กัณฑ์ที่ ๓๔ กรณียเมตตสูตร

วันที่ 19 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๓๔
กรณียเมตตสูตร

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา ,  กรณียเมตตสูตร , กัณฑ์ที่ ๓๔ กรณียเมตตสูตร

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส  ฯ  (๓  ครั้ง)

กรณียมตฺถกุสเลน

ยนฺตํ  สนฺตํ  ปทํ  อภิสเมจฺจ

สกฺโก  อุชู  จ  สุหุชู  จ

สุวโจ  จสฺส  มุทุ  อนติมานี

สนฺตุสฺสโก  จ  สุภโร  จ

อปฺปกิจฺโจ  จ  สลฺลหุกวุตฺติ

สนฺตินฺทฺริโย  จ  นิปฺปโก  จ

อปฺปคพฺ

โภ  กุเลสุ  อนนุติทฺโธ

น  จ  ขุทฺทํ  สมาณร  กิณฺจิ

เยน  วิญฺญู  ปเร  อุปวเทยฺยุ

สุขิโน  วา  เขมิโน   โหนฺตุ

สพฺพ  สตฺตา  ภวนฺตุ  สุขิตตฺตาติ ฯ

                 ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดง กรณียเมตตสูตร พระสูตรนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงในเรื่องจิตแผ่เมตตาไปในสัตว์เรียกว่า  สูตรประกอบด้วยเมตตา  การประกอบด้วยเมตตา  สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้สัตว์โลกบริษัททั้ง  ๔  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ให้ประพฤติตัวของตัวเองให้บริสุทธิ์  ให้ถือเอาตำรับตำราพระอริยบุคคล  พระอริยบุคคลประพฤติดีได้อย่างไร  สูงได้อย่างไร  ต่ำได้อย่างไร  ท่านผู้เป็นปุถุชนพึงถือเอาเป็นเนติแบบแผนได้  ประพฤติอย่างพระอริยบุคคลชนิดนั้นแหละ  ทั้งกาย  ทั้งวาจา  ทั้งใจ  ไม่ให้ขาดตกบกพร่องนั่นแหละ  ได้ชื่อว่าประกอบด้วยเมตตาอยู่แล้วอยู่ในตัว  ต้องประพฤติตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีของประชุมชนในยุคนี้  และต่อไปในภาคหน้า  ได้ชื่อว่าเป็นตำราอยู่แล้ว  หากว่าเป็นขายประพฤติอย่างนี้ก็เป็นตำราของผู้ชาย  เป็นหญิงก็ได้ชื่อว่าเป็นตำราของผู้หญิง  เป็นภิกษุแก่  ปานกลาง  อ่อน  ได้ชื่อว่า  ในกรณียเมตตาสูตรในวันนี้

               เริ่มต้นว่า  กรณียมตุถกุสเน  ยนฺตํ  สนฺตํ  ปทํ  อภิสเมจฺจ  แปลบาลีในกรณีเมตตสูตรว่า  ยํตํ  กิจฺจํ  อันว่ากิจอันใด  อริเยน  อันพระอริยเจ้า  อภิสเมจฺจ  บรรลุแล้ว  อภิสเมจฺจ  ถึงแล้ว  ปทํ  ซึ่งบท  สนฺตํ  อันระงับแล้ว  กิจอันนั้น  กุลปุตฺเตน  อันกุลบุตร  กรณียมตฺถกุสเล  ผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำดังนี้  แปลเนื้อความตามวาระพระบาลี  คลี่ความเป็นสยามภาษาว่า

               “กิจอันใดอันพระอริยบุคคลผู้บรรลุบทอันระงับ  กระทำแล้ว  กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ควรกระทำหรือพึงกระทำ  กิจนั้นเป็นไฉน?
    สกฺโก  จ    เป็นผู้อาจหาญด้วย  นี่เป็นกิจอันหนึ่ง
    อุชู  จ    เป็นผู้ซื่อด้วย
    สุหุชู  จ    เป็นผู้ตรงด้วย
    สุวโจ    เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
    มุทุ    เป็นผู้อ่อนละไม
    อนติมานี    ไม่มีอติมานะ
    สนฺตุสฺสโก    เป็นผู้สันโดษ
    สุภโร    เป็นผู้เลี้ยงง่าย
    อปฺปกิจโจ  จ    มีธุระน้อย ธุระไม่มาก
    สลฺลหุกวุตฺติ    เป็นผู้ประพฤติเบากายเบาใจ
    สนฺตินฺทฺริโย  จ    เป็นผู้ประพฤติสงบแล้ว
    นิปฺปโก    เป็นผู้มีปัญญา
    อปฺปตพูโก    เป็นผู้ไม่คะนอง
    กุเลสุ  อนนุติทฺโธ    เป็นผู้ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
    น  จ  ขุทฺทํ  สมาจเร  กิญฺจิ  เยน  วิญฺญู  ปเร  อุปวเทยยุ ฯ
    น  จ  ขุทฺทํ  สมาจเร  กิญฺจิ  เยน  วิญฺญู

               วิญญชนทั้งหลายพึงติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยกรรมอันใด  เราไม่กระทำกรรมอันนั้นเลย  วิญญชนทั้งหลายพึงติเตียนบุคคลอื่นได้วยกรรมอันใด  เราไม่ประพฤตจิกรรมอันนั้นเลย  พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์นั้นว่า  ขอสัตว์ทั้งบ่วงจงเป็นผู้มีความสุข  จงเป็นผู้มีความเกษม  จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด”

