เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

วันที่ 05 เมย. พ.ศ.2561

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

เสขิยวัตร
 ต้นบัญญัติมารยาทไทย

 หมวดที่ ๑ สารูป
หมวดธรรมว่าด้วยมารยาทในการเข้าไปบ้านประชาชน

ข้อ ๙ - ๑๐ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้าไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”
ข้อ ๑๑ - ๑๒ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่หัวเราะไปในบ้าน - นั่งในบ้าน
ข้อ ๑๓ - ๑๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน - นั่งในบ้าน

ข้อ ๑๕ - ๑๖ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกายไปในบ้าน - นั่งในบ้าน

ข้อ ๑๗ - ๑๘ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในบ้าน - นั่งในบ้าน

ข้อ ๑๙ - ๒๐ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน - นั่งในบ้าน

-----------------------------------------------
 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

ข้อ ๙ - ๑๐ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้าไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

           เวิกผ้าทำอย่างไร?  บางคนไม่รู้ เวิกผ้าหมายความว่า ถกผ้าขึ้นเปิดสีข้างให้เห็น เช่นถกจีวรขึ้นพาดไว้บนบ่า ถกสบงรั้งขึ้นจนพันเข่าทั้งในเวลาเดิน ทั้งในเวลานั่ง

           ตามธรรมดาพระภิกษุเวลาเข้าไปในบ้านใครก็ตาม พระวินัยกำหนดให้ห่มคลุม ทีนี้เกิดร้อนขึ้นมาเลยเผลอสติถกสบงจีวรขึ้น พูดง่าย ๆ ว่า ติดแอร์คอนดิชั่นไว้ข้าง ๆ เสียแล้ว กะให้เย็นสบาย อย่างนี้เริ่มไม่งาม

           ย้อนกลับมาถึงพวกเราประชาชนชาวบ้าน รูปแบบเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไม่มีจำกัด นับว่าสบายกว่าพระภิกษุมากนัก แต่อย่างไรก็ขอฝากไว้ด้วย โดยเฉพาะคุณผู้หญิง ถ้าจะไม่ให้เป็นการขุดบ่อล่อจระเข้ละก็ เสื้อไม่มีแขนไม่ค่อยน่าใส่ อย่างไรก็ขอให้มีแขน จะแขนสั้นหรือแขนยาวแค่ไหนไม่ว่ากัน แล้วถ้าจะให้ดีอย่างน้อยให้ยาวสักเกือบ ๆ ถึงข้อศอก ค่อยโล่งใจ ถามว่าผู้หญิงใส่เสื้อไม่มีแขนไม่สวยตรงไหน? จะว่าไปในสายตาของผู้ชายเขาก็ว่าสวย แต่รู้ไว้เถิด จระเข้ตาลุกแล้ว ไม่ดีแล้ว เพราะฉะนั้นใส่เสื้อมีแขนไว้แหละดี

           ขอพูดไว้ ณ ที่นี้เสียด้วยเลยว่า คุณหนูผู้หญิงเวลามาวัด พวกเสื้อยืดไม่ควรใส่ แม้ไปที่ไหน ๆ ก็ไม่ควรใส่ ยกเว้นที่บ้าน ถือเอาสบาย ๆ ก็ไม่เป็นไร

           เวลาใส่เสื้อยืด ถ้าเหงื่อไม่ออกหรือยังไม่เปียกน้ำก็แล้วไป ถ้าเหงื่อออกเปียกน้ำเข้าแล้วจะรัดรูปจัด กลายเป็นขุดบ่อล่อจระเข้ ไม่ดีแน่ ๆ โอกาสเหมาะที่จะได้ใช้เสื้อยืดก็เห็นมีแต่เวลาเล่นกีฬา แต่ถึงว่าเล่นกีฬาก็เถิด หาเสื้อยืดที่เนื้อผ้าหนา ๆ สักหน่อย จะได้ไม่รัดรูปเกินไป ปลอดภัยไว้ก่อนนะลูกนะ

           สวัสดิภาพบนท้องถนน สวัสดิภาพในชีวิตประจำวันของคนไทยขณะนี้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร อะไรที่จะเป็นการป้องกันตัวเองได้ต้องจัดแจงป้องกันไว้เสียก่อน แล้วจะรอดตัว

