สถานที่ตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย

วันที่ 26 เมย. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติในชีวิตประจําวัน
ระเบียบปฎิบัติการจัดที่บูชาพระประจําบ้านเรือน

สถานที่ตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฎิบัติการจัดที่บูชาพระประจําบ้านเรือน , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , สถานที่ตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย

     ที่บูชาพระนั้น นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพราะเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นทิศแห่งความสําเร็จความประสงค์ ถ้าสถานที่ไม่อํานวย ก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ถ้าสถานที่ไม่อํานวยก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศใต้ ทิศใดทิศหนึ่ง ในบรรดาทิศทั้ง ๓ นี้

       แต่ไม่นิยมจัดตั้งที่บูชาพระ ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะถือกันว่า เป็นทิศตรงกันข้ามกับทิศตะวันออกซึ่งเป็นทิศแห่งความสําเร็จความประสงค์ ทิศตะวันตกจึงเป็นทิศแห่งความไม่สําเร็จความประสงค์ เป็นทิศอัสดงคตแห่งพระอาทิตย์ เป็นทิศแห่งความดับ เป็นทิศแห่งความเสื่อม ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความไม่เจริญ ไม่รุ่งเรือง

       ที่บูชาพระนั้น นิยมจัดตั้งไว้ทางด้านหัวนอน และจัดให้อยู่ ณ ที่สูงพอสมควร หรือนิยมจัดตั้งไว้ ณ ห้องใดห้องหนึ่งเป็นพิเศษ นิยมเรียกว่า "ห้องพระ" ซึ่งเป็นสถานที่อันเป็นที่เคารพโดยเฉพาะ ทุกคนที่เข้าไป ณ สถานที่นั้น สมควรแสดงความเคารพทุกครั้งที่เข้าไป

      ที่บูชาพระนั้น นิยมจัดตั้งไว้ ณ สถานที่นั้นคงเมื่อคนเดินผ่านไปมา ไม่เกิดความสั่นสะเทือน ไม่โยกโคลง ไม่สั่นคลอนนิยมถือกันสืบมาว่า ถ้าบ้านใดที่บูชาพระไม่มั่นคง สั่นคลอนโยกโคลง พระพุทธรูปต้องสั่นสะเทือนอยู่เป็นนิตย์ คนในบ้านนั้นจะหาความสงบสุขได้ยาก มักจะเกิดความระสําระส่ายเดือดร้อนอยู่ร่ำไป

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021927348772685 Mins