             นี้เป็นเนื้อความของพระบาลี  คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้  ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความในกรณียเมตตสูตรนี้ต่อไป  ที่เราเคยฟังพระท่านสวดมนต์หลายครั้งหลายคราแล้ว  สวดอยู่เสมอในกรณีเมตตสูตรนี้  พึงฟังความให้เข้าใจ  เป็นธรรมอันละเอียดสุขุมลุ่มลึก  เป็นธรรมของพระอริยเจ้าถ้าบุคคลผู้ใดประพฤติตามแนวนี้เข้า  บุคคลผู้นั้นถึงเป็นปุถุชนก็ได้ชื่อว่าปุถุชนสาวกของพระศาสดา  สาวกของพระศาสดามี  ๒  จำพวก  อริยสาวก  เป็นพระโสดาแล้ว  ปุถุชนสาวก  เริ่มจะเป็นโสดาต่อไป  ยังไม่เป็นโสดาเริ่มจะเป็นพระโสดาต่อไป  นี่ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวกของพระพุทะเจ้า  ที่เป็นโสดาแล้ว  สกทาคา  อนาคา  อรหัต  จัดได้ชื่อว่าเป็นอริยสาวกทั้งนั้น  ลดส่วนกว่านั้นลงมา  ที่มีธรรมกายเป็นโคตรภู  หรือไม่มีธรรมกายแต่บริสุทธิ์  กาย  วาจา  ใจ  ทันพระอริยบุคคลเหล่านั้น  นี้ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวก  เหตุนี้ในกรณียเมตตสูตรนี้  มีเนื้อความอันสุขุมลุ่มลึก  จงตั้งใจสดับตรับฟังให้เข้าเนื้อเข้าใจ

               ในเบื้องต้น  แปลมคธภาษาว่า  กิจนั้นใดอันพระอริยบุคคล  ผู้บรรลุบทอันสงบ  กระทำแล้ว  สนุตํ  ปทํ  แปลว่าบทอันสงบแล้ว  อันกระทำแล้ว  อตฺถกุสเล  กิจนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์  กรณีย  อันนั้นพึงกระทำ  จนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์ถึงกระทำ  นี่เข้าใจยากจริง  ไม่ใช่เป็นของง่าย  แปลอีกทีหนึ่งว่า กิจนั้นใดอันพระอริยบุคคล  ผู้บรรลุบทอันสงบกระทำแล้ว  กิจกนั้นอันบุคคลผู้ฉลาดในประโยชน์ควรกระทำผู้ฉลาดในประโยชน์นั้นเป็นเช่นไร?

           สกฺโก  เป็นผู้อาจหาญ  อาจหาญทุกประการในธรรมวินัยของพระศาสดา  ไม่ขาดตกบกพร่องอาจหาญในทางบริสุทธิ์กาย  อาจหาญในทางบริสุทธิ์วาจา  อาจหาญในทางบริสุทธิ์ใจ  ไม่มีขาดตกบกพร่องใด  ๆ  ทำสิ่งใดด้วยกาย  ต้องเอาปัญญาเข้าสอดส่องมองเสียก่อน  แล้วจึงทำ  เห็นว่าไม่มีทุกข์ ไม่เดือดร้อนตน  ไม่เดือดร้อนบุคคลผู้อื่น  ถ้าเห็นว่าเดือดร้อนตน  เดือดร้อนผู้อื่นไม่ทำ  อาจหาญอย่างนี้  อาจหาญในการตีอย่างนี้  ที่จะกล่าววาจาอันใดออกไป  อาจหาญอีกเหมือนกัน  เอาปัญญาเข้าสอดส่องดูเสียก่อน  ถ้าเดือดร้อนเราก็ไม่กล่าว  เดือดร้อนเขาก็ไม่กล่าว  เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาก็ไม่กล่าว  ถ้าไม่เดือดร้อนเราจึงกล่าว  ถ้าไม่เดือดร้อนเขากจึงกล่าว  ถ้าไม่เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาจึงกล่ว  นี้ก็อาจหาญในวาจา  อาจหาญในทางใจ  ใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด  เดือดร้อนเราก็ไม่คิด  เดือดร้อนเขาก็ไม่คิด  เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขา  ก็ไม่คิด  ถ้าไม่เดือดร้อนเราจึงคิด  ถ้าไม่เดือดร้อนเขาจึงคิด  ถ้าไม่เดือดร้อนทั้งเราทั้งเขาจึงคิด  นี้อาจหาญอย่างนี้  นี่  สกฺโก  เป็นผู้อาจหาญ  ไม่ใช่อาจหาญเรื่องอื่น  ไม่ใช่อาจหาญเรื่องเหลวไหล  โจรปล้นประเทศต่อประเทศปะทะกัน  หรือมหาโจรปล้นกัน  ไม่ใช่  เป็นอาจหาญของคนพาล  อาจหาญของบัณฑิตเป็นอย่างนี้  เป็นผู้อาจหาญในความดี  ไม่มีความชั่วเข้าเจือปนระคนทีเดียว  อาจหาญไปในส่วนดีฝ่ายเดียว  นี่  สกฺโก  ข้อที่หนึ่ง

                อุชู  จ  เป็นผู้ซื่อ  ลักษณะซื่อของคนน่ะซื่ออย่างไร?  ซื่อกาย  ซื่อวาจา  ซื่อใจ  ซื่อทั้งข้างนอกข้างในตรงกันหมดไม่ลักลั่นกัน  ซื่อจริง  ๆ  ไม่มีคด  ไม่เคี้ยว  ไม่รุ้งแวงแต่อย่างหนึ่งอย่างใด  ซื่อทั้งข้างนอกข้างในตรงกันหมดไปลักลั่นกัน  ไม่เถียงกันอย่างนี้เรียกว่าซื่อ  อุชู  แปลว่าเป็นผู้ซื่อ