           อีกอย่างหนึ่ง เวลามานั่งสมาธิที่วัด ถ้าหากกระโปรงหรือผ้าถุงของเรายาวไม่ถึงครึ่งหน้าแข้งหรือแคบจัด ขอเถิดอย่านั่งขัดสมาธิเลย ไม่งามแน่ เอาแค่นั่งพับเพียบก็แล้วกัน ถนัดไม่ถนัดก็ต้องยอม ถ้าลงไปนั่งขัดสมาธิแล้วหัวเข่าโผล่ออกมาทั้งสองข้างเมื่อไร เป็นไม่งามเมื่อนั้น มันล่อแหลมเกินไป ยกเว้นมีผ้าคลุมตักผืนโต ๆ คลุมไว้ อย่างนั้นพอสู้ เวลาชวนใครมาวัดก็เหมือนกัน ช่วยบอกเขาเรื่องการนุ่งห่มด้วย ไม่อย่างนั้นจะมาพลาดกันที่วัดนี่เอง

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

ข้อ ๑๑ - ๑๒ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่หัวเราะไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

          ข้อนี้หมายถึงการหัวเราะแบบไม่ยั้ง ถูกใจอะไรก็ฮ่า ๆ ๆ ขึ้นมาทีเดียว โชว์ฟันหมด ๓๒ ซี่เลย แบบนี้ท่านว่าคงไม่งาม

           โบราณท่านเตือนสติเอาไว้ว่า ใครก็ตามที่เวลามีเรื่องถูกใจ ดีใจ แล้วแผดเสียงหัวเราะชอบใจ ดังสนั่นลั่นทุ่งไปหมด คนแบบนี้ให้รู้ไว้เลยว่า เป็นคนควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ ถ้ามีเรื่องมากระทบใจเมื่อใดก็จะระงับความเสียใจไว้ไม่ได้ ควบคุมสติไว้ไม่อยู่ เช่นเดียวกัน เวลาดีใจหัวเราะดังเท่าไร เวลาเสียใจก็ปล่อยโฮ ๆ ๆ ไม่ยั้งเท่านั้น ท่านว่าคนไหนเวลาดีใจแสดงอาการดีใจสุดขีด เวลาเสียใจก็จะมีอาการเสียใจสุดขีดทำนองเดียวกัน

           ถ้าจะให้ดี ท่านแนะว่า จะยิ้ม จะหัวเราะก็ยั้งไว้แค่มุมปากข้างเดียว ส่วนอีกข้างให้ขยักเอาไว้ก่อน เผื่อเวลาถูกด่า เวลาเสียใจ จะได้ปรับยิ้มรับได้ โบราณท่านว่าไว้อย่างนี้ ส่วนจะยิ้มมุมปากเดียวหรือหัวเราะมุมปากเดียวได้อย่างไรก็ลองไปทำดู

           เรื่องนี้ขอฝากไว้เป็นหลักในการดูคน เวลารับลูกน้องมาทำงานด้วยหรือแม้จะไปอยู่กับลูกพี่คนไหนก็ตาม ให้สังเกตว่า ถ้าลูกพี่ลูกน้องคนไหนมีอาการสุดโต่งอย่างว่า คือ ดีใจก็ปล่อยฮ่า ๆ ออกมาเต็มที่ ให้รู้ไว้เลยว่าเจ้านี่เป็นคนเจ้าอารมณ์ คุมสติไม่อยู่ เวลาเสียใจหรือตกใจจะมีอาการสุดขีด ไม่สมประดี ปลอบยาก งานการเสียหายหมด เอาเป็นหลักไม่ได้เลย

           ถ้าคนไหนเวลาดีใจก็แค่หัวเราะหึ ๆ ยิ้มนิด ๆ เวลาเสียใจก็พอจะหวังได้ว่าต้องเป็นทำนองเดียวกัน คือ ไม่ถึงกับตีโพยตีพายให้เสียขบวน คนอย่างนี้น่าคบ น่าทำงานด้วย

           ใครเคยมีอาการดีใจหรือเสียใจสุดโต่งอย่างนี้ให้รีบแก้ไขเสีย ปรับให้พอดี ๆ ยิ่งเป็นสาวเป็นนางยิ่งต้องระวัง ขืนไปหัวเราะฮ่า ๆ โชว์หมด ๓๒ ซี่ที่บ้านใครเข้า จะไม่งามนะลูก แม้พวกเราผู้ชายก็เหมือนกัน ต้องระวัง

