กัณฑ์ที่ ๕๑ ปกิณกะ

วันที่ 23 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๕๑
ปกิณกะ

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , ปกิณกะ , กัณฑ์ที่ ๕๑ ปกิณกะ

นโม ตสฺสภควโนอรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ  (๓ ครั้ง)

ทุทฺททํ  ททมานานํ

ทุกฺกรํกมฺมกุพฺพตํ

อสนฺโต  มานุกุพฺพนฺติ

สตํธมฺโม  ทุรนฺวโย

ตสฺมา  สตญฺจอสตญฺจ

นานา  โหติ  อิโต  คติ

อสนฺโต  นิรยํยนฺติ

สนฺโต  สคฺคปรายนา

น  หิธมฺโม  อธมฺโม จ

อุโภ  สมวิปากิโน

อธมฺโม  นิรยํ  เนติ

ธมฺโม  ปาเปติ  สุคฺคติ 

ธมฺโม  หเวรกฺขติ  ธมฺมจาริ

ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ

เอสานิส์โสธมฺเม  สุจิญฺณ

น  ทุคฺคติ ธมฺมจารีติ  ฯ

 

    ณ  บัดนี้  อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา  แก้ด้วย  ปกิณกเทศนา  เป็นเทศนาเรื่ยรายเบ็ดเตล็ดสำหรับเป็นเกร็ดของสัตบุรุษ  อสัตบุรุษ  เป็นเครื่องประดับสติปัญญาของเราท่านทั้งหลาย  ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า  ธรรมที่เป็นของสัตบุรุษ-อสัตบุรุษนี้ต่างกัน  หาเหมอนกันไม่  เราจะได้รู้ได้เข้าใจว่า  บัดนี้เราเป็นสัตบุรุษหรืออสัตบุรุษ  ก็ไม่ฟังธรรมที่ผุดขึ้นในใจ  หรือธรรมที่เป็นไปทั้งกาย  เป็นสัตบุรุษก็รู้ว่าตัวเป็นสัตบุรุษเป็นอสัตบุรุษก็รู้ว่าตัวเป็นอสัตบุรุษ  หรือธรรมที่เป็นไปทางวาจา   เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว  กาย  วาจาของเราก็จะรู้ว่าวาจาของเราเป็นสัตบุรุษหรืออสัตบุรุษ  หรือธรรมที่เป็นไปทางวาจา   เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว  กาย  วาจา ของเราก็จะรู้ว่าวาจาของเราเป็นสัตบุรุษหรืออสัตบุรุษ  หรือธรรมที่จะผุดขึ้นทางใจ  ก็จะตัดสินตัวเองได้ว่าเป็นสัตบุรุษหรืออสัตบุรุษ  ความเห็นจะได้ไม่พิรุธ  ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา  จะเริ่มบาลีปกิณกเทศนาที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า

ทุทฺททํ  ททมานานํ        เมื่อสัตบุรุษทั้งหลาย  ให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยาก

ทุกฺกรํกมูมกุพฺพตํ        ทำกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยาก

อสนฺโต  นานุกุพฺพนฺติ        อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมทำตามไม่ได้

สตํธมฺโม  ทุรนฺวโย        ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย  อันอสัตบุรุษเอาอย่างไม่ได้

ตสฺมา  สตญฺจอสตญฺจ  นานา  โหติ  อิโต  คติ     ความไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษทั้งหลายและอสัตบุรุษทั้งหลาย  ย่อมเป็นต่าง  ๆ  กัน

อสนฺโต  นิรยํยนฺติ        อสัตบุรุษทั้งหลายไปนรก

สนฺโต  สคฺคปรายนา        สัตบุรุษทั้งหลายไปสวรรค์

น  หิธมฺโม  อธมฺโม  จ  อุโก  สมวิปากิโน    ธรรมและอธรรมทั้ง  ๒  อย่างนี้ย่อมมหาเสมอกันไป ธรรมทั้ง  ๒ อย่างนี้  เสมอกันมามิได้

อธมฺโม  นิรยํ  เนติ        อธรรมนำไปนรก

ธมฺโม  ปาเปติ  สุคฺคติ         ธรรมให้ถึงซึ่งสวรรค์  ต่างกันดังนี้

ธมฺโม  หเวรักฺขติ  อมฺมจาริ     ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไว้

ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ    ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้วนำความสุขมาให้