                สุหุชู  เป็นผู้ตรงดี  ซื่อแล้วก็ตรงดี  ในข้อหลังว่าตรงดี  คนที่ตรงดีน่ะเป็นอย่างไร?  ลักษณะตรงดีของพระอริยเจ้าไม่มีรุ้งแวง  ตรงดิ่งทีเดียว  ท่านวางหลักไว้ในสังฆคุณนั่น  อุชูน่ะเป็นผู้ซื่อ  สุหุชูเป็นผู้ตรงอุชุปฏิปนฺในเป็นผู้ปฏิบัติตรงนั่นแน่ะแนวนั้น  เดินแนวนั้นทั้งกาย  ทั้งวาจา  เดินแนวนั้น  เป็นผู้ปฏิบัติตรง  ตรงอย่างไร?  ซื่ออย่างไร  ซื่อไม่มีคดเคี้ยว  ถูกต้องร่องรอยทางมรรคผลทีเดียว  ซื่อต่อคำของพระบรมศาสดา  ไม่คดต่อธรรมของพระบรมศาสดา  นี่เป็นผู้ซื่อตรงตามทางมรรคผล  ไม่เลี่ยงหลีกต่อทางมรรคผล  ทางมรรคผลเป็นไปอย่างไร  เดินทางมรรคผลให้เป็นไปอย่างนั้น  ไม่คลาดเคลื่อนจากทางมรรคผล  ทางมรรคผลเป็นไปอย่างไร  เดินทางมรารคผลให้เป็นไปอย่างนั้น  ไม่คลาดเคลื่อนจากทางมรรคผล  ไม่สน-วนในกิจอื่นตั้งใจแช่มชื่น  ประคับประคองใจของตนอยู่เสมอ  ให้ตรงทางมรรคผลอยู่ร่ำไปดังนี้  เป็นผู้ตรงดี  อย่างนี้ว่าตรงดีทีเดียว  นี่เป็นข้อที่  ๓  ตรงดี

                 สุวโจ  ว่าง่ายสอนง่าย  ว่าง่ายสอนง่ายเหมือนเด็กที่ดี  หรือเหมือนคนที่เฉลียวฉลาดดีเป็นคนที่หัวอ่อน  ว่าง่ายสอนง่ายอย่างไร?  ไม่ดื้อต่อทางมรรคผล  ไม่ดื้อต่อธรรมของพระบรมศาสดา  ตรงร่องรอบธรรมของพระบรมศาสดา  ถ้าให้ปฏิบัติธรรมเป็นถูกต้องร่องรอยละ  ถ้าผิดธรรมเป็นไม่ยอมกันละเด็กขาด  ถ้าว่าถูกธรรมละไม่ว่าข้อไหนเงื่อนไหนเล็กน้อยไม่เข้าใจ  จะเป็นผลน้อยผลใหญ่ไม่เข้าใจ  ว่าง่ายสอนง่ายนัก  ถูกธรรมตรงธรรมเข้าแล้วละก็  ถ้าว่าผิดธรรมละก็ไม่ไปเด็ดขาดทีเดียว  นี่พระศาสดาทรงรับสั่งว่า  สุวโจ  เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายอยู่ในลักษณะ  อยู่ในธรรมของพระวินัย  เรื่องว่าง่ายสอนง่ายน่ะ  หายากนัก  ไม่ใช่เป็นของหาง่าย  คนดีคนเป็นนักปราชญ์  คนเป็นบัณฑิต  ภิกษุก็ดี  สามเณรก็ดี  อุบาสกก็ดี  อุบาสิกาก็ดีว่าง่ายสอนง่ายอยู่กับใครเบาใจ  ไม่หนักใจ  อยู่กับพ่อแม่ก็ไม่หนักใจ  สบายอกสบายใจ  เย็นอกเย็นใจ  คนว่าง่ายสอนง่ายภิกษุ  สามเณรอยู่กับครูบาอาจารย์ก็เย็นอกเย็นใจ  สบายอกสบายใจ  ว่าง่ายสอนง่าย  ถ้าว่าภิกษุสามเณรว่ายากสอนยากละ  เอาละ  เดือดร้อนละ  ลูกหญิงลูกชายก็เหมือนกัน  ว่ายากสอนยากละพ่อแม่เดือดร้อนละ  ถ้าว่าลูกหญิงว่าง่ายสอนง่ายอยู่ในโอวาทของพ่อแม่  ทุกสิ่งทุกประการ  ไม่คัดค้านแต่อย่างหนึ่งอย่างใด  นี่เรียกว่า  สุวโจ  ว่าง่ายสอนง่าย  พระศาสดาสรรเสริญนัก  นี่เป็นกิ่งหนึ่งของทางพุทธศาสนาว่าง่ายสอนง่ายเป็นคนทำธรรมวินัยให้เจริญ  เป็นคนเจริญในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา  สุวโจ

                 มุทุ  เป็นผู้อ่อนละมุนละไม  ไม่ใช่อ่อนโยเย  อ่อนโยเยไปเสียก็ใช้ไม่ได้  อ่อนละมุนละไม  อ่อนได้ดีตามความปรารถนาของผู้ฝึกหัด  จะดัดแปลงแก้ไขอย่างหนึ่งอย่างใดก็อ่อนและมุนละไมทุกสิ่งทุกประการเหมือนอย่างคนแก่  หุงข้างอ่อนละมุนละไมละก็คนแก่ยิ้มเขียว  ถ้าหุงข้าวแข็งกระด้างละ  คนแก่หน้าเบ้เชียว  ไม่สบายใจ  ครูดใจสะดุดใจนัก  ถ้าว่าละมุนละไมละก็  คนแก่ชอบใจ  นี้อาการที่อ่อนละมุนละไม  เป็นภิกษุหรือสามเณร  อยู่กับครูบาอาจารย์  ครูบาอาจารย์ก็เย็นอกเย็นใจ  เหมือนคนแก่ได้พบข้าวอ่อนละมุนละไมเข้า  ใจเย็นใจสบาย  แม้ลูกหญิงลูกชายจะอยู่กับมารดาบิดา  ถ้าอ่อนละมุนละไม  มารดาเย็นอกเย็นใจไม่เดือดร้อนด้วยประการต่าง  ๆ  นานา  นี้  มุทุ  เป็นผู้อ่อนละมุนละไม

