ระเบียบปฏิบัติการจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์

วันที่ 24 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม

ระเบียบปฏิบัติการจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์
 

เครื่องไทยธรรม
         เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่สมควรถวายแก่พระสงฆ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ และสิ่งของที่นับเนื่องในปัจจัย ๔ คือ

         ๑. เครื่องนุ่งห่มประเภทเครื่องผ้าทุกชนิดที่มีสีสมควรแก่พระภิกษุสามเณรใช้สอยได้ ซึ่งมีสีไม่ถูดฉาดบาดตา เป็นของไม่กาววาว เช่น ผ้าลายดอกไม้ เป็นต้น เป็นของไม่สมควรใช้นุ่งห่มสําหรับสมณะ

         ๒. เครื่องขบฉันต่างชนิด ทั้งอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มนานาชนิด ยกเว้นเครื่องดองของเมา เช่น สุราเมรัย และยาเสพย์ติดให้โทษทุกชนิด

         ๓. เครื่องอุปกรณ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมเรียกว่า เครื่องสุขภัณฑ์ ได้แก่ ตู้ เตียง โต๊ะ เก้าอี้ ที่นอน เสื่อ หมอน มุ้ง พรม เป็นต้น รวมทั้งเครื่องชำระมลทินกาย เช่น สบู่ถูตัว ผงซักฟอก แปรงและยาสีฟัน เป็นต้น

         ๔. เครื่องยาบําบัดความป่วยไข้ทุกชนิดและเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย (นํ้าตาล) รวมทั้งหมาก พลู บุหรี่ ชา เป็นต้น


สิ่งของที่ประเคนถวายพระได้เวลาเช้าชั่วเที่ยง
         เครื่องไทยธรรมประเภทอาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น

         ๑. อาหารสด ได้แก่ อาหารคาวและหวาน รวมทั้งผลไม้ทุกชนิด

         ๒. อาหารแห้ง ได้แก่ เครื่องเสบียงกรังทุกชนิด เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ข้าวสาร เป็นต้น

         ๓. อาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น นม โอวัลติน เป็นต้น

         สิ่งของเหล่านี้ทั้งหมด นิยมประเคนถวายพระสงฆ์ได้เฉพาะเช้าชั่วเที่ยงเท่านั้น เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว มีพระวินัยพุทธบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์รับประเคน ถ้ารับประเคนต้องอาบัติโทษ

         ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ไนเวลาหลังเที่ยงวันไปแล้ว นิยมเพียงแต่แจ้งให้พระภิกษุรับทราบ แล้วมอบสิ่งของเหล่านั้นให้ไว้แก่ศิษย์ของท่าน ให้ศิษย์เก็บรักษาไว้นำถวายท่านในวันต่อไป


สิ่งของที่ประเคนถวายพระได้ตลอดเวลา
        ส่วนเครื่องไทยธรรมนอกจากประเภทอาหารดังกล่าวแล้ว เช่น ประเภทเครื่องดื่มทุกชนิด ประเภทเครื่องยาบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิด และประเภทเภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หมากพลู บุหรี่ หรือสิ่งของที่ไม่ใช่ของสำหรับขบฉันนิยมประเคนถวายพระสงฆ์ได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อกำหนดห้าม


สิ่งของที่ทรงห้ามมิให้พระภิกษุจับต้อง
         สิ่งของที่ทรงห้ามมีให้พระภิกษุสงฆ์จับต้องเรียกว่า "วัตถุอนามาส" ไต้แก่ วัตถุสิ่งของดังต่อไปนี้

         ๑. ผู้หญิง รวมทั้งเครื่องแต่งกายหญิง รูปภาพหญิง หรือรูปปั้นของผู้หญิงทุกชนิด

         ๒. รัตนะ ๑๐ ประการ คือ ทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ (ที่เลี่ยมทอง) ศิลา เช่น หยก และโมรา เป็นต้น

         ๓. เครื่องศาสตราวุธทุกชนิด อันเป็นเครื่องทำลายชีวิต

         ๔. เครื่องดักสัตว์บกและสัตว์นั้าทุกชนิด

         ๕. เครื่องประโคมดนตรีทุกอย่าง

         ๖. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่กับที่

         สิ่งของที่เป็นวัตถุอนามาสเหล่านี้ทุกชนิด ไม่นิยมนําไปประเคนถวายพระภิกษุ เพราะผิดพระวินัยพุทธบัญญัติทําให้พระภิกษุต้องอาบัติโทษ


สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนถวายพระสงฆ์
         สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนถวายพระ ได้แก่ รูปิยะ คือ เงิน และวัตถุสําหรับใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร เป็นต้น ไม่นิยมประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์โดยตรง เพราะผิดพระวินัยพุทธบัญญัติ ถ้าพระภิกษุสงฆ์รับประเคนต้องอาบัติโทษ

         ในการถวายบัจจัยนั้น นิยมใช้ใบปวารณาแทนตัวเงินส่วนตัวเงิน นิยมมอบไว้กับไวยาวัจกรของพระภิกษุนั้นโดยเขียนใบปวารณาถวายบัจจัย ดังนี้


ตัวอย่างในการเขียนใบปวารณาถวายปัจจัย

       ข้าพเจ้าขอน้อมถวายบัจจัย ๔ แด่พระคุณเจ้า เป็นมูลค่าเท่าราคา บาท สตางค์ ได้มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของพระคุณเจ้าแล้ว หากพระคุณเจ้ามีความประสงค์จํานงหมายสิ่งใด อันควรแก่สมณบริโภค โปรดเรียกร้องได้จากไวยาวัจกรของพระคุณเจ้านั้น เทอญ

 

(ลงนาม)................................ผู้ถวาย
วันที่.....................เดือน..............พ.ศ. .......................

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011907974878947 Mins