เอสานิสํโสธมฺเม  สุจิณฺเณ    นี้เป็นอานิสงค์ในการประพฤติธรรม  คือความประพฤติดี  นี้เป็นอานิสงฆ์ในธรรม  คือความประพฤติดี

น  ทุคฺคติ ตจฺฉติ  ธมฺมจารี    ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ  ย่อมไม่ไปทุกคติ  ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ  ย่อมไม่ไปสู่ทุกคติ

    นี้เป็นเนื้อความของพระบาลี  คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้  ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป

    ทุทฺททํ  ททมานานํ  เมื่อบัณฑิตทั้งหลายให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยาก  บัณฑิตให้อย่างแปลก  ๆ  ให้อะไร ให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยาก  โดยวัตถุที่ปรากฏต่อหน้าต่อตาแล้ว  บัณฑิตให้ลูกเป็นทานบัณฑิตให้ภรรยาเป็นทานคือให้เมียเป็นทาน  คือบุคคลให้ได้ด้วยยาก  บัณฑิตให้เลือดเนื้ออวัยวะเป็นทานให้เงินทองข้างของไร่นาเป็นทาน  บัณฑิตให้ชีวิตเป็นทาน  นี่เขาเรียกว่า  ปัญจมหาบริจาค  นี้ให้ยากอย่างนี้เหล่านั้นแหละ  ว่ายากเสียแล้ว  ให้ได้ยากไหมละ  ให้ลูกเป็นทานก็ไม่ใช่ง่าย  ให้เมียเป็นทาน  ให้ผัวเป็นทาน  ก็ไม่ใช่ง่าย  ให้ยากนัก ยังให้เนื้อเป็นทานอีก  ก็ยิ่งยากใหญ่  และให้เลือดเป็นทานอีก  ก็ยิ่งยากหนักเข้าไปให้ชีวิตเป็นทานอีก  ก็ยิ่งยากใหญ่ทีเดียว  นี่บัณฑิตทำได้  ผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาทำได้  เรียกว่า  บัณฑิตบัณฑิตให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยาก  ไม่ใช่ให้แต่เท่านั้น  นี่ชั้นสูงสุดพระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีลดส่วนกว่านี้ลงมา  ผู้เป็นบัณฑิตดำเนินด้วยคติของปัญญาตลอดภพนี้  ตลอดภพหน้า  ปัญญาตลอดถึงนิพพาน  มีวัตถุพัสดุใด  ๆ  ให้ทานได้  ถ้าอสัตบุรุษ  ให้ไม่ได้ง่าย  ๆ  ไม่ให้ทีเดียว  สัตบุรุษให้  ที่เราให้อาหารเป็นทานอยู่นี้  นั่นแหละให้เนื้อให้เลือดของตัวเป็นทานแล้วใช่ไหมละ  ถ้าไม่ให้  เรารักษาของเราก็เป็นเนื้อเป็นเลือดของตัว  ถ้าให้กับคนอื่นไปเสีย  ก็ได้ชื่อว่าให้เลือดของตัวเป็นทานไปแล้ว  แต่ว่าโดยปริยายนี้  ได้ชื่อว่าให้เนื้อให้เลือดของตัวเหมือนกัน  ให้ชีวิตของตัวเหมือนกัน  ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่ม  ก็นี่เป็นชีวิตรักษาป้องกันตัว  รักษาสัตว์ต่าง  ๆ  จนกระทั่งป้องกันอันตรายแก่ชีวิตก็ได้ชื่อว่า  ให้ชีวิตเป็นทาน  ให้เงินทองข้าวของแก้วแหวนรัตนะใด  ๆ  ที่ให้กับลูกหญิงลูกชายก็ดี  หรือให้กับสามีภรรยา  ภรรยาต่างฝ่ายต่างให้กัน  นี่ก็ให้ชีวิตจิตใจกันเหมือนกัน  ถ้าไม่ฉะนั้น  ไม่ให้  ลูกหญิงลูกชายรักเป็นชีวิตจิตใจ  เงินทองเท่าไรให้ได้  นี่สัตบุรุษทำได้ง่าย  อสัตบุรุษทำไม่ได้ง่าย  ๆอสัตบุรุษทำได้อยากนัก  อย่างนี้ไม่ค่อยจะให้กัน  เพราะบำรุงแต่ความสุขส่วนตัวโดยมาก

