ทำไมพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจึงมักถูกเบียดเบียน

วันที่ 04 เมย. พ.ศ.2567

4-4-67--1.JPG

ทำไมพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนาจึงมักจะ
ถูกเบียดเบียนครับ


                  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สนับสนุนให้หมู่ภิกษุสงฆ์ใช้ความรุนแรงในทุกกรณี จะกล่าวอ้างว่าทำเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะการรบราฆ่าฟันกันถือว่าผิดศีล ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ห้ามฆ่า ห้ามทําร้ายกัน


                   บางคนมีมุมมองว่าพระพุทธศาสนาอ่อนแอ ยอมให้คนอื่นข่มเหง ไม่ลุกขึ้น มาคว้าดาบปกป้องตนเอง หรือต่อสู้กับใครเลย ยกตัวอย่างสงครามครูเสด ที่เป็นสงครามศาสนารบรากันยาวนานถึง 200 ปี เพื่อแย่งชิงเมืองยารูซาเลม จากกองทัพคริสเตียนที่ยกกําลังไปรบกับมุสลิมตะวันออกกลาง มีความเด็ดเดี่ยว +เด็ดขาด และถึงอกถึงใจ


                   แตกต่างจากพระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านำความจริงมาสอน เราโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ แต่พระองค์ตั้งใจบำเพ็ญเพียรมาอย่างยาวนานถึงยี่สิบอสงไขยกับแสนมหากัป จนกระทั่งตรัสรู้ธรรม เพื่อนําความจริงของโลกและชีวิตมาสอนพวกเราชาวพุทธให้ได้รู้ว่า อะไรคือบาป อะไรคือบุญ ส่งเสริมให้เราหลีกเลี่ยงการสร้างบาป ส่งเสริมสร้างบุญกุศลให้มากเพื่อพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดที่เป็นทุกข์ ดับกิเลสแล้วเข้าถึงพระนิพพานได้

4-4-67--2.JPG


                    พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามุ่งสอนความจริงเพื่อให้ชาวโลกทั้งหลายพ้นทุกข์ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อทําให้พระพุทธศาสนายิ่งใหญ่เลย เพราะฉะนั้น การฆ่าเป็นบาป ไม่ว่าจะฆ่าด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ถึงแม้การฆ่านั้นเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาก็ไม่ถูกต้อง

4-4-67--3.JPG
                   ความจริงแล้ว หากพระพุทธศาสนาอ่อนแอจะอยู่มาได้จนปัจจุบันยาวนานถึง 2,500 กว่าปี ได้อย่างไร ในความอ่อนนั้นมีความแข็งแกร่งอยู่ คือพระพุทธศาสนานุ่มนวลเหมือนสายน้าที่พอไหลไปกระทบหิน ก็ไม่ได้กระแทกหินให้หลุด แต่น้ำจะไหลวนอ้อมไปตามรูปทรงของหินผา แต่มีทิศทางที่แน่วแน่ คือ ไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำ ไม่สร้างแรงกระทบกระเทือน ไม่สร้างความขัดแย้ง นี่คือจุดเด่นของพระพุทธศาสนา


                      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "พระพุทธศาสนาจะยังมั่นคงตราบที่พุทธบริษัท 4 ยังรักการปฏิบัติธรรม" ถ้าเราชาวพุทธทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรม แล้วช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะเข้มแข็ง ไม่มีใครสามารถทําลายได้


                     ให้เราย้อนกลับมาพิจารณาตนเองว่า เราทําหน้าที่กัลยาณมิตรดีพอหรือยัง หมั่นชักชวนคนอื่นมาทำความดีร่วมกันเพิ่มขึ้น ๆ แล้วหรือยัง หากทำได้อย่างนี้พระพุทธศาสนาจะแข็งแรงโดยไม่ต้องไปสร้างวิบากกรรมด้วยการรบราฆ่าฟันกับใครเลย


เจริญพร.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017223902543386 Mins