ความสัมพันธ์ระหว่างโรค ๖ ประจำกาย กับโรค ๓ ประจำใจ

วันที่ 29 มีค. พ.ศ.2564

ความสัมพันธ์ระหว่างโรค ๖ ประจำกาย กับโรค ๓ ประจำใจ

 

640329_b.jpg


                   ๑. โรคหนาว-ร้อนประจำกาย ไม่ว่าโรคหนาว-ร้อนประจำกายจะมีสาเหตุมาจากอากาศ ภายนอก หรือจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายตนเอง ล้วน บังคับให้ทุกคนต้องการ ๓ สิ่งต่อไปนี้


                            ๑) ต้องการอากาศบริสุทธิ์ ที่ไม่เย็นไม่ร้อนจนเกินไปสำหรับ หายใจ


                            ๒) ต้องการเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย เพื่อให้ ความอบอุ่นต่อร่างกาย


                             แต่ทั้ง ๒ ประการนี้ มีทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ สิ่งใดที่ถูกใจและ ตนเองก็ไม่รู้ประมาณ ก็อยากจะได้มาก ๆ ไว้ก่อน แม้จะต้อง แย่งชิงกันก็ยอม โรคโลภะก็จะกำเริบขึ้นมา ความไม่พอใจคู่ต่อสู้ ที่แย่งชิงก็เกิดขึ้น ถึงกับทำร้ายกัน โรคโทสะก็จะกำเริบขึ้นมา หรือ ถ้าไม่ถูกใจเสื้อผ้าและบ้านเรือนนั้น ก็อาจรังเกียจ หงุดหงิด คิดทำลาย รื้อทิ้ง โรคโมหะก็กำเริบขึ้นมา

                            ๓) ต้องการกัลยาณมิตรชี้แนะให้เห็นตรงความจริงว่า วัตถุประสงค์หลักของเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม มีไว้เพื่อ ป้องกันความหนาว-ร้อน อันเป็นเหตุให้ป่วยไข้ได้ 


                            วัตถุประสงค์รอง มีไว้บำบัดสัมผัสอันตรายจากเหลือบ ยุง ริ้น ไร แมลงไต่ตอม ลมแดด สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้ง เพื่อปกปิดอวัยวะกันอาย


                             หากมุ่ง นุ่ง ห่ม อวดสวย อวดงาม อวดเด่น อวดดัง อวดร่ำรวย เมื่อไร แสดงว่าโรคโมหะกำลังกำเริบครอบงำ ทำให้ใจขุ่นขึ้น ๆ ยาก ที่จะเห็นความจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นยิ่ง ๆ ขึ้นไป


                            ในทำนองเดียวกัน วัตถุประสงค์หลักของบ้านที่อยู่อาศัย ก็เพื่อใช้บำบัดความหนาว ความร้อน อันเป็นเหตุให้ป่วยไข้


                            วัตถุประสงค์รอง เพื่อบำบัดสัมผัสอันตรายจากเหลือบ ยุง ริ้น ไร ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน เพื่อบรรเทา อันตรายจากดิน ฟ้า อากาศ และเพื่อเป็นที่ประกอบธุรกิจการงาน


                            หากใช้ผิดวัตถุประสงค์ โรคโมหะก็กำเริบ หากไม่รู้จักพอ ยินดีที่จะได้มาในทางไม่ชอบ โรคโลภะก็กำเริบ หากไม่พอใจถึงกับ ทุบทำลาย กระทบกระทั่งผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมเสียหาย โรคโทสะ ก็กำเริบ

 

                  ๒. โรคหิว-กระหายประจำกาย


                 โรคหิว-กระหายเป็นโรคที่เกิดจากการเรียกร้องของร่างกายว่า บัดนี้ร่างกายต้องการอาหารและน่ำไปสร้างพลังงานแล้ว


                            ๑) เพื่อเป็นไออุ่นเลี้ยงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้


                            ๒) เพื่อสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต


                            ๓) เพื่อซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ


                            ๔) เพื่อต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ


                            ๕) เพื่อเคลื่อนไหวและทำการงานต่าง ๆ


                             หากกินดื่มเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อมีเรี่ยวแรงเที่ยวเตร่ เฮฮา เล่นสนุก เมาพลัง มุ่งให้รูปร่างทรวดทรงงาม ผิวพรรณงาม ฯลฯ แสดงว่า โรคโมหะเริ่มกำเริบแล้ว หากกินดื่มไม่รู้ประมาณ เห็นแก่กิน หวงกิน กินดื่มร่วมกับใครก็เอาเปรียบเขา แสดงว่า โรคโลภะกำเริบ หากกินดื่มทีไร ก็ต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอามาบำรุงบำเรอเป็นการใหญ่ แสดงว่า โรคโทสะกำเริบ


