ชุดความคิดด้านการฝึกฝนคน
อุดมการณ์ เป้าหมาย ต้องเหมือนกัน
เท่าเทียมทันทั้งทีม เน้นความเป็นทีม
เสียสละเพื่อทีมเพื่อหมู่คณะ
ต้องปลูกฝังสัมมาทิฏฐิตั้งแต่เยาว์วัย
เอาบุญ ไม่เอาหน้า
ไม่มีอะไรต่ำ ไม่มีอะไรแย่
เพราะสิ่งที่ทําเป็นบุญกุศล เช่น
เก็บขยะ = เก็บเพชรพลอย,
ขัดห้องนํ้า = ขัดวิมาน,
ถูกลงโทษ = กุศลวิวัฒน์ เช่น
มาสายก็ให้นั่งสมาธิเพิ่ม 10 นาที
มาช้ามาหลังไม่สําคัญ
สําคัญว่าใครจะอยู่เป็นคนสุดท้าย
มีความรับผิดชอบ สํานึกในหน้าที่
สะอาด ระเบียบ เนี้ยบ เฉียบ เป๊ะ
พี่ดูแลน้อง น้องเคารพพี่
คิดเล็กก็ตาย คิดใหญ่ก็ตาย คิดใหญ่ดีกว่า
ทําเล็กก็ตาย ทําใหญ่ก็ตาย ทําใหญ่ดีกว่า
รักเพื่อนมนุษย์ มีหัวใจกัลยาณมิตรผู้นำบุญ
“เมื่อเราสว่าง โลกก็สว่างด้วย”
ระวังสิ่งที่ควรระวัง ระแวงสิ่งที่ควรระแวง
หนึ่งสู้ ดีกว่าล้านถอย หนึ่งถูกดีกว่าล้านผิด
พูดเชิงบวก พูดยกใจ พูดแต่สิ่งดี ๆ ไม่ใช่ดีแต่พูด
ใช้ส่วนตัวน้อยที่สุด
ให้ส่วนรวมมากที่สุด
ให้มักน้อย สันโดษ
ยินดีปัจจัยตามมีตามได้
ทําอะไรทำจริง
มีความรับผิดชอบ
ไม่เหยาะแหยะ หยิบโหย่ง
เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
อย่าหวั่นไหวต่ออุปสรรค
เราลงเรือใหญ่ ก็ต้องเจอ
คลื่นใหญ่เป็นเรื่องธรรมดา
พระโพธิสัตว์
ไม่อิ่มในการสร้างบารมี
แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำ
ก็ให้ตกต่ำเฉพาะเศรษฐกิจ
แต่อย่าให้ใจของเราตกต่ำ
โดยไม่สร้างบารมี
เราต้องยกใจของเราให้สูงส่ง
ด้วยการสวนกระแส
สมบัติพระศาสนา...
ต้องช่วยกันรักษาเอาไว้
งานบุญที่เราทํา
ภาพกิจกรรมที่เป็นกุศล
จะติดที่กลางตัวของเรา
จะมาฉายให้เราดู ให้เราเห็น
ตอนเวลาจ่าเป็น คือ
ในช่วงสุดท้ายของชีวิตเรา
อุปสรรคเป็นเรื่องปกติ มีปัญหา แต่ไม่เป็นปัญหา
วันหนึ่งเราต้องตาย รีบฝึกน้อง ๆ ขึ้นมาแทนตัวเองให้ได้
จะทำอะไรให้พิจารณา อย่างน้อย 3 กฎ อย่าให้ผิด 3 กฎนี้
คือ กฎหมาย กฏจารีตประเพณี และกฎแห่งกรรม
วิธีกรองคนขั้นแรก คือ ดูว่าอดทนต่อกฏระเบียบ
และวินัยได้หรือไม่ รักการสร้างบารมีเป็นทีมหรือไม่
แม้เราสร้างคนทำงานเก่งขึ้นมาชุดหนึ่งแล้ว
ก็ต้องสร้างคนชุดใหม่ขึ้นมา เพื่อให้รองรับงาน
ที่จะขยาย หรือรักษางานต่อให้ได้
ลดละเลิก ความเอาแต่ใจตัวเอง แล้วทํางานเป็นทีม
เมื่อทีมสามัคคี มีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อกัน
คิดพูดทําเหมือนกัน ทีมก็เกิดความสุข
รอยยิ้มที่ปรากฏบนใบหน้า เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง
บารมี เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศที่ดี
อย่ารอให้แก่ก่อน....แล้วค่อยเข้าวัด เลิกคิดไปเลยว่า
ให้แก่ ๆ เสียก่อนแล้วค่อยเข้าวัด ค่อยมาศึกษาธรรมะ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค่อยมาปฏิบัติธรรม คิดอย่างนี้
ประมาท เพราะเราจะมีชีวิตถึงแก่ชราหรือเปล่าก็ไม่รู้
อีกอย่างความแก่ความชรา ไปถามคนแก่ดูเถอะ
ไม่ชอบเลย เพราะว่าสังขารมันเสื่อม ความคิด คำพูด
การกระทำ กาย วาจา ใจ เสื่อมหมด ปฏิบัติธรรมะก็ง่วง
เดี๋ยวปวด เดี๋ยวเมื่อย เดี๋ยวก็หลับ เดี๋ยวก็เผลอฟุ้งง่าย
เพราะฉะนั้น อย่าไปคิดว่าแก่แล้วค่อยเข้าวัดนะ
การแผ่เมตตาทำให้ใจเราเป็นสุข
แผ่กระแสแห่งความปรารถนาดีของเรา
ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีประมาณ
ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เย็นเป็นสุข
พ้นจากทุกข์โศก โรคภัยพิบัติต่าง ๆ ใครที่เคย
ทําให้เราขุ่นข้องหมองใจ ขุ่นมัว เราก็ให้อภัยเขา
ไม่โกรธตอบ ไม่ผูกโกรธ ไม่ผูกพยาบาท
การผูกโกรธ ผูกพยาบาท เป็นเหตุให้ใจเรา
เศร้าหมอง ขุ่นมัว เป็นทุกข์ หลับก็ไม่เป็นสุข
ตื่นก็ไม่เป็นสุข เหมือนคนป่วยอย่างนั้น
ให้สังเกตดูตัวเอง ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่ง
ปัจจุบันนี้ เรามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง
เมื่อเราพบข้อบกพร่องแล้ว ให้พยายามแก้ไข
สั่งสมบุญของเราให้เยอะ ๆ ทั้งทาน ศีล
ภาวนา แล้วอธิษฐานจิต ขจัดสิ่งที่เป็น
ข้อบกพร่องให้หมดสิ้นไป
การมีบุญมาก บุญน้อย เขาวัดกันว่า ใครจะได้ยิน
ได้ฟัง ได้เข้าถึงหนทาง แห่งการตรัสรู้ธรรม
ที่จะทําให้ชีวิตของเรา เป็นชีวิตที่สมบูรณ์
พ้นจากความทุกข์ เข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้
เขาวัดกันตรงนี้ ส่วนทรัพย์ภายนอกเป็นเครื่อง
ประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ตรงนี้สำคัญกว่า
อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าเรามีบุญมีบารมีเยอะแล้ว หรือ
ขยักในการสร้างความดีเอาไว้ก่อน โดยคิดว่า แค่นี้
ก็ทำมามาก เพียงพอแล้ว จะหยุดบ้าง หย่อนบ้าง
อย่าคิดอย่างนั้นนะลูกนะ เพราะความตายไม่มี
นิมิตหมาย เป้าหมายชีวิตยังไม่ปรากฏ นั่นเป็น
เครื่องยืนยันว่า เรายังบารมีอ่อนอยู่ ยังจะต้อง
สร้างบารมีกันให้แก่กล้ากันขึ้นไปเรื่อย ๆ
โลกไม่ได้ขาดแคลนคนเก่ง
แต่โลกขาดแคลนคนดี
เรานักสร้างบารมี
ต้องเก่งและดีไปพร้อมกัน
เรื่องบุญบาป หรือเรื่องกฎแห่งกรรม
เป็นเรื่องลึกซึ้ง สลับซับซ้อน
เพื่อความปลอดภัย สั่งสมบุญให้
เยอะๆ ทำให้เต็มที่ ทั้งทาน ศีล ภาวนา
ในสังสารวัฏ มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น
ที่เป็นคู่ต่อสู้ที่แท้จริง โดยมนุษย์เป็น
เหมือนหุ่น ให้บุญและบาปเชิด
เมื่อทุกคนในองค์กรมีความสุข
จากผลของการปฏิบัติธรรม
ก็จะมีความยิ้มแย้มเบิกบาน
ถ้าใครเห็นหมู่คณะเรา ก็จะเกิด
คําถามว่า ทําไมสมาชิกในองค์กร
ถึงดูเบิกบานเหมือนชาวสวรรค์
ก็อยากจะมาอยู่ด้วย
อยากทําบุญด้วย
ซึ่งจะเป็นองค์กรต้นแบบเลย
เมื่อทุกคนมีความสุข
คําว่า "สวรรค์บนดิน”
ไม่ใช่คําขวัญหรู ๆ แต่มีให้ดูจริง ๆ
แล้วจะเป็น แรงบันดาลใจ
ที่จะขยายไปสู่องค์กรอื่น การ
change the world ก็จะเกิดขึ้น
อย่าประมาทในชีวิตให้เร่ง
สร้างบุญสร้างกุศลให้เต็มที่
เราทุกคนเป็นผู้โชคดี ที่เรารู้ว่า
ชีวิตเกิดมาสร้างบารมี เมื่อ
โอกาสในการสร้างบารมีมาถึง
เราก็เร่งสร้างบารมีให้สุดกำลัง
ความสามารถ ให้ทุ่มเทชีวิตและ
จิตใจให้เต็มที่ อย่ามัวหลงใหล
สนุกสนาน เพลิดเพลิน
ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ
แต่ให้ทําทุกอนุวินาทีให้มีคุณค่า
ด้วยการสร้างบารมี
ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม
ให้ตั้งใจฝึกใจให้หยุดนิ่ง
อย่าให้มีอะไรมาเหนี่ยวรั้งใจเรา
ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง
นิ่งอย่างเดียว ฝึกให้คล่องให้คุ้น
กับทางสายกลาง ไม่คุ้นไม่ได้
ไม่คุ้นเป็นไม่ได้ให้คุ้นอย่างถูก
หลักวิชชา
หลวงพ่ออยากจะให้ลูก ๆ ทุกคนให้มีใจอย่างนี้นะจ๊ะ
ให้มองเห็นโลกโตเท่าผลมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ
คือ อย่าไปดูว่ามันใหญ่ แล้วก็คิดต่อไปว่าจะทําให้
โลกใบนี้ใสเหมือนดวงธรรมภายในของเรา คำว่า
โลกใบนี้ก็คือชาวโลกนี่เองต้องให้สุกใสอย่างนี้
แล้วก็ต้องคิดใหญ่ ๆ เอาไว้เลยว่าให้ชาวโลกทุกคน
เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ การที่เราคิดอะไรใหญ่ ๆ
จะทำให้หัวใจเราใหญ่นะจ๊ะ หัวใจเราจะขยายเบ่งบาน
ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และกำลังใจจะเข้มแข็ง
กว้างขวาง เราจะมองอะไรไม่เป็นอุปสรรคเลย
ในใจเราจะไม่มีคำว่าอุปสรรค จะมีแต่คำว่าทำอย่างไร
จะบรรลุเป้าหมาย ทําอย่างไรทุกคนจะเข้าถึง
พระธรรมกายภายใน ใจจะคิดอย่างนี้ใจจะไม่คิดว่า
อะไรเป็นอุปสรรค เมื่อเรามีความคิดว่าใจเราไม่มี
อุปสรรค ใจของเราก็มีพลังอย่างมหาศาลเลย
เราจะได้ไม่เสียเวลาไปสนใจเรื่องปลีกย่อยหรือ
วิตกกังวลบ้าง เครียดบ้าง หรือสนใจเรื่องกระจุกกระจิก
อะไรต่าง ๆ เราจะไม่สนใจเลย เราจะมุ่งไปที่เรื่องหลัก
เป้าหมายหลักที่จะให้ทุกคนในโลกมีสันติสุขจากการ
เข้าถึงพระธรรมกายภายใน