การกล่าวบท สัมโมทนียกถา ของคณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย

วันที่ 21 พย. พ.ศ.2566

66.jpg

การกล่าวบทสัมโมทนียกถา ของคณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย


                การกล่าวสัมโมทนียกถาของคณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย ได้นำธรรมะจากพระไตรปิฎกและคำสอนของครูอาจารย์มาเรียบเรียงเป็นแบบอย่างให้กับพระภิกษุ สามเณรใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ และได้จัดขั้นตอนรวมทั้งข้อปฏิบัติในการกล่าวสัมโมทนียกถาไว้ ดังนี้


๑. ขั้นตอนการกล่าวสัมโมทนียกถา
               การกล่าวสัมโมทนียกถาก็เพื่อยังความปีติ เบิกบานใจ ประทับใจ เพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแก่เจ้าภาพผู้เป็นทานบดี เป็นการรักษาบุญหลังจากได้ถวายทานไปแล้ว ให้เกิดความชุ่มชื่นใจ และทำให้ทานบดีเกิดแรงบันดาจใจที่จะสั่งสมบุญบารมีอย่างต่อเนื่องให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป


              ดังนั้น ก่อนที่จะเชิญชวนให้เจ้าภาพกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศล และรับพรพระ มีขั้นตอนการกล่าวสัมโมทนียกถาอยู่ ๔ ขั้นตอน คือ


๑.๑ ทักทาย
๑.๒ กล่าวสัมโมทนียกถา
๑.๓ อำนวยพร
๑.๔ สวดมนต์ให้พร


               โดยมีรายละเอียดดังนี้


๑.๑ ตัวอย่างบททักทาย
               เจริญพรท่านทานบดีทุกท่าน ก่อนที่จะได้รับพรพระตามอริยประเพณีสืบต่อไปนั้น ขอเรียนเชิญทุกท่าน หลับตารวมใจ ตามระลึกนึกถึงบุญกุศลที่เราตั้งใจ จัดเตรียมปัจจัยไทยธรรม มารักษาศีล และถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานในวันนี้สักครู่หนึ่งนะ



๑.๒ ตัวอย่างบทสัมโมทนียกถา หน้า ๑๗-๒๕๕


๑.๓ ตัวอย่างบทอำนวยพรคณะสงฆ์ จึงขออนุโมทนาสาธุการ ในจิตอันเป็นกุศล ที่ท่านทานบดีทั้งหลาย ได้ตั้งใจมาถวายภัตตาหารในวันนี้


                 พร้อมกันนี้ คณะสงฆ์จะได้พร้อมใจกัน ตั้งจิตอธิษฐาน อาราธนาบารมีธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันตเจ้าทั้งปวง ตลอดจนบารมีธรรมของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย บารมีธรรมของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ ณ อาวาสแห่งนี้ บารมีธรรมของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ ผู้เป็นครูบาอาจารย์ของพวกเราทั้งหลาย บารมีธรรมของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย
รวมทั้งอำนาจทานกุศล ที่ท่านทานบดีทั้งหลาย ได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้วในอดีตและได้กระทำในวันนี้


                 ขออำนาจบารมีธรรมทั้งหลายเหล่านี้ จงประมวลรวมกันเข้า ให้เป็นตบะ เดชะ พลวะปัจจัย ส่งผลดลบันดาลอภิบาล คุ้มครอง ปกป้อง รักษา ให้ท่านทานบดีทั้งหลาย จงเป็นผู้ปราศจากเสียซึ่ง สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย อุปัทวันตรายใดๆ อย่าได้มาพ้องพาล ให้มีความสุขความเจริญยิ่งยืนนาน ในร่มเงาบวรของพระพุทธศาสนา ให้เจริญยิ่งด้วยอายุวรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารบริวารสมบัติ
ปรารถนาสิ่งใดอันเป็นไปในทางที่ชอบ ประกอบด้วยกุศล ขอให้สัมฤทธิผลดังกมล ที่มุ่งมาดปรารถนาไว้ดีแล้ว ตั้งใจไว้ดีแล้วจงทุกประการ


                 อนึ่ง เมื่อถึงคราวเจริญสมาธิภาวนา ให้มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงพระธรรมกายได้โดยง่าย บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย โดยเร็วพลัน จงทุกท่านทุกประการเทอญ.