                             ยิ่งกว่านั้น การกินดื่มโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มุ่งแต่ความเอร็ดอร่อย การกินดื่มไม่เป็นเวลา ฟุ่มเฟือย ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ การกำจัดขยะจากเศษวัตถุดิบประกอบอาหารและเศษอาหาร ที่เหลือไม่ถูกวิธี อันเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ย่อมนำมาซึ่งปัญหา เศรษฐกิจและสังคมไม่รู้จบ ที่อันตรายอย่างยิ่ง คือ เพาะนิสัยมักง่าย และไร้ระเบียบวินัยนานาชนิดให้แก่ผู้นั้น

 

                   ๓. โรคปวดอุจจาระ-ปัสสาวะประจำกาย


                           ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ คือ กากอาหารและเครื่องดื่มที่ รับประทานเข้าไปเพื่อสร้างพลังงานเลี้ยงชีวิต ซึ่งแน่นอนย่อมสกปรก เน่าเหม็น และน่ารังเกียจทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้นหากเป็นอุจจาระปัสสาวะ ของผู้เป็นโรคติดต่อ ย่อมมีอันตรายร้ายแรงแฝงอยู่ พร้อมทำลาย ล้างชีวิตคนทั้งโลกอีกด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก


                          • การไม่เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม


                          • การไม่รู้ประมาณในการรับประทานอาหาร


                          • การขาดวินัยในการรับประทานอาหารทั้งพร่ำเพรื่อไม่ตรงเวลา


                          • การควบคุมโรคหนาว-ร้อน หิว-กระหายไม่ได้
                                             

                                                    ฯลฯ


                         เหล่านี้ย่อมทำให้การขับถ่ายไม่สะดวก ความปวดเจ็บขณะ ขับถ่ายอาจรุนแรง ตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดรุมเร้า อารมณ์ จึงเสียง่าย ค่าใช้จ่ายก็เปลืองตาม ตลอดชีวิตย่อมถูกโรคใจทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะรุมเร้าเข้ามาอย่างไม่ควรจะเป็น


                         หากควบคุมโรค ๖ ประจำกายได้ถูกต้องตรงต่อความจริง ด้วยการรีบปฏิบัติสัจจะที่ต้องรีบประพฤติ ให้ตนเองมีนิสัยรัก ทำความสะอาดและจัดระเบียบสิ่งแวดล้อม ๕ ด้วยตนเอง ย่อมเป็นผู้มีนิสัยช่างสังเกตและรู้ประมาณในปัจจัย ๔ และสิ่งที่

 

                         เกี่ยวข้อง สัจจะต่อความดีก็จะเพิ่มขึ้นในใจ ช่วยให้เห็นความจริง ชัดว่า เราจะมัวเสียเวลาอยู่ไยกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ อันน่าใคร่ของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องดื่ม คน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ ทำไมไม่เอาแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ แรงความรู้ และเวลาชีวิต เช่น

 

                           ไปทุ่มทำสิ่งที่มีคุณค่าให้สุดชีวิต เช่น ไปทุ่มทำทาน สละแบ่งปันให้แก่ผู้สมควร เพื่อกำจัดโลภะ


                           ไปทุ่มสอนตนเองว่า สิ่งใดที่เราไม่ชอบก็อย่าไปทำสิ่งนั้น กับใครให้เขาเดือดร้อน เพื่อกำจัดโทสะ


                           ไปทุ่มเจริญสมาธิภาวนา รักษาใจให้หยุดนิ่งอยู่กลางกาย เพื่อกำจัดโมหะ

 

 

   การควบคุมโรค ๖ ประจำกายได้ถูกต้อง

 

   ตรงต่อความจริง ย่อมทำให้มีนิสัย

 

ช่างสังเกต รู้ประมาณในปัจจัย ๔

 

สัจจะต่อความดีก็จะเพิ่มขึ้นในใจ


แล้วทุ่มกำจัดโลภะ โทสะ โมหะอย่างสุดชีวิต

 

 

สัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

พระเผด็จ ทตฺตชีโว

คณะวิพากษ์ คณะจัดทำต้นฉบับและหนังสือ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.004681118329366 Mins