พ่อแม่ที่แท้จริง
น้องชายคนที่ห้า เมื่อคลอดได้ ๑ เดือนคุณป้าก็ขอไปเป็นลูกบุญธรรม พอน้องชายหย่านม คุณป้าก็พามานอนห้องเดียวกัน และทำงานหาเงินส่งเสียเลี้ยงดูมาตลอดต่อมาเมื่อน้องชายอายุ ๖ ขวบ ได้รู้ความจริง เขารู้สึกเสียใจมากแต่เป็นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เพราะเขารู้สึกว่าแม่ไม่รักเขาจึงยกเขาให้ป้า แต่จริงๆ แล้วตัวเขาเองก็รู้สึกว่าผูกพันกับป้าที่เลี้ยงดูมามากกว่าปัจจุบันน้องชายแต่งงานแล้วแต่ก็มีปากเสียงกับคุณป้าบ่อยมากเพราะความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน จนท่านบ่นน้อยใจว่าต่อไปเวลาทำบุญจะอธิษฐานให้ไม่เจอลูกบุญธรรมอีกแล้ว
น้องชายสร้างกรรมมาอย่างไร ทำให้กว่าจะรู้ว่าใครเป็นพ่อแม่ที่แท้จริงก็อายุ ๖ขวบ การไปเป็นลูกบุญธรรมคนอื่นแล้ว บางคนก็รู้จักพ่อแม่ที่แท้จริงของตนเองได้เร็ว บางคนช้า บางคนก็ไม่รู้จักเลย เป็นเพราะสร้างกรรมมาต่างกันอย่างไรแม้ว่าน้องชายไปเป็นลูกบุญธรรมของคนอื่นแล้ว ก็ยังได้อาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ที่แท้จริง แต่บางคนไปเป็นลูกบุญธรรมแล้ว ก็ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริงของตน เพราะทำกรรมต่างกันอย่างไร
คุณครูไม่ ใหญ่
น้องชายกว่าจะรู้ว่าใครเป็นพ่อแม่ที่แท้จริงก็ตอนอายุ ๖ ขวบ เพราะในอดีตเวลางอนกับพ่อแม่ แต่คนละคู่กับปัจจุบันนะ มักจะพูดว่า “ชาติต่อไปขอให้ไปเป็นลูกคนอื่น” แต่ตอนหลังได้มาขอขมาท่าน รวมกับบุญกรรมที่ผูกกับป้ามา คือ ป้าและน้องชายในอดีตก็เคยเป็นแม่ลูกกัน เวลาดีกันก็อธิษฐานว่า “ขอให้ได้เกิดเป็นแม่ลูกกันอีก” แต่เวลางอนกัน ก็อธิษฐานว่า “อย่าได้เกิดมาเป็นแม่ลูกกันอีก”สลับกันไปมาเรื่อยๆปัจจุบันป้าและลูกบุญธรรมมีปากเสียงกันบ่อยๆ ก็เป็นผังเดิมดังกล่าว และเป็นกรรมเก่าของป้าที่เคยเถียงพ่อแม่และผู้หลักผู้ใหญ่
ไว้มาส่งผล จะแก้ไขก็ต้องเป็นกัลยาณมิตรให้น้องชาย โดยชี้โทษให้น้องชายเห็น และแนะนำให้ป้ากับน้องชายสร้างบุญร่วมกันด้วยการไปเป็นลูกบุญธรรมคนอื่นและต่อมาได้รู้จักพ่อแม่แท้จริงได้เร็วเพราะภายหลังได้มาขอขมาท่านทั้งสองเร็ว ส่วนที่ได้รู้จักพ่อแม่แท้จริงได้ช้าเพราะมาขอขมาช้า ส่วนที่ไม่รู้จักพ่อแม่แท้จริงเลยเพราะไม่ได้มาขอขมาท่าน
แม้น้องชายไปเป็นลูกบุญธรรมของคนอื่นแล้ว แต่ยังได้อยู่ร่วมกับพ่อแม่ที่แท้จริงเพราะในอดีตเวลางอนก็มักจะบอกว่า “จะไปเกิดเป็นลูกของคนอื่น” แต่พอเวลาดีก็“ขอมาเกิดอยู่กับพ่อแม่อีก” ส่วนผู้ที่ไม่ได้มา
อยู่กับพ่อแม่อีก เพราะกรรมที่ไม่ได้กลับมาขอขมาท่านมาส่งผล
จากหนังสือ ที่นี่มีคำตอบ ฉบับที่ ๑๒
๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