๑.๔ สวดมนต์ให้พร
                  บทสวดมนต์ให้พรประจำ กรณีให้พรที่หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง โดยมีเจ้าภาพหลาย ๆ คณะ ควรใช้บทกลาง ๆ ไม่เจาะจงเจ้าภาพคณะใดคณะหนึ่ง

                 หลังฉันเช้า สัพพโร... ฯลฯ

 

บทนำ บทต่อ ๑ บทต่อ ๒

ยถา วาริวหา...

ฯลฯ

สพฺพีติโย...ฯลฯ

อายุโท...ฯลฯ หรือ

อคฺคโตเว... ฯลฯ

รตนตฺตยา... ฯลฯ

ภวตุ... ฯลฯ

  สพฺพพุทฺธานุภาเวน... ฯลฯ ภวตุ... ฯลฯ


หลังฉันเพล ประกอบด้วยบทให้พรในวาระโอกาสพิเศษไปฉันนอกวัด เช่น กรณีเจ้าภาพเจาะจงนิมนต์เป็นคณะใดคณะหนึ่ง ควรให้พรตามลักษณะของงานที่เจ้าภาพนิมนต์


บท ยสฺมิง ปเทเส... ฯลฯ นิยมใช้ในโอกาสทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เปิดที่ทํางานใหม่


บท โส อตฺถลทฺโธ... สา อตฺถลทฺธา... เต อตุถลทฺธา...ฯลฯ นิยมใช้ในโอกาสทำบุญวันคล้ายวันเกิด


บท อมาสิเม... ฯลฯ นิยมใช้ในโอกาสทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (กรณีที่ยังไม่เผา)


บท อยญฺจโข... ฯลฯ นิยมใช้ในโอกาสทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย (กรณีที่เผาหรือฝังแล้ว )


๒. ข้อปฏิบัติในการกล่าวสัมโมทนียกถา


๒.๑ นั่งพับเพียบ มือทั้งสองวางที่หน้าตัก


๒.๒ จัดไมค์ให้อยู่ในตำแหน่งระดับคาง ห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ ไม่เกิน ๑ คืบ (สังเกตความดังของเสียง)


๒.๓ เชิญชวนเจ้าภาพให้หลับตา จรดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตามนึกถึงบุญ


๒.๔ กล่าวสัมโมทนียกถาด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ ถ้อยคำชัดเจน อักขระถูกต้อง เว้นจังหวะให้เหมาะสม


๒.๕ กล่าวสัมโมทนียกถาเสร็จแล้ว เชิญชวนให้เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล และรับพรพระ (ไม่ใช้คําว่า เป็นภาษาบาลี)


๒.๖ ผู้รับสัพพี ฯ ให้ซ้อมใช้ระดับเสียงที่พอดีอย่าให้เสียงสูงหรือต่ำเกินไป


๒.๗ สวดมนต์ให้พรเสร็จ พิธีกรนำเจ้าภาพ กราบคณะสงฆ์แล้ว กล่าว.....



๒.๗.๑ อนุโมทนาบุญกับเจ้าภาพ


๒.๗.๒ เชิญชวนเจ้าภาพรับประทานอาหาร


๒.๗.๓ ลาเจ้าภาพไปปฏิบัติศาสนกิจ


๓. ข้อควรระวังในการกล่าวสัมโมทนียกถา


๓.๑ หากเสียงเบาเกินไป ต้องขยับไมค์ให้ใกล้ปากมากขึ้นทันที ต้องระลึกเสมอว่า แม้บทกล่าวจะดีเพียงใด แต่ผู้ฟังได้ยินไม่ชัดเจน พูดก็เหมือนไม่ได้พูด


๓.๒ การออกเสียงอักขระ “ร, ล” มักผิดพลาดบ่อยๆ ควรฝึกออกเสียงมาก่อน


๓.๓ พระภิกษุต้นเสียงรับ “สพฺพี” ต้องคัดเลือกผู้มีระดับเสียงไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป เพราะจะทำให้คณะสงฆ์ได้รับความลำบากในการสวดมนต์ ทั้งไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมในของผู้ฟัง


๓.๔ เมื่อจะลาเจ้าภาพไปปฏิบัติศาสนกิจ ให้ใช้คำว่า “ลา” ไม่นิยมใช้คำว่า “ขอโอกาส”

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.041185200214386 Mins