แม้ว่าการบริการประเทศตลอดจน 4 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลาย ๆ นโยบายจะโดนค่อนขอดทั้งจากฝ่ายค้านและแวดวงนักวิชาการถึงความผิดพลาดที่เห็นผลมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันก็ยังมีนโยบายที่ประชาชนส่วนใหญ่แซ่ซ้องคือการจัดระเบียบสังคมที่ต้องถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควรในขั้นต้นทั้งเรื่องการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าสถานบันเทิงและกำหนดเวลาเปิด-ปิด
กระทั้งปัญหาล่าสุดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความห่วงใยว่าเด็กไทยยุคนี้สนใจ แต่จะเข้าไปเที่ยวในดิสโก้เธคที่เปิดเพลงเสียงดังทำให้หูเสีย ทั้งยังติดบุหรี่ ติดเหล้ากันมากขึ้นเป็นเหตุให้รัฐบาล ปัดฝุ่น
กฎหมาย ออกกวดขันสถานบันเทิงเพื่อไม่ให้เปิดเพลงดังเกิน 90 เดซิเบล นอกจากนี้ยังมีแนวคิดให้สถาบันเทิงต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาอย่างน้อย 500 เมตร หากนโยบายดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้ในยามนี้ ยอมส่งผลกระทบต่อสถานบันเทิงเป็นจำนวนมากที่มีอาณาเขตติดกับสถานศึกษาทั้งหลายหนึ่งในนั้นคือสถานบันเทิงในซอยคาวบอย ซึ่งนายวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้เรียกร้องให้มีการย้ายออกไปหรือกำจัดฟื้นที่ให้ชัดเจน และแน่นอนเสียงคัดค้านที่มีมาตลอดจากฝั่งผู้ประกอบการสถานบันเทิงย่อมดังขึ้นอีกครั้ง
ผู้ประกอบการร้านหนึ่งในซอยคาวบอย เผยความรู้สึกต่อนโยบายดังกล่าว ต้องดูความจริงว่าร้านในซอยนี้เปิดกันมานานแล้วก่อนที่จะมีระเบียบเรื่องโซนนิ่งมาบังคับใช้ ซึ่งระเบียบใหม่ที่จะบังคับคงเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับได้ และไม่น่าจะนำมาบังคับกับผู้ประกอบการเปิดร้านมาก่อน แต่หากใช้บังคับกับผู้ที่จะขอใบอนุญาตใหม่จะเหมาะสมกว่า ถ้าจะให้เลิกหรือนำไปอยู่ในโซนนิ่งก็คงต้องตัดตอนกันโดยที่รัฐไม่ต่อใบอนุญาตให้ขณะเดียวกันร้านที่เปิดก็ยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วยแล้วจะให้ย้ายไปอยู่ที่ไหน ทั้งที่ความจริงแล้วบริเวณนี้ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร เราพยายามจัดระเบียบกันเองอยู่ตลอดโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่มีทางเข้าได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูอยู่ และลูกค้าของร้านก็มีแต่ชาวต่างชาติไม่ค่อยมีคนไทยยิ่งเป็นนักศึกษาเรายิ่งไม่อยากให้เข้าเพราะกำลังมีปัญหาความจริงซอยนี้ก็ไม่ใช้ทางบังคับที่นักศึกษาจะต้องเดินผ่านเพื่อไปเรียนหรือกลับบ้าน ยังมีอีก 2 ซอยให้เลือกใช้ได้ ถ้ากลัวว่านักศึกษาผ่านมาแล้วจะเห็นภาพไม่เหมาะสมเป็นการยั่วยุ เช่นเดียวกับรถรับส่งของทางมหาวิทยาลัยที่เลือกจะใช้เส้นทางในซอยนี้เพื่อปัญหารถติด
“บริเวณที่น่าจะจัดระเบียบคือบริเวณสี่แยกอโศกมากกว่า ซึ่งเป็นถนนใหญ่มีคนผ่านไปมาเยอะและมีผู้หญิงออกไปยืนเรียกลูกค้าจำนวนมากซึ่งอาจมีพวกที่แอบอ้างใส่ชุดนักศึกษามาขายบริการแอบแฝงอยู่ ตรงนั้นมากกว่าที่ควรจัดระเบียบ คาวบอยเป็นเพียงซอยเล็กถ้าไม่นับเรื่องมีรถรับส่งของมหาวิทยาลัยวิ่งผ่านก็ไม่น่ามีปัญหา”