    นี่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย  ทั้งคฤหัสถ์  บรรพชิต  สละกิจมาบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดา  ก็ได้ชื่อว่าจากเจตนาบังเกิดขึ้นแล้วภายใน  สละเงินทองข้าวของ  ตึกกว้านบ้านเรือน  เรือกสวนไร่นาอย่างนี้  ก็ทำให้ยากอีกเหมือนกัน  ตัดกิเลสเสีย  หนทางนี้ตัดกิเลสเสีย  ทางไปของพระพุทธเจ้า  พระอรหันต์  ทางไปนิพพานทีเดียว  เพราะฉะนั้น  เมื่อสัตบุรุษทั้งหลายให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยากแล้ว  ให้อะไรที่บุคคลให้ได้ด้วยยากนั้น ให้ด้วยยากที่สุดก็ให้ชีวิต  ที่สองรองลงมาให้ยากที่สุดก็ให้ลูก  ยากที่สุดอีกก็ให้เมีย  ให้เมียเป็นทานยากนัก ยากที่สุดอีกก็ให้เลือดเนื้อ  นี่ให้ยากนัก  นี่เป็นของให้ยากเรียกว่า  ปัญจมหาบริจาค  เพราะฉะนั้นสร้างบารมีให้เป็นพระพุทธเจ้าให้ได้  ให้เนื้อเป็นทานได้  ให้เลือดเป็นทานได้  ให้พัสดุวัตถุ  เงินทอง  ข้าวของไร่นา  ตึกกว้านบ้านเรือน  ที่เรียกว่า  ทานบารมี  ที่เรียกว่าทานบารมีไม่ใช่ของให้ง่ายนะ  คนเป็นพาล  คนมีกิเลสหนาลามก  ปัญญาหยาบ  ลองหยิบขึ้นแล้วตัวลั่นเชียวหนา  ทานที่มือถือไว้นะ  เหงื่อแตก  เหงื่อแตกเชียวกิเลสหนาลามก  ปัญญาหยาบ  ลองหยิบขึ้นแล้วตัวสั่นเชียวหนา  ทานที่มือถือไว้นะ  เหงื่อแตก  เหงื่อแตกเชียวมือเป็นเหงื่อเชียว  ที่จะให้ได้แต่ละครั้งละครน่ะ  ต้องหัดจนกระทั่งชำนาญทีเดียว  ให้เสียคล่องแคล่ว  ให้เสียชำนาญในชาตินั้นแหละ  จึงจะได้ง่าย  ถ้าว่าชาติเดียวภพเดียวไม่ได้ให้ง่าย  ๆ  ทีเดียว  บางคนเกิดมาไม่ได้เคยให้อะไรใครเสียเลย  บางคนก็เคยให้เสียจนชำนิชำนาญ  ให้แต่เพียงว่าให้กับตัว  กับลูกของตัว  เพื่อความรุ่งเรืองแก่ตัว  ให้กับเมียของตัว  เพื่อจะต้องการเอาไว้ใช้สอยตามชอบใจของตัว  ให้กับผัวของตัวให้ได้เพื่อต้องการตอบแทน  ถ้าไม่ตอบแทนก็ไม่ให้อีกเหมือนกัน  ลูกนะเป็นเนื้อเป็นเลือดของตัวหละ  รักสนิทชิดชมเป็นประหนึ่งว่าดวงใจของตัวนั่น  เป็นคล้าย  ๆ  ทีเดียว  จะได้ดำรงวงศ์ตระกูลต่อไป  นี่ก็ให้มีความมุ่งหมายเหมือนกัน  ให้มีความมุ่งหมายเหมือนกัน  เพื่อจะได้เจริญในวงศ์ตระกูลต่อไป  ถ้าแม้ว้าเราได้เช่นนี้เคย  ไม่กว้าง