                อนติมานี  เป็นข้อที่  ๖  อนติมานี  ไม่มีอติมานะ  เย่อหยิ่งจองหองไม่มี  ไม่มีเย่อหยิ่ง  จองหอง  จริง  ๆ  ทีเดียว  ลูกหญิงลูกชายบางคนเย่อหยิ่งจองหองต่อพ่อแม่  กระทบกระทั่งเข้าเล็กน้อยละก็ใช้จมูกที่หมิ่นพ่อแม่เสียแล้ว  เอาแล้ว  นี่ร้ายกาจถึงขนาดนี้  นี่มันตหยิ่งจองหองอย่างนี้  ภิกษุสามเณรก็ดุจเดียว  ถ้าว่ากระทบกระทั่งเข้าเล็ก  ๆ  น้อย  ละก็  เอาละไปละ  สิกขาลาเพศไปเสียบ้าง  ไปเสียที่ไหน  ๆ  บ้าง  นี่เอาแล้ว  ถูกเข้าเล็ก  ๆ  น้อย  ๆ  ละก็หัวดื้อกระด้าง  ครูบาอาจารย์เกลียดนัก  พ่อแม่ก็เกลียดนัก  ถ้าเป็นผู้ไม่หยิ่งจองหอง  เมื่อไม่หยิ่งจองหองอย่างนี้แล้ว  เป็นที่สบายใจ  อยู่กับพ่อแม่เป็นที่สบายใจ  ครูบาอจารย์  ภิกษุสามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  ในพระพุทธศาสนาเป็นผู้ไม่หยิ่งจองหองแล้ว  เป็นที่สบายใจ  พระพุทธศาสนาชอบใจนัก  ชอบอาจหาญ  ชอบตักเตือน  ไม่มีอติมานะ  ถ้ามีอติมานะเย่อหยิ่งจองหอง  เป็นเช่นนั้นละก็เป็นไม่สบายใจ  นี่เป็นคนฝ่ายเลว  ฝ่ายดีก็ไม่หยิ่งจองหองเท่านั้น  ไม่มีอติมานะทีเดียว

               สนฺตุสฺสโก  เป็นผู้สันโดษ  สันโดษน่ะยินดีปัจจัยตามมีตามได้  เหมือนเป็นภิกษุสามเณรเช่นยินดีปัจจัยตามมีตามได้  ได้อย่างไรก็ยินดีอย่างนั้น  มีอย่างไรก็ยินดีอย่างนี้  ไม่ก้าวก่ายเกะกะ  ไม่ทำบุคคลผู้เลี้ยงให้เดือดร้อน  มีนี่จะเรียกอันโน้นต่อไป  อย่างชนิดนี้ไม่สันโดษ  ยินดีตามมีตามได้จึงเรียกว่าเป็นสันโดษ  นี่เป็นข้อที่  ๗  เป็นผู้สันโดษ  ยินดีปัจจัยตามมีตามได้

                สุภโร  เป็นผู้เลี้ยงง่าย  เลี้ยงง่ายอย่างไร?  เหมือนอย่างกับม้าเลี้ยงง่าย  หรือข้างที่เลี้ยงง่าย  เที่ยบด้ยม้าอาชาไนยนย  เจ้าของจะให้หญ้าสดก็เคี้ยงหญ้าสดกินตามหน้าที่  เจ้าของจะให้หญ้าแห้งก็เคี้ยวตามหน้าที่  กินจริง  กินจนกอิ่มให้รำก็กินรำ  ให้ข้าวสุกก็กินข้าวสุก  หข้าวตากก็กินข้าวตาก  กินตามหน้าที่  จะให้ของชนิดไหนก็กินได้ก็กินทั้งนั้น  กินโดยเคารพกินไม่สุรุ่ยสุร่าย  กินไม่กระสับกระส่าย  กินด้วยตั้งอกตั้งใจ  นี่ผู้เลี้ยงง่ายเป็นอย่างนี้  หญิงก็ดี  ชายก็ดี  ภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน  มีอย่างไรก็ใช้อย่างนั้น  เลี้ยงง่ายไม่เดือนร้อนต่อผู้เลี้ยง  เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรละก็บริโภคอย่างนั้น  ถ้าจืดนักสิ่งใดมันมีเค็มก็ผสมกันเข้าไม่ต้องยุ่งเรียกโน่นเรียกนี่ต่อไป  สิ่งใดมันเค็มมากก็ไปหาสิ่งที่จืด  ๆ  มาผสมเข้า  มันก็กลายเป็นของพอดีไป  นี่เลี้ยงตัวอย่างนี้  เมื่อเขาเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ให้ผู้เลี้ยงเดือดร้อน  ให้ผู้เลี้ยงดีอกดีใจ  หผู้เลี้ยงยินดีชื่นอกชื่นใจเรียกว่าภิกษุสามเณรเป็นผู้เลี้ยงง่าย  เป็นที่เบาใจกับครูบาอาจารย์  ลูกหญิงลูกชายเป็นผู้เลี้ยงง่าย  เป็นที่เบาใจในทางพุทธศาสนา  เพราะพระอริยบุคคลทั้งหลายเป็นผู้เลี้ยงง่ายทั้งนั้น  ไมมีเป็นผู้เลี้ยงยากเลย  เราเป็นปุถุชนประพฤติตัวให้เลี้ยงง่ายเช่นนั้น  จะเป็นอายุพระศาสนา  นี่เป็นข้อที่  ๘  สุภโร  เป็นผู้เลี้ยงง่าย

