วิธีการใหม่ในการศึกษากำเนิดพระไตรปิฎก

วันที่ 13 สค. พ.ศ.2567

2567%2008%2013b.jpg

 

วิธีการใหม่ในการศึกษากำเนิดพระไตรปิฎก

 

     ดังได้กล่าวไปแล้วว่าในช่วงหลายร้อยปีแรกหลังพุทธกาล พระไตรปิฎกสืบทอดโดยวิธีมุขปาฐะและจารึกเป็นอักขระครั้งแรกราว 400 ปีเศษหลังพุทธกาล เราสามารถกล่าวอย่างแน่นอนได้ว่ามีพระไตรปิฎกในรูปลักษณ์ปัจจุบันก็ราว พ.ศ. 900 เศษในสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ เนื่องจากมีคัมภีร์อรรถกถาเป็นการยืนยัน1)ดังนั้นจึงมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยตั้งข้อสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของการอาศัยข้อความที่มีบันทึกในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานในการวิเคราะห์ถึงกำเนิดของตัวพระไตรปิฎกเองในยุคโบราณอันไกลโพ้นสมัยที่ยังไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเลย


       แม้จะกล่าวว่า พระไตรปิฎกในรูปลักษณ์ปัจจุบันเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยเมื่อ พ.ศ. 900 เศษ แต่เนื้อหาของพระไตรปิฎกนั้นสืบทอดมาจากยุคก่อนหน้านั้น ดังที่ได้วิเคราะห์ถึงกำเนิดของปาติโมกข์และขันธกะ เราสามารถอาศัยเนื้อหาจากพระไตรปิฎกฉบับต่างๆเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ และเมื่ออาศัยการพิจารณาถึงลักษณะพิเศษของพระวินัยและลักษณะพิเศษของการสืบทอดแบบมุขปาฐะแล้ว ก็สามารถทำความกระจ่างถึงกำเนิดพระวินัยปิฎกได้ในระดับหนึ่งทีเดียว การปฏิเสธคุณค่าความหมายของการอาศัยข้อความในพระไตรปิฎกมาวิเคราะห์กำเนิดคัมภีร์พระไตรปิฎกเองโดยสิ้นเชิง จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง


          ในบทนี้จะได้วิเคราะห์กำเนิดคัมภีร์พระไตรปิฎกโดยวิธีการใหม่ 2 อย่างคือ


          1. ดูจากภาพรวมของสภาพความเป็นไปของสังคมสงฆ์ในสมัยพุทธกาล
          2. ดูจากความสัมพันธ์ของการใช้คำในคัมภีร์ต่างๆ กับคำที่พบในศิลาจารึกโบราณ

 

1) คัมภีย์อรรถกถาเป็นการขายความพระไตรปิฎกอรรถกถาแต่ละตอนจะยกข้อความในพระไตรปิฎกขึ้นอ้างและอธิบาย เพราะฉะนั้น เมื่อมีคัมภีร์อรรถกถา แล้วแน่นอนว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งเป็นตัวตั้งต้องมีแล้ว

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.036823300520579 Mins