    ถ้าให้ไว้เป็นกลาง  ๆ  กับภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  ในพระพุทธศาสนา  ให้เป็นตำราบุคคลดีต่อไป นี้ตัวไม่ได้มุ่งหมายอะไรเลย  มิได้มุ่งหมายอะไรเลย  หมายแต่บุญกุศลเท่านั้น  จะสร้างบารมีของตนเท่านั้น  ให้อย่างนี้เรียกว่าให้กว้าง  ไม่แคบ  ให้เป็นกลาง  กว้างออกไป  นี่คนมีปัญญาสูง  เหมือนประเทศไทยมีปัญญาสูง เลี้ยงเอาพระพุทธศาสนาไว้  คือ  ภิกษุสามเณร  อุบาสกอุบาสิกา  ผู้ปกครองประเทศก็เอาพระทัยใส่  พระเจ้าแผ่นดินปกครองพิทักษ์รักษา  เพื่อจะได้เป็นขนบธรรมเนียมของประชุมชนในยุคนี้  และต่อไปในกายหน้าว่าสัตว์ผู้ใดต้องการพ้นจากทุกข์  ให้ปฏิบัติตามร่องรอยของพระบรมศาสดานี้  เสียสละพระราชทรัพย์เท่าใด  ที่ทรงสละในเช่นนี้  เลี้ยงเอาภิกษุสามเณร  อุบาสกอุบาสิกาไว้  นึกรายจ่ายเข้าซิ  นึกเข้าละก็เราตกอกตกใจทีเดียว  วันหนึ่งจะต้องจ่ายเลี้ยงพวกเหล่านี้เท่าไร  พวกนี้ไม่ทำการทำงานเลย  ต้องขออิ่มหนึ่งไม่อิ่มหนึ่งมันอยู่ไม่ได้  ตายต้องจ่ายเท่าไร  วันหนึ่ง  วันหนึ่งภิกษุสามเณร  ๓๐๐,๐๐๐  เศษ  ๆ  คนละสี่บาท  อย่างน้อยที่สุดคนละสี่บาท  แสนหนึ่งก็สี่แสน  สองแสน  ก็แปดแสน  สามแสนละก็  สิบสองแสน  ล้านสองแสน  วันหนึ่งต้องเสียสมบัติของพระเจ้าแผ่นดิน  ล้านสองแสน  ๆ  ทุกวัน  เลี้ยงพระภิกษุสามเณรไว้เป็นสามแสนนะ  อุบาสก อุบาสิกาอีกเล่า  ไม่ประกอบกิจการงานอะไร  ต้องเลี้ยงอิ่ม  ๆ  หนึ่ง  อิ่มหนึ่งในขนาดสองแสนนี่  รวมห้าแสน ห้าสี่  ยี่สิบนะ  สองล้าน  วันละสองล้าน  ๆ  เมื่อนึกถึงรายจ่ายของพระเจ้าแผ่นดินออกไปแล้วหละ  ก็เสียพระราชทรัพย์ไปวันละสองล้าน  ๆ  อีก  ควบคุมเอาพวกอุบาสกอุบาสิกาไว้ให้เป็นพระพุทธศาสนา  จะได้ช่วยกันรักษาชาติต่อไป  นี่พระเจ้าแผ่นดินเสียสละ  นี่ก็ให้สิ่งที่บุคคลให้ได้โดยยากเหมือนกัน  อยากนี้ทำยาก  เหมือนมารดาบิดามีลูกหญิงลูกชาย  อนุญาตให้มาบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดาเสีย  ไม่ต้องไปทำงานหละ ดังนี้  ก็ยากเหมือนกัน  อย่างนี้  ก็  ทุทฺททํ  เหมือนกันให้ได้ด้วยยาก

    เพราะฉะนั้น  การให้ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย  ยังแถมให้ตัวอีก  ตัวก็สละการครอบครองบ้านเรือนเคหา มอบตนเป็นพุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนาอย่างนี้  เหมือนภิกษุสามเณร  อุบาสกอุบาสิกานี้  ต่างยากถึงได้มีกันน้อย  เห็นอยู่แล้ว่าให้ยากอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ทุทฺททํ ททมานานํ  เผื่อบัณฑิตทั้งหลายให้สิ่งที่บุคคลให้ได้ด้วยยากดังนี้

    ทุกฺกรํกมฺมกุพฺพตํ  กระทำกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยาก  กระทำอะไร  อะไรที่บุคคลทำได้ด้วยยากนี่แหละภิกษุสามเณรมาประพฤติด้วยเช่นนี้แหละ เขายินดีรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัสกัน  นี่มันตัดห่วงตัดอาลัยมาบวชเป็นพระเป็นเณรเช่นนี้  หรืออุบาสกอุบาสิกาเขายินดีปรีดาในการครอบครองบ้านเรือนเคหา  ยินดีในรูป  เสียง กลิ่น  รส  สัมผัส  อยากหยอกหลอกลวง  อะไรกันต่าง  ๆ  ดังนี้  ละมันเสีย  ปล่อยมันเสีย  นี้กระทำเช่นนี้ที่บุคคลทำได้ด้วยยากเหมือนกัน  ไม่ใช่ทางทำง่าย  นี่ทำได้ยากทั้งนั้น  เมื่อทำได้ยากเช่นนี้  ไม่ควรดูถูก  ดูเบาอย่าประมาทเลินเล่อ  อย่าเผลอตัว  ทำให้ยิ่งหนักขึ้นไป  ให้บรรลุธรรมที่พระองค์ทรงประสงค์  หนทางเบื้องต้นคือ  ปฐมมรรค  มรรคจิต  มรรคปัญญา  โคตรภู  โสดา  สกทาคา  อนาคา  อรหัต  ให้ปรากฏขึ้นในตัวของตัวจะได้เป็นที่พึ่งของตัวเหตุนี้ทำกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยากนะ  อีกมากมายนัก  ผู้ได้บรรลุผลศีล  มีศีลบริสุทธิ์นี่ทำได้ยาก  ศีล  ๕  บริสุทธิ์  ผู้ได้บรรลุศีล  ๘  ศีลแปดบริสุทธิ์  นี่ก็ทำได้ยาก  ผู้บรรลุศีล  ๑๐  ศีลสิบก็บริสุทธิ์เป็นเพศสามเณรก็ทำได้ยาก  บรรลุศีล  ๒๒๗  เมื่อบรรลุศีล  ๒๒๗  ถ้ามีศีลบริสุทธิ์  ถ้าบรรลุปฐมมรรค  มรรคจิต  มรรคปัญญา  นี่ทำได้ยากทั้งนั้น  ทุกฺกรํกมฺมกุพฺพนํ  เหมือนกัน  เป็นกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยาก  ไม่ใช่เป็นของทำง่าย  ทำบริสุทธิ์อย่างเดียว  ไม่มีพิรุธในกายวาจาใจเลย  มีบริสุทธิ์กายวาจาใจอย่างเดียวนี้  ก็ทำได้ยากอีกเหมือนกัน  ถ้าบุคคลใดทำได้ บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า  ทำกรรมอันบุคคลทำได้ด้วยยาก

   อสนฺโต  นานุกุพฺพนฺติ อสัตบุรุษทั้งหลายกระทำตามไม่ได้  กระทำเช่นนั้นกระทำไม่ได้ให้ไม่ได้  จะทำบริสุทธิ์ตามทำไม่ได้

    สตํธมฺโม  ทุรนฺวโย  ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย  อันอสัตบุรุษทำตามไม่ได้   อันอสัตบุรุษทำอย่างใหม่ได้ก็แบบเดียวกัน  อันอสัตบุรุษเอาอย่างไม่ได้  เพราะอสัตบุรุษมีหน้าที่ตรงกันข้ามกับสัตบุรุอย่างสัตบุรุษทำนะ  อสัตบุรุษทำไม่ได้ทีเดียว  มันเป็นเช่นนั้น

    ตสฺมา  สตญฺจอสตญฺจนานา  โหติ  อิโต  คติ       เพราะเหตุนั้น  ความไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษทั้งหลาย  ย่อมเป็นต่าง  ๆ  กัน  การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษทั้งหลาย  ย่อมเป็นต่างกัน

    อสนฺโต  นิรยํยนฺติ  อสัตบุรุษทั้งหลายไปนรกทีเดียว  ตรงกันข้ามกับสัตบุรุษ

    สนฺโต  สคฺคปรายนา  สัตบุรุษทั้งหลายไปสวรรค์ทีเดียว  ไปสวรรค์  เมื่ออสัตบุรุษทั้งหลายไปนรก  สัตบุรุษทั้งหลายไปสวรรค์  นี้อาการของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ  ย่อมเป็นต่างกันอย่างนี้  จากโลกนี้การไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษเป็นต่างกันอย่างนี้  เมื่อเราเข้าใจชัดอย่างนี้

    น  หิธมฺโม  อธมฺโม  จ            อุโก  สมวิปากิโน
    อสมฺโม  นิรยํ  เนติ            ธมฺโม  ปาเปติ  สุคฺคติ
 
    ธรรมก็ดี  อธรรมก็ดี  ทั้ง  ๒  อย่างนี้มีผลเสมอกันหามิได้  มีผลไม่เสมอกันนั้นเอง

    อธมฺโม  นิรยํ  เนติ  อธรรมนำไปนรก

    ธมฺโม  ปาเปติ  สุคฺคติ ธรรมให้ถึงสุคติคือ  ให้ถึงสวรรค์  อธรรมนำไปนรก  ธรรมให้ถึงซึ่งสวรรค์นี้  ต่างกันดังนี้