                 อปฺปกิจโจ  จ  เป็นผู้มีธุรน้อย  ไม่มีกิจธุรมาก  พวกมีธุรกิจมากน่ะ  เบื่อ  อุปัชฌาย์อาจารย์ที่ภิกษุสามเณรมีธุรมากน่ะ  เบื่อ  พ่อแม่ปกครองลูกหญิงลูกชายมีกิจธุรมากน่ะเบื่อ  กิจธุรไม่มีจบละ  เดี๋ยวกิจธุระนั้น  เดี๋ยวกิจธุระนี้  เรื่อย  ๆ  ไป  นี่มีกิจธุรมากอย่างนี้ไม่เป็นที่พอใจในทางพุทธศาสนา  ทางพระพุทธศาสนาให้มีกิจธุระน้อย  ถ้ากิจธุระในธรรมวินัยละก็เป็นมือขวา  มีมากมีมากอยู่ทีเดียว  ถ้าว่านอกจากธรรมวินัยของพระศาสดาไปแล้ว  มีบ้างเล็กน้อยเท่านั้นพอดูไป  ไม่หากิจหยุ่งแก่อัตภาพร่างกายนัก  พวกหากิจให้ยุ่งแก่อัตภาพร่างกายเรียกว่า  มีกิจมาก  ไม่เจริญในธรรมวินัยของพระศาสดา  มีกิจธุระน้อย  นี่เป็นข้อที่ ๙

                ประพฤติเบากายเบาใจ  ประพฤติเบากาย  กายก็เบา  ประพฤติเบาใจ ใจก็เบา  ไม่มีบริขารมากมีแต่พอสมควร วาจาไม่มีกังวลมาก  มีแต่พอสมควร  เบากายเบาใจทุกสิ่ง  ม่มีติดข้ออันหนึ่งอันใด  คล่องแคล่วกายใจ  กล่องแคล่วไม่มีห่วงมีใจอะไร  ปลอดโปร่ง  ไมมีกังวลห่วงใยทีเดียว  นี่เป็นผู้เบากายเบาใจอย่างชนิดนี้  นี่เป็นที่ปรารถนาในพระพุทธศาสนานี้นัก  นี่เป็นข้อที่  ๑๐  สลฺลหุกวุตฺติโน  เป็นผู้ประพฤติเบากายเบาใจ

                สนฺตินฺทฺริโย  เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว  สงบทุกอย่าง  จักขุนทรีย์  ตาก็สงบ  หูก็สงบ  จมูกก็สงบ  ลิ้นก็สงบ  กายก็สงบ  ใจก็สงบ  สงบทุกอย่าง  สงบได้แล้ว  สนฺตินฺทฺริโย  แปลว่าสงบแล้ว  เป็นผู้สงบกาย  สงบวาจา  สงบใจ  นี่แหละเป็นที่ปราถรนาในพุทธศาสนา  ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา  ประพฤติสงบกาย  สงบวาจา  สงบใจได้  นั่นแหละเป็นเจริญของพระพุทธศาสนา  ถ้าสงบไม่ได้ยังลอกแลกอยู่  ยังเป็นที่ไว้วางใจในพระพุทธศาสนาไม่ได้  ผู้เทศน์นี่เองบอกพระอุปัชฌาย์ให้ตั้งเจ้าคณะหมวดองค์หนึ่ง  ว่าควรจะได้เป็นอุปัชฌาย์แล้ว  ท่านอาจารย์องค์นั้น  ท่านอุปัชฌาย์ท่านตอบผู้เทศน์นี่แหละ  ตายังไวเช่นนั้นคุณจะตั้งมันอย่างไร?  ตั้งมันก็ทำลายเสียเช่นนั้น  ท่านบอกว่าตาไว  อ้ายตาไวมันก็ชอบกลอยู่เหมือนกัน  และอยู่มาหน่อยหนึ่งเจ้าคณะหมวดองค์นั้นก็สึกไปเสียเลยจริง  ๆ  อ้อ  จริงเหมือนคำของอุปัชฌาย์ท่าน  นั่นแน่ะไม่สงบ  สงบตานะ  สงบหู  สงบจมูก  สงบลิ้น สงบกาย  สงบใจ  ถ้าลอกแลกเช่นนั้นละก็หาเรื่องละ  ถ้าหาเรื่องเช่นนั้นละก็ไม่งอกงามในธรรมวินัยของพระศาสดา  ต้องประพฤติสงบกาย  สงบวาจา  สงบใจ  จริง  ๆ  ลงไป  สงบตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  ลงไป  อินทรีย์สงบเสียได้แล้ว  นี่เป็นที่ปรารถนาในพุทธศาสนา  เป็นภิกษุสามเณรก็จะงอกงามในธรรมวินัยของพระศาสดา  เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็จะงอกงามในธรรมวินัยของพระศาสดา  เพราะสงบอินทรีย์เสียได้แล้ว  นี่ข้อที่  ๑๑

