำราถือเอาไว้เป็นเนติแบบแผนทีเดียวอย่างนั้น นี่เป็นความเห็นที่มนุษย์ปุถุชนเห็นกันอย่างนี้ ว่าเลื่อมใสในพระภิกษุสามเณรอย่างนี้ เลื่อมใสในพระภิกษุสามเณรอย่างนี้ เลื่อมใสซึ้งเข้าไปกว่านั้น ต้องปฏิบัติเข้าไปถึงจิตถึงใจ เข้าไปถึงธรรมกาย ตั้งแต่พระตถาคตเจ้าเป็นตัวธรรมกาย ศีลทีจะเข้าธรรมกายเพราะอาศัยเดินถูกทางศีลเข้าไปถึง สามธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ กว่าจะเข้าถึงพระสงฆ์น่ะไกลลิป เข้าถึงดวงธรรมที่ทำใหเป็นธรรมกายแล้วจะเห็นชัด
บัดนี้ที่เราเป็นมนุษย์อยู่เราควรเลื่อมใสใคร ? เราควรเลื่อมใส กายมนุษย์ละเอียดซี กายมนุษย์ละเอียดรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ไว้ กายมนุษย์ที่จะอยู่ได้เป็นหลักฐานมั่นคงนี้ กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละเข้ารักษาดวงธรรมไว้ไม่ให้เป็นอันตราย นั่นแน่นาเลื่อมใสเข้าอย่างนี้ เขาทำให้เราเป็นอยู่โดยสะดวกสบายนี่ชั้นหนึ่ง ถ้าเข้าไปชั้นที่ ๒
พูดถึงกายมนุษย์ละเอียด นั่นก็ต้องอาศัยกายทิพย์เข้าไปรักษาดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดไว้ ให้กายมนุษย์ละเอียดอยู่เป็นสุขสำราญเบิกบานใจไป ว่านี้กายมนุษย์ละเอียดน่าเลื่อมใส กายทิพย์น่าเลื่อมใส
กายทิพย์ละเอียด เข้ารักษาดวงธรรมที่ให้เป็นกายทิพย์ไว้
กายทิพย์อยู่เบิกบานสำราญใจ เพราะกายทิพย์ละเอียด รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ไว้
กายรูปพรหม รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดไว้ น่าเลื่อมใส
กายรูปพรหมละเอียด รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมหยาบนั้นไว้ ไม่ให้หายไป ถ้าหายไปรูปพรหมหยาบก็อยู่ไม่ได้ น่าเลื่อมใส
กายอรูปพรหม รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดไว้ ไม่ให้หายไป ให้อยู่เป็นสุขสำราญเบิกบานใจน่าเลื่อมใส
กายอรูปพรหมละเอียด รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรพมไว้ ไม่ให้หายไปกายอรูปพรหมเบิกบานสำราญใจ น่าเลื่อมใส
ธรรมกาย รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมละเอียดไว้ กายอรูปพรหมละเอียด จึงเบิกบานสำราญใจอยู่ได้ น่าเลื่อมใส
ธรรมกายละเอียด รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายไว้ นั่นแน่ กายธรรมละเอียดนั่นเป็นสังฆรัตนะเป็นพระสงฆ์แท้ ๆ ต้องแสดงอย่างนี้ถึงจะรู้ชัดว่า
ความเลื่อมใสในสงฆ์น่ะเลื่อมใสอย่างไร? เลื่อมใสว่ารักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายไว้ ถ้าว่าไม่รักษาไว้แล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นก็อยู่ไม่ได้ กายธรรมก็ไม่มี เพราะฉะนั้นน่าเลื่อมใส พระสงฆ์รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายไว้
นี่แหละพระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญนัก พระสงฆ์นั้นท่านประพฤติปฏิบัติอย่างนี้แหละ เป็นหน้าที่รักษาดวงธรรมนั่นแหละ ท่านถึงได้ยืนยันตามตำรับตำราว่า สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม พระสงฆ์ทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียดทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น อรูปพรหมหยาบ กายอรุปพรหมละเอียดทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น อรูปพรหมละเอียด กายธรรมทรงไว้
ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรม กายธรรมละเอียดทรงไว้
กายธรรมละเอียดนั่นเองตัวสังฆรัตนะ พระสงฆ์ผู้ทรงธรรมรัตนะไว้ ทรงไว้อย่างนี้ ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่ความเ เลื่อมใสในพระสงฆ์จะเริ่มต้นคนไม่เป็นธรรมกายก็เลื่อมใส อย่างพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นภิกษุสามเณรก็ดี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดีเลื่อมใสอย่างนั้น เลื่อมใสขั้นนั้นก่อนแล้วก็เป็นขั้น ๆ เข้าไปจนกระทั่งถึงเลื่อมใสในพระสงฆ์จริง ๆ สงฺเฆ ปลาโท ยสฺสตฺถิ ความเสื่อมใสมีอยู่ในบุคคลใด ที่ท่านประสงค์เอาเลื่อมใสในพระสงฆ์ซึ้งอย่างนั้น คนเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้าตอนต้นนั้นเลื่อมใสในธรรมกายอยู่แล้ว ศีลก็ต้องเป็นหนทางธรรมกาย เลื่อมใสในพระสงฆ์อย่างนี้ เพราะพระสงฆ์ท่านก็เป็นสังฆรัตนะขององค์นั้น จึงจะถูกลัดถูกส่วน นี่แหละเราควรเลื่อมใสให้มั่นเข้าไปในพระสงฆ์ เมื่อความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่กับบุคคลใดแล้ว บุคคลนั้นก็ภูมิใจอีกเหมือนกัน นี่ข้อ ๓
ข้อที่ ๔ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ แปลว่าความเห็น อุชุภฺตญฺจ ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรงความเห็นตรงน่ะ เห็นอะไร? นี่เราควรรู้จัก ความเห็นตรงนี่เป็นข้อสำคัญนัก ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา เมื่อเขาให้ลงความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใด เขาบอกว่าต้องลงความเห็นให้ตรง เราจะลงความเห็นอย่างไรจึงจะเห็นตรง? นึกดูซิว่าต้องลงความเห็นให้ตรงนะ เราก็ต้องดูวัตถุที่เขาให้ลงความเห็น ดูวัตถุอะไรที่เขาให้ลงความเห็น มีคนอยู่สองคนเขาเล่าให้ฟังว่า คนนี้เป็นอย่างนี้ เข้าให้ลงความเห็นซิคนไหนผิดคนไหนถูกก็บอกว่าคนไหนผิดคนไหนถูก เราจะลงความเห็นอย่างไรมันจึงจะถูกจริง นี่ความเห็นเผิน ๆ ละ ให้ลงความเห็นเผิน ๆ ก่อนวิวาทกันทั้งสองข้าง ข้างไหนผิดข้างไหนถูก ถ้าลงความเห็นถูกคนที่ผิดจริง ๆ เข้าละก็ ความเห็นอันนั้นมันก็ถูกล่ะซี ถูกนั่นแหละเป็นธรรม ถ้าผิดแล้วไม่เป็นธรรม
นี้แหละความเห็นอันนี้แหละเป็นดัวอย่าง เป็นตำรับตำราความเห็นเป็นข้อสำคัญนัก จะเปิดมุ้งเห็นขโมยเลยไม่ได้ จะไปเที่ยวสังสัยเขาเรื่อยเปื่อยอย่างนั้นไม่ได้ ต้องให้ถูกต้องความจริง ถูกตามความจริงที่เรียกว่าความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรงนั้น ตรงตลอด ตรงทำนองคลองธรรม ตั้งแต่ศีลบริสุทธิ์มาเห็นศีลบริสุทธิ์ว่าถูก นอกจากนั้นไม่บริสุทธิ์ไม่ถูก แล้วก็เห็นศีลที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ศีลที่พระอริยเจ้าได้พระอริยเจ้าชอบใจ ก็เห็นถูกตรงตามรอยศีลนั่นไม่เคลื่อนจากศีลนั้น แล้วก็เลื่อมใสในพระสงฆ์ตั้งแต่สงฆ์บริสุทธิ์ สามเณรบริสุทธิ์ ดุจนิโครธสามเณร บริสุทธิ์เป็นลำดับมาตามความจริงของภิกษุสามเณร นั่นความเห็นอันนั้นก็ถูกนี่ตรงนี่ ได้ชื่อว่าตรงเหมือนกันไม่ใช่คลาด ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรงน่ะ ในบทท้ายท่านแสดงหลักไว้ว่า ธมฺมทสฺสนํ เห็นธรรมนั่นเอง
เห็นธรรมน่ะเห็นอะไร?