    ทีนี้จะพูดถึงธรรม  และอธรรมทั้ง  ๒  อย่าง  นี่ตามวาระพระบาลีว่า  กุสลาธมฺมา  ธรรมไปดี  อกุสลาธมฺมา  ธรรมไปชั่ว  ที่แสดงมานี้  ธรรมและอธรรมทั้งสองอย่างนี้ ประสงค์กุศลธรรม  เรียกฝ่ายธรรม  อกุศลธรรมเรียกว่า  ฝ่ายอธรรม  ไม่ใช่ธรรมฝ่ายดี  เป็นธรรมฝ่ายชั่ว  ทั้งสองอย่างนี้  ธรรมฝ่ายดี  เป็นที่แอบแนบแน่นอยู่กับใจของบัณฑิต  ธรรมฝ่ายชั่วเป็นที่แอบแนบแน่นอยู่กับใจของคนพาล  คนทั้ง  ๒  สองจำพวก  พาลและบัณฑิตนี้  คนพาลเป็นเครื่องหมายของคนเลว  คนบัณฑิตเป็นเครื่องหมายของคนดี  มันตรงกันข้ามอย่างนี้เสีย  เอาอย่างกันไม่ได้  ตามกันไม่ได้  ทุกคนมันคนละแนวคนละลายทีเดียว  ไม่ใช่แนวสายเดียวกัน

    ธมฺโม  หเวรกฺขติ  ธมฺมจาริ ํธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ  ธรรมนะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ  กุศลธรรมความดีนี่แหละ  รักษาผู้ประพฤติดีให้ได้รับความสุขตลอดสาย  ไม่ให้ได้รับความทุกข์  นี่แหละธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  ประพฤติดี  ด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  ไม่มีร่องเสียเลย  ประพฤติดีฝ่ายเดียว เขาไม่ได้เสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดเลย  แม้อยู่ในหมู่ใด  หมู่พระภิกษุหรืออยู่ในหมู่สามเณร  ในหมู่อุบาสก อุบาสิกา เมื่อประพฤติธรรมอยู่เช่นนั้นแล้ว  ใคร  ๆ  ก็ย่อมนับถือ  ใครก็ย่อมต้องเชิดชูบูชา  เขาต้องนับถือ  เขาต้องเชิดชูบูชา  ประพฤติธรรมอยู่อย่างเดียว  อย่าประพฤติอธรรม  อย่าประพฤติเหลวไหลอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ถูกต้องร่องรอย  คือ  ความบริสุทธิ์กาย  บริสุทธิ์วาจา  บริสุทธิ์ใจ  เป็นภายนอกสมเจตนา  จนกระทั่งทำใจให้ผ่องใส  นี้เรียกว่าผู้ประพฤติธรรม  ผู้ประพฤติเช่นนี้  ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นไว้

    ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ  ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว  นำความสุขมาให้  ผู้ประพฤติบริสุทธิ์กายวาจาและบริสุทธิ์ใจ  บริสุทธิ์เจตนา  จนกระทั่งใจผ่องใส  นั่งก็เป็นสุข  นอนก็เป็นสุข  ยืนเที่ยวเป็นสุขทั้งนั้น  ไม่มีทุกข์อันหนึ่งอันใดมาแผ้วพาน  เพราะเหตุว่าในเรื่องทุจริตไม่มี  มีแต่สุจริตฝ่ายเดียว  นี่แค่นี้ชั้นหนึ่งเพราะว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

    สูงขึ้นไปกว่านี้ผู้ที่ได้บรรลุเป็นโคตรภูบุคคล  มีธรรมกาย  ใจก็อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม อย่างนี้สูงขึ้นไป  ธรรมก็ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไว้  เป็นโคตรภู  เป็นโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียดเป็นสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  เป็นอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  เป็นอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด  พวกนี้หมดทุกข์  มีสุขฝ่ายเดียว  ทุกข์มีน้อยนัก  ไปถึงพระอรหัตมหมดทุกข์  ไม่มีทุกข์เลย  มีสุขฝ่ายเดียว  เรียกว่าเอกนุต  เป็นบรมสุขฝ่ายเดียว  เข้าวิราคธาตุ-วิราคธรรม  ทีเดียว  อย่างนี้แหละ  ได้ชื่อว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  ผู้มีธรรมกายนั้นแหละ  ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  หรือยังไม่ถึงธรรมกาย  มีบริสุทธิ์กายวาจาใจ  จะให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้  ก็ได้ชื่อว่าผู้รักษาธรรมเหมือนกัน  ธรรมนั้นแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเหมือนกัน  ธรรมนั้นแหละนำความสุขมาให้  ธรรมที่สั่งสมดีแล้ว  ปฏิบัติดีแล้ว ก็นำความสุขมาให้