                 ข้อที่  ๑๒  นิปฺปโก  เป็นผู้มีปัญญา  ลักษณะมีปัญญาในธรรมวินัยของพระศาสดาน่ะ  เป็นประโยชน์นัก  ว่าลักษณะท่านวางตำราไว้เช่นนี้  เป็นผู้มีปัญญาแล้วทำความเจริญเท่าไรก็ได้  ทำความเจริญอย่างไร?  ประพฤติตัวเสียให้เรียบร้อย  เป็นไปตามตำรับตำราที่ได้กล่าวมาดังนี้  เราชวนผู้ประพฤติเรียบร้อยเหมือนตัวนั่นแหละให้ได้สักคน  หนึ่งเดือนให้ได้ลักคนก็เอา  สองเดือนได้สัก  ๒  คน  สามเดือนได้สัก  ๓  คน  สี่เดือนได้สัก  ๔  คน  พอครบสิบสองเดือนก็ได้สิบสองคน  นั่นมีพวก  ๑๒  คน  แล้วนะ  เอาอีกปีหนึ่งที่สองอีก  ๑๒  คนก็  ๒๔  แล้วน่ะ  เอาอีกปีนะ  ๑๒  คน  นี่  ๓๖  แล้วนะ  สี่ปีเท่านั้น  ๔๘  มีพวกสงบดีได้  ๔๘  ทีนี้หลาย  ๆ  ปีเข้าเป็นอย่างไรก็สงบอย่างนั้น  ถ้าผู้มีปัญญาชวนอย่างนั้น  ผู้มีปัญญาแก้ไขเอาหมู่พวกได้เช่นนั้น  ถ้าหากว่าเป็นภิกษุก็ได้เป็นคณาจารย์องค์หนึ่ง  ถ้าเป็นสามเณรก็ได้เป็นคณาจารย์องค์หนึ่ง  ถ้าเป็นอุบาสกก็ได้เป็นหัวหน้าคนหนึ่ง  เป็นอุบาสิกาก็ได้เป็นหัวหน้าอุบาสิกาคนหนึ่ง  นี่คนมีปัญญาสำคัญนัก  พุทธศาสนาประสงค์คนมีปัญญาอย่างนี้  คนมีปัญญาไม่กระทบกระเทือนบุคคลผู้ใด  อยู่ในสถานที่ใดไม่กระทบกระเทือนผู้ใด  ทำแต่ประโยชน์เขาเท่านั้น  บำบัดโทษประกอบประโยชน์ให้เขาเท่านั้น  นี่คนมีปัญญาน่ะสำคัญนัก  แต่ว่าปัญญาตื้นหรือปัญญาลึกเท่านั้น  นี้แง่สำคัญ  เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาของพระศาสดาเป็นภิกษุก็ดี  อุบาสกอุบาสิกาก็ดี  เมื่อเป็นภิกษุสามเณรต้องเป็นภิกษุสามเณรจริง  ๆ  คนมีปัญญาเป็นอุบาสกอุบาสิกจริง  ๆ  เป็นอุบาสกต้องหาเพื่อนสามเณรมา  นี่คนมีปัญญาพระบรมศาสดาทรงรับสั่งธรรมิกอุบาสกว่าเป็นคนมีปัญญา  ธรรมิกอุบาสกมีอุบาสก  ๕๐๐  เป็นหมู่พวก  พระองค์รับสั่งว่า  ปณุฑิต  ปุริโส  กับธรรมิกอุบาสก  แปลเป็นภาษาไทยว่า  ท่านผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาเกษมอย่างนี้  นี่ทว่ามีปัญญาอย่างนี้ก็จะเอาตัวรอดได้  ไม่ต้องมีเงินมีทองดอก  เงินทองน่ะเขาแสวงหากันมา  แสวงหาในดินก็มี  ไปพลิกแผ่นดินไถไร่ไถนาทำสวนเข้า  ก็เขาหาเงินหาทองในผ่าดิน  เขาหาเงินหาทองบนต้นไม้ก็มี  บนต้นไม้ก็ไปทำน้ำตาลเข้าไป  เอาลูกไม้มาขาย  เอาดอกไม้มาขาย  นี่เขาหาเงินบนต้นไม้  เขาหาเงินในทะเลก็มี  เขาหาแปลก  ๆ  กัน  วิธีหาเงินหาทองต่าง  ๆ  แต่ว่าเงินทองน่ะอยู่ที่ไหน?  ที่แน่แท้ลงไปทีเดียวน่ะ  พวกหาเงินหาทองเหล่านี้บางคนก็ถูกเหมาะดี  บางคนไม่ถูก  แท้ที่จริงเงินทองน่ะอยู่ที่คนนะ  เงินทองอยู่ที่คนนะ  พระเจ้าแผ่นดินท่านปกครองหมดประเทศท่านเรียกเอาเงินที่คนไปใช้  ใช้ไม่หวาดไม่ไหว  ท่านเป็นผู้ปกครองประเทศ  ท่านเรียกเงินใช้ไม่หวาดไม่ไหว  นั่นคนมีปัญญา  คนมีปัญญาอยู่ที่นั่น  พุทธศาสนาเห็นลึกซึ้ง  พระพุทธเจ้าท่านเห็นว่าศาสนาของท่านจะอยู่ได้ด้วยข้าวปากหม้อ  นั่นแหละอยู่ได้แท้  ๆ  ทีเดียว  ศาสนาท่านตั้งไว้ที่นั่นเองเอาไว้ที่ข้าวปากหม้อ  นั่นแหละอยู่ได้  ท่านก็แก้ไขทีเดียว  ท่านบิณฑบาตเข้าเอาข้าวปากหม้อ  เอาก่อนด้วยหนาไปแต่เช้าทีเดียว  พอตักข้าวปากหม้อเอาก่อนทีเดียว  เอาเสียทัพพี  ทัพพี  ๆ  ๆ  พอฉันแล้วก็กลับ  ฉันเสีย  ทำกิจพุทธศาสนาจริง  ๆ  แต่ว่าฉันข้าวปากหม้อเรื่อยไป  มีอย่างนี้  พุทธศาสนาอยู่ได้อย่างนี้  นี่คนมีปัญญาลึกซึ้ง  ถ้าว่าหากว่าเราจะทำเอง  ตั้งแบบตำรับตำราของเราเอง  ท้องของตัวไปผากคนอื่นเหมือนพุทธศาสนาเช่นนี้  เราทำไม่ได้  หลักฐานเราไม่พอ  ทำไม่ได้เป็นแน่  ถ้าว่าพระพุทธเจ้าทำได้  วางตำราไว้ได้เมื่อท่านวางตำราไว้เช่นนี้แล้วให้ถือเป็นตำราทีเดียว  เมื่อคนมีปัญญาวางตำราไว้อย่างนี้  เรารักษาทีเดียวเข้ารักษาความบริสุทธิ์กาย  บริสุทธิ์วาจา  บริสุทธิ์ใจ  ให้ตามแนวพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว  แล้วก็เดินตามแนวพระพุทธเจ้าพระอรหันต์  หาพวกเข้ามาก  ๆ  เมือ่ได้พวกมากขึ้นเท่าไร  ก็พวกมากเขาดูแลกันเอง  เขาอุปการะกันเองไม่เดือดร้อนดอก  ฉลดาอย่างนี้ละก็เป็นภิกษุได้ตลอดชาติ  เป็นสามเณรได้ตลอดชาติเป็นอุบาสกอุบาสิกได้ตลอดชาติ  ไม่เดือดร้อนอันใดนี่  นิปฺปโก  เป็นผู้มีปัญญา  ผัญญาสำคัญนัก

                อปฺปคพูโก  ไม่คะนอง  ไม่คะนองน่ะเป็นอย่างไร?  ลักษณะคะนองเป็นอย่างไร  ลักษณะคะนองน่ะ  ไม่ว่ามือ  ไม่ว่าตา  หู  ไม่ว่าทั้งนั้น  สอดไป  สอดตาไป  สอดหูไป  สอดจมูกไป  สอดลิ้นไป  สอดกายไป  สอดใจไป  คอยรับสัมผัสอยู่เสมอไป  อย่างนี้เป็นคะนองส่วนหนึ่งในอายตนะ  อปฺปคพฺโก  ไม่คะนองน่ะ  ตามปกติ-ไม่ลอกแลก-ไม่เหลวไหล-ไม่หลุกหลิก  พูดโดยตรงโดยซื่อ  ใจจะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่โลดโผนเกินไปสิ่งที่ควรเป็นธรรมเป็นวินัยก็คิดไป  สิ่งไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยก็ไม่คิด  อปฺปคพฺโภ  ผู้ไม่คะนอง  กายก็ไม่คะนองวาจาก็ไม่คะนอง  คะนองกายก็กระดิกนิ้วกระดิกมือตามหน้าที่  นั่งอยู่ก็ไม่ปกติกระดิกนิ้วกระดิกมือ  หยิบโน่นหยิบนี่ไป  อย่างชนิดนั้นเขาเรียกว่าคะนองกาย  คะนองวาจา  วาจาก็ร้องเพลงร้องกานท์ไป  เอาเรื่องเหลว  ๆ  ไหล  ๆ  มาพูดไป  เอาเรื่องโน่นเรื่องนี่มาพูดไป  อย่างพวกคะนองวาจา  คะนองกายคะนองวาจานี่เรียก  คพฺโภ  ผู้คะนอง  อปฺปตพฺโภ  แปลว่าผู้ไม่คะนอง  ไม่คะนองทีเดียวกายวาจา  สงบเงียบเรียบร้อยทีเดียวไม่คะนองกาย  ไม่คะนองวาจา

                 กุเลสุ  อนนุคิทฺโธ  ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย  เป็นข้อที่  ๑๔  ตระกูลใดตระกูลหนึ่งไม่พัวพันไม่แตะต้อง  พวกพัวพันในสกุลน่ะจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน  ภิกษุสามเณรทัวพันในสกุลจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน  อุบาสกอุบาสิกาพัวพันในสกุลจะต้องเกิดทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน  แถกกันด้วยตา  ด่ากันด้วยปากต่าง  ไ อิจฉาริษยากันต่าง  ๆ  เพราะพัวพันในสกุล  ในสกุลอุปฐาก  ผู้บำรุงตน  ผู้พอกเลี้ยงตน  ผู้ให้ความสุขแก่ตน  ถ้าว่าพัวพันในสกุลแล้วโทษร้ายนัก