เห็นดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละซี นี่แหละธรรมดวงนี้แหละดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายทิพย์
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายธรรม
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายโสดา
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น กายโสดาละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น พระสกทาคา
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น พระสกทาคาละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น พระอนาคา
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น พระอนาคาละเอียด
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น พระอรหัต
ดวงธรรม ที่ทำให้เป็น พระอรหัตละเอียด
นั่นแน่ เห็นดวงธรรมนั้นจึงจะได้ชื่อว่าเห็นตรง ถ้าเห็นโน่นก็ธรรมนี่ก็ธรรมเอากันละคราวนี้ยุ่งแน่ เดี๋ยวพวกเราทั้งหมดนี่แหละ ทั้งภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา เห็นตรงน่ะมีกี่องค์ล่ะ พระเณรอุบาสกอุบาสิกามีกี่คนที่เห็นตรงน่ะ ในวัดปากน้ำนี้มี ๑๕๐ กว่าคนแล้วนะ เห็นดวงธรรมน่ะ
เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด
กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด
กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด
กายอรูปพรหม รูปพรหมละเอียด
กายธรรม กายธรรมละเอียด
กายโสดา โสดาละเอียด
สกทาคา สกทาคาละเอียด
อนาคา อนาคาละเอียด
อรหัต อรหัตละเอียด
เห็นดวงธรรมเหล่านี้หละได้ชื่อว่า ธมฺมทสฺสนํ เห็นตรงทางอื่นก็อาศัยธรรมเหล่านี้ทั้งนั้นความถูกตามดวงธรรมนั่นแหละ
ดวงธรรมที่มาจากไหน?
การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็มาจากบริสุทธิ์ด้วยวาจา ใน บริสุทธิ์ด้วย กายวาจาใจ นั่นแหละ เห็นถูกอันนั้น จนกระทั่งเข้าถึงดวงธรรม กายมนุษย์ละเอียดล่ะ ก็มาจากบริสุทธิ์ด้วยกายวาจา ใจ ที่ละเอียดลงไป นั่นแหละเข้ามาเป็นดวงธรรมนั้น
กายทิพย์ล่ะ ดวงธรรมอันนี้ก็มาจากทาง ศีล สัจจะ จาคะ ปัญญา เติมความบริสุทธิ์สงไปอีก
ก็ดวงธรรมที่ทำให้กายรูปพรหมล่ะ นี้ก็เติมปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานลงไป ให้บริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ อีก สูงขึ้นไป
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมล่ะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็เติมอรูปฌาน ๔ เข้าได้แก่ อากาสานัญจา วิญญาณัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญานสัญญา นั่นเห็นถูกทั้งนั้น เห็นตรงอย่างนี้จึงได้ชื่อว่าเห็นถูกละ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมล่ะ ก็ต้องเดิน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเข้ามาต่อจากธรรมที่ทำให้เป็นกายละเอียด ก็ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโสดา สกทาคา อนาคา ก็เดินศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้ามาตามลำดับขึ้นไป จนกระทั่งถึงพระอรหัต
นั่นแน่ ๆ ธมฺมทสฺสนํ เป็นอย่างนี้ ลึกซึ้งขนาดนี้นะ ความเห็นเรียกว่าเห็นตรง เห็นธรรมนั่นเอง ถ้าเห็นอย่างนี้น่ะ ใครเห็นเข้าก็ภูมิใจ ไม่ใช่ภูมิใจอย่างเดียวนะ พระองค์ทรงรับสั่งว่า
อทลิกฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมรับรองกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นครไม่จน เมื่อมีคุณธรรม ๔ ประการอยู่ในตัวเช่นนี้แล้วเป็นครไม่จน
-คือเป็นคนเชื่อในพระตถาคตเจ้า
-มีศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ชอบใจ
-เลื่อมใสในพระสงฆ์
-ความเห็นของตนเป็นธรรมชาติทรงหรือเห็นธรรม
นี่แหละยืนยันทีเดียวไม่ใช่คนจน ถ้าเราไม่อยากเป็นคนจน อยากเป็นคนมั่งมีแล้วต้องมีธรรมสี่ประการนี้อย่าให้เคลื่อน ให้มีไว้ในตัวเสมอ ถ้าเคลื่อนแล้วละก็ใจ จะไม่ผ่องใส จะคิดถึงแต่สมบัติบ้า ๆ เข้าใจแค่สิ่งหยาบ ๆ เที่ยวคว้าเรื่อยเปื่อยทีเดียว วุ่นวายไปตามกัน เพราะเหตุว่าไม่มีธรรม ๔ อย่างนี้ประจำอยู่ในตัว ถ้ามีธรรม ๔ อย่างนี้ประจำอยู่ในตัวแล้วไม่วุ่นวายไม่คลาดเคลื่นอแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ยิ้มกริ่มทีเดียวเพราะไปเจอบ่อทรัพย์ใหญ่เข้าแล้ว
นี้อริยาธนคาถา ทรัพย์อันประเสริฐ ในพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างนี้ ภิกษุสามเณรภูมิใจได้ ปลื้มใจได้ ดีอกดีใจได้ ให้เข้าถึงธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ให้เชื่อในพระตถาคตเจ้า มั่นในขันธสันดาน มีศีลอันดีงามให้เลื่อมใสในพระสงฆ์ไว้ แล้วก็ แก้ไขความเห็นของตัวให้ตรงไว้ อย่างให้ไปคดโกง ถ้าคตโกงลงโทษตัวเองนี่แหละนักปราชญ์ทั้งหลายเชิดชูละ กล่าวว่าบุคคลนั้นไม่ใช่เป็นคนจน ไม่ใช่เป็นคนจนแล้วเป็นคนอะไรล่ะ? เป็นคนไม่มีไม่จน จะเรียกว่าจนก็ไม่จน จะเรียกว่ามีก็ไม่มี และสบายยิ่งกว่าสบาย
อโมฆนุตสฺส ชีวิตํ สรรเสริญไว้ในท้ายนี้ ความเป็นอยู่ของเขานั้น ไม่เปล่าจากประโยชน์ เป็นประโยชน์เรื่อย ถ้าไม่มีสิ่งทั้ง ๔ นี้ประจำใจแล้ว ก็เป็นอยู่วันหนึ่งเปล่าประโยชน์ทีเดียว ที่ไม่เปล่าประโยชน์น่ะไม่ค่อยมีถ้าว่าเป็นอยู่ดังนี้ละก็ไม่เปล่าจากประโยชน์ทีเดียว
ตสุมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยญฺเชก เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ ผู้มีปัญญามาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อย่างนี้แล้วควรประกอบความเชื่อไว้เนือง ๆ ประกอบศีลไว้เนือง ๆ ประกอบความเลื่อมใสไว้เนือง ๆ ประกอบความเห็นธรรมไว้เนือง ๆ นี้แหละ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตํ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมาภาพชี้แจ้งแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้