    เอสานิสํโสธมฺเม  สุจิณฺเณ  นี้เป็นอานิสงส์  นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมคือ  ความประพฤติดี  นี้เป็นอานิสส์ในธรรม

    น  ทุคฺคตํตจฺฉติ  มฺมจารึ  ผู้ประพฤติธรรมเสมอ  ไม่ไปสู่ทุกคติ  มีสุคติเป็นเบื้องน้า  ผู้ประพฤติธรรมเสมอไม่มีทุกคติ  มีสุคติเป็นไปในเบื้องหน้า  เรียกว่า  ธรรมนั้นนำความสุขมาให้  ธรรมนั้นนำให้ถึงสุคติเป็นเบื้องหน้า ไม่มีทุคติตลอดไป

    เมื่อเป็นผู้ประพฤติธรรมดังนี้แล้ว  ผู้ประพฤติธรรมนะ  รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ไว้  ไม่ให้พิรุธไปได้  นี้ประพฤติธรรมให้บริสุทธิ์  ด้วยกาย  วาจา  ใจ  ตลอดจนกระทั่งถึงใจเตนา  เจตนาก็บริสุทธิ์ไม่มีพิรุธเข้าไปแทรกแซงได้  เข้ไปถึงใจ  ใจก็ใส  ไม่มีขุ่นมัวเศร้าหมองเข้าไปดองอยู่ในใจได้  ดังนี้เรียกว่าบริสุทธิ์ชั้นกายมนุษย์  บริสุทธิ์ขั้นกายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีก  ละเอียดยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก  ที่สุดเข้าถึงกายทิพย์อีกผู้ประพฤติธรรมนะ  อุตสาหะให้ทาน  รักษาศีล  อุตส่าห์สดับรับฟังพระธรรมเทศนาอยู่เสมอ  อุตส่าห์มีจาคะสละสิ่งที่เป็นโทษ  เป็นข้าศึกต่อคัมภีร์อยู่ร่ำไป  มีปัญญารอบรู้รักษาตัว  นี้ได้ชื่อว่าผู้ประพฤติกรรม

    ละเอียดขึ้นไป  กายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด  ผู้ประพฤติธรรมสูงขึ้นไปยิ่งกว่านี้ได้บรรลุปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  ฌานนั้นแจ่มใสอยู่เสมอ  ไมให้เลื่อมไม่ให้สร่าง  ไม่ให้หายไป  อยู่ฌานนั้นร่ำไปเรียกว่าได้รับความสุข  ในปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  สุขเยี่ยมยอดประเสริฐเลิศกว่าในโลกนี้นัก  เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  แล้วก็ลืมยินดีในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัสทีเดียว  สิ่งอื่นไม่เหลือในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  เอาใจรูปพรหมไปนั่งอยู่บนปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  ลืมยินดีในรูป  เสียง กลิ่น  รส  สัมผัส  ที่มาเคาะใจทั้งหลับทั้งตื่น  ตื่น  ๆ  กาเคาะอยู่เสมอ หลับมันก็เคาะนะ  เคาะให้ฝัน  นั่นในรูป  เสียง  กลิ่น  รส สัมผัสของมัน  นั่นแหละ  มันเคาะใจอย่างนี้  ทว่าไปติดแน่นแฟ้นอยู่ในปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน  ละก็ให้ความยินดี  ในรูป  เสียง  กลิ่น  รส สัมผัส  ติดอยู่ในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัสทั้งอดีต  ปัจจุบัน  อนาคตนั้น  หายเงียบไปหมด  ไม่กระทบกระเทือนเลย  ไม่สะกิดเลยหายเงียบไปหมด