          เคยเจอตอนหนุ่ม ๆ เข้าร้านอาหาร ก็ล้อมวงกินอาหารกันอยู่ดี ๆ วงใครวงท่าน พอเหล้ายาปลาปิ้งเข้าปากได้ที่ ถูกใจขึ้นมาก็ฮ่า ๆ ตามแบบฉบับอย่างนั้น วงอื่น ๆ เหลียวมามองทั้งร้าน มองกันไปมองกันมา พอใกล้จะปิดร้านก็ได้เรื่อง เสียงวงข้าง ๆ แขวะขึ้นมาลอย ๆ ว่า “ไม่รู้เป็นไง คืนไหนไม่ได้เตะคน นอนไม่หลับ” เพื่อนวงเราก็ไม่เบา สอดรับขึ้นทันควัน เหมือนกันเลยพวก คืนไหนไม่ได้โดนเตะ อั๊วก็นอนไม่หลับเหมือนกันเท่านั้นแหละ ว่ากันเละหามไปทั้งคู่เลย

          ตอนนั้นยังเป็นวัยรุ่น คิดว่าหัวเราะกับเพื่อนของเราตรงนี้ไม่เกี่ยวกับใคร ทำไมจะต้องมาเขม่นเราด้วย ก็นั่นแหละ เขากำลังปรึกษางานการอะไรกันคร่ำเคร่ง เราก็แหกปากหัวเราะฮ่า ๆ แทรกขึ้นมา ทำให้เขารำคาญ แล้วยังไม่รู้ตัว ก็ต้องโดนอย่างนั้น

          เรื่องอย่างนี้อย่ามองข้าม ฝึกกันให้ดีนะลูก มีอะไรถูกใจก็ยิ้มนิด ๆ หัวเราะก็อย่าให้ปากกว้างมากนัก แค่แย้ม ๆ ก็พอ ถ้าไม่ถูกใจก็แค่หน้าเฉย ๆ อย่าให้ถึงกับหน้าหงิก ทำได้อย่างนี้ก็เท่ากับว่าเรามีสติดีพอสมควรทีเดียว ฝึกสติได้อย่างนี้แล้ว ต่อไปถึงเวลาสมาธิก็ไปได้เร็ว พวกที่ดีใจก็ฮ่า ๆ ๆ เสียใจก็โฮ ๆ ๆ ไม่มียั้ง พวกนี้ฝึกสมาธิไม่ค่อยก้าวหน้าหรอก พอทำท่าจะดี ใจก็แวบไปถึงเรื่องที่เคยถูกใจ ใจก็เตลิดไปอีก นั่งไป ๆ เดี๋ยวเรื่องเก่า ๆ ร้าย ๆ ก็ผุดขึ้นมาอีกแล้ว ทำใจหยุดใจนิ่งไม่ได้สักที

          ส่วนพวกที่มีอะไรก็ยิ้มน้อย ๆ พวกนี้ฝึกสมาธิไปได้เร็ว ใครอยากจะฝึกสมาธิไปได้เร็วก็เลิกหัวเราะเย้ยฟ้าท้าดินแบบนั้นเสียนะ

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

ข้อ ๑๓ - ๑๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

          ข้อนี้ก็ทำนองเดียวกัน พูดเสียงดัง หัวเราะเสียงดัง ล้วนก่อความรำคาญให้เขาทั้งนั้น หรือแม้ไม่มีใครเลยในที่นั้น ก็ยังฟ้องว่าเราเป็นคนเผลอสติอยู่เป็นประจำ เผลอสติอย่างนี้ เมื่อไรจะทำสมาธิได้กับเขาสักที

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

ข้อ ๑๕ - ๑๖ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกายไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

           พวกเราคงเคยเห็น บางคนนั่งคุยกับเพื่อนก็นั่งโยกนั่งโคลง เดี๋ยวก็อย่างนั้นเดี๋ยวก็อย่างนี้ ออกท่าออกทางประกอบจนเกินงาม ถ้าจะพูดให้ชัดก็คือ ทำเหมือนกำลังแสดงละครอยู่หน้าเวทีในชีวิตประจำวัน ใครขืนพูดคุยออกท่าออกทางถึงขนาดนั้น อย่างดีก็เป็นตัวตลกประจำหมู่บ้าน ปะเหมาะเคราะห์ร้ายไปสร้างความรำคาญให้นักเลงเข้าก็จะเจ็บตัว  โดยเฉพาะผู้ชาย ถ้าเข้าไปกินข้าวปลาอาหารในร้านที่มีพวกขี้เมาอยู่ด้วยแล้วออกท่าออกทางมากเกินไป เดี๋ยวเถิดขวดเหล้าลอยมาโดนหัวเมื่อไรไม่รู้นะ

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

ข้อ ๑๗ - ๑๘ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

          ไกวแขนก็คือ แกว่งแขนมากเกินกว่าปกติ แกว่งจนเกินงาม ผู้ชายบางคนเดินกรีดกรายแขน กรีดกรายยิ่งกว่าผู้หญิง เราดูเท่าไรก็ไม่งาม อะไรที่ผิดปกติ ผิดธรรมชาติ ดูแล้วไม่ค่อยงาม คนมาวัดบางคนก็เป็นทั้ง ๆ ที่เป็นผู้ชายแต่เดินเหมือนผู้หญิง แกว่งแขนกระตุ้งกระติ้งมาเชียว อาจเป็นเพราะถูกเลี้ยงดูมาในกลุ่มผู้หญิงหรือมีพี่ผู้หญิงน้องผู้หญิงมาก เลยเอาอย่างกัน อย่างนี้ไม่งาม รีบแก้ไขเสีย แล้วก็อย่าระวังจัดถึงขนาดเดินตัวแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์ไปเสียอีก    กิริยาอาการเหล่านี้ เราเองมักไม่รู้ตัว ต้องอาศัยถามเพื่อนสนิทกัน ขอร้องให้เขาวิจารณ์ตรง ๆ ว่า ท่าเดินของเราเป็นอย่างไร ท่ายืนท่านั่ง ดีหรือไม่ดีอย่างไร แล้วพอเขาตอบตรง ๆ ก็อย่าไปโกรธเขานะ

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , เสขิยวัตร หมวดที่ ๑ สารูป (ข้อ ๙ - ๒๐)

ข้อ ๑๙ - ๒๐ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เราจักไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน - นั่งในบ้าน”

          ในเรื่องของการไม่สั่นศีรษะต้องหัดให้เคย อยู่ในกลุ่มเพื่อนฝูงอาจจะไม่ถือสากัน แต่อยู่ในกลุ่มผู้ใหญ่ถือว่าไม่ดี อย่าไปทำ เวลาท่านถามอะไร จะตอบรับหรือปฏิเสธก็พูดออกมาเลย อย่าพยักหน้าหงึกหงัก อย่าสั่นหัวหรือส่ายหน้าเหมือนพวกกิ้งก่า พวกลิง อย่างนี้ไม่งาม

           เวลายืน เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ เมื่อมีใครเขาเรียกหาก็อย่าเหลียวลอกแลกครึ่ง ๆ กลาง ๆ ถ้าจะเหลียวให้เหลียวทั้งตัว อย่าเอี้ยวแต่คอหรือผินแต่หน้า ถ้าเขาเรียกทางซ้ายก็หันไปทั้งตัวทางซ้าย เรียกทางขวาก็หันไปทั้งตัวทางขวา แม้ที่สุดกลับหลังหันก็ยังไหว ถ้าเอี้ยวแต่คอหรือผินแต่หน้า ตะแคง ๆ คอไปอย่างนั้น เหมือนไม่เต็มใจ ถ้าเขาอารมณ์ไม่ดีจะพาลหาว่าเราค้อนให้ จะเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีก

           ถ้าได้ยินเสียงเรียกยังไม่ชัด ไม่แน่ใจว่าทางซ้ายหรือทางขวา ก็ฟังให้แน่ใจแล้วค่อย ๆ หมุนตัวหันไปทางนั้น อย่าทำหันรีหันขวางสะบัดหน้าไปทางโน้นทีทางนี้ที จะดูหลุกหลิกเสียบุคลิกไป เข้าวัดแล้วหัดให้เคย บางคนชอบเลียนแบบดารา ทำคอตะแคงไปตะแคงมา ถ้าตะแคงแล้วได้เงินก็ตะแคงเข้าไปเถิด แต่ถ้าตะแคงแล้วไม่ได้เงิน อย่าตะแคงเลยนะลูก

 

 

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อทัตตชีโว

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017543991406759 Mins