๑ การให้ทาน เป็นความดีจริง ควรกระทำ

วันที่ 24 มีค. พ.ศ.2563

๑ การให้ทาน เป็นความดีจริง ควรกระทำ


                  เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้วต้องปันกันกิน ปันกันใช้ ถ้าภาษาพระเราคุ้นกันมาแล้ว คือคำว่า ทาน แต่เรามักแปล เป็นอย่างอื่นเสีย และพอนึกถึงทานเข้าทีไร นึกออกแต่ ตักบาตร ทาน คือ ปันกันกิน ปันกินใช้ ถ้าจะว่าอีกทีหนึ่งคือการแบ่ง  หรือแชรค์วามสุข หรือกระจายความสุขให้ทั่วหน้ากัน

 

                พระพุทธองค์ไม่ทรงสอนหรอกว่า "นี่คุณ หาความสุข เข้าตัวเองคนเดียวนะ"  ไม่ใช่  พอพระพุทธองค์ทรงเริ่มต้น สอน  ก็ทรงสอนให้แบ่งความสุขให้ทั่วหน้ากันแล้ว  นี่คือ คำสอนขั้นต้นเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ แต่ทว่าเนื่องจากพวกเราไม่ค่อยได้มีโอกาสไปอ่าน พระไตรปิฎก เวลาพระภิกษุหรือผู้ที่คุ้นเคยอยู่กับวัดพูดถึง คำว่า "ทาน"  เราก็เลยตีความกันสั้นไปหน่อย

 

               เพราะฉะนั้น ขอขยายความนิดหนึ่ง เพราะนี่เป็น พื้นฐานของสัมมาทิฏฐิที่เดียว ทานในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 รูปแบบใหญ่ ๆ

 

                ๑. การให้สิ่งของเป็นทาน พวกสิ่งของทั้งหลายได้แก่ ข้าวปลาอาหาร ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีศัพท์ให้โดยเฉพาะด้วย ท่านใช้คำว่า อามิสทาน เรื่องนี้ เรารู้กันโดยทั่วไปแล้ว

               ๒. ให้ความรู้เป็นทาน ถ้าให้ความรู้เกี่ยวกับทางโลกทั่วๆไป เราเรียกว่า วิทยาทาน ถ้าเกี่ยวกับธรรมะ อย่างที่กำลังให้อยู่นี้เราเรียกว่า ธรรมทาน นี้เป็นทานประเภทที่สอง

               ๓. อภัยทาน ลองถามตัวเองกันบ้าง ขณะนี้ยังเคืองใครอยู่บ้างไหม? ไม่มีนะ สาธุ ! ขอให้จำเริญเถอะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้เอาไว้เลยว่า ก้าวแรก ของผู้นำทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นนักบริหาร นักปกครอง

 

                มีสัมมาทิฏฐิประการแรกเลย ได้แก่ ทาน คือ แบ่งปัน ความสุขกันให้ทั่วหน้า อย่างน้อยก็ในสามรูปแบบนี้ ซึ่งเรื่อง นี้ว่าที่จริงแล้ว เราเคยทำกันมาทั้งนั้น  เพียงแต่ว่าบางครั้ง แบ่งหมวดหมู่ไม่ถูก ก็ถือว่าเป็นการทบทวน เพราะนั่น เป็นความสว่างในใจขั้นต้นของมนุษยชาติคือ การปันกันกิน ปันกันใช้ หรือแบ่งความสุขให้กัน

 

จากหนังสือ สัมมาทิฏฐิ รากฐานการพัฒนาชีวิต

                                                                                 โดยคุณครูไม่เล็ก
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018552501996358 Mins