    สูงขึ้นไป  สุขสูงขึ้นไปกว่านี้  เข้าอรูปฌาน  อากาสานัญจายตนฌาน  วิญญานัญจายตนฌาน  อากิญจัญญายตนฌาน  เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน  เมื่อไปถึงอรูปฌาน  เช่นนั้นละก็  ความยินดีในรูปฌานนั้น ติดอยู่ในรูปฌานนั้นหายไป  หลุดไปติดเลย  ก็ไปติดอยู่ในอากาสานัญจายนตนฌาน  วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน  เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน  ได้รับความสุขอยู่  ๘๔,๐๐๐  มหากัลป์  เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน  อยู่ขอบภพข้างบนนี่  สุขเลิศประเสริบนัก  ยอดสุขของในภพมีเท่านี้แหละ  สูงกว่าไม่มี  ยอดแล้วถึงแนวสัญญานาสัญญายตนะ  ยอดสุขในภพแล้ว  ไม่มีสุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป  ถ้าจะให้สุขยิ่งกว่านี้ขึ้นไป  ต้องไปสู่  มรรค  ผล  นิพพาน  พวกมีธรรมกายไปสู่นิพพานได้  ก็ได้ไปสอบสวนสุขในนิพพานได้  เข้าไปในนิพพานได้  เป็นนิ่งอยู่ในนิพพานเสียนี่  รับสุในนิพพานทีเดียว  เมื่อได้รับสุขชนิดนี้ในนิพพานแล้ว  คนที่พูดมาก  ๆ  เงียบหมด  ไม่พูดแล้ว  ใจคอครึ้ม  สบายเอิบอิ่มตื้นเต็ม  ปลาบปลื้มว่าสุขชนิดนี้เราไม่เคยพบไม่เคยเห็น
    
      เรานึกถึงความสุข  ไม่ยินดีในรูป  เสียง  กลิ่น  รส สัมผัส  นั่นมันซากของศพ  นั้นไม่ใช่สุขจริง  ไม่เนื้อหนักของสุข  มันซากของสุขนะ  เมื่อหลุดขึ้นพอพ้นจากกามไปแล้ว  ถึงรูปภพเข้า  ไปถึงรูปฌานทั้งสี่เข้านึกถึงสุขของกาม  ไอ้สุขของกามนั้นมันเศษสุข  ไม่ใช่สุขจริง  ๆ  เมื่อไปถึงอรูปฌานเข้า  ไอ้สุขของรูปฌานนั่นนะ  มันสุขอยางอยาบนะ  ไม่สุขละเอียด  นุ่มนวล  ชวนให้สบายอกสบายใจเหมือนอรูปฌาน  เมื่อได้รับความสุขในอรูปฌานแล้ว  สุขในอรูปฌานนี่มันสุขในภพ  ไม่ใช่สุขนอกภพ  นี่มันสุขต่ำทรามนะ  พอไปถึงนิพพานเข้าก็อ้อ!  นี่มันสุขนุ่มนวลชวนติดนัก  นี่มันสุขจริง  จะได้เล่าถึงสุขในพระนิพพานให้ฟังอีก

     เรื่องสุขในพระนิพพานนั้นมันสุขลึกซึ้งนัก  พระพุทธเจ้ามีเท่าไรๆ  ติดอยู่ในนั้นหมดพอติดเสียเช่นนั้น  เหลวอีกเหมือนกัน  ไปติดแต่นิพพานนั้น  ต้องไม่ติดสุขแค่นี้  แล้วหาสุขต่อขึ้นไปใคร่ที่จะหาสุขต่อขึ้นไป  เขาเรีกว่า อปฺปสุขํ  ไป  ปหาย  ละสุขอันน้อยเสีย  ไปหาสุข  สุขํ  อาทาย  ถือเอาสุขใหญ่  ปล่อยสุขขึ้นไปไม่หยุดอยู่ในสุขแค่นั้น ถ้าไปหยุดแค่นั้น  โง่  ไม่ฉลาด  ถ้าปล่อยสุขขึ้นไปไม่มีที่สุดกันหละ  ก็นั่นฉลาดหละ  อย่างพระพุทธเจ้า  ผู้เป็นต้นธาตุ  นี้ฉลาดเต็มที่  นี้แค่นี้ธรรมนั่นแหละนำความสุขมาให้นะ  ผู้ใดถึงธรรม  ผู้นั้นได้รับสุขด้วยประการดังนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้  ตามวาระพระบาลีแห่งพระปกิณกคาถา  คลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา  ว่า  นตฺถิ  เมสรณํอญฺญํ  ว่าสิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเลิศประเสริฐของเราทั้งหลาย  สรณํ  เม รตฺนตฺตยํ  พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย  เอเตนสจฺจวชูเชน  ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  สทาโสตฺถี  ภวนฺตุเต  ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแต่ท่านทั้งหลาย บรรดาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา  สมมติยุติธรรมิกถา  โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้  เอวํก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.068870369593302 Mins