จากเสียงคัดค้านที่ออกมาจากทางผู้ประกอบการเองก็ดูตรงกับที่พนักงานจากร้านแห่งหนึ่งในซอยคาวบอยที่บอกว่า อย่าคิดแต่จะจัดระเบียบสถานบันเทิงที่อยู่รอบสถานศึกษา ต้องจัดระเบียบนักศึกษาด้วย เรื่องที่บอกว่ามีการแอบอ้างเป็นนักศึกษาเพื่อเพิ่มราคาให้ตัวเองนั้นคงทำไม่ได้เพราะมีชุดประจำร้านที่พนักงานต้องใส่อยู่แล้ว พนักงานเต้นรำในร้านที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่นั้นมีจริงแต่ก็ต้องใส่ชุดที่ร้านจัดให้ แต่จะมาทำเพราะความจำเป็นหรืออยากได้เงินไปใช้ฟุ่มเฟือยนั้นถือเป็นเรื่องส่วนตัวแม้แรงต่อต้านจากสถานบันเทิงจะชี้ให้เห็นว่าซอยคาวบอยนั้นไม่มีปัญหาอย่างที่มหาวิทยาลัยได้แสดงความวิตกออกมา และการที่ยังต้องดำเนินการอยู่ตรงนี้ก็ไม่ใช้ว่าไม่เห็นแก่เรื่องศีลธรรมและความเหามะสม แต่เพราะเงินก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงอยู่ แต่เหล่าปัญญาชนก็ยังร่วมกันสำทับถึงความต้องการว่าอยากให้ช่วยจัดระเบียบเพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าทั้งสถานศึกษาและสถานบันเทิงนั้นไม่ใช้ความเหมาะสมที่จะมาอยู่ใกล้กัน แม้ทีผ่านมามีความพยายามในการจัดระเบียบแต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ เช่น เดียวกับครั้งนี้เพราะมองว่าสถานบันเทิงในซอยคาวบอยนั้นเปิดมานานแล้ว และหากต้องให้ย้ายออกไปก็ไม่รู้จะให้ย้ายไปที่ไหน
นักศึกษาหญิงเองที่ปกติก็จะไม่เลือกที่จะเดินผ่านซอนี้อยู่แล้วเพระกลัวในความปลอดภัยของตนเองโดยนิสิตจากคณะมนุษยศาสตร์บอกว่า บางครั้งจำเป็นต้องเดินผ่านเพื่อไปขึ้นรถไฟใต้ดินก็มักถูกมองจากคนที่มาเที่ยวด้วยสายตาที่ไม่ดี ต้องคอยระวังตัวกลัวจะเกิดเหตุไม่ดี ซึ่งปกติจะจะไม่ไปทางนั้นเพราะรู้อยู่แล้วว่าร้านในซอยนั้นเป็นแบบอะโกโก้ คนที่ไปเที่ยวอาจจะมองเราว่าเราทำงานเหมือนคนในร้านได้ และหากรัฐบาลเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาจะสามารถแก้ได้แน่ เหมือนครั้งการปราบปรามยาเสพติดเชื่อว่าเรื่องอิทธิของผู้ประกอบการจะไม่มีผลต่อการทำงานของรัฐบาลชุดนี้
นายธนันต์ นิยมจิตร นิสิตคณะศิลปกรรม บอกว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลมีนโยบายในเรื่องนี้ และอยากทำให้สำเร็จแม้จะเป็นเรื่องยาก เพราะปัญหานี้มีอยู่ทั่วทุกมหาวิทยาลัย ไม่ใช่มีแต่ที่ซอยคาวบอย ถ้าทำให้ได้จะเป็นผลดีต่อทั้งภาพลักษณ์ของสถานศึกษาและตัวนักศึกษาแต่เรื่องสำคัญต้องอยู่ที่จิตสำนึกของตัวนักศึกษาเองด้วยที่ต้องไม่เข้าไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้นซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากบริเวณซอยคาวบอยข้างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แล้วบริเวณรอบมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งก็ยังมีการขายสุราให้นักศึกษารวมไปถึงมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท มีร้ายขายสุรา 2-3 ร้านบริเวณหน้ามหาวิทยาลัย ซึ่งแม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ถือเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อสถาบัน