                 มีภิกษุครั้งพุทธกาลรูปหนึ่งบวชมา ๑๒  ปีแล้ว  ไปในบ้านช่างแก้วมาก็  ๑๒  ปีเหมือนกันตั้งแต่บวชมาอยู่ในบ้านช่างแก้ว  ถึงเวลาเขาก็ไปพอกเลี้ยงในบ้าน  ถวายอาหารบิณฑบาตอิ่มแล้วก็ไปทำอะไรไปเถอะถึงเวลาแล้วไปฉันที่บ้านเขา  วันหนึ่งพ่อค้าเขาเอาแก้วดวงหนึ่งมีค่ามากเอามาจ้างช่างแก้วให้เจียระไน  ช่างแก้วก็รับเขาด้วยมือที่กำลังหั่นเนื้อ  มือเปื้อนด้วยเลือด  พอรับแก้วไว้เลือดก็ไปติดดวงแก้วนั่น  ที่รับไว้นั้น  เจ้านกกระเรียนที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง  เห็นก้อนแก้วอยู่บนเชียงหั่นเนื้อเชือดเนื้อ  เข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อชิ้นเนื้อ  นกกระเรียนคว้าปุบเข้าท้องไปแล้ว  พระเถรกำลังฉันจังหันอยู่นั่นท่านก็เห็นเหมือนกันว่าก้อนแก้วนั่น  นกกระเรียนเอาเข้าท้องไปเสียแล้ว  ช่างแก้วมาถึง  โอพระคุณเจ้า  แก้วผมวางไว้บนเขียงนี่หายไปไหนล่ะนี่  พระเถรท่านก็นิ่งเสีย  ถามท่านหนักเข้า  หนักเข้า  ท่านก็นิ่งอยู่ร่ำไป  ท่านกลัวนายช่างแก้วจะไปฆ่านกกระเรียนเข้า  ท่านจะเป็นบาปด้วย  ท่านก็นิ่งเสีย  ไม่มีใครละพระผู้เป็นเจ้า  ก้อนแก้วของกระผมวางไว้ที่นี่มีค่ามาก  ตัวและครอบครัวของกระผมก็ไม่พอค่าแก้วนี่ที่จะใช้เขา  พระคุณเจ้าเห็นอย่างไรบ้าง  จงกรุณากระผมเถิดอย่าให้กระผมเป็นข้าเขาเลย  ว่ากันหนักเข้าหนักเข้าท่านก็นิ่งเสีย  นิ่งหลักเข้าหนักเข้า  ไม่มีใครละ  พระผู้เป็นเจ้านี่แหละเอาไป  เอาแล้วเอาเชือกมารัดหัวเข้าแล้ว  ขันหัวพระเถรเข้าแล้ว  ขันเสียตึงเชียว  ขันหัวแล้วเอาไม้ตีกบาลด้วย  ตีพระเถรเสียป่นปี้  แต่ว่ายังไม่ตายเท่านั้นแหละ  พออ้ายนกกระเรียนเข้ามา  แกกำลังบ้านระห่ำของแก  กำลังจะดีพระเถรนั่น  แกก็เอาเท้าตระหวัดนกกระเรียนเข้าให้ที่คอพับทีเดียว  นอกกระเรียนลงไปดิ้นผับ  ๆ  ๆ  พระเถรก็ถาม  พ่อช่างแก้วนกกระเรียนนั่นตายแล้วหรือยัง?  ตายไม่ตายก็พระผู้เป็นเจ้าอย่างพูดไปเลย  พระผู้เป็นเจ้าไม่ให้แก้วแก่กระผมก็ต้องตายเหมือนนกกระเรียนนั่นแหละ  ไม่ต้องสงสัยละ  เอาซี  พอเห็นนกกระเรียนตายสนิทดี  ท่านก็บอกว่าเบา  ๆ  เชือกเถอะผ่อนเชือกเถอะจะบอกให้  อ้ายบุรุษก็ไม่เบา  หนักขึ้นทุกทีเหมือนกัน  นกกระเรียนนั่นตายแน่เห็นว่าตายแน่  พอแน่แล้วก็บอกว่านั่นแน่ะพ่อคุณ  ก้อนแก้วอยู่ในท้องนกกระเรียนนั่นแน่  อ้ายช่างแก้วก็ไปจับนกกระเรียนที่ตายแล้วนั่นเชือดเอาก้อนแก้วออกมาโด่อยู่ในท้องนกกระเรียนนั่น  โอย  ทีนี้ลงกราบพระผู้เป็นเจ้าทีเดียว  กระผมได้พลาดพลั้งไปแล้ว  ขอพระคุณเจ้าจงงดโทษให้กระผมเถอะ  พระเถรจึงว่าแนไม่เอาโทษเอากรณ์อะไรหรอก  ไม่มีโทษกับฉันหรอก  แต่ว่าปรโลกเขาจะไม่ยอมละกระมัง  ฉันไม่รู้จะว่ากระไรเขานี่  ก็เธอทำของเธอเองนี่  เอากันละทีนี้  อ้อนวอนพระถุรให้งดโทษให้ตน  ที่ตนได้กระทำไปแล้ว  นี้พัวพันในสกุล  ตั้งแต่นั้นต่อไปพระเถรปฏิญาณในใจแล้ว  ตั้งแต่นี้ต่อไปมีชีวิตเป็นอยู่  จะไม่เกี่ยวข้องกับสกุลใด  จะแสวงหาอาหารบิณฑบาตเลี้ยงชีพจนตลอดชีวิต  ตั้งใจสนิททีเดียวเท่านั้นพระคุณเจ้าไม่เข้าติดสกุลใดเลย  เข็ด  นี่ก็พัวพันในสกุลเป็นโทษอย่างนี้  มีโทษอย่างนี้  ภิกษุในครั้งพุทธกาลน่ะลึกไปมากมายเพราะพัวพันในสกุล  ในครั้งนี้ก็สึกมากมายเหมือนกัน  พัวพันในสกุล  นี่ต้องคอยระแวดระวัง  ภิกษุสามเณรพัวพันในสกุลเป็นข้อสำคัญนัก

               ๑๔  ข้อธรรมเหล่านี้สำหรับเนื่องด้วยกระอริยบุคคล  ท่านประพฤติมาเป็นตำรับตำราที่แสดงมาแล้ว  ในกรณีเมตตสูตรแก้ด้วยเมตตานี้  เมื่อประพฤติดีทั้ง  ๑๔  ข้อนี่แล้ว  ไม่มีช่องเสีย  ความประพฤติไม่มีผิดธรรมผิดวินัยเลย  ถ้าประพฤติได้อย่างนี้ได้ชื่อว่าตัวเองแหละเมตตาอยู่ในตัวเอง  ไปอยู่ในสถานที่ใด  ๆ  ก็ตัวเองแหละเมตตาอยู่ในตัวเอง  ได้ชื่อว่าทำความดีให้แก่ตน  และความดีที่ตนทำแล้วนั้นไปเป็นตัวอย่างของบุคคลอื่นต่อไป  เป็นตำรับตำราของบุคคลอื่นต่อไปด้วยประการดังนี้  ใน  ๑๔  ข้อนี้  อริยนักปราชญ์ติเตียนบุคคลอื่นได้ด้วยประการใด  ได้ด้วยกรรมอันใด  ไม่ควรประพฤติกรรมอันนั้นจนตลอดชีวิต  ควรตั้งจิตแผ่ไมตรีจิตไปว่า  ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นวงเป็นผู้มีสุข  จงเป็นผู้เกษมสำราญ  จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด  ให้ตั้งใจลงไปว่าแผ่ไมตรีจิตลงไปว่า  สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นหรือสัตว์ทั้งหลายหมดทั้งสิ้น  จงเป็นผู้มีสุขจงเป็นผู้มีความเกษมสำราญ  จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด  เมื่อประพฤติดีเช่นนี้แล้วให้ตั้งใจอย่างนี้  ให้ผู้อื่นประพฤติดีได้เหมือนอย่างกับตัวบ้าง  ให้ตั้งใจอย่างนี้  นี่แหละเป็นเมตตาอริยสังสกถา

              ที่ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ยังหาจบกรณียเมตตสูตรไม่  ในสามส่วนเพียงส่วนเดียวเท่านั้น  และจะแสดงเป็นลำดับต่อไป  ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย  พอสมควรแต่เวลา  เอตน  สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ  ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  สทา  โสตฺถี  ภวนฺตุ  เต  ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแต่ท่านทั้งหลาย  บรรดามาสโมสรในถานที่นี้ทุกถ้วนหน้าอาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา  สมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.016185816129049 Mins