ความรู้เรื่อง "ทาน" ๔.องค์ของการให้

วันที่ 21 พค. พ.ศ.2564

22-5-64-1-b.jpg

๔. องค์ของการให้
         องค์ของการให้ หรือเรียกว่า ทานสมบัติ ที่จะทำให้ทานนั้นได้บุญมาก ผูไห้จะต้องทำให้
ครบด้วยองค์ทั้ง ๓ คือ
๔.๑) วัตถบริสุทธิ์
๔.๒) เจตนาบริสุทธิ์
๔๓) บุคคลบริสุทธิ์

๔.๑) วัตถบริสุทธิ์ หมายถึง สิ่งของที่จะบริจาคทาน จะเป็นอะไรก็ตาม จะซื้อเขามาหรือขอ
เขามาก็ได้ แต่ต้องเป็นสิ่งของที่เราทำมาหาได้โดยสุจริต ไม่ได้ลักขโมย คดโกง เบียดเบียน หรือหลอกลวง
เขามา ถ้าเป็นของซื้อ เงินที่ซื้อจะต้องเป็นเงินที่เราทำมาหากินได้โดยสุจริตธรรม ทานนี้จึงจะชื่อว่าบริสุทธิ์

๔.๒) เจตนาบริสุทธิ์ หมายถึง เจตนาของผูที่ให้จะต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งให้เกิด
ความดีงาม ให้ใจใส ใจสะอาด ไม่ได้ให้เพื่ออวดมั่งมี อวดรวย อวดดี หรือโอ้อวด อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นต้น เพราะการให้เช่นนั้นจะเป็นการให้ที่มีเจตนาเห็นแก่ตัว ทำไปแล้วใจจะไม่สบาย ใจไม่บริสุทธิ์

           ในข้อนี้จะเห็นว่าการให้สังฆทานเป็นการให้ทานที่มีผลสูงสุด เพราะผู้ให้ตัดเจตนาเห็นแก่
ตัวออกไปทั้งหมด ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของการให้ทานอย่างแท้จริง

เจตนาบริสุทธิ์เต็มที่จะต้องบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล คือ
- ปุพพเจตนา หมายถึง เจตนาก่อนที่จะให้ทาน เช่น ตั้งใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะตักบาตร
ก็มีความดีใจ ปลื้มใจ ปีติใจว่าเราจะได้ทำบุญด้วยการให้ทาน
- มุญจนเจตนา หมายถึง เจตนาในขณะที่ให้ เช่น ในเวลาตักบาตร ก็มีใจเลื่อมใส
ยินดีที่ได้ทำ เต็มอกเต็มใจถวายทานนั้น ทั้งไม่ยอมให้อารมณ์ขุ่นมัวเกิดขึ้นในขณะที่
ทำเลย
- อปราปรเจตนา หมายถึง เจตนาหลังจากที่ให้แล้ว เช่น หลังจากตักบาตรเรียบร้อย
แล้ว มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบานใจ นึกถึงบุญเมื่อใดก็มีความสุขใจเมื่อนั้น ไม่มี
ความร้อนใจหรือนึกเสียดายสิ่งที่ใหไปแล้ว


อานิสงส์ของเจตนาบริสุทธิ์
ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลใน
ภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ ๒๕ ปี) ของผู้นั้นพบแต่ความสมบูรณ์พูนสุข เพียบพร้อม
ไปด้วยสิ่งที่ดีงาม

ผู้ใดขณะที่ให้ทานเกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลใน
ภพชาติหน้า ให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (อายุ ๒๖-๕๐ ปี) ของผู้นั้นพบกับความสุข ความสบาย บริบูรณ์ด้วย
โภคทร้พย์สมปติ

ผู้ใดหลังจากที่ให้แล้วเกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์)
อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัยของผู้นั้น (อายุ ๕๑ ปีขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วย
ความสุข สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่เป็นเครษฐีที่มี
ความตระหนี่ถี่เหนียว

เมื่อผู้ใดมีเจตนาบริสุทธิ์ครบทั้ง ๓ ระยะอย่างนี้ ย่อมไดีบุญมาก มความสุขสมบูรณตลอด
ชีวิต

๔.๓) บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง บุคคลสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทานนั้น คือ ผู้ให้และผู้รับ
ต้องเป็นคนที่บริสุทธิ์ ทายก (ผู้ให้) ต้องเป็นผู้มีศีลธรรม ฉะนั้น ก่อนถวายทานจึงมีประเพณีสมาทานศีล
ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิคาหก (ผู้รับ) ต้องมีศีลาจารวัตรงดงาม มีคุณธรรมสูง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสอุปมาไว้ใน ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ว่า

ภิกษุสงฆ์(ปฏิคาหก) เปรียบเหมือน "นา"
ผู้ถวาย (ทายก) เปรียบเหมือน "ชาวนา"
สิ่งของที่ถวาย เปรียบเหมือน "พืช"

เมื่อชาวนาหว่านพืชลงในนาที่ดี ผลย่อมไพบูลย์ คือ มีผลมาก ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงทรงสอนให้พิจารณาถึงนาบุญหรือบุญเขต

ถ้าจะนิมนต์พระเจาะจง คือ เป็นปาฏิปุคคลิกทาน ก็ให้พิจารณานิมนต์พระที่เคร่งครัด
สิกขาวินัย น่าเลื่อมใส ถ้าจะไม่นิมนต์พระเจาะจง คือ เป็นสังฆทาน ก็ให้พิจารณานิมนต์จากหมู่ที่ประพฤติ
สิกขาวินัยเคร่งครัดก่อน แล้วจึงให้

ดังพระบาลีว่า วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ - การให้ด้วยพิจารณา พระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นต้น
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015701174736023 Mins