น.ส.กชพรรณ กาลวัฒตวานิช นิสิตคณะมนุษยศาตร์ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลจัดระเบียบการขายเหล้ารอบมหาวิทยาลัย เพราะในหลาย ๆ ครั้ง จะเห็นนักศึกษาที่โดดเรียนมานั่งดื่มเหล้าตั้งแต่เวลากลางวัน ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ดีต่อสายตาคนที่ผ่านไปมาแน่นอน แต่คงเป็นผลต่อภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษาเท่านั้น ส่วนนักศึกษาเองคงไม่ได้ประโยชน์เพราะไม่ได้แก้กันที่จิตสำนึก ถึงไม่ให้ดื่มเหล้าหน้ามหาวิทยาลัยก็ยังใส่ชุดนักศึกษาไปนั่งกินที่อื่นอยู่ดีขณะที่ นายคงพล ฐานอรุณโรจน์ เจ้าของร้านคารมคมคาย บริเวณมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า เห็นด้วยกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ ถ้ามองไปที่อนาคตของเด็กและหากมีระเบียบบังคับออกมาก็พร้อมที่จะเลิกขายสุราการที่มีร้านสุราใกล้สถานศึกษาจะทำให้นักศึกษากินง่าย ขณะเดียวกันก็ง่ายที่จะกิน แต่ขอให้ทำให้ทุกที่เหมือนกันหมด อีกเรื่องคือระยะทางเพียง 500 เมตร ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะรู้สึกว่ายังใกล้เกินไป ที่ผ่านมาทางร้านก็มีการปรับตัวมานานเพราะรู้ว่าวันหนึ่งต้องมีนโยบายนี้ออกมา จากที่เคยขายสุราเป็นหลักทุกวันนี้ก็เปลี่ยนมาขายอาหารมากขึ้น และคิดว่าจะเลิกขายสุราในที่สุดเพื่อผลดีต่อทั้งมหาวิทยาลัยที่ผมเป็นศิษย์เก่าและต่อรุ่นน้องด้วย
การแก้ปัญหาน่าจะแก้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะมีความยุ่งยากในการจัดการที่ต้องใช้เวลา และคนที่รับผิดชอบในฟื้นที่โดยตรงก็ไม่ใช้นายกรัฐมนตรี แต่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าตำรวจไม่ทำทุกอย่างก็จบ ส่วนฟื้นที่ไหนที่มีปัญหารุนแรงรัฐบาลควรเร่งเข้าไปจัดการก่อนโดยใช้มาตรการที่หนักหน่อย
อีกสถาบันหนึ่งที่มีสถานบันเทิงอยู่ข้างมหาวิทยาลัยมากแห่งหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยหอการค้า ซึ่งส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยมาตลอด โดยนิสิตหญิงจากคณะบัญชีเผยว่า เป็นเรื่องดีที่สุดเพราะทุกวันนี้นักศึกษาที่มาดื่มสุราจะมีการทะเลาะวิวาทบ่อยมาก เมื่อต้องเดินฝ่ายก็จะถูกแซวด้วยคำพูดที่ไม่ดี ขณะเดียวกันหอพักที่อาศัยอยู่ก็อยู่ใกล้สถานบันเทิงซึ่งเสียงจะดังมาก ที่ผ่านมาสถาบันเสียชื่อเสียงในด้านนี้ตลอด ทั้งที่มีความเด่นในเรื่องของวิชาการแต่มักถูกพูดถึงในเรื่องสถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัยมากกว่า
เห็นได้ชัดจากเสียงที่ออกมาจากปัญญาชนในหลายสถาบันที่สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสังคมเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเยียวยาไปพร้อมกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและคงต้องเอาจริงเอาจังให้สมกับเป็นการจัดระเบียบแม้จะเป็นเรื่องยากที่ฝ่ายหนึ่งคืออนาคตของชาติ ขณะที่อีกฝ่ายคือปัจจัยที่ต้องดำรงอยู่เช่นกัน
ที่มา
หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 685 วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หน